ภงด 1
ภงด 1 คือ ภงด 1 เป็นภาษีเงินได้ที่หักจาก เงินเดือน เงินสวัสดิการ เงินค่าล่วงเวลา ของพนักงานลูกจ้าง และต้องนำส่งให้กรมสรรพากรในเดือนถัดไปหลังจ่ายเงินเดือน กำหนดจ่ายชำระก่อนวันที่ 7 ของทุกๆ เดือน พูดได้ว่า
ใครบ้าง? ที่เป็นผู้หัก และ ผู้ถูกหัก
- ผู้มีหน้าที่หัก -บุคคล ห้างหุ้นส่วน บริษัท สมาคม คณะบุคคล
- ผู้ที่ถูกหัก – ลูกจ้าง พนักงาน หรือ บุคคลที่ได้รับเงินจากการจ้างงานเท่าๆ กันทุกเดือน
*ทั้งหมดนี้ล้วนแล้วแต่อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่มทั้งหมด ถือเป็นการนำส่งเงินภาษีอีกประเภทหนึ่ง
ให้คำนวณเงินได้พึงประเมินเสมือนหนึ่งว่าได้จ่ายทั้งปีโดยให้นำเงินได้ พึงประเมินที่จ่ายแต่ละคราวคูณด้วยจำนวนคราวที่จะต้องจ่าย (ต่อปี) ดังนี้
วิธีคำนวณหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย
- แต่หากพนักเข้าใหม่ระหว่างปี ให้คูณเฉพาะเดือนที่เริ่มทำงานและจ่ายเงินเดือนครั้งแรก เช่น เข้าทำงาน เดือน เมษายน และเริ่มจ่ายเงินเดือน เมษายน ให้ จำนวนเงินที่จ่าย คูณด้วย 9 เดือน
ค่าลดหย่อน เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่จะนำไปคำนวณรวม มีอะไรบ้าง ?
-
- หักส่วนตัว 50 % ไม่เกิน 100,00 บาท
- ลดหย่อนภรรยาหรือสามี (ภรรยา/สามีไม่มีเงินได้)
- บุตรชอบด้วยกฎหมายหรือบุตรบุญธรรมคนละ 30,000 บาท (บุตรชอบด้วยกฎหมายไม่จำกัดจำนวน บุตรบุญธรรมหักลดหย่อนได้ไม่เกิน 3 คน)
- ค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาที่อายุเกิน 60 ปี ท่านละ 30,000 บาท (กรณีสามี/ภรรยาไม่มีเงินได้ สามารถลดหย่อนบิดามารดาของภรรยา/สามีที่อายุเกิน 60 ปีได้อีกท่านละ 30,000 บาท)
- ค่าอุปการะเลี้ยงดูคนพิการหรือทุพพลภาพ 60,000 บาท
- ค่าเบี้ยประกันชีวิต (กรมธรรม์ 10 ปีขึ้นไป) ได้ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท
- ค่าเบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดา หักได้ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15,000 บาท (บิดามารดามีเงินได้ไม่เกิน 30,000 บาทในปีที่ใช้สิทธิยกเว้นนั้น)
- ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อที่อยู่อาศัยตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาทต่อปี
***หมายเหตุ ค่าลดหย่อยอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ทุกปีภาษี จำเป็นต้องตรวจสอบเป็นประจำทุกๆ ปี
- ภงด1
การคำนวณ ภ.ง.ด.1
-
- เงินได้พึงประเมิน (ทั้งปี) เสมือนจ่ายเต็มทั้งปี มาจาก เงินได้ x จำนวนคราวที่จ่าย
- หัก ค่าใช้จ่าย (50% ไม่เกิน 100,000 บาท)
- หัก ค่าลดหย่อน (ล.ย.01)
- เงินได้สุทธิ (ยกเว้น 150,000 บาท)
- คูณ อัตราภาษี(ก้าวหน้า)
- ภาษีเงินได้
- หาร จำนวนคราวที่จ่าย
- ภาษีหัก ณ ที่จ่าย
ความรับผิดของผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย
-
- ถ้าผู้จ่ายเงินซึ่งมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย มิได้หักและนำส่ง หรือได้หักและนำเงิน ส่งแล้วแต่ไม่ครบจำนวนที่ถูกต้อง ผู้จ่ายเงินต้องรับผิดร่วมกับผู้มีเงินได้ในการเสียภาษีที่ต้อง ชำระตามจำนวนเงินภาษีที่มิได้หักและนำส่ง หรือตามจำนวนที่ขาดไป แล้วแต่กรณี ในกรณีที่ผู้จ่ายเงินได้หักภาษีไว้แล้ว ให้ผู้มีเงินได้ซึ่งต้องเสียภาษีพ้นความรับผิด ที่ต้องชำระเงินภาษีเท่าจำนวนที่ผู้จ่ายเงินได้หักไว้ และให้ผู้จ่ายเงินรับผิดชำระภาษีจำนวนนั้น แต่ฝ่ายเดียว (มาตรา 54 แห่งประมวลรัษฎากร)
- ถ้าผู้จ่ายเงินซึ่งมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ไม่นำเงินภาษีส่งภายในกำหนดเวลา ตาม จะต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของเงินภาษี ที่ต้องนำส่ง ทั้งนี้ ให้คำนวณเงินเพิ่มเป็นรายเดือน (เศษของเดือน ให้นับเป็น 1 เดือน) นับแต่ วันพ้นกำหนดเวลายื่นแบบฯ จนถึงวันยื่นแบบฯ และนำส่งภาษี (มาตรา 27 แห่งประมวล รัษฎากร) ถ้าผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายไม่ยื่นแบบฯ ภายในกำหนดเวลาตาม 3. เว้นแต่จะ แสดงว่าได้มีเหตุสุดวิสัย ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท (มาตรา 35 แห่งประมวล รัษฎากร)
- ผู้ใดโดยเจตนาไม่ยื่นรายการที่ต้องยื่น เพื่อหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากร ต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (มาตรา 37 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร)
สถานที่ยื่นแบบ และกำหนดเวลาในการนำเงินภาษีส่ง
นำส่งให้พนักงานภายใน 7วัน นับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงิน ที่สรรพากรพื้นที่สาขาในท้องที่ที่ผู้มีหน้าที่ หักภาษี ณ ที่จ่ายมีสำนักงานตั้งอยู่ซึ่งได้มีการจ่ายเงิน ปัจจุบันมี นