รับทำบัญชี

สํานักงานบัญชีคุณภาพ รับทําบัญชีบริษัททําบัญชีบริการมา 29 ปี

Click to rate this post!
[Total: 5670 Average: 5]
ในหน้านี้

รับทําบัญชี

บริษัท ปังปอน จำกัด บริษัทรับทำบัญชี รายรับรายจ่าย เปิดให้บริการมาแล้วมากกว่า 20 ปี รับทำบัญชี บัญชีสรรพากร เป็น  “ สำนักงานบัญชีคุณภาพ ” ที่รับรองโดย กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (DBD) มาแล้วกว่า 10 ปี และ เป็น “ สำนักงานบัญชีตัวแทนสรรพากร ” ที่รับรองโดยกรมสรรพากรใหญ่ สามารถจัด รับทําบัญชี และเก็บเงินภาษีของลูกค้า แล้วนำส่งสรรพากรได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย  เน้นการให้บริการทำบัญชีรายเดือน ปิดงบการเงินรายปี ทำบัญชี แจ้งเพิ่มธุรกิจที่รับทําบัญชี รับจ้างทำบัญชี ขายของออนไลน์ เสียภาษี ภาษีขายของออนไลน์ รับทําบัญชี ขายของออนไลน์

สำนักงานบัญชี

เปิดให้บริการผู้ประกอบการที่ต้องการจัดทำบัญชี อัตราค่าสอบบัญชี หากท่านไม่มีเวลา ในการจัดการเอกสาร ภาษีซื้อ ภาษีขาย ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ และเน้นผู้ประกอบการที่ให้ความสำคัญกับ การทำบัญชี และภาษีมูลค่าเพิ่มอย่างถูกต้อง หรือ ผู้ประกอบการที่เปิดกิจการใหม่ เป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็น งานบริการ งานซื้อมาขายไป ขายของออนไลน์

รับทำบัญชี

การทำบัญชี

การทำบัญชี (อังกฤษ: bookkeeping) เป็นการบันทึกธุรกรรมทางการเงิน และเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการการบัญชีในธุรกิจ[1] ธุรกรรมรวมถึงการซื้อ, การขาย, รายรับ และรายจ่าย โดยบุคคล หรือองค์กร/บริษัท มีวิธีการทำบัญชีมาตรฐานหลายวิธี รวมถึงระบบบัญชีเดี่ยวและระบบบัญชีคู่ ในขณะที่สิ่งเหล่านี้อาจได้รับการมองว่าเป็นการทำบัญชี “ของจริง” ซึ่งกระบวนการใด ๆ สำหรับการบันทึกธุรกรรมทางการเงินเป็นกระบวนการทำบัญชี

ทำบัญชี คือ

การทำบัญชี เป็นการเก็บข้อมูลและจดบันทึกรายการค้าต่าง ๆไว้ในสมุดจดบัญชีอย่างสม่ำเสมอ เช่นรายรับรายจ่าย และงานหมุนเวียนของเงินในธุรกิจ การจดข้อมูลทางบัญชีอย่างถูกต้องจะให้ข้อมูลทางธุรกิจเพื่อช่วยในการบริหารกิจการให้กับคุณและช่วยให้คุณสื่อสารกับคู่ค้าทางธุรกิจเช่นนักลงทุนและธนาคารได้ง่ายขึ้นด้วย เป็นการบันทึกธุรกรรมทางการเงิน และเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการการบัญชีในธุรกิจ ธุรกรรมรวมถึงการซื้อ, การขาย, รายรับ และรายจ่าย โดยบุคคล หรือองค์กร/บริษัท มีวิธีการทำบัญชีมาตรฐานหลายวิธี รวมถึงระบบบัญชีเดี่ยวและระบบบัญชีคู่

ทําบัญชีบริษัทเอง

เรื่องที่ควรรู้ ในการจัดทำบัญชีบริษัท 3 ขั้นตอน หลัก ๆ ดังนี้

  1. การทําบัญชีประเภทต่าง ๆ มีอะไรบ้าง
  2. ขั้นตอนการทําบัญชี
  3. บริษัทต้องทําบัญชีอะไรบ้าง

1. ประเภทการทําบัญชี แบ่งได้ 3 ประเภท ดังนี้

  1. การทำบัญชีประเภทด้านการเงิน ( financial accounting ) คือ การบันทึกรายการค้าของธุรกิจในรอบระยะเวลาใดเวลาหนึ่งและสรุปผลในรูปแบบรายงานทางการเงิน รายงานทางการเงินทำขี้นเพื่อวัตถุประสงค์ที่เฉพาะ หรือเพื่อนำเสนอให้แก่บุคคลทุกฝ่าย
  2. การทำบัญประเภทบัญชีบริหาร ( management accounting ) คือ การทำบัญชีเกี่ยวกับการใช้ข้อมูลในอดีตและที่ประมาณขึ้น เพื่อช่วยให้ฝ่ายที่ดำเนินกิจการอยู่เป็นประจำ สามารถนำ บัญชีที่จัดทำโดยนักบัญชีบริหาร ไปกำหนดทิศทาง วางแผน หรือกำหนดนโยบายต่าง ๆในอณาคตได้ หรือนักบัญชีบริหารเองก็สามารถ ช่วยคำนวณหรือวางแผนทางการเงินให้กับกิจการได้เลย
  3. การทำบัญชีต้นทุน ( cost accountong ) คือ การบันทึกรายการค้าที่เกี่ยวข้องกับการผลิตสินค้า วัถุดิบที่ใช้ในการผลิตสินค้า หรือบริการนั้น ๆ

2. ขั้นตอน และวิธีทำบัญชี ดังนี้

ขั้นตอนการทําบัญชี  หรือ วงจบัญชี (Accounting Cycle) เป็นลำดับขั้นตอนการจดบันทึกบัญชีสำหรับแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีหนึ่ง ๆ

  1. วิเคราะห์รายการค้า เมื่อมีรายการค้าต่าง ๆ เกิดขึ้น จะต้องวิเคราะห์รายการค้าที่เกิดขึ้นว่ามีผลกระทบต่อสินทรัพย์ หนี้สิน ส่วนของเจ้าของ รายได้ และค่าใช้จ่ายอย่างไร แล้วนำไปจดบันทึกรายการในสมุดรายวันขั้นต้นต่อไป
  2. จดบันทึกบัญชีในสมุดรายวัน เป็นการบันทึกรายการในสมุดรายวันขั้นต้น นำเอกสารที่เกิดขึ้นจากรายการค้าต่าง ๆ มาใช้ประกอบการจดบันทึกในสมุดรายวันขั้นต้น ได้แก่ สมุดรายวันทั่วไป
  3. การผ่านรายการไปยังบัญชีแยกประเภท เป็นการผ่านรายการจากสมุดรายวันขั้นต้นไปสมุดรายวันขั้นปลาย หลังจากจดบันทึกในสมุดรายวันขั้นตัน (สมุดรายวันทั่วไป แล้วต้องผ่านรายการไปยังสมุดรายวันขั้นปลาย (บัญชีแยกประเภททั่วไป) เพื่อจำแนกบัญชีแต่ละบัญชีอย่างเป็นระบบ
  4. จัดทำงบทดลองก่อนการปรับปรุง การจัดทำงบทดลอง เป็นการนำ ยอดดุลคงเหลือแต่ละบัญชีที่ได้จากบัญชีแยกประเภททั่วไปจะนำมาจัดทำงบทดลอง เพื่อพิสูจน์ความถูกต้องของการจดบันทึกบัญชีในสมุดรายวันขั้นต้นและการผ่านรายการไปยังสมุดบัญชีขั้นปลาย จะพบว่าจำนวนเงินรวมของบัญชีด้านเดบิตจะเท่ากันกับจำนวนเงินรวมของบัญชีด้านเครดิต
  5. บันทึกปรับปรุงรายการทางบัญชี การบันทึกรายการปรับปรุง ก่อนการจัดทำงบการเงิน ให้ตรวจสอบว่ามีรายการใดที่ยังไม่ถูกต้องหรือต้องปรับปรุง ให้บันทึกรายการปรับปรุงให้เรียบร้อย
  6. งบทดลองหลังการปรับปรุง การจัดทำงบทดลองหลังปรับปรุงถ้ามีการปรับปรุงรายการ ต้องตรวจสอบความถูกต้องของการจดบันทึกรายการแก้ไขปรับปรุงใหม่อีกครั้งด้วยการจัดทำงบทดลอง จะพบว่าจำนวนเงินรวมของบัญชีด้านเดบิตจะต้องเท่ากับจำนวนเงินรวมของบัญชีด้านเครดิต
  7. จัดทำกระดาษทำการ การทำกระดาษทำการ เป็นการนำข้อมูลงบทดลองก่อนการปรับปรุง และรายการปรับปรุงมาจัดทำกระดาษทำการเพื่อออกงบการเงิน
  8. จัดทำงบการเงิน การจัดทำงบการเงิน เก็บข้อมูลในช่องงบกำไรขาดทุนและงบแสดงฐานะการเงินมาจัดทำงบการเงิน
  9. ปิดบัญชี เมื่อจะจัดทำงบการเงินจะต้องทำการปิดบัญชี โดยปิดบัญชีชั่วคราวเพื่อทราบจำนวนเงินผลกำไรขาดทุน จะต้องเท่ากับจำนวนเงินผลกำไรขาดทุนในกระดาษทำการ และปิดบัญชีถาวรเพื่อทราบจำนวนเงินของสินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของที่จะยกไปดำเนินงานในรอบบัญชีต่อไป
  10. งบทดลองหลังการปิดบัญชี เมื่อมีการปิดบัญชีในสมุดรายวันขั้นต้นและ สมุดรายวันขั้นปลาย จะต้องจัดทำงบทดลองหลังการปิดบัญชีอีกครั้ง จะพบว่าจำนวนเงินรวม ของบัญชีด้านเดบิตจะต้องเท่ากับจำนวนเงินรวมของบัญชีด้านเครดิต
  11. บันทึกรายการเริ่มต้นรอบบัญชีใหม่ เมื่อเริ่มต้นรอบบัญชีใหม่ จดบันทึกรายการสินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของ ยกมาดำเนินงานในสมุดรายวันขั้นต้นและสมุดรายวันขั้นปลายเมื่อมีรายการค้าของรอบบัญชีใหม่ จะดำเนินการตามลำดับขั้นตอนที่ 1 ถึงขั้นตอนที่ 11 เป็นวงจรบัญชีแบบนี้เรื่อยไป

