รางจืด
รางจืด (Thunbergia laurifolia Lindl.) เป็นพืชสมุนไพรพื้นบ้านที่แพทย์แผนโบราณหรือแพทย์แผนไทย ใช้ปรุงเป็นยาเขียวลดไข้ ใช้เป็นยาแก้พิษจากสัตว์และพืช ใช้ถอนพิษเบื่อเมาจากอาหาร ยา สุรา และสารเคมีมาแต่โบราณ (Pongbunrod, 1979 ; Prommanee, 1996 ; Wuttithamavej, 1997) ในปี พ.ศ.2552 กระทรวงสาธารณสุขได้จัดทำโครงการเกษตรปลอดโรค ผู้บริโภคปลอดภัย สมุนไพรล้างพิษ กายจิตผ่องใส โดยเป็นการบูรณาการร่วมกัน 4 กรม ได้แก่ กรมอนามัย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก และกรมสุขภาพจิต ในการด าเนินโครงการดังกล่าว ทำให้ประชาชนรู้จักสมุนไพรรางจืดกันมากขึ้น ต่อมาในปี 2554 คณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ ได้บรรจุ เข้าในบัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ. 2554 หมวดบัญชียาจากสมุนไพร ในรูปแบบยาแคปซูล และชาชง โดยมีข้อบ่งใช้ คือ ถอนพิษไข้ แก้ร้อนใน และถอนพิษเบื่อเมา จึงมีสถานะเป็นยาสมุนไพรต้านพิษที่อยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติตลอดมาจนถึงปัจจุบัน (NLEM, 2019)
ต้นรางจืด
ลักษณะของรางจืด
ต้นรางจืด เป็นไม้เลื้อยหรือไม้เถาที่มีเนื้อแข็ง ลำต้นหรือเถานั้นจะกลมเป็นปล้อง มีสีเขียวสดหรือสีเขียวเข้ม ลำต้นไม่มีขนและไม่มีมือจับเหมือนกับตำลึง และมะระ แต่อาศัยลำต้นในการพันรัดขึ้นไป รางจืดเป็นพืชในเขตร้อนและเขตอบอุ่นของทวีปเอเชีย จึงสามารถขึ้นได้ทั่วไปตามป่าดิบชื้นของประเทศไทยทั่วทุกภาค เจริญเติบโตได้เร็วมาก และขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เถาในการปักชำ
การปลูกทำได้ไม่ยากเพราะว่าไม่ต้องดูแลอะไรมากและไม่ค่อยมีโรคและแมลงรบกวน การปลูกนั้นทำโดยใช้กิ่งปักชำ กิ่งตอน หรือต้นที่ได้จากการเพาะเมล็ดมาปลูกลงดินรอบบ้านหรือกำแพงรั้ว สิ่งที่ผู้ปลูกจะได้รับก็คือมียาไว้ใช้ในครอบครัวแล้วมีไม้ประดับที่มีดอกอันสวยงามไว้ประดับบ้าน
ใบรางจืด เป็นใบเดี่ยวออกตรงข้ามกัน ลักษณะของใบคล้ายรูปหัวใจหรือรูปใบขอบขนานหรือเป็นรูปไข่ โคนใบมนเว้า ปลายใบเรียวแหลม ใบกว้างประมาณ 4-7 เซนติเมตร และยาวประมาณ 8-14 เซนติเมตร มีเส้นอยู่ 3 เส้นออกจากโคนใบ
รางจืดสรรพคุณ
- ใบ รากและเถา สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในหลายลักษณะ เช่น นำมา ตากให้แห้งและบดบรรจุในแคปซูล นำมาต้มกับน้ำดื่ม หรือนำมาทำเป็นชาชงดื่ม
- ใช้ใบหรือเถาสดประมาณ 10-15 ใบ หรือนำเถาขนาด 10 เซนติเมตร มา ต้มในน้ำประมาณ 10 ลิตร ต้มน้ำอาบแก้โรคผิวหนัง ลดอาการแพ้ ผดผื่นคัน โดยใช้อาบทุกวัน เป็นเวลา 5-7 วัน
- นำดอกราง จืดมาบดให้ละเอียดผสมกับน้ำแล้วกรองแยกเอากากออกเอา น้ำซึ่งมีสีม่วงอ่อนหรือสีคราม ใช้ทำของหวาน ใช้หุงข้าว หรือทำสีธรรมชาติใช้ผสมลงในอาหาร
- คนโบราณเชื่อว่า การดื่มน้ำราง จืดสามารถช่วยแก้คุณไสย ยาสั่งหรือ มนต์ดำ
- ใบราง จืดตากแห้งแล้วนำมาบดให้ละเอียดใช้ผสมอาหารหมู อาหารไก่ จะช่วยเสริมภูมิต้านทานต่อโรค และช่วยรักษาให้สัตว์มีอัตราการรอดสูงขึ้นเมื่อเป็นโรค
- ทุกส่วนของต้นราง จืดมีสารต้านอนุมูลอิสระสามารถออกฤทธิ์กำจัดสาร ตั้งต้นของเซลล์มะเร็ง ดังนั้นจึงช่วยต้านการเกิดเซลล์มะเร็งและลดจำนวนเซลล์มะเร็ง นอกจากนี้ยังช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์ ช่วยป้องกันเซลล์จากสารพิษ ทำให้ผิวสดใส ผิวพรรณเต่งตึงและช่วยต้านการแก่
- นำทุกส่วนมาต้มดื่ม ใช้แก้พิษ ยาเบื่อ ทำลายและกำจัดสารพิษ
- นำทุกส่วนมาตำหรือบดผสมน้ำ ใช้พอกแผล ระงับอาการปวด ลดอาการบวม และกำจัดพิษจากสัตว์ต่อย เช่น งูกัด แมงป่อง ตะขาบ แมงดาทะเล
- ทุกส่วนช่วยลดและกำจัดสารพิษของเห็ดพิษทำให้บรรเทา อาการจากพิษเห็ดและรักษาพิษจากเห็ดพิษ
- ทุกส่วนออกฤทธิ์ต้านการอักเสบเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาแผล เช่น รักษาไวรัสเริม อีสุกอีใสและงูสวัด ด้วยการบดผมน้ำเล็กน้อย ก่อนนำไปประคบบริเวณรอยแผลเริม
- นำมาต้มน้ำดื่มแก้อาการร้อนใน แก้กระหายน้ำ แก้อาการเมาค้าง ดังนั้นจึงสามารถใช้บำบัดผู้ป่วยที่มีอาการติดสุราเรื้อรัง
- นำมาต้มดื่มแก่อาการติดบุหรี่
- ช่วยขับปัสสาวะและทำให้อยากอาหาร นอกจากนี้ยังช่วยบรรเทา อาการท้องเสียเนื่องจากอาหารเป็นพิษ
- ช่วยปกป้องเซลล์ตับและไตจากพิษของสารเคมี
- รักษาโรคไข้หวัด รักษาโรคติดเชื้อในกระแสเลือด สามารถต้านและ กำจัดเชื้อโรคบางชนิดในกระแสเลือด
- ช่วยลดความดันโลหิต ปรับระดับความดันของหัวใจให้เป็นปกติ
- ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ป้องกันไขมันอุดตันและความเสี่ยงของ โรคหัวใจ
- ช่วยกระตุ้นระบบควบคุมความดันของหัวใจให้เป็นปกติ ป้องกันการ เกิดโรคหลอดเลือดในสมอง
