cloud computing คือ
cloud computing คืออะไร? ทำความเข้าใจอย่างง่ายและครอบคลุม
ในโลกของเทคโนโลยี เรื่องระบบออนไลน์หรือการใช้ระบบปฏิบัติในโลกของเสมือนจริงนับเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเราไปเสียแล้ว โดยที่ผู้ใช้งานทั้งหลายอาจจะรู้ตัวและไม่รู้ตัว ซึ่งเมื่อเราพูดว่า “cloud computing” หลายคนอาจจะนึกไปถึงเรื่องเทคโนโลยีที่มีความไกลตัวหลาย ๆ ประเภท ซึ่งจริง ๆ แล้วรูปแบบของคลาวด์คอมพิวติ้งนั้นเป็นบริการที่อยู่ใกล้ตัวเรามากกว่าที่เราคิดเสียอีก
cloud computing คืออะไร
cloud computing คือ รูปแบบของการประมวลผลแบบคลาวด์ โดยให้คุณนึกภาพว่าคลาวด์ก็คือกลุ่มก้อนเมฆ เป็นการเปรียบเทียบการใช้งานแบบทั่วถึงทั่วโลกนั้นเอง ซึ่งรูปแบบของระบบคลาวด์ คือ เทคโนโลยีจากระบบคอมพิวเตอร์ที่สามารถให้บริการได้แบบออนไลน์ทุกรูปแบบ
คลาวด์คอมพิวติ้งจะเป็นตั้งแต่ชุดระบบปฏิบัติการทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่ได้รับการทำงานร่วมกับเพื่อทำการประมวลผลเพื่อให้ผู้ใช้งานปลายทางได้ใช้บริการแบบออนไลน์ ลักษณะของระบบ cloud-computing ที่ได้ให้บริการ เช่น หน่วยประมวลผล, บริการซอฟต์แวร์, แอปพลิเคชัน,ระบบเซิร์ฟเวอร์, หน่วยจัดเก็บข้อมูล เป็นต้น เรียกง่าย ๆ ว่า cloud-computing ก็คือการใช้งานจากฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์เพื่อให้บริการแก่ผู้ใช้งานผ่านระบบออนไลน์ มีทั้งแบบ ITไปจนถึง AI โดยทั่วไปจะใช้งานผ่านระบบ “อินเตอร์เน็ต” นั้นเอง หมายความว่าที่ไหนก็ตามที่มีอินเตอร์เน็ต ใช้งานระบบ cloud-computing ก็สามารถออนไลน์และไปให้บริการได้อย่างทั่วถึง มีบางคนเรียกว่าเป็นรูปแบบ cloud service คือ การให้บริการคลาวด์หรือการให้บริการแบบออนไลน์นั้นเอง
บริการคลาวด์ ต่างจาก ฮาร์ดไดรฟ์ของพีซี อย่างไร
สมัยก่อนการจัดเก็บข้อมูลหรือการประมวลผลแบบเดิมจะมาจากเทคโนโลยีจาก PC ซึ่งจะให้รูปแบบการจัดเก็บข้อมูลสำคัญทุกอย่างในฮาร์ดไดรฟ์ แต่เทคโนโลยีของระบบ cloud-computing หรือบริการคลาวด์ เป็นรูปแบบเสมือนจริงแทน เป็นการจัดเก็บข้อมูลไว้ในเซิร์ฟเวอร์โดยจะมีผู้ดูแลระบปฏิบัติการให้ ซึ่งจะมีพื้นที่จัดเก็บได้แบบไม่ต้องเปลื้องพื้นที่ให้โลกความจริง เพราะนำข้อมูลไปจัดเก็บไว้บน cloud เปรียบเหมือนก้อนเมฆแทน
ข้อดีของ cloud technology คืออะไร
ด้วยความที่ไม่ต้องเปลื้องพื้นที่จัดเก็บข้อมูลเหมือนสมัยก่อน เพราะข้อมูลสามารถจัดเก็บไว้บนก้อนเมฆ (ระบบคลาวด์) ก็ทำให้ไม่ต้องเปลื้องพื้นที่ในการจัดเก็บ และยังสามารถจัดการรูปแบบข้อมูลได้อย่างง่ายดายและมีอิสระได้มากขึ้น สะดวกต่อการสืบค้นหาให้มีความรวดเร็วได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นในระบบบุคคลหรือในระดับองค์กรที่ใช้งานบริการคลาวด์ก็ตาม เรียกดูข้อมูลเมื่อไรก็สะดวก เพราะเพียงแค่ออนไลน์อินเตอร์เน็ตก็สามารถเข้าถึงฐานข้อมูลที่จำเป็นได้เป็นอย่างรวดเร็ว
cloud-computing ในประเทศไทยเป็นที่ยอมรับและได้ใช้กันอย่างแพร่หลาย ด้วยความสะดวกรวดเร็ว และที่สำคัญช่วยในการประหยัดต้นทุนในระดับภาคธุรกิจได้เป็นอย่างดี เพราะธุรกิจที่ใช้ cloud-computing จะเป็นการนำเทคโนโลยี cloud-computing มาช่วยลดพื้นที่ ลดจำนวนคน ลดความผิดพลาดการดูแล และไม่ต้องมีการจัดการเรื่องการบำรุงรักษา สามารถอัปเกรดเพิ่มเติมได้อยู่เรื่อย ๆ และทำได้อย่างรวดเร็ว สามารถทำให้การปรับปรุง พัฒนามีรูปแบบเป็นสภาพคล่องได้ดีมากยิ่งขึ้น เรียกได้ว่าคล่องตัวและเข้าถึงง่าย ส่งเสริมเรื่องการพัฒนาองค์กร พร้อมรับมือกับสถานการณ์ต่าง ๆ ขอองค์กรได้ดี
