e payment

7 E Payment เงินอิเล็กทรอนิกส์ ระบบชำระเงินโคตรเจ๋ง?

e payment

e payment คืออะไร

             E-Payment (Electronic Payment System) คือ ระบบที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับคนในยุคปัจจุบัน โดยเป็นระบบที่สามารถโอนเงิน ชำระเงินผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ผ่านสมาร์ทโฟน ผ่านแท็บเล็บ โดยมีระบบอินเทอร์เน็ตเป็นผู้ช่วยที่สำคัญ นอกจากนี้เรายังสามารถทำธุรกรรมทางการเงินผ่านบัตรเครดิต การจ่ายเงินผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่ว่านี้ เป็นที่ทราบกันดีแล้วว่า หมายถึงการจ่ายเงินหรือทำธุรกรรมทางการเงินต่างๆ ผ่านเครื่องมือทันสมัยนั่นเอง เริ่มตั้งแต่การรูดบัตรต่างๆ ไปจนถึงการโอนเงินไปเข้าบัญชี หรือการให้ตัดเอาจากบัญชี หรือการจ่ายผ่านระบบโทรศัพท์มือถือ หรืออินเตอร์เน็ต

e payment

Payment แปลว่า ค่าตอบแทน เงินตอบแทน

             e-payment ช่วยเพิ่มความสะดวกสบายในการจับจ่ายทำธุรกิจ ในขณะที่โลกของการค้าในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ทำให้คนทั่วไปมีทางเลือกในการใช้ชีวิตและการบริโภคที่มากขึ้น ขณะเดียวกันก็ทำให้ภาคธุรกิจและประชาชนทั่วไปมีทางเลือกรูปแบบ ช่องทาง วิธีการดำเนินธุรกิจใหม่ๆ การชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ที่สะดวกและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น

             E-Payment คือ  Electronic Payment เป็นระบบที่ถูกสร้างขึ้นมาด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อเพิ่มความสะดวกให้กับผู้ใช้งาน โดยมีลักษณะเป็นระบบที่สามารถทำการโอนชำระเงินผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างง่ายดาย ซึ่งตัวกลางที่ใช้ในการโอนก็คือ คอมพิวเตอร์หรือสมาร์ทโฟน และมีระบบอินเทอร์เน็ตเป็นตัวช่วยในการเชื่อมต่อ โอนผ่าน Payment Gateway ในรูปแบบของเว็บไซต์ และยังสามารถทำธุรกรรมการเงินต่างๆ ผ่านทางบัตรเครดิตได้ โดยไม่มีเงินสดหรือตราสารทางการเงินที่เป็น กระดาษ อาทิเช่น เช็ค ดราฟท์ ตั๋วแลกเงินที่เข้ามาเกี่ยวข้อง

pay in คือ การจ่ายเงิน

             ระบบ E-Payment นี้อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย ดังนั้นก่อนที่จะเปิดใช้งาน จึงต้องขออนุญาตก่อน

รูปแบบของ E-Payment คืออะไร

เป็นรูปแบบที่อยู่ภายใต้การทำงานของธนาคารแห่งประเทศไทย มีทั้งหมด 8 ประเภท

  • ระบบการเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Money)

             เป็นระบบที่ใช้ มูลค่าของเงินที่มีการบันทึกไว้บนสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยส่วนใหญ่จะมาจากการ       ทำธุรกรรมทางออนไลน์แทนเงินสด และการโอนจ่ายชำระค่าสินค้า และบริการต่างๆ

  • บริการเครือข่ายบัตรเครดิต

             บริการที่จะทำหน้าที่ในการรับส่งข้อมูลทางการเงิน โดยส่งไปยังผู้ให้บริการบัตรเครดิต

  • บริการเครือข่าย EDC Network

             เป็นจุดเชื่อมโยง ที่ได้ทำงานการเชื่อมโยงเครือข่ายของอุปกรณ์ต่างๆเข้าไว้ด้วยกัน

  • บริการสวิตชิ่งในการชำระเงิน

             เป็นจุดเชื่อมต่อเพื่อทำการรับ ส่ง ข้อมูลการชำระเงินไปให้กับผู้ให้บริการ

  • บริการหักบัญชี (Clearing)

