บริคณห์สนธิ คือ
หนังสือบริคณห์สนธิ คือ ตราสารในการจัดตั้งบริษัทมหาชนจำกัด โดยผู้ร่วมก่อตั้งจะต้องตกลงร่วมกันจัดทำขึ้น เพื่อกำหนดวัตถุประสงค์เกี่ยวกับรายละเอียดของผู้ร่วมก่อตั้ง รายละเอียดการประกอบธุรกิจ และทุนจดทะเบียนรวมไปถึงหุ้นส่วนอีกด้วย โดยสามารถเขียนเป็นภาษาอังกฤษว่า (Memorandum of association)
หนังสือบริคณห์สนธิ-คือ
ตัวอย่างหนังสือบริคณห์สนธิ
ขั้นตอนการจดบริคณห์สนธิ
ในการจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิ ขั้นตอน
- ผู้เริ่มก่อตั้งคนใดคนหนึ่งจองชื่อ และชื่อที่ใช้ จะต้องไม่ซ้ำกับชื่อของบริษัทอื่น
- เมื่อจองชื่อผ่านแล้ว ต้องนำเอกสารยื่นต่อนายทะเบียนภายใน 30 วัน ก่อนชื่อหมดอายุ ให้ผู้ร่วมก่อตั้ง อย่างน้อย 3 คน ลงชื่อ ขอจดหนังสือบริคณห์สนธิ
นอกจากนี้ หนังสือบริคณห์สนธิ ยังจำเป็นต้องมีข้อมูลที่แสดงให้บุคคลภายนอกเห็นอย่างชัดเจนตามเจตนารมณ์ของบริษัท เนื่องจากบางครั้ง หนังสือบริคณห์สนธิ มีผลต่อบุคคลภายนอก หากบริษัทของท่านเปิดจำหน่ายหุ้นเพื่อระดมทุน
ข้อมูลประกอบ
ข้อมูลที่ต้องใช้ในการจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิ คือ
- ที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่ (ตั้งอยู่ ณ จังหวัดใด)
- วัตถุที่ประสงค์ของบริษัทที่จะประกอบกิจการค้า
- ทุนจดทะเบียน จะต้องแบ่งเป็นหุ้นๆ มีมูลค่าหุ้นเท่าๆ กัน (มูลค่าหุ้นจะต้องไม่ต่ำกว่า 5 บาท)
- ชื่อ ที่อยู่ อาชีพ อายุ เลขที่บัตรประชาชน หรือบัตรอื่นๆ (กรณีเป็นชาวต่างชาติ) และจำนวนหุ้นที่ ผู้เริ่มก่อการจองซื้อไว้และลายมือชื่อของผู้เริ่มก่อการนั้นทุกคน
- ชื่อ ที่อยู่ อายุ เลขที่บัตรประชาชน หรือบัตรอื่นๆ (กรณีเป็นชาวต่างชาติ) ของพยาน 2 คน และ ลายมือชื่อพยานซึ่งรับรองลายมือชื่อของผู้เริ่มก่อการจัดตั้งบริษัท
เอกสารที่ต้องใช้
เอกสารที่ใช้จดบริคณห์สนธิ
เอกสารที่ต้องเอกสารหลักฐานที่ต้องใช้ในการจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิ
- คำขอจดทะเบียนบริษัทจำกัด (แบบ บอจ.1)
- หนังสือบริคณห์สนธิ (แบบ บอจ.2) ชำระค่าอากรแสตมป์ 200 บาท
- แบบวัตถุที่ประสงค์ (แบบ ว.)