เทคโนโลยีคลาวด์ หรือ cloud-computing เป็นความนิยมอย่างแพร่หลาย และเติบโตขึ้นทุกปี ปัจจุบันหลายองค์กรเริ่มปรับตัวและมีการใช้งาน cloud-computing กันมากขึ้น ด้วยข้อดีต่าง ๆ แต่ก็อาจจะต้องอาศัยความรู้และคนที่มีความสามารถมีความเชี่ยวชาญในการพัฒนาระบบเข้าช่วยเหลือด้วยเช่นกัน
ประเภทของ cloud computing
การใช้งาน cloud-computing จะมีรูปแบบสำคัญขององค์ประกอบของระบบคลาวด์ที่แตกต่างกันไปในแต่ละประเภท โดยประเภทของ cloud-computing มีทั้งหมด 4 ประเภทด้วยกัน
- Public cloud คือ ระบบ cloud ที่ให้บริการแบบสาธารณะ โดยจะเป็นลักษณะการประมวลผลในระบบคลาวด์ที่เข้าถึงง่าย พบเห็นได้ทั่วไป เพราะเป็นสาธารณะ จะมีความปลอดภัยค่อนข้างต่ำ มีทั้งรูปแบบที่ให้บริการได้ผ่านทางแอปพริเคชันหรือบริการผ่านบราวเซอร์ เว็บไซด์ เป็นต้น ซึ่งผู้ที่เปิดให้ใช้บริการก็ต้องการข้อมูลหรือผลประโยชน์บางอย่างจากผู้ที่จะเข้ามาใช้งานด้วยเช่นกัน ตัวอย่าง cloud-computing แบบ Public cloud เช่น Alibaba Cloud, Amazon Web Services, Google Cloud, Gmail เป็นต้น
- Private cloud คือ ระบบ cloud ที่ให้บริการแบบส่วนตัว โดยจะให้บริการเฉพาะคนที่ต้องการเปิดใช้งาน my cloud ของเราเองเท่านั้น จึงทำให้เป็นพื้นที่จัดเก็บข้อมูลแบบส่วนตัว ทำให้อาจจะต้องสร้างหรือเปิดใช้งานเอง มักจะต้องมีการลงทุนเพื่อซื้อพื้นที่ในโลกเสมือนจริง ลักษณะของ ระบบ cloud นี้จะนิยมสร้างจากองค์กรที่ต้องการเป็นเจ้าของเอง สร้างเองใช้เองเพื่อให้มีความปลอดภัยสูง เพราะผลิตเอง มีส่วนป้องกันภายในไฟร์วอลล์แบบขององค์กรของ ซึ่งก็จะต้องมีทีมงานไอทีซึ่งมีความรู้ความเชี่ยวชาญในการดูแลระบบด้วยเช่นกัน ตัวอย่าง cloud-computing แบบ Private cloud เช่น Microsoft Exchange แบบบริษัท ซึ่งจะมีการอนุญาตผู้ที่เกี่ยวข้องให้เข้าถึงได้ด้วยการเชื่อมต่อแบบ VPN ที่มีความปลอดภัยขององค์กรเอง
- Hybrid Cloud คือ ระบบ cloud ที่ให้บริการแบบผสมผสาน โดยการนำเอาจุดเด่นระหว่าง Public cloud และ Private cloud มาควบรวมกัน ซึ่งก็จะให้ประสิทธิภาพในด้านการทำงานให้มีความรวดเร็วเข้าถึงได้ง่ายมากยิ่งขึ้น ลดความซับซ้อนบางอย่าง แต่ก็อาจจะไม่ได้มีความปลอดภัยที่สูงมากนัก และอีกเหตุผลที่เลือกใช้รูปแบบของ Hybrid Cloud เนื่องจากการใช้งาน Private Cloud เพียงอย่างเดียวจะมีต้นทุนสูงมากกว่า
- Multi-Cloud คือ ระบบ cloud ที่ให้บริการแบบ Private Cloud และทำงานร่วมกันกับผู้ให้บริการ โดยอาจจะไม่ต้องดูแลระบบปฏิบัติการด้วยตนเอง จึงไม่ได้เป็นรูปแบบของ Private Cloud เสียทีเดียว เพราะมีผู้ให้บริการทำงานดูแลระบบให้ ซึ่งรูปแบบนี้จะไม่เรียกว่าเป็น Hybrid Cloud เพราะจะให้ความเป็นส่วนตัวได้มากกว่า
อย่างไรก็ตาม การเลือกใช้เทคโนโลยี cloud-computing จะต้องดูความเหมาะสมของบุคคลและระบบองค์กรว่าเหมาะที่จะใช้รูปแบบใดมากกว่ากัน และที่สำคัญแม้ว่าจะเป็น private cloud ก็ไม่ได้หมายความว่าจะสามารถจัดเก็บข้อมูลและมีความปลอดภัยได้แบบ 100% ซึ่งธุรกิจที่ใช้ cloud-computing จะต้องพิจารณาจากความเหมาะสมและเลือกผู้ให้บริการหรือทีมงานไอทีที่มีความน่าเชื่อถือมีความรู้ความเชี่ยวชาญที่มากพอสมควร
ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลที่มาอ้างอิง
- Cloud-Computing คืออะไร?. สืบค้น 22 พ.ย. 2564. จากเว็บไซด์ https://www.lenovo.com/th/th/faqs/laptop-faqs/what-is-cloud-computing/
- Cloud-Computing คืออะไร ? มีกี่ประเภท อะไรบ้าง ? และ มีข้อดีข้อเสีย อย่างไร ?. สืบค้น 22 พ.ย. 2564. จากเว็บไซด์ https://tips.thaiware.com/html