             เป็นบริการเพื่อให้ตรวจสอบ ยืนยันคำสั่งในการชำระเงินแบบหักบัญชีระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้

  • บริการชำระดุล (Settlement)

             เป็นบริกการที่จะช่วยจัดการชำระเงินแบบล่วงหน้า โดยการหักเงินในบัญชีของผู้ใช้บริการเพื่อนำชำระแก่เจ้าหนี้แบบอัตโนมัติ

  • บริการชำระเงินแทน

             เป็นบริการที่จะทำการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์แทนเจ้าหนี้

  • บริการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ผ่านอุปกรณ์

             การชำระเงิน เช่น โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ โดยมีระบบอินเตอร์เน็ตเป็นตัวเชื่อมต่อ แต่จะไม่มีการเก็บเงิบไว้

ความมั่นใจในระบบการชำระเงินผ่าน online payment คือ ได้มากแค่ไหน ?

การชำระเงินผ่านระบบ E-Payment คือ อะไร

  • จากผลสำรวจพบว่าคนไทยกว่า 73% ทำการชำระเงิน และธุรกรรมทางการเงินต่างๆ ผ่านทางระบบ E-Payment มากกว่าการชำระด้วยเงินสด ไม่ว่าจะเป็นการชำระผ่านบัตร หรืออุปกรณ์เคลื่อนที่
  • การทำระบบ e-Payment จะทำให้ธุรกรรมทางการเงินและกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างๆ ดำเนินไปได้อย่างสะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น เป็นกลไกสำคัญในการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน
  • สร้างความมั่นคงให้กับระบบบริหารจัดการการเงินการคลัง ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบการชำระเงินแบบระบบอิเล็กทรอนิกส์ คือ ตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ (National e-Payment Master Plan) จะมีส่วนช่วยในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

             ในด้านความสามารถในการแข่งขันของไทย (Competitiveness) อันดับความยากและอันดับความง่าย ในการประกอบธุรกิจ (Ease of Doing Business)

ดัชนีการพัฒนามนุษย์ (Human Development Index : HDI)

ช่องทางการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์

             กระบวนการชำระเงินระหว่าง ผู้จ่าย/ผู้โอนเงินไปยังผู้รับเงินโดยเป็นการโอนสิทธิการถือครองเงินหรือการโอนสิทธิการถอนเงิน หรือหักเงินจากบัญชีเงินฝากของผู้ใช้บริการที่เปิดไว้กับผู้ให้บริการด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมดหรือบางส่วนที่เกิดขึ้นผ่านสื่อ และช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ เช่น การโอนผ่านทางATM บัตรเครดิต บัตรเดบิต การชำระเงินผ่านอินเทอร์เน็ต การชำระเงินผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่

    • กลุ่มคนที่มีกำลังซื้อสูง มักจะใช้บริการชำระเงินผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์มากกว่าการใช้เงินสด
    • คนไทยมากกว่า 60% คิดว่าการใช้จ่ายด้วยเงินสดไม่ปลอดภัยอีกต่อไป ซึ่งจะพยายามหลีกเลี่ยงขั้นตอนการพกเงินสด
    • ประชาชนคนไทยนิยมเลือกการชำระเงินแบบอัตโนมัติ ซึ่งผ่านการออนไลน์มากกว่า เพราะมีความสะดวก สบาย รวดเร็ว ประหยัดเวลา
    • ไม่ต้องสัมผัสกับเชื้อโรค เนื่องจากเงินสด คือ
    • คนไทยส่วนใหญ่มั่นใจในการชำระเงินผ่าน E-Payment แต่ระบบต้องมีความเสถียรภาพมากกว่านี้

epay credit card คือ

             ผลิตภัณฑ์ด้านนวัตกรรมจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา คือ บัตรเครดิต กรุงศรี อีเพย์ (ePay Credit Card) บัตรเครดิตที่ให้ ส่วนลดมากมาย สำหรับการซื้อของออนไลน์ ด้วยความร่วมมือจากเว็บไซต์ร้านค้าออนไลน์ชั้นนำ มีปริมาณมทากกว่า 17 แอปพิเคชั่นร้านค้า อาทิเช่น  Luxola, Lazada, Central.co.th, itruemart, Zalora, Shop@7, Moxy, Book Smile  

             เป็นการใช่จ่ายเงินในรูปแบบของ electronic payment สามารถเพิ่มความสะดวกกสบาย

  • สร้างความคุ้มค่าในการจับจ่ายของการช้อปปิ้งออนไลน์ ด้วยส่วนลดพิเศษสูงสุด 20%
  • คะแนนสะสมสูงสุด 10 เท่า ทำให้บัตรใบนี้ ไม่ธรรมดาเลยทีเดียว
  • ผู้ที่ชื่นชอบการซื้อของออนไลน์ ด้วยปัจจัยการชำระในด้านของความปลอดภัยขั้นสูงสุด
  • จึงทำให้บัตรใบนี้ ติดอันดับความน่าใช้ได้อย่างดีทีเดียว มาดูกันว่าบัตรใบนี้มีความพิเศษอย่างไร e-Security ปลอดภัยขั้นสูงสุด ด้วยระบบระดับโลก พร้อมกำหนดวงเงินได้

บัตรเครดิต กรุงศรี อีเพย์ เรื่องของความปลอดภัยระดับขั้นเทพที่เหนือกว่า

  • มีความปลอดภัยด้วยระบบ OTP (One Time Password) ที่ช่วยยืนยันว่าบัตรดังกล่าวถูกใช้โดยสมาชิกผู้เป็นเจ้าของบัตรตัวจริงเท่านั้นในการสมัคร
  • ปลอดภัยขั้นสูงสุดด้วยระบบรักษาความปลอดภัยที่มีมาตรฐานระดับโลก 3-D Secure จากระบบ Verified by Visa และ MasterCard SecureCode
  • รหัส OTP ส่งทาง SMS ทุกครั้งที่ทำรายการซื้อสินค้าและบริการออนไลน์
  • พร้อมระบุวงเงินที่ต้องการใช้ต่อรอบบัญชีได้

             บัตรเครดิต กรุงศรี อีเพย์ (ePay Credit Card) บัตรเครดิตที่ให้ ส่วนลดมากมาย สำหรับการซื้อของออนไลน์ ด้วยความร่วมมือจากเว็บไซต์ร้านค้าออนไลน์ชั้นนำ สามารถสร้างความสะดวก สบายและให้ความคุ้มค่าในการจับจ่าย การช้อปปิ้งสินค้าออนไลน์

  • ด้วยส่วนลดพิเศษสูงสุด 20%
  • คะแนนสะสมสูงสุด 10 เท่า
  • สามารถรับสิทธิพิเศษ 2 ต่อ กับการผนึกกำลังจากเว็บไซต์ชั้นนำ
  • บัตรเครดิต กรุงศรี อีเพย์ (ePay Credit Card) เป็นบัตรใบเดียวที่คุ้มค่าในเรื่อง ของส่วนลด การซื้อของออนไลน์
  • จากข้อมูลของศูนย์บริการบัตรเครดิตกรุงศรี
  • ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาสมัคร จะสามารถรับ 1,000 คะแนนทันที เมื่อมียอดค่าใช้จ่ายทำรายการในครั้งแรกผ่านบัตรเครดิต กรุงศรี อีเพย์

digital payment

digital payment คือ

             Digital Payment  คือลักษณะการชำระเงินทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่ทางภาครัฐได้เริ่มโครงการ

             ตั้งแต่ปี 2559  พบว่าการใช้ Digital payment ของไทยมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว โดยมีการใช้บริการชำระเงิน-โอนเงินผ่านทางอุปกรณ์สมาร์ทโฟน แท็บแล็ต การทำธุรกรรมออนไลน์อย่างแพร่หลาย เป็นโครงการที่เริ่มจุดประกาย คือ โครงการ Prompt-pay ทำให้คนไทยหันมาสนใจ  Digital Payment มากขึ้น และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของคนไทยให้มาใช้ epay คือไปโดยปริยาย 

             ระบบการชำระเงินออนไลน์ Digital payment เป็นหัวใจสำคัญในการพัฒนาภาคธุรกิจให้ก้าวสู่ไปสู่ประเทศไทย 4.0  โดยสนับสนุนให้ภาคธุรกิจขยายช่องทางการค้าได้สะดวกรวดเร็วขึ้นผ่านการชำระเงินผ่านช่องทาง ออนไลน์ เช่น การรับ-ส่งข้อมูลการซื้อขายสินค้า การชำระภาษี การชำระค่าบริการ หรือการค้าทางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น ซึ่งเป็นการเพิ่มศักยภาพและความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจ  Digital payment นั้นยังคงตอบโจทย์ต่อความต้องการของประชาชนในปัจจุบันได้เป็นอย่างดี โดยที่เน้น สะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย ทุกที่ ทุกเวลา ผ่านอุปกรณ์ที่หลากหลาย 

             เป็นส่วนสำคัญสำหรับสร้างการหมุนเวียนของเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจและการเงินเป็นไปอย่างรวดเร็วราบรื่น คล่องตัว และปลอดภัยมากยิ่งขึ้น เป็นการส่งเสริมการค้าขายของภาคธุรกิจและกระตุ้นการบริโภคของภาคประชาชนอีกทางหนึ่งด้วย ตั้งแต่ปี 2559 จนถึงปี 2561 พบว่าการใช้ Digital Payment ในประเทศไทยมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะการใช้บริการชำระเงิน-โอนเงินผ่านโทรศัพท์มือถือ ซึ่งเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายมากๆ 

             การใช้บริการชำระเงินผ่านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มีอัตราการเจริญเติบโตต่อปีรวดเร็วมาก  ทำให้รู้ว่าในอนาคตจะก้าวไปสู่การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศได้อย่างมากขึ้น โดยให้ครอบคลุมและสอดคล้องกับสาระสำคัญของแผนกลยุทธ์ระบบการชำระเงินฉบับที่ 4  ซึ่งต้องปรับสภาพแวดล้อม หรือ Ecosystem ให้ Digital Payment เป็นทางเลือกกลายเป็นทางเลือกหลักในการชำระเงิน โดยมุ่งไปที่ โครงสร้างพื้นฐานการชำระเงินและบริการชำระเงินให้มีประสิทธิภาพ มีปลอดภัย ราคาถูก และเป็นที่ต้องการของผู้ใช้ในทุกกลุ่มไม่ว่าจะเป็น ประชาชนทั่วไป  กลุ่มธุรกิจค้าขายออนไลน์ รวมถึงธุรกิจ SME และธุรกิจขนาดใหญ่ และธนาคารแห่งประเทศไทยได้กรอบแนวทางในการพัฒนา Digital Payment มีอยู่ 5 ด้าน

    1. การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการชำระเงินให้ได้มาตรฐานพร้อมเชื่อมโยง (Interoperable Infrastructure) โดยเพิ่มขีดความสามารถและความมั่นคงปลอดภัยของระบบการชำระเงินสำคัญให้ได้มาตรฐานสากล ยกระดับการใช้ ISO20022 เพื่อรองรับการส่งข้อมูลทางธุรกิจและการเชื่อมโยงกับต่างประเทศ
    2. การส่งเสริมนวัตกรรมและบริการชำระเงิน (Innovation) โดยพัฒนาบริการที่ตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายภายในประเทศและระหว่างประเทศ
    3. การส่งเสริมการเข้าถึงและใช้บริการชำระเงิน (Inclusion) โดยขยายการใช้ Digital Payment และความรู้ความเข้าใจในทุกภาคส่วน
    4. การกำกับดูแลและบริหารความเสี่ยง (Immunity) สร้างภูมิคุ้นกันพร้อมรับมือภัยไซเบอร์และคุ้มครองผู้ใช้บริการอย่างเหมาะสม
    5. การพัฒนาข้อมูลชำระเงิน (Information) โดยเชื่อมโยงข้อมูลการชำระเงินอย่างบูรณาการ และการพัฒนา การวิเคราะห์เชิงลึก