3. บริษัทต้องทําบัญชีอะไรบ้าง

การจัดทำบัญชีบริษัทนั้น พระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๓ กำหนด ให้ ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี เช่น ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน บริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด และอื่น ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ต้องจัดให้มี “ ผู้ทำบัญชี ” เพื่อจัดทำบัญชี โดยต้องทำบัญชีบริษัทนับตั้งแต่วันที่ได้รับจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ดังนี้

ชนิดของบัญชีที่ต้องจัดทํา

  1. บัญชีรายวัน ได้แก่ บัญชีเงินสด บัญชีธนาคาร บัญชีรายวันซื้อ บัญชีรายวันขาย
  2. บัญชีรายวันทั่วไป
  3. บัญชีแยกประเภทสินทรัพย์ หนี้สิน ทุน รายได้และค่าใช้จ่าย ลูกหนี้ เจ้าหนี้
  4. บัญชีสินค้า สต๊อกสินค้า
  5. บัญชีรายวันและแยกประเภทอื่นตามความจำเป็น

เมื่อจัดทำบัญชีตามที่กฎหมายกำหนดแล้ว ยังต้องมีการ ทำบัญชีส่งสรรพกร และปิดงบการเงินส่งให้กับกรมพัฒฯ อีกด้วย

การขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทำบัญชีมีขั้นตอนและเอกสาร ดังนี้

  1. เข้าเว็บไซต์กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (www.dbd.go.th)
  2. หัวข้อบริการออนไลน์ เลือกเมนูผู้ทำบัญชี e – Accountant
  3. เลือกระบบงาน e – Accountant
  4. เลือกสมัครสมาชิกใหม่ (แจ้งเป็นผู้ทำบัญชีครั้งแรก)
  5. กรอก User ID (เลขบัตรประชาชน) คลิกปุ่มเข้าสู่ระบบ
  6. กรอกข้อมูลของท่านให้ครบถ้วน
  7. เลือกสถานะการเป็นสมาชิกหรือขึ้นทะเบียนกับสภาวิชาชีพบัญชี
  8. เลือกอาชีพที่เป็นปัจจุบัน
  9. กรอกฐานะผู้ทำบัญชี
  10. กรอกชื่อธุรกิจที่รับทำบัญชี
  11. กรอกโปรแกรมที่ใช้ในการทำบัญชี
  12. เลือกบันทึก เพื่อบันทึกข้อมูลการแจ้งเป็นผู้ทำบัญชีครั้งแรก
    ระบบจะแสดงข้อมูลการแนบเอกสาร ผู้แจ้งต้องจดรหัสอ้างอิงไว้เพื่อใช้ในการเข้าสู่ระบบครั้งต่อไป
  13. เลือกปุ่ม Print Payment สั่งปริ๊นเอกสารใบแจ้งการชำระเงินเพื่อไปชำระเงินค่าสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชีที่ธนาคาร (ใช้กรณีที่ยัง ไม่ได้เป็นสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชีและต้องการสมัครเป็นสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชี)
  14. เลือกปุ่มตรวจสอบโปรไฟล์และแนบเอกสาร
  15. เลือกปุ่มเพิ่มข้อมูลการแนบเอกสาร
  16. เลือกธนาคารที่ชำระเงิน
  17. แนบหลักฐานตามหัวข้อพร้อมรับรองสำเนา
  18. เลือกปุ่มบันทึกรูปที่เพิ่ม
  19. ลือกปุ่มส่งยื่นขอเป็นสมาชิก

ผู้ทำบัญชีอิสระ

ในการรับทําบัญชีที่บ้านในปี 2020 ไม่ถือเป็นเรื่องแปลกใหม่ ในปัจจุบันบางครั้งการทำบัญชี ผู้ประกอบการที่ไม่ได้จ้างสำนักงานบัญชี มีการจ้างผู้บัญชีอิสระ ที่เป็นลักษณะบุคคล ที่ขึ้นชื่อผู้ทำได้ อาจมีการรับทำบัญชีที่บ้าน ไม่ได้มีสำนักงานที่ตั้ง อย่างชัดเจน อาจมีความเสี่ยงอยู่บ้าง ไม่มากก็น้อย  เพราะงานบัญชีเป็นงานบริการ ไม่สามารถจับต้องได้ ขึ้นอยู่กับความน่าเชื่อถือ ของบุคคล หรือ บริษัทนั้น ๆ

หากต้องการใช้บริการ ควรศึกษา หรือ ลองเช็คประวัติหรือ ดุความเป็นมาของผู้ทำก่อน ยิ่งมากขึ้นเนื่องจาก สถานะการโควิด 19 ทำให้บริษัทใหญ่ที่ได้รับผลกระทบเลิกจ้างงานมากขึ้น อาชีพนักบัญชีก็เป็น 1 ในนั้น จึงทำให้นักบัญชีอิสระ อยากรับทําบัญชี ที่บ้าน ราคารับทำบัญชีราคา ถูก ก็มีปัจจัยมาก็มาจากการรับทําบัญชีอิสระ อีกด้วย เนื่องจากต้นทุนที่ใช้ไม่มากเท่ากับ สำนักงานบัญชี นั้นเอง

call to

รับทำบัญชีปัจจุบัน

การรับทำบัญชี สามารถแบ่งได้ ดังนี้

  • รับทำเฉพาะภาษี (ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษี หัก ณ ที่จ่าย ภาษีต่าง ๆ) หรือที่เราเรียกว่า รับทำบัญชีส่งสรรพากร ลักษณะนี้เป็นการรับงานยื่นภาษีให้อย่างเดียว ไม่ได้มีการลงบันทึกบัญชีเพื่อจัดทำงบการเงินให้ผู้ประกอบการในการทำบัญชีลักษณะนี้ต้องจัดทำแบบให้ยื่น ภ.พ.30 เป็นประจำทุก ๆเดือน ไม่ว่าผู้ประกอบการจะมียอดซื้อ ขาย หรือไม่
  • รับทำบัญชีแต่ไม่รับยื่นภาษี เป็นการรับงานทำบัญชีที่จัดทำงบเพื่อยื่นต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า แต่ไม่รับยื่น ภ.พ.30 เนื่องจาก อาจไม่มีเวลาเป็นประจำทุก ๆ เดือน เพื่อนั่งบิลซื้อ-ขายให้ได้ หรือบางครั้งผู้ประกอบการไม่ได้อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม
  • รับทำบัญชีครบวงจร เป็นการจัดทำในลักษณะนำเอกสาร ทั้งหมดของผู้ประกอบการ ทำจัดทำ ทั้งงบการเงิน และดูและ ภาษีทั้งหมด ของกิจการ มีการจัดทำประกันสังคมให้ และพบสรรพากรหากกิจการโดยตรวจสอบ
  • รับยื่นเฉพาะงบการเงินในปัจจุบัน การทำบัญชี เน้นการใช้เทคโนโลยีมากขึ้น บางครั้งผู้ประกอบการ อาจพบเจอปัญหา เมื่อออกงบเสร็จแล้ว พบว่าบริษัทของท่านไม่ได้ยื่นงบการงบในระบบของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าการเงิน เกิดจากผู้ทำบัญชียื่นไม่เป็น หรือไม่ได้ยื่นงบการเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ให้ ทำให้ปัจจุบัน มีการรับยื่นงบการให้นั้นเอง

รับทําบัญชี ต้องทําอะไรบ้าง

สำนักงานบัญชี

ขั้นตอนการทําบัญชี ดังนี้

ขั้นตอนการทํางานของสํานักงานบัญชี

  1. แยกเอกสารและนับ ใบกำกับภาษีซื้อ ใบกำกับภาษีขาย
  2. วิเคราะห์ รายการค้าต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างเดือนของกิจการ ทางสำนักงาน ให้
  3. ความสำคัญกับการวิเคราะห์เอกสาร รายการค้าก่อนทำการลงบัญชี เพื่อให้งบการเงินตัวเลขต่าง ๆ ในงบการเงินถูกต้อง
  4. ทำการบันทึกรายการในโปรแกรมบัญชี บันทึกรายการขาย รายการซื้อ พร้อมข้อมูลใบกำกับภาษีซื้อ ใบกำกับภาษีขาย
  5. จัดทำรายงาน ภาษีซื้อ รายงานภาษีขาย
  6. บันทึกข้อมูลตั้งเจ้าหนี้/ลูกหนี้สรรพากร จาก ภพ 30 เพื่อสรุปยอด ภาษีมูลค่าเพิ่มนำส่ง หรือ ยอดภาษีมูลค่าเพิ่มขอคืน เป็นเงินสด หรือ เครดิตไปใช้ในเดือนถัดไป
  7. สรุปแบบฟอร์ม ภพ 30 เพื่อแจ้งกิจการทาง Email เจ้าหน้าที่ประสานงาน
  8. สำหรับกรณีที่ทางกิจการยื่นภาษีด้วยตนเอง ทางสำนักงานบัญชี จะทำการตรวจสอบ รายการภาษี ซื้อ ภาษี ขาย ภาษีหัก ณ ที่จ่ายทุกประเภท ตามรายการค้าที่เกิดขึ้น เปรียบเทียบกับ ภาษีที่ทางกิจการนำส่งไปแล้ว ถ้ามีความแตกต่างเกิดขึ้น ทางสำนักงานจะแจ้งให้ทางลูกค้าทราบถึง จำนวน และวิธีการแก้ไข ให้ทางกิจการพิจารณาดำเนินการต่อไป

ค่าจ้างทําบัญชี 

ในการจ้างสำนำงานบัญชี การแบ่งค่าทำบัญชี ค่าบริการรับทำบัญชี ของสำนักงานบัญชี ในแต่ละสำนักงานบัญชี จะมีมาตราฐานในการคิดค่าจ้างทำบัญชีไม่เหมือนกัน ในคำว่า “ ค่าทำบัญชี ” ของแต่ละสำนักงานบัญชี หลัก ๆ ส่วนใหญ่ จะแบ่งได้ ตามลักษณะ ดังนี้

วิธีการคิดค่าบริการทำบัญชี

  1. ค่าทำบัญชีต่อเดือน
  2. ค่าทำบัญชีแบบเหมารายปี
  3. อัตราค่าสอบบัญชี
  4. ค่าปิดงบบัญชี

1. ค่าทำบัญชีต่อเดือน

ค่าทำบัญชีต่อเดือน หรือค่าจ้างทำบัญชี ในการคิดค่าบริการหลัก ๆ สามารถแบ่งได้ 3 ลักษณะ คือ

  • คิดค่าทำบัญชี ตามปริมาณเอกสาร เช่น เอกสารซื้อ-ขาย ค่าใช้จ่าย เป็นต้น
  • คิดค่าทำบัญชี ตามรายได้ ค่าใช้จ่าย เช่น ยอดรายได้ทั้งปี หรือ ทั้งเดือน เป็นต้น
  • คิดค่าทำบัญชี จากความยากง่ายของกิจการ หรือความยุงยากของเอกสาร เป็นต้น

ค่าทำบัญชี ตามปริมาณเอกสาร 

ปริมาณเอกสาร / เดือน ค่าทำบัญชี
0-15 ใบ ค่าทำบัญชี เดือนละ 2,000 บาท
16-30 ใบ ค่าทำบัญชี เดือนละ 3,500 บาท
31- 50 ใบ ค่าทำบัญชี เดือนละ 5,000 บาท
51- 80 ใบ ค่าทำบัญชี เดือนละ 7,000 บาท เป็นต้น

2. ค่าทำบัญชีแบบเหมารายปี

บางครั้งผู้ประกอบการที่เอกสารน้อย  นาน ๆ จะมีการซื้อ ขาย หรือรับงาน ทำให้เอกสารที่ต้องลงบัญชีมีน้อย อาจหาสำนักงานบัญชี ที่มีการคิดจ้างทำบัญชีราคาถูก แบบเหมา เป็นรายปี หรือ บางครั้งอาจคิดเฉพาเดือนที่ต้องการให้ลงบัญชีไปก่อน เมื่อ การเงินพร้อมก็ค่อยจ่ายค่าจ้างทำบัญชีตามหลัก

3. อัตราค่าสอบบัญชี

ในการคิดราคาค่าสอบบัญชี ส่วนใหญ่ผู้ประกอบการไม่ทราบว่า นอกจากค่าทำบัญชีที่ต้องจ้างทำบัญชีต่อเดือนแล้ว ยังต้องมีค่าสอบบัญชีที่ต้องจ่ายให้กับผู้สอบบัญชี อีกด้วย เพื่อให้ได้งบการเงินที่สมบูรณ์จากผู้ทำบัญชี ก็ยังต้องมีค่าลายเซ็นจากผู้สอบบัญชี รับรองความถูกต้องของงบการเงินอีกด้วย “ อัตราค่าสอบบัญชี ” ของแต่ละสำนักงานบัญชี หลัก ๆ ส่วนใหญ่ จะแบ่งได้ ตามลักษณะ ดังนี้

  • คิดอัตราค่าสอบบัญชี จากประเภทของกิจการ
  • คิดอัตราค่าสอบบัญชี จากความยากง่ายของกิจการ
  • คิดอัตตราค่าสอบบัญชี จากปริมาณเอกสารของกิจการ
  • คิดอัตราค่าสอบบัญชี จากความเสี่ยงของกิจการ เป็นต้น

ตัวอย่าง อัตราค่าสอบบัญชี

จำนวนเอกสาร / ปี อัตราค่าสอบบัญชี
ไม่เกิน 1,000 รายการ 10,000 บาท
1,000 – 2,000 รายการ 30,000 บาท
2,000 – 4,000 รายการ 50,000 บาท
4,000 – 10,000 รายการ 90,000 บาท
10,000 รายการ ขั้นไป 150,000 บาท เป็นต้น

4. ค่าปิดงบบัญชี

ค่าปิดงบบัญชีหรือค่าปิดงบการเงิน เป็นอีกค่าบริการในการจ้างสำนักงานบัญชี บางครั้งก็อาจรวมอยู่กับ ค่าทำบัญชี แต่บางครั้งก็ไม่รวม เนื่องจากบางสำนักงานบัญชี มีการรับงานทำบัญชี ลักษณะที่รับปิดงบการเงินเพียงอย่างเดียว ผู้ประกอบการสามารถทำบัญชีเองได้ หรือจ้างพนักงานบัญชีที่สามารถขึ้นชื่อผู้ทำบัญชีได้ จึงไม่จำเป็นต้องจ่ายค่าจ้างทำบัญชีรายเดือน หรือบางครั้งไม่สามารถปิดเองได้จึงต้องหาสำนักงานบัญชีให้ปิดงบบัญชีให้ ค่าปิดงบบัญชี แบ่งลักษณะได้ดังนี้

  • คิดค่าปิดงบการเงินย้อนหลัง
  • คิดค่าปิดงบการเงินจากการทำต่อจากผู้ทำบัญชีอื่น
  • คิดค่าปิดงบการเงินจากการคิดค่าขึ้นชื่อผู้ทำ เป็นต้น

รับทำบัญชีร้านค้าออนไลน์ 

กรณีจดเข้าระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม  การเขียนบัญชี รับทำบัญชี แม่ค้าออนไลน์