- ปรับประจำเดือนให้มาปกติ สำหรับหญิงที่คลอดบุตรใหม่ ใช้สำหรับ ต้มดื่มขับน้ำคาวปลา ช่วยฟื้นฟูร่างกายให้กลับสภาพเดิมโดยเร็ว
ข้อควรระวัง
ข้อควรระวังที่ผู้ใช้ต้องรู้คือเนื่องจากราง จืดเป็นสมุนไพรเดี่ยวจึงไม่เหมาะ สำหรับกินต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลานานเพราะอาจมีผลกับตับ ไต และระบบเลือด อย่างไรก็ตามพืชสมุนไพรชนิดนี้มีประโยชน์มากมายมหาศาลหากปลูกไว้ตามบ้านก็เหมือนมียาที่รักษาได้สารพัดโรค การปลูกต้นราง จืดนั้นทำได้ไม่ยากเพราะว่าไม่ต้องดูแลอะไรมากและไม่ค่อยมีโรคและแมลงรบกวน การปลูกนั้นทำโดยใช้กิ่งปักชำ กิ่งตอน หรือต้นที่ได้จากการเพาะเมล็ดมาปลูกลงดินรอบบ้านหรือกำแพงรั้ว สิ่งที่ผู้ปลูกจะได้รับก็คือมียาไว้ใช้ในครอบครัวแล้วมีไม้ประดับที่มีดอกอันสวยงามไว้ประดับบ้าน
รางจืด แก้แพ้วัคซีน
จากการศึกษาพบว่าโรคหรืออาการที่สามารถใช้รางจืดรักษาได้ มีดังนี้
- อาหารเป็นพิษ
- แพ้ยา แพ้อาหาร
- สูดดมและสัมผัสสำรเคมีเกษตร
- เป็นลมพิษ
- แมลงสัตว์กัดต่อย
โดยรูปแบบการใช้รางจืดมีทั้งชนิดรับประทำนและใช้ภายนอก เช่น ใช้เป็นชำชง ใบสดเคี้ยวกลืนน้ำ กากใช้พอกแผล ใบเถาหรือรากใช้ต้มดื่ม ใบสดผสมเหล้าขาวใช้ทำแผล ส่วนระยะเวลาการหายจากโรคหลังจากใช้รางจืด พบว่าเริ่มมีอาการดีขึ้นเฉลี่ยภายใน 20 นาที และอาการหายเป็นปกติเฉลี่ยภายใน 60 นาที (ผลจาก งานวิจัยรางจืด)
- เป็นยาเขียวลดไข้
- ใช้ถอนพิษผิดสำแดง และพิษอื่นๆ
- ใช้แก้ร้อนใน กระหายน้ำ
- รักษาโรคหอบหืดเรื้อรัง
- แก้ผื่นคันจากอาการแพ้ต่างๆ
- ใช้แก้พิษเบื่อเมาเนื่องจากเห็ดพิษ สารหนู หรือยาฆ่าแมลง
- แก้ประจำเดือนไม่ปกติ
- แก้ปวดหู
โทษของใบรางจืด
อาการไม่พึงประสงค์ที่พบจากการศึกษา อาจพบได้ดั้งนี้
- มีอาการความดันโลหิตลดลงเล็กน้อย
- น้ำตาลในเลือดลดลง
- เกิดอาการเวียนศีรษะ ใจ
- กิดอาการอาเจียน
หมายเหตุ : มีสาเหตุจาก อาหารเป็นพิษ, เมา กลอย และแพ้กุ้ง ซึ่งอาการดังกล่าวกลับมาเป็นปกติในภายหลัง สอดคล้องกับ การศึกษาความปลอดภัยจากการ รับประทานยาแคปซูลสารสกัดสมุนไพรรางจืด ในอาสาสมัครสุขภาพดี ระยะที่ 1 เพื่อศึกษาความปลอดภัยระยะสั้น และอาการข้างเคียง (Sittiprom, Amnauypattanapon, Pattaraarchachai, Itharat, Kietinun, 2012) (ผลจาก งานวิจัยรางจืด)
ที่มา:cmu.ac.th