             การขับเคลื่อนแผนกลยุทธ์ฯ ฉบับ 4 มีระยะเวลาดำเนินการระหว่างปี 2562 – 2564  ทางธนาคารแห่งประเทศไทย มีนโยบายที่จะร่วมกับสถาบันการเงิน ผู้ให้บริการชำระเงิน และหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง เพื่อผลักดันให้บรรลุผล โดยต้องที่โครงการต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานการชำระเงินให้มีความมั่นคง ปลอดภัย รองรับการพัฒนานวัตกรรม เพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของประเทศ และสร้างโอกาสในการเข้าถึงบริการทางการเงินของประชาชนทุกคนทั่วประเทศ

             Digital payment ถือเป็นการก้าวข้ามข้อจำกัดทางการเงินจากเดิม ทำให้เราสามารถทำธุรกรรมทางการเงินได้อย่างมีอิสระเพิ่มมากขึ้น ความสะดวก ความปลอดภัย  ความรวดเร็ว  ได้ทุกที่ ได้ทุกเวลา เพียงแค่มีอุปกรณ์โทรศัพท์มือถือ แและในอนาคตเราอาจได้เห็นการจ่ายเงินด้วยอัตลักษณ์บุคคล ที่คือการจ่ายเงินแบบไม่ต้องใช้เงินสด ไม่ต้องใช้บัตร ไม่ต้องใช้มือถือ ใช้เพียงหน้าตา ลายนิ้วมือ เสียง ม่านตา เส้นเลือด อนาคตแห่งการไร้เงินสดคงมาเข้ามาเร็วกว่าที่คิด เราเตรียมรับมือกันหรือยัง ?

e payment คือ

national e payment คือ

             National e-Payment เป็นระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ที่รัฐบาลกำลังพยายามผลักดัน เพื่อให้มีระบบรองรับการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้มาตรฐาน สอดคล้องกับการใช้งานเทคโนโลยีโดยเฉพาะ อินเตอร์เน็ตและโทรศัพท์มือถือที่ขยายวงกว้างขึ้น และมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้เพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจโดยรวม รัฐบาลโดยกระทรวงการคลังจึงได้ริเริ่มผลักดันแนวคิด National e-Payment ขึ้นตั้งแต่ในช่วงปี 2558 แล้ว

             โครงการนี้ เริ่มเป็นรูปเป็นร่างขึ้นอย่างชัดเจนเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2558 ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบชำระเงินออนไลน์ คือ ลักษณะเป็นแบบอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ และมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์ฯ นี้ ซึ่งกำหนดให้มีการดำเนินการโครงการสำคัญคู่ขนานกันไปในห้วงเวลาเดียวกัน และมีความสอดคล้องกับแผนการพัฒนา Digital Payment ของทางธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งเป็นผู้ริเริ่มได้มีแผนในการพัฒนา Digital Payment

1.การชำระเงินแบบ Any ID

             การโอนเงินเป็นบริการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ขั้นพื้นฐานที่มีความสำคัญต่อการเคลื่อนย้ายเงินในระบบเศรษฐกิจของประเทศ และมีความเกี่ยวข้องกับทุกภาคส่วน เช่น การโอนเงินระหว่างบุคคลของประชาชน การโอนเงินเพื่อชำระค่าสินค้าและบริการของภาคธุรกิจ รวมถึงการโอนเงินสวัสดิการและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ของภาครัฐ การมีระบบการบริการโอนเงินที่สะดวกรวดเร็วและปลอดภัยเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจ ดำเนินไปได้อย่างคล่องตัว รวมถึงช่วยเพิ่มศักยภาพการแข่งขันในการดำเนินธุรกิจของประเทศ

             โครงการพัฒนาระบบการชำระเงินแบบ Any ID เป็นโครงการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานการชำระเงินของประเทศไทยให้สามารถรองรับการโอนเงินระหว่างธนาคารโดยใช้หมายเลขหรือรหัสใด ๆ (Any ID) ที่กำหนด ในการระบุผู้รับโอน เช่น หมายเลขโทรศัพท์เคลื่อนที่ เลขประจำตัวประชาชน เลขที่บัญชีธนาคาร หมายเลขกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Wallet ID) หรืออีเมล์แอดเดรส (e-mail address) ในการลงทะเบียนผ่านสถาบันการเงินหรือผู้ให้บริการชำระเงินเพื่อผูกกับบัญชีธนาคารหรือ e-Wallet โดยในระยะแรกจะเริ่มจากการใช้หมายเลขโทรศัพท์เคลื่อนที่และเลขที่บัตรประจำตัวประชาชนก่อน ซึ่งจะช่วยให้ประชาชนเข้าถึงบริการทางการเงินได้สะดวกมากยิ่งขึ้น รวมทั้งเป็นพื้นฐานของบริการทางการเงินต่าง ๆ ในอนาคต

2.การขยายการใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์

             บัตรอิเล็กทรอนิกส์ เช่น บัตรเอทีเอ็มและบัตรเดบิต เป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยยกระดับวิถีชีวิตของประชาชน และสนับสนุนให้ประชาชน ภาคธุรกิจ ภาครัฐ เข้าถึงบริการทางการเงิน/การชำระเงินได้อย่างแพร่หลาย เนื่องจากเป็นสื่อการชำระเงินที่ประชาชนมีความคุ้นเคยมากกว่าสื่อประเภทอื่น จากกรณีศึกษาในต่างประเทศ พบว่าโดยเฉพาะประเทศที่มีระดับการพัฒนาประเทศสูง มีการใช้บัตรเดบิตในการชำระเงินแทนเงินสดอย่างแพร่หลาย ซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการผลักดันให้ประเทศเข้าสู่การชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์อย่างกว้างขวาง ครบวงจร ทั้งในภาคประชาชน รวมถึงภาคธุรกิจและภาครัฐที่ติดต่อกับประชาชน

             อย่างไรก็ตาม สภาพแวดล้อมของไทยในปัจจุบันยังมีข้อจำกัดบางประการที่ทำให้การใช้บัตรยังไม่เต็มประสิทธิภาพเท่าที่ควร เช่น ประชาชน ส่วนใหญ่คุ้นเคยกับการใช้บัตรเดบิตเพื่อถอนเงินสดจากเครื่องเอทีเอ็มมากกว่าการใช้เพื่อชำระค่าสินค้าและบริการที่ร้านค้า รวมทั้งร้านค้าที่รับบัตรยังมีไม่แพร่หลายมากนัก ส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่ในเขตเมืองและแหล่งท่องเที่ยว ร้านค้าบางรายเลือกที่จะไม่รับชำระเงินด้วยบัตร หรือรับชำระเงินด้วยบัตรแต่กำหนดยอดซื้อขั้นต่ำ หรือให้ส่วนลดการชำระด้วยเงินสดมากกว่าการชำระด้วยบัตร เนื่องจากร้านค้ามีภาระค่าธรรมเนียมการรับบัตร (Merchant Discount Rate) และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องค่อนข้างสูง นอกจากนี้ สถาบันการเงินผู้รับบัตร (Acquirer) เอง ก็มีต้นทุนในการวางเครื่องรับบัตรสูง ประกอบกับรูปแบบของธุรกิจที่อาจไม่เอื้อกับร้านค้าหรือธุรกิจขนาดเล็ก จึงเลือกให้บริการเฉพาะในบางพื้นที่ที่อยู่ในเขตเมืองและมีธุรกรรมของบัตรเครดิตเป็นหลัก

             เป็นการส่งเสริมการใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ที่มีค่าธรรมเนียมต่ำแทนการใช้เงินสดเพื่อส่งเสริมการเข้าถึงบริการทางการเงินของประชาชน โดยเฉพาะประชาชนในพื้นที่ห่างไกล รวมทั้งการกระจายอุปกรณ์รับชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์หลากหลายรูปแบบ เช่น เครื่อง EDC เครื่องรูดบัตรมือถือ (MPOS) และ Mobile Application ตามความเหมาะสมของร้านค้าและพื้นที่ เพื่อเป็นการเพิ่มทางเลือกในการชำระเงินให้กับประชาชน และเป็นช่องทางในการส่งข้อมูลการซื้อขายและภาษีให้กับกรมสรรพากร