  • รายได้จากการขาย คือ การส่งมอบสินค้าให้กับลูกค้าที่มีการสั่งซื้อผ่านระบบออนไลน์โดยนำยอดสรุปรายงานการเงินประจำเดือนที่ยังไม่ถูกหักค่าใข้จ่ายต่าง ๆ เช่น ค่าขนส่ง ค่าดำเนินการ และยื่นแบบภพ.30 ไม่เกิน วันที่ 15 ของเดือน
  • ค่าขนส่งที่เรียกเก็บจากลูกค้าถือเป็นรายได้ต้องนำไปยื่นแบบ ภพ.30 ไม่เกิน วันที่ 15 ของทุกเดือน
  • ค่าใช้จ่ายที่เป็นต้นทุนหลัก ประกอบด้วย ค่าสินค้า ค่าขนส่ง ค่าเช่าพื้นที่เวบไซด์ ค่าโฆษณาใน facebook ค่าทำเพจ ต่าง ๆ สามารถนำไปหักกับรายได้ เพื่อลดหย่อนภาษีสิ้นปี
  • ค่าโฆษณาใน facebook ต้องยื่นแบบ ภพ 36 ก่อน จึงจะนำไปเป็นภาษีซื้อได้

การเปิดสำนักงานบัญชี

รับทําบัญชี

วิธีที่สำนักงานบัญชี

คู่มือ เปิดสำนักงานบัญชี 5 ขั้นตอน อยากเปิดสํานักงานบัญชี

  1.  มีความรู้ความสามารถในงานที่รับทำ การรับงานในระบบสำนักงานบัญชี ในประเทศไทย ไม่ได้บริการเหมือนกันหมดทั้งประเทศ แต่ละที่จะมีลักษณะการรับงานที่แตกต่างกันไป แต่ระบบงานหลักๆ จะคล้ายคลึงกัน โดย อาศัยมาตรฐานการบัญชี พรบ.การบัญชี และ ระบบภาษีที่เหมือนกัน แต่การดำเนินงาน ก็อาศัยตามที่ถนัด หรือตามที่นโยบายบริษัทกำหนด เช่น บางสำนักงานบัญชี ถนัดงาน รับเหมาก่อสร้าง บางที่ถนัด งานซื้อมา-ขายไป ,ร้านอาหาร หรือ บางแห่งถนัดเช่าอาคารพาณิชย์ ห้องเช่า เป็นต้น
  2. ความรับผิดชอบ  ตรงต่อเวลา ซื่อสัตย์ แน่นนอนความรับผิดชอบในงานมักเป็นส่วนประกอบที่ดีของ ทุกสาขาอาชีพ แต่สำนักงานบัญชีจะวัดความรับผิดชอบ ตรงต่อเวลา และ ซื่อสัตย์ของงานได้อย่างไร ? คือ ไม่ทิ้งงานระหว่างให้บริการลูกค้าแก้ไข้สิ่งผิดพลาดให้ถูกต้องก่อนลูกค้าจะเลิกใช้บริการยื่นภาษีให้ตรงตามระยะเวลากำหนด เพื่อไม่ให้ลูกค้าเกิดค่าปรับนำส่งเงินภาษีที่ได้รับจากลูกค้าให้สรรพากร เป็นต้น ในการทำงานทุกครั้งจะต้องมีข้อผิดพลาด ไม่มากก็น้อย แต่หลังจากผิดพลาดละ? สำนักงานบัญชีควรรับผิดชอบแก้ไข้ และไม่ทิ้งงานที่ทำของลูกค้าในขนาดเป็นลูกค้ากันอยู่
    • ตัวอย่าง ความรับผิดชอบ
      •  ไม่ทิ้งงานระหว่างให้บริการลูกค้า
      •  แก้ไข้สิ่งผิดพลาดให้ถูกต้องก่อนลูกค้าจะเลิกใช้บริการ
      • ยื่นภาษีให้ตรงตามระยะเวลากำหนด เพื่อไม่ให้ลูกค้าเกิดค่าปรับ
      • นำส่งเงินภาษีที่ได้รับจากลูกค้าให้สรรพากร เป็นต้น
  3. อิสระในการทำงาน ความอิสระในการทำงานเป็นสิ่งที่สำนักงานบัญชีทุกที่ควรมี เนื่องจากการทำงานสายอาชีพนี้ มักเกี่ยวข้องกับข้อกฎหมายหลายฉบับ และหากผู้ปะรกอบการกระทำผิด โดยเจตนา หรือ ไม่เจตนา ก็อาจมีการตัดเตือนหรือแนะนำให้ผู้ประกอบการปรับปรุงให้ถูกต้อง แต่ถ้า สำนักงานบัญชีขาดอิสระในการทำงาน แน่นอน!! ผู้ที่ต้องรับผิดชอบในการบันทึกบัญชี หรือดูแลเอกสารของ กิจการที่กระทำความผิด ต้องเป็นผู้รับผิดชอบอยู่แล้ว ดังนั้น หากสำนักงานบัญชีไหน ที่มีความอิสระในการทำงาน แสดงให้เห็นว่า สำนักงานบัญชีนั้น ย่อมมีความสามารถในการทำงานให้กับลุกค้าทุกรายได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย
  4. ระยะเวลาที่เปิดกิจการ ระยะเวลาที่เปิดกิจการ แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการดำเนินธุรกิจของสำนักงานบัญชี หากท่านคิดจะเปิดสำนักงานบัญชีต้องอดทนเป็นอย่างมาก เพราะใน ช่วงแรกอาจจะติดขัดบ้าง ลูกค้าไม่มีบ้าง ทำผิดบ้าง หาดท่านอดทน และใช้ความพยายามประคับประคองธุรกิจให้ผ่านพ้นไปได้ จะทำให้ ความน่าเชื่อของ สำนักงานบัญชียิ่งมากขึ้น เมื่ออายุสำนักงานบัญชีมากขึ้น
  5. ประสบการณ์ของพนักงานบัญชีในบริษัท หากท่านเป็นสำนักงานบัญชีเปิดใหม่ อาจให้ความเชื่อถือแก่ลูกค้าไม่ได้มากนัก แต่ถ้าท่านมีประสบการณ์ในการทำงานมาก ก็ทำให้กลายเป็นจุดแข็งได้อย่างสบาย เพราะการรับงานบัญชีในสำนักงานบัญชีเปิดใหม่ หากท่านผิดพลาดในช่วงปีแรก ความน่าเชื่อถือ หรือโอกาสที่จะได้ดูแลลูกค้ารายนั้น อาจหมดไป จึงต้องอาศัยประสบการณ์ในการทำงานบัญชีที่มากเพื่อดูแลลุกค้าด้วยตัวเองในช่วงแรกๆ ก่อนจะให้พนักงานรับผิดชอบงานต่อ

