ธุรกิจ startup
เจาะลึกแนวคิดธุรกิจ start up ธุรกิจแนวใหม่ที่กำลังมาแรง

เชื่อว่าหลายคนคงมีความสับสนว่าธุรกิจ Start Up นั้นก็คือธุรกิจ SME ใช่ไหม ก็ต้องบอกตรงนี้เลยว่ามีความคล้ายคลึงกัน แต่ไม่ได้เหมือนกันแต่อย่างใด เพราะธุรกิจ SME จะเป็นธุรกิจรายย่อยที่มองกลุ่มลูกค้าเจาะจงโดยจะเป็นธุรกิจส่วนใหญ่ที่คนไทยทำ และไม่ได้เน้นการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยี แต่กับธรุกิจ Start Up จะเป็นการสร้างและพัฒนาธุรกิจโดยมีการดำเนินการผ่านทางด้านเทคโนโลยีโดยเฉพาะ ซึ่งทั้งธุรกิจทั้งสองแบบนี้จะออกมาเพื่อแก้ปัญหาบางอย่าง ให้บริการเฉพาะทางโดยจะมีกลุ่มธุรกิจหลากหลายกลุ่ม ซึ่งต้องยอมรับว่าเทรนโลกปัจจุบันและอนาคตสำหรับการใช้เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ผู้คนให้ความสนใจกับธุรกิจ Start Up วันนี้เราจึงจะมาทำความรู้จักกับธุรกิจนี้ให้มากขึ้น
ธุรกิจ startup คืออะไร
ธุรกิจที่สร้างขึ้น หรือเกิดขึ้นมาใหม่ โดยธุรกิจ startup จะมีลักษณะของธุรกิจที่ผสมผสานรองรับด้านเทคโนโลยีเป็นหลักเพื่อดำเนินธุรกิจอย่างดำเนินการผ่านช่องทางออนไลน์ เว็บไซด์ แอปพริเคชัน โดยจะมีมุมมองส่วนใหญ่ธุรกิจ Start Up จะเป็นโอกาสทางธุรกิจที่ยังไม่เคยมีใครทำมาก่อนและมีโอกาสเติบโตในอนาคต และมีการเติบโตแบบก้าวกระโดด สร้างเป้นธุรกิจที่ลอกเลียนแบบกันได้ง่าย สามารถสร้างรายได้มหาศาล ซึ่งจะเป็นธุรกิจที่เกิดขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาชีวิตประจำวันของเราได้ด้วย
ตัวอย่างธุรกิจ startup ต่างประเทศที่โด่งดังคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี เช่น Google , Facebook
หลักการตั้งธุรกิจ startup
เป็นความจริงที่ว่าเราสามารถตั้งธุรกิจ Start Up ขึ้นมาได้โดยไม่จำเป็นต้องมีเงินทุนมาก หรือจะไม่มีเงินทุนเลยก็ตาม เพราะหลักการตั้งธุรกิจ startup ก็ไม่ต่างอะไรกับการขายไอเดีย ขายความฝันให้คนมาซื้อนั้นเอง ซึ่งจะเรียกว่าเป็นการระดมเงินทุนจากนักลงทุน ซึ่งจะสามารถได้รับแหล่งเงินทุนได้มากมายเพื่อพัฒนาต่อยอดด้านธุรกิจ Start Up ต่อไปได้นั้นเอง นักลงทุนจะมองว่าธุรกิจ Start Up นี้จะสามารถเติบโตได้จริงไหม? และสร้างความเปลี่ยนแปลงต่อโลกได้หรือไม่? ซึ่งการลงทุนกับธุรกิจ Start Up ก็จะมีส่วนแบ่งด้านรายได้ ซึ่งสามารถแบ่งได้ 2 ประเภท ดังต่อไปนี้
- นักลงทุนแบบ Angel Investor คือนักลงทุนที่เริ่มลงทุนตั้งแต่เริ่มตั้งต้นเห็นธุรกิจ Start Up นั้นขึ้นมา โดยมองทิศทางอนาคตว่าสามารถเกิดประโยชน์ ต้องมีความกล้าได้กล้าเสียระดับนึง เพราะยังไม่เคยเห็นการทำงานระยะยาวเท่าไรนักกับธุรกิจตัวนั้น
- นักลงทุนแบบ Venture capital คือนักลงทุนที่กล้าทุ่มเม็ดเงินมหาศาล โดยสามารถให้วงเงินได้มากถึงร้อยล้านเลยทีเดียว ซึ่งจะเป็นกลุ่มนักลงทุนที่เห็นผลประกอบการมาสักพักแล้วจึงเข้ามาลงทุนและลงทีละมาก ๆ
แนวคิดธุรกิจ startup ที่น่าสนใจ ปัจจุบัน อนาคต
สถานการณ์ธุรกิจ startup ที่มีอยู่ในปัจจุบัน
ต้องบอกเลยว่าขณะนี้นักลงทุน หรือผู้บริโภคมีความกลัวเรื่องการลงทุนค่อนข้างมาก ทำให้ตลาดไม่ค่อยเติบโตได้ดีเท่าไรนัก หรือจะเรียกว่าดิ่งไปเลยก็ได้ ซึ่งหลายธุรกิจที่ไม่ได้ปรับตัว หรืออยู่ไม่ได้เลยก็มีจำนวนมาก แน่นอนว่าธุรกิจ Start Up เองก็ได้รับผลกระทบ ซึ่งคุณก็ต้องมาดูว่าเป็น Start Up กลุ่มไหนบ้าง ไม่สามารถเหมารวมได้ เนื่องจากมีจำนวนหลายกลุ่ม ซึ่งธุรกิจ Start Up ที่เติบโตได้เป็นอย่างดีก็จะเป็นพวกธุรกิจด้านการเงิน แม้ว่าจะไม่ได้เติบโตแบบพุ่งกระโดด แต่ทิศทางและแนวโน้มไปได้ดี เพราะนักลงทุนหลายคนหันมาลงทุนกันมากขึ้น อาจจะด้วยปัจจัยความผันผวนของสถานการณ์โลก ทำให้นักลงทุนอยากกระจายความเสี่ยงนั้นเอง ส่วนธุรกิจ Start Up ด้านการขนส่งก็ยังเติบโตแบบกลาง ๆ ไม่ได้เป็นไปตามที่คาดการณ์ดีมากเท่าไรนัก ซึ่งนักลงทุนก็กระจายลงทุนให้ Start Up เหล่านั้นด้วย เพราะบางส่วนยังคงเชื่อถือแนวโน้มที่จะกลับมาฟื้นตัวได้ในอนาคต
การเยียวยาวิกฤตของภาครัฐบาลเองก็ต้องบอกว่าเป็นการช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้เพียงระยะสั้นเท่านั้น ทั้งนี้ภาครัฐฯ เองก็ยังไม่ได้มีการส่งเสริมธุรกิจ Start Up ให้เติบโตได้ดีเท่าที่ควร นโยบายควรกระตุ้นการใช้บริการ Start Up ก็จะทำให้แนวโน้มอนาคตธุรกิจ Start Up ของไทยไปได้สวย นอกจากนี้ยังมีภาคธุรกิจอีกหลายชนิดที่ได้รับผลกระทบจากการปิดเมือง ส่งผลลบให้ภารคธุรกิจ Start Up ตัน และเติบโตได้ช้าด้วยเช่นกัน
อย่างไรก็ตามหากพูดถึงขอบเขตการทำธุรกิจ startup ที่มีอยู่ในปัจจุบันว่าควรจะเป็นไปในทิศทางอย่างไรจึงจะดีที่สุดนั้นคงจะนำมาจำกัดได้ค่อนข้างยาก ทั้งนี้เพื่อไม่เป็นการชี้ชวนให้ลงทุนจนเกินไป ต้องบอกเลยว่าธุรกิจที่คนจำเป็นต้องกินต้องใช้เพื่อการดำรงได้ในแต่ละวันมีความสำคัญอย่างมากในตอนนี้ ซึ่งหลายคนสามารถกลายมาเป็นนักลงทุนเองได้ แทนที่จะเป็นเจ้าของธุรกิจ Start Up เอง ซึ่งการจัดตั้งหรือสร้างธุรกิจตอนนี้ ไม่มีว่าจะเป็นการระดมทุน หรือทำอะไรก็ตามในสถานการณ์ที่มีความผันผวนทำให้ผู้บริโภคนั้นยังขากความเชื่อถือที่จะจับจ่ายใช้สอยอยู่มาก โจทย์ที่จะตั้งจึงต้องล้อกับสถานการณ์ปัจจุบันได้ เพื่อช่วยในการแก้ไขปัญหาวิกฤตฯ ได้
ตัวอย่างธุรกิจ Start Up ปัจจุบันที่น่าสนใจ เติบโตพุ่งสวนทางกับวิกฤตการณ์โลกก็ได้แก่ Food Delivery ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น Ookbee, Wongnai, Grab, Foodpanda, Line man เป็นต้น หรือจะเป็น Netflix ที่คนเลือกเสพความบันเทิงอยู่บ้านแทนที่จะออกไปด้านนอก เป็นต้น
สรุปได้ว่ากระแสธุรกิจ Start Up ปัจจุบันยังคงต้องมองไปเป็นกลุ่ม ๆ ว่ามีสถานการณ์เป็นอย่างไรกันบ้าง ทำให้แม้ว่าคนจะสนใจทำธุรกิจ Start Up แต่ยังถือว่าต้องรอเวลาเติบโตกันไปอีกสักพักเลยทีเดียวที่จะสามารถกลับมาคึกคักได้อีกครั้ง แต่แนวโน้มของนักลงทุน และนักธุรกิจก็ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง เพราะธุรกิจ Start Up ถือว่าเป็นเทรนธุรกิจในโลกอนาคตนั้นเอง
แนวทางการเติบโตธุรกิจ startup ที่น่าสนใจในโลกอนาคต
สำหรับหัวข้อที่น่าจับตามองให้ขณะนี้ก็หนีไม่พ้น เทรนที่กำลังจะเดินขึ้นในโลกอนาคต สืบเนื่องมาจากสถานการณ์วิกฤต COVID-19 ครั้งนี้ ทำให้หลายธุรกิจเล็ก กลาง พากันพังย่อยยับไม่เป็นท่า ธุรกิจไม่กี่อย่างที่อยู่ได้ และเติบโตขึ้นอย่างสวนทาง ทั้งนี้ต้องยอมรับเลยว่า จากวิกฤตครั้งนี้หรือไม่ว่าจะครั้งไหน แนวทางการใช้ชีวิตภายหลังสถานการณ์เหล่านั้นจะเปลี่ยนแปลงไป การเติบโตอะไรที่จะอยู่รอดได้ในโลกอนาคต อะไรบ้างที่จะกลายมาเป็นความปกติรูปแบบใหม่ที่ผู้คนให้ความสนใจ และให้ความสำคัญ นี่คือโจทย์ของมวลมนุษยชาติที่ต้องตกตะกอนให้ได้เสียก่อนจะกลายเป็นฝุ่นที่พังยับเหมือน ๆ หลายธุรกิจขณะนี้นั้นเอง
ฟังแล้วก็อาจจะตกใจ แต่ต้องบอกก่อนเลยว่าแนวคิดธุรกิจ startup เป็นอีกหนึ่งแนวทางธุรกิจที่คนให้ความสนใจอย่างมากในปัจจุบันและจะส่งผลหรือแนวทางการปรับตัวธุรกิจปัจจุบันในอนาคตอีกด้วย เพราะการพัฒนาที่มีความเปลี่ยนแปลงในเชิงของวิถีชีวิตใหม่ ทำให้คนมองถึงความสะดวก ปลอดภัยที่มาพร้อมกับเร็วกันมากขึ้น
มุมมองการเปลี่ยนแปลงในอนาคตอันใกล้ (หลังหมดวิกฤต COVID)
- หลังวิกฤตฯ COVID-19 ผู้บริโภคจะเริ่มมีความเชื่อมั่นด้านการลงทุน ตลาดจะทยอยฟื้นตัว และการบริโภคจะเริ่มกลับมาคึกคักได้อีกครั้ง ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจด้านการท่องเที่ยว อาหาร สถานบันเทิง เป็นต้น
- แนวโน้มการใช้เทคโนโลยีเพื่อธุรกิจเริ่มมีบทบาทเป็นอย่างมาก สืบเนื่องจากสถานการณ์ปัจจุบันทำให้เราเคยชิน คุ้นเคยกับการ WFH และการประชุมทางไกลผ่านโปรแกรมวีดีโอคอลเพื่อการประชุมโดยเฉพาะ
- การส่งข้อมูล และเก็บข้อมุลเอกสาร Cloud จะช่วยให้ไม่ต้องมีค่าใช้จ่ายเรื่องการเก็บเอกสารหรือแบกเอกสารไปมาหลายที่ ทำเอกสารแจกหลายชุด
- พฤติกรรมการซื้อของของผู้บริโภคจะเปลี่ยนไปจากเดิมสิ้นเชิง หันมา Shopping ออนไลน์ ทำให้ธุรกิจเล็ก-ใหญ่ โลกของอุตสาหกรรมจะอยู่บนโลกออนไลน์ ธุรกิจที่จเกิดหรือเติบโตทั้งหมดเพื่อให้บริการตอบสนองผู้บริโภคได้ควรจะเป็นรูปแบบ Start Up ที่จะต้องพึ่งพาเทคโนโลยีในการให้บริการ แม้แต่ธุรกิจรายย่อย SME ธุรกิจอื่น ๆ ที่มีอยู่เดิมก็ต้องปรับตัว
- มีแนวคิดมุมมองเรื่องการส่งเสริมการพัฒนาด้านสุขภาพที่มากขึ้น สิบเนื่องจากการพัฒนาวัคซีน COVID-19 ทำให้ลุกลามด้านการปฏิวัติด้วยกระบวนการทางชีวภาพไปอุตสาหกรรมด้านอื่นด้วย เช่น เกษตร พลังงาน และวัสดุ
- ผู้คนให้ความสำคัญเรื่องการลงทุน การเงิน การเงินที่สามารถทำกำไรได้เอง (Passive Income) เพื่อสามารถมีเงินก้อนเพิ่มขึ้นแม้ยามเกิดวิกฤตฯ รวมทั้งโครงสร้างพอร์ตการลงทุนจะเปลี่ยนไป คนจะมองเรื่องการเติบโตของธุรกิจในโลกอนาคตมากขึ้น
- ประเทศและผู้คนทั่วไปกันมาส่งเสริมการสร้างความมั่งคงทางสิ่งแวดล้อม เพื่อลดมลพิษ เนื่องจากปัจจุบันมีการทำลาย รวมทั้งหลายอุตสาหกรรมถูกจัดตั้งขึ้นโดยไม่ผ่านการทำกรรมวิธีทิ้งที่สะอาดเพียงพอ ส่งผลให้โลกในอนาคตจะมีไมโครพลาสติกในทะเล รวมทั้งน้ำจืด และมลพิษทางสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ จำนวนมากส่งผลต่อสิ่งมีชีวิต และการอยู่อาศัยกันเป็นทอด ๆ ทำให้พลังงานสีเขียวจะเข้ามามีบทบาทเพิ่มขึ้น
สรุปได้ว่า Start Up ที่ดีและยั่งยืนควรจะต้องล้อไปกับแนวคิดที่จะเติบโตในโลกอนาคตนี้ด้วยเช่นกัน หากธุรกิจไม่มีการพัฒนา ไม่มีการสร้างนวัตกรรมเพื่อโลกอนาคต หรือไม่มีการปรับตัวแล้วล่ะก็ เตรียมตัวดับได้เลย อนาคตที่จะมีคู่แข่งจำนวนมากในตลาด และธุรกิจที่คาดการณ์อนาคตได้ รวมทั้งปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ตามสถานการณ์ได้ดีที่สุดเท่านั้น ที่จะผู้อยู่รอดได้นั้นเอง
ธุรกิจ Startup ที่ประสบความสําเร็จในไทย ปี 2020
นับเป็นปีที่หฤโหดกันอีกหนึ่งปีสำหรับปี 2020 ที่ต้องเผชิญกับสภาวะทางเศรษฐกิจอย่างหนักหน่วงจากพิษของการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโคโรน่า COVID-19 ที่ทั่วโลกต้องรับมือ ทั้งนี้เรามาดูกันว่ามีธุรกิจอะไรบ้าง ที่ไม่ย่อท้อวิกฤตดังกล่าว รวมต่อสู่ฝ่าฟัน ขอระดมทุนจนรอด ถือได้ว่าเป็นธุรกิจ Startup ที่ประสบความสําเร็จในไทยที่น่าสนใจอย่างมาก ซึ่งจะมีธุรกิจอะไรกันบ้าง ไปดูกันเลย
- FINNOMENA
FINNOMENA จากบริษัท Fintech เป็นแนวคิดทำธุรกิจด้านการเงินการลงทุนที่มาแรงอีกตัวหนึ่ง ถึงเป็นนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีที่ช่วยให้คนไทยได้ลงทุนและบริการจัดการด้านสินทรัพย์ได้เป็นอย่างดี อีกทั้งแอพฯ ยังให้ข้อมูลความรู้การลงทุน และเป็นเครื่องมือสำหรับการวิเคราะห์ มีFinancial Advisor ที่คอยให้คำแนะนำ ได้อีกด้วย ยิ่งสถานการณ์ COVID-19 ทำให้ยอดมูลค่าสินทรัพย์ภายใต้การจัดการ (AUM) พุ่งสูงถึง 10,000 ล้านบาทเลยทีเดียว ตั้งเป้ายอดมูลค่าสินทรัพย์ภายใต้การจัดการ (AUM) 90,000 ล้านบาท ภายในปี 2023ปัจจุบันมีผู้สมัครใช้งานอยู่ที่ 120,000 ราย
- Freshket
แนวคิดทำธุรกิจเกี่ยวกับวัตถุดิบอาหารและของสด เสมือนตลาดสดออนไลน์ โดยจะเป็นคนกลางระหว่าง Supplier และผู้ซื้อออนไลน์ได้เลย โดยมีผู้ร่วมก่อตั้งจาก TaniHub อินโดนีเซีย แนวคิดการมุ่งพัฒนาสู่การเป็น enabler สำหรับ supply chain ของอุตสาหกรรมอาหาร แม้ว่าจะดูเป็นแนวคิดที่น่าจะไปได้สวย แต่จากหลาย ๆ สถานการณ์ที่ผ่านมาทำให้ Freshket ประสบปัญหาด้านการเงินอย่างหนัก แต่ก็ผ่านมาได้ด้วยการ ระดมทุนได้ 3 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ ในรอบ Series A ได้สำเร็จจาก Openspace, ECG-Research , Innospace, Pamitra Wineka และ Ivan Sustiawan
- HungryHub
แนวคิดทำธุรกิจเกี่ยวกับอาหารอีกแล้ว ซึ่งจะเป็นการดีลร้านอาหารต่าง ๆ นับเป็นการปรับตัวยามวิกฤตที่เห็นได้ชัด ซึ่งก็ให้บริการแบบ food delivery ส่งอาหารถึงบ้าน จุดเด่นของ HungryHub อาจจะเป็นดีลเด็ดของร้านอาหารดัง ๆ มากมายที่แวะเวียนมาให้เลือกโปรโมชั่นดีอย่างต่อเนื่อง ช่วยทั้งผู้ซื้อและผู้ขายให้สามารถไปต่อได้ โดยจะมีค่าคอมมิชชั่น 14-20% ของยอดขายเท่านั้น นับว่าต่ำว่าคู่แข่งด้าน food delivery เจ้าอื่น ๆ อย่างมาก การเติบโตยังไม่สูงมาก แต่ก็น่าจับตามองมากเลยทีเดียว
- ChomCHOB
แนวคิดทำธุรกิจด้านการเงินโดยจะเป็นแอพฯ ที่รวบรวมแต้มจากบัตรเครดิต รวมทั้งบัตรที่สะสมคะแนนต่าง ๆ เอาไว้ เรียกได้ว่า แอพฯ ช่วยจำนั้นเอง เชื่อว่าหลายคนที่มีปัญหาเรื่องการได้แต้ม ยอดสะสมจากตรงนั้นที ตรงนี้ทีจะต้องถูกใจสิ่งนี้อย่างแน่นอน ซึ่งจากวิกฤต COVID-19 ทำให้ธุรกิจนี้ก็ทรุดเช่นกัน แต่ก็ฮึบขึ้นมาได้ ด้วยการระดมทุนได้มากถึง 50 ล้านบาทในรอบ Series A โดยมี Invent เป็น lead investor และมี 500 TukTuks, SIX networks รวมทั้งนักลงทุนรายอื่นร่วมลงทุนด้วยเช่นกัน
- Ricult
Ricult อ่านว่า รีคัลท์ เป็นแนวคิดทำธุรกิจด้านการเกษตรกรรม มีรูปแบบแพลตฟอร์ม Agri-Tech โดยภายในแอพฯ จะเทคโนโลยี Machine Learning นำมาช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลทางการเกษตร ช่วยเกษตรกรสามารถบริหารจัดการฟาร์ม ช่วยเพิ่มผลผลิต รวมทั้งเพิ่มรายได้ สามารถขยายช่องทางจัดจำหน่าย ปัจจุบันมีฐานลูกค้าเกษตรกรผู้ใช้งาน Ricult มากกว่า 3 แสนคน และได้ตั้งเป้าหมายว่าจะถึง 4 ล้านคนใน 3 ปี ทั้งนี้สำหรับปี 2020 Ricult สามารถระดมทุนได้ 2 ล้านดอลล่าร์สหรัฐนำโดย Bualuang Ventures และ Krungsri Finnovate
4 ธุรกิจ start up ต่างประเทศที่มีมูลค่าสูงสุดของโลก
แน่นอนว่ากว่าจะมาเป็นธุรกิจ Start Up ที่มาเป็นกระแสได้อย่างทุกวันนี้ ก็ต้องมีบริษัทยักษ์ใหญ่ที่ประสบความสำเร็จมาแล้ว เราจึงนำเอาธุรกิจ Start Up ที่มีมูลค่าสูงสุดของโลกมาให้ได้ดูกัน
- Uber
มีมูลค่ามากถึง 68,000 ล้านเหรียญ ซึ่ง Uber เป็นแอปพริเคชันที่เราคุ้นเคยชื่อเป็นอย่างดี มีลักษณะเป็น Ridesharing ปัจจุบัน Uber มีการให้บริการมากกว่า 80 ประเทศทั่วโลกแล้ว
- Didi Chuxing
มีมูลค่ามากถึง 56,000 ล้านเหรียญ ซึ่ง Didi Chuxing เรียกว่าเป็นแอปพริเคชันเรียกรถแท็กซี่ของจีน ผู้ก่อตั้งก็ไม่ใช่ใครที่ไหนแต่เป็นอดีตเซลล์ขายโฆษณาระดับผู้จัดการของ Ant Financial ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ Alibaba นี่เอง
- Xiaomi
มีมูลค่ามากถึง 46,000 ล้านเหรียญ เชื่อว่าหลายคนเคยได้ยินแบรนด์นี้ ซึ่งเป็นแบรนด์ที่มาจากจีน แปลได้ว่า เมล็ดข้าวน้อย ผู้ก่อตั้งคือ Lei Jun เป็นอดีต CEO ของ Kingsoft โดยมีแนวคิดว่าสินค้าที่ดีไม่จำเป็นต้องราคาแพงเสมอไปมีการซื้อขายด้วยช่องทางออนไลน์เพื่อความประหยัด
- Airbnb
มีมูลค่ามากถึง 31,000 ล้านเหรียญ โดยเป็นลักษณะธุรกิจที่ให้บริการด้านการท่องเที่ยว โดยการแชร์ที่พักที่นิยมและโด่งดังไปทั่วโลก โดยผู้ใช้บริการที่เดินทางทั่วโลกไม่จำเป็นต้องใช้บริการพักในโรงแรมเสมอไป ซึ่งแนวคิดนี้เริ่มมาจากการที่ผู้ก่อนซึ่งก็คือ Brian และ Joe อยากหาเงินมาจ่ายค่าห้องของตนเอง ก็เลยผุดไอเดียแชร์ห้องเช่าตัวเอง ต่อมาก็ให้ Nathan มาช่วยในการเขียนเว็บไซด์ ซึ่งปัจจุบันมีผู้ใช้บริการ Airbnb มากกว่า 150 ล้านคนแล้วในปัจจุบัน
รายชื่อบริษัท start up ในไทยที่น่าจับตามอง
สำหรับเรียกได้ว่าธุรกิจ Start up ที่น่าจับตามองในฝั่งของบ้านเราเอง นับว่ามีด้วยกันหลากหลายตัวด้วยกัน ซึ่งแห่ขายไอเดียกันแบบล้นลามมากมาย ทำให้รวบรวมรายชื่อบริษัท start up ในไทยทั้งหมดมาคงไม่ได้ เอาเป็นว่าดึงตัวธุรกิจที่น่าสนใจขึ้นมาให้ได้ดูกันจะดีกว่า
- “Greensery” ถุงเพาะชำจากยางพารา
- “Meat Avatar” เนื้อเทียมมังสวิรัติ
- “Local Alike” แพลตฟอร์มท่องเที่ยวเพื่อชุมชน
- “ทองหล่อ” ช่างเสริมสวย Delivery
- “ฟังใจ” ชุมชนออนไลน์ของคนรักเสียงเพลง
- “Saturday School” สุดยอดโรงเรียนนอกหลักสูตร
- “Inskru” สังคมออนไลน์ของครูรุ่นใหม่
สรุป
กล่าวได้ว่าธุรกิจ Start Up เป็นธุรกิจที่ใคร ๆ ก็เริ่มทำได้ เพียงแค่คุณมีไอเดียที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงอะไรสักอย่าง แม้ไม่มีทุนก็สามารถทำได้ สำหรับคนที่อยากเริ่มต้นธุรกิจนี้ ก็ต้องมีไอเดียจากนั้นเริ่มการจัดตั้งทีมงานขึ้นมา โดยจะต้องคำนึงถึง Pain Point ด้วยเช่นกัน ไม่ใช่แค่อยากทำแต่ต้องคิดให้รอบคอบ สร้างโจทย์และตอบคำถามเหล่านั้น แก้ปัญหาให้คนอื่นได้ ผสมผสานกับการมีเทคโนโลยีก็จะช่วยให้ธุรกิจ Start Up ที่คุณจะทำนั้นเป็นไปได้มากขึ้น เมื่อได้แล้วล่ะก็เริ่มลงมือได้เลย หาระดมทุน จัดการงาน และดำเนินการภาคส่วนอื่น ๆ ต่อไป
อย่าปล่อยให้ความฝันเป็นแค่ความฝัน เพราะสิ่งที่คุณฝันอาจจะกลายเป็นนวัตกรรมใหม่ที่พัฒนาและสร้างการเปลี่ยนแปลงในโลกนี้ได้