             อีกทั้ง จะส่งเสริมการใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์แทนการใช้เงินสดในทุกภาคส่วน โดยภาครัฐที่จะใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์เป็นเครื่องมือในการจ่ายเงินสวัสดิการจากภาครัฐไปสู่ประชาชนโดยตรง และการมีมาตรการจูงใจประชาชนและร้านค้าในการใช้บัตรและรับบัตร เพื่อส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการชำระเงินจากเงินสดไปสู่การชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์อย่างทั่วถึง แพร่หลาย เอื้อต่อการสร้างสังคมที่เป็น Cashless society ซึ่งจะช่วยยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชน และศักยภาพการแข่งขันของภาคธุรกิจ และประเทศ สอดคล้องกับนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัลของรัฐบาล

3.ระบบภาษีและเอกสารธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์

             การพัฒนาการจัดทำและนำส่งข้อมูลใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (e-Receipt) เพื่ออำนวยความสะดวกและลดขั้นตอนในการจัดทำ รวมทั้งการนำส่งรายงานการทำธุรกรรมทางการเงินและการนำส่งภาษีเมื่อมีการชำระเงินผ่านระบบ e-Payment ซึ่งจะเป็นการช่วยลดต้นทุน ระยะเวลา และขั้นตอนของภาคเอกชน ในการจัดทำเอกสารและการชำระภาษี

4.โครงการระบบ e-Payment ภาครัฐ

             ระบบ e-Payment คือ เป็นการบูรณาการฐานข้อมูลสวัสดิการสังคม และพัฒนา ระบบการรับจ่ายเงินภาครัฐทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยส่งเสริมการรับจ่ายเงินของหน่วยงานภาครัฐผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ ส่งเสริมให้มีฐานข้อมูลกลางเกี่ยวกับสวัสดิการของภาครัฐ ควบคู่กับการจ่ายเงินให้แก่ประชาชนโดยตรงผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งจะช่วยให้สามารถจ่ายเงินช่วยเหลือและเงินสวัสดิการให้แก่ประชาชนได้โดยตรงกลุ่มเป้าหมาย ลดความผิดพลาด ความซ้ำซ้อน และโอกาสการทุจริตจากการจ่ายด้วยเงินสดหรือเช็ค

             เป็นการบูรณาการฐานข้อมูลสวัสดิการสังคม และเพิ่มประสิทธิภาพการรับจ่ายเงินภาครัฐทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยการส่งเสริมการรับจ่ายเงินของหน่วยงานภาครัฐทางอิเล็กทรอนิกส์ ส่งเสริมให้มีฐานข้อมูลกลางเกี่ยวกับสวัสดิการของภาครัฐ ควบคู่กับการจ่ายเงินให้แก่ประชาชนโดยตรงผ่าน Any ID โดยการใช้เลขที่บัตรประจำตัวประชาชน รวมทั้งให้สถาบันการเงินเป็นช่องทางการจ่ายเงินและเก็บข้อมูลจากประชาชน ซึ่งจะช่วยให้สามารถจ่ายเงินช่วยเหลือและเงินสวัสดิการให้แก่ประชาชนได้ตรงกลุ่มเป้าหมาย ลดความผิดพลาด ลดความซ้ำซ้อน และลดการทุจริตจากการจ่ายเงินด้วยเงินสดและเช็ค ด้วยการลงทะเบียนประชาชนผู้มีรายได้น้อยและผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือเพื่อรับสวัสดิการผ่านสถาบันการเงิน โดยโครงการ e-Payment คือ ภาครัฐ ประกอบด้วย 2 ส่วน

    • โครงการบูรณาการฐานข้อมูลสวัสดิการสังคม

             การพัฒนาระบบฐานข้อมูลกลางให้ภาครัฐสามารถจ่ายเงินช่วยเหลือและสวัสดิการให้แก่ประชาชนถูกกลุ่มเป้าหมาย กล่าวคือ ปัจจุบันหน่วยงานของภาครัฐซึ่งเป็นเจ้าของฐานข้อมูลประชาชนตามอำนาจหน้าที่ หลายหน่วยงานยังไม่มีการจัดเก็บฐานข้อมูลประชาชนด้วยระบบคอมพิวเตอร์ หรือมีแต่ข้อมูลไม่ครบถ้วน ไม่ถูกต้อง และไม่เป็นปัจจุบัน รวมทั้งต้องใช้ระยะเวลาปรับปรุงระบบฐานข้อมูลและยังมีปัญหาอุปสรรคด้านข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ทำให้การจ่ายเงินสวัสดิการต่าง ๆ หรือผู้ที่ได้รับเงินสวัสดิการได้รับเงินล่าช้า หรือได้รับเงินแต่ได้รับไม่เต็มจำนวน

             ปัญหานี้เกิดจากการที่รัฐบาลไม่มีฐานข้อมูลประชาชน ทำให้ผู้มีรายได้น้อยซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายที่รัฐบาลต้องการให้ความช่วยเหลือ ไม่ได้รับความช่วยเหลือจากภาครัฐได้ตรงตามความต้องการ หรือได้รับแบบไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย ดังนั้น รัฐบาลจึงจัดทำโครงการบูรณาการฐานข้อมูลสวัสดิการสังคมขึ้น เพื่อให้ภาครัฐสามารถจ่ายเงินช่วยเหลือและสวัสดิการให้แก่ประชาชน ได้โดยตรง ถึงมือประชาชนอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย ถูกกลุ่มเป้าหมาย ไม่เกิดความซ้ำซ้อน ลดข้อผิดพลาด และรัฐยังนำผลที่ได้มาประเมินเพื่อจัดสวัสดิการต่าง ๆ ให้ดียิ่งขึ้น

    • โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการรับจ่ายเงินภาครัฐทางอิเล็กทรอนิกส์

             จัดทำขึ้นเพื่อเพิ่มช่องทางการให้บริการรับชำระเงินค่าบริการจากประชาชนให้กับส่วนราชการ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐสามารถรับชำระเงินผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งจะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการด้านการเงินของหน่วยงานภาครัฐ ให้มีความถูกต้อง รวดเร็ว สามารถส่งเงินถึงผู้รับได้โดยตรง ลดความซ้ำซ้อน โปร่งใส ตรวจสอบได้ทุกขั้นตอน ลดโอกาสการทุจริต และสามารถติดตามตรวจสอบได้ง่าย ซึ่งจะส่งผลให้เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของระบบการชำระเงินโดยรวมของประเทศ

คำค้น : คือ จ่าย ประกัน สังคม abac go th welfare pay go th คือ อะไร หลักการ ทำงาน ของ au welfare job go th ประกันสังคม กสิกรไทย สมัคร กสิกรไทย ระบบ ระบบ คือ ประกันสังคม nation national คือ cat au icon krungsri sso tot สมัคร ปฏิทิน จ่าย ประกัน สังคม 2564 งานแบบ ผู้มีรายได้น้อย หมาย ถึง ais au edu sso system one คืออะไร ภาษี ประกันสังคม กรุงไทย student ict mahidol odd กสิกร คือ กรุงศรี ในไทย kbank thailand national dtac lineman odd กสิกร ชํา ระ ภาษีผ่าน กรุงไทย สรรพากร customs การ จ่าย ภาษี ผ่าน in e commerce

แหล่งอ้างอิง:
getinvoice.net/e-payment-2/
dharmniti.co.th/tech-update-e-payment-biz
moneyhub.in.th/creditcard/ธนาคารกรุงศรีอยุธยา/krungsri-epay-credit-card/?amp
epayment.go.th/home/app/
bot.or.th/Thai/BOTMagazine/Pages/256202Paymentsystem.aspx

อ่านบทความทั้งหมด >>> pangpond.com