ตรวจภาษี

วิธีเช็คสถานะเงินคืนภาษี ตรวจสอบยื่นภาษี ในการขอคืนภาษีจากการยื่นภาษีบุคคลธรรมดานั้น โดยปกแล้วจะได้รับเงินคืนภายใน 3 – 7 วัน แต่ในบางกรณีอาจต้องรอถึง 45 วัน ถึงจะได้เงินคืน ซึ่งปัญหาที่ทำให้ผู้เสียภาษีได้เงินคืนช้าจะมีดังนี้

ตรวจภาษี

สาเหตุหลักที่ทำให้ ได้เงินคืนภาษีช้า

  1. ข้อมูลไม่ถูกต้อง หรือ ยื่นภาษีไม่ถูก เช่น ผู้ยื่นภาษีลืมกรอกหรือกรอกข้อมูลเงินได้ไม่ถูกต้อง ทำให้ข้อมูลที่ยื่นไปไม่ตรงกันกับเจ้าหน้าที่
  2. เจ้าหน้าที่ขอเอกสารมาเพิ่มไม่ได้ เนื่องจากผู้ยื่นภาษีส่วนมากนั้นเมื่อยื่นภาษีไปแล้วก็ไม่ได้สนใจ หรือติดตามสถานะว่าทางเจ้าหน้าที่ต้องการเอกสารหรือข้อมูลอะไรเพิ่มเติมหรือไม่
  3. กดยื่นแบบเกิน 1 ครั้ง อาจเกิดขึ้นได้ในกรณีที่ผู้ยื่นภาษีทำการกรอกข้อมูลและยืนยันการกรอกภาษีไปแล้วหนึ่งรอบ แต่กลับมาแก้ไขข้อมูลแล้วทำการยืนยันการยื่นแบบใหม่อีกรอบ กรณีนี้ระบบจะทำการเข้าคิวเพื่อตรวจสอบข้อมูลของผู้เสียภาษีใหม่
  4. ไม่มีพร้อมเพย์ที่ผูกกับบัตรประชาชน ในกรณีนี้สรรพากรจะทำการคืนภาษีโดยส่งหนังสือแจ้งคืนเงินภาษีให้ทสงไปรษณีย์ ซึ่งจะใช้เวลามมากกว่าการรับเงินคืนจากระบบพร้อมเพย์ ซึ่งปกติการรับเงินคืนจากระบบพร้อมเพย์จะได้รับภายใน 3 วัน

สำหรับบุคคลทั่วไปที่ทำการยื่นภาษีบุคคลธรรมดาเรียบร้อยแล้ว แต่ยังไม่ได้รับเงินคืนนั้นหรือต้องการตรวจสอบสถานะจากการยื่นภาษีเกินนั้นสามารถ

ตรวจสอบได้โดยทำตามขั้นตอน ดังนี้

  1. เข้าไปที่เว็บไซต์สอบถามข้อมูลการคืนภาษีของสรรพากร https://www.rd.go.th กรอกข้อมูล และเลือกปีภาษีที่ต้องการตรวจสอบข้อมูล
  2. ระบบจะแสดงข้อมูลสถานะของภาษีที่ผู้ยื่นภาษีได้ยื่นเข้ามา ว่าตอนนี้อยู่ในขั้นตอนใด

วิธียื่นภาษี

การยื่นภาษี วิธียื่นภาษี เช็คภาษี วิธียื่นภาษีออนไลน์ 2564

การเสียภาษีบุคคลธรรมเป็นหน้าที่ที่ผู้มีเงินได้จำเป็นต้องยื่นในทุก ๆ ปี ซึ่งผู้ที่มีเงินได้ที่ต้องทำการยื่นแบบคือบุคคล คือ

  1. หากเป็นผู้ที่มีรายได้แค่เงินเดือนเพียงอย่างเดียว รายได้ที่ต้องเริ่มยื่นภาษีคือ 120,000 บาท ต่อปี ในกรณีที่มีคู่สมรสจะเพิ่มขึ้นเป็น 220,000 บาท
  2. หากเป็นผู้ที่มีรายได้อื่นนอกจากเงินเดือนนั้น รายได้ที่ต้องเริ่มยื่นภาษีคือ 60,000 บาท ในกรณีที่มีคู่สมรสจะเพิ่มขึ้นเป็น 120,000 บาท
การยื่นภาษี

ดังนั้นจะเห็นได้ว่าเด็กที่จบใหม่และได้เงินเดือนขั้นต่ำ 15,000 บาทต่อเดือน ก็จะมีรายได้ถึงเกณฑ์ที่จะต้องทำการยื่นแบบภาษีแล้ว ซึ่งในปัจจุบันนั้น ทางกรมสรรพากรก็ช่วยอำนวยความสะดวก และรณรงค์ให้มีการยื่นแบบภาษีผ่านอินเตอร์เน็ตแล้ว

การยื่นภาษีบุคคลธรรมดาผ่านอินเตอร์เน็ตในปัจจุบันการยื่นภาษีบุคคลธรรมดาสามารถทำการยื่นได้ผ่านอินเตอร์เน็ตแล้ว โดยขั้นตอนต่าง ๆ มีดังนี้

    • เข้าไปที่เว็บของกรมสรรพากร https://rdserver.rd.go.th/publish/index.php แล้วเลือก ยื่นแบบออนไลน์
    • เลือกแบบที่เราต้องการจะยื่น (ในที่นี้คือแบบภงด 90/91)
    • คลิกที่ปุ่ม “ยื่นภ.ง.ด.90/91”
    • ทำการล้อคอินเข้าระบบ
    • ระบบจะให้ผู้ยื่นภาษีทำการตรวจสอบข้อมูลส่วนตัวของผู้ยื่นภาษี
    • ระบบจะให้ผู้เสียภาษีระบุสถานภาพ เมื่อระบุครบถ้วนแล้วให้เลือก ทำรายการต่อไป
    • ให้ผู้ยื่นภาษีระบุประเภทเงินได้ และค่าลดหย่อนที่ผู้ยื่นภาษีมีให้ครบถ้วน แล้วเลือก ทำรายการต่อไป
    • ทำการบันทึกเงินได้,ภาษีหัก ณ ที่จ่าย และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีของผู้ยื่นภาษีให้ถูกต้องครบถ้วน
    • บันทึกค่าลดหย่อยทั้งหมดที่ผู้ยื่นภาษีมี
    • ตรวจสอบข้อมูลที่ผู้ยื่นภาษีได้ทำการบันทึกข้อมูลว่าถูกต้องครบถ้วนหรือไม่ ในหน้านี้ระบบจะทำการแสดงภาษีที่ผู้ยื่นภาษีจะต้องเสียหรือได้คืน หากตรวจสอบว่าถูกต้องแล้วให้เลือก ทำรายการต่อไป
    • ตรวจสอบข้อมูลส่วนตัวของผู้มีเงินได้ และภาษีที่ต้องชำระอีกครั้ง เมื่อเสร็จแล้วเลือก ยืนยันการยื่นแบบ
    • ระบบจะทำการแสดงผลการยื่นแบบ และให้พิมพ์แบบ
    •  

call toแบบฟอร์มบัญชีบริษัท

อยากรับทําบัญชี ที่บ้าน เปิดบริษัทรับทำบัญชี มีปัจจัย มีอะไรบ้าง

เป็นการฝึกทําบัญชีไปในตัว
หาลูกค้าทำบัญชีรายย่อยง่ายกว่ารายใหญ่
สามารถทําบัญชีถูกได้ ราคาไม่แพง เหมาะสมกิจการ

ที่ว่าบริษัทรทำบัญชี มีรับทําบัญชีอิสระ มีทำบัญชีย้อนหลังฟรี จะได้หรือไม่

ทำไม่ได้เพราะ ส่วนใหญ่ผู้ทำบัญชีมีต้นทุน ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบบุคคลธรรมดา หรือ นิติบุคคลก็ตาม

รับทำบัญชี เข็มกลัด นนทบุรี
รับทำบัญชี ทำหมอน นนทบุรี
รับทำบัญชี นักจิตวิทยาออนไลน์ นนทบุรี
รับทำบัญชี ไฟเบอร์กลาส นนทบุรี
รับทำบัญชี รับเหมาราคา นนทบุรี
รับทำบัญชี ส่งออกเครื่องปรุงรส นนทบุรี
รับทำบัญชี เสื้อกันหนาว นนทบุรี
รับทำบัญชี พัดลมไอเย็น นนทบุรี
รับทำบัญชี ห้องนอน นนทบุรี
รับทำบัญชี อุปกรณ์สำหรับเด็ก นนทบุรี

อ่านบทความทั้งหมด >>> pangpond.com