- ใบแจ้งผลการจองชื่อนิติบุคคลที่ยังไม่หมดอายุ
- แบบขอใช้ชื่อนิติบุคคลเป็นภาษาต่างประเทศ(ถ้ามี)
- หลักฐานให้ความเห็นชอบในการจัดตั้งบริษัทเพื่อประกอบธุรกิจจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (ใช้เฉพาะ ในการประกอบธุรกิจที่มีกฎหมายพิเศษควบคุม)
- สำเนาบัตรประจำตัวของผู้เริ่มก่อการทุกคน
- สำเนาหลักฐานการเป็นผู้รับรองลายมือชื่อ (ถ้ามี)
- หนังสือมอบอำนาจ (กรณีที่ผู้ขอจดทะเบียนไม่สามารถยื่นขอจดทะเบียนได้ด้วยตนเองก็มอบอำนาจ ให้บุคคลอื่นดำเนินการแทนโดยทำหนังสือมอบอำนาจและผนึกหรือชำระค่าอากรแสตมป์ 10 บาท)
หนังสือ-บริคณห์สนธิ
โดยปกติแล้วการจด หนังสือบริคณห์สนธิ มักจะจัดทำในวันเดียวกับที่ จดจัดตั้งบริษัท รายละเอียดที่ใช้ ข้อบังคับต่างๆ มักจะยึดข้อบังคับตามที่กฎหมายกำหนด เพื่อความสะดวกและถูกต้องในการดำเนินกิจการ
ค่าธรรมเนียม
ค่าธรรมเนียมบริคณห์สนธิค่าธรรมเนียมตามอัตราที่กฎกระทรวงกำหนด ดังนี้
ค่าธรรมเนียมตามอัตราที่กฎกระทรวงกำหนด ดังนี้
- การจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิ ทุกจำนวนเงินไม่เกิน 100,000 บาท แห่งจำนวนทุนที่กำหนดไว้ 50 บาท เศษของ 100,000 บาท ให้คิดเป็น 100,000 บาท ทั้งนี้รวมกันไม่ให้ต่ำกว่า 500 บาท และไม่ให้เกิน 25,000 บาท
- กรณีขอให้นายทะเบียนรับรองเอกสารคำขอจดทะเบียน หน้าละ 50 บาท
***หมายเหตุ หากท่านใช้บริการบุคคลภายนอก เช่น สำนักงานบัญชี หรือ สำนักงานทนายความ ค่าบริการก็ขึ้นอยู่กับ ที่ตกลงกันไว้ ควรสอบถามก่อนใช้บริการว่ามีการเรียกเก็บค่าบริการเพิ่มเติมหรือไม่
แบบฟอร์ม คำขอหนังสือบริคนห์สนธิ : แบบคำขอจด บริคณห์สนธิ pdf
หนังสือบริคณห์สนธิมีกี่หน้า
หนังสือบริคณห์สนธิมีกี่หน้า มีทั้งหมด 2 หน้า โดยแต่ละหน้าจะต้องกรอกข้อมูลจริงทุกประการและต้องถูกต้องสามารถให้นายทะเบียนตรวจสอบได้ ซึ่งแยกออกเป็น 2 หน้าดังนี้
-
- หน้าที่ 1 : ชื่อผู้เริ่มก่อการจดทะเบียน
- หน้าที่ 2 : ชื่อผู้เป็นพยาน
กรณีใดบ้างที่มีผลต่อหนังสือบริคณห์สนธิ
เมื่อดำเนินกิจการมาสักระยะ แล้วมีเหตุให้เปลี่ยนแปลงตามกรณีที่กล่าวมาจำเป็นแก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิ ต่อเจ้าพนักงานนายทะเบียน เพื่อขอหนังสือบริคณห์สนธิฉบับแก้ไขใหม่ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในกิจการต่อ
- เปลี่ยนชื่อบริษัท
- เปลี่ยนแปลงที่เดิมที่ใช้จัดตั้งบริษัท
- วัตถุประสงค์ของกิจการ
- กรรมการบริหาร อำนาจกรรมการ
- มูลค่าหุ้น
ขั้นตอนการแก้ไข หนังสือ บริคณห์สนธิ
- ออกหนังสือนัดประชุม – โดยลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือพิมพ์ท้องที่อย่างน้อย 1 คราว และ ส่งทางไปรษณีย์ตอบรับหรือส่งมอบถึงตัวผู้ถือหุ้น (ก่อนวันประชุมไม่น้อยกว่า 14 วัน และระบุวาระ การประชุมเรื่องที่จะแก้ไขให้ครบถ้วน)
-
จัดประชุมผู้ถือหุ้น โดยที่ประชุมมีมติพิเศษด้วยคะแนนเสียงข้างมาก ไม่ต่ำกว่า 3 ใน 4 ของจำนวนเสียงทั้งหมดของ ผู้ถือหุ้นที่มาประชุมและมีสิทธิออกเสียงลงคะแนน (ลงมติด้วยคะแนนเสียงข้างมากไม่ต่ำกว่า 3/4 ของจำนวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นที่มาประชุมและมีสิทธิออกเสียงลงคะแนน)
- จัดทำคำขอจดทะเบียน และ ยื่นขอจดทะเบียน
***หมายเหตุ – กรณีเปลี่ยนแปลงชื่อบริษัท มีการใช้ตรายาง ให้นำตรายางเดินประทับหรือ นำยื่นต่อนายทะเบียนด้วย – สามารถทำหนังสือ มอบอำนาจ ให้ผู้อื่นกระทำการแทนได้ ทั้งจัดตั้งบริษัท หนังสือบริคณห์สนธิ และ แก้ไข้หนังสือบริคณห์สนธิ
ตัวอย่างหนังสือบริคณห์สนธิ
หนังสือบริคณห์สนธิ
หนังสือบริคณห์สนธิ บอจ 2
หนังสือบริคณห์สนธิ บอจ 2
ตัวอย่างหนังสือรับรองธนาคาร เพิ่มทุน
บทความแนะนำ หมวดหมู่: เศรษฐกิจ
จำนวนคอมเมนต์ของโพสต์ ID 61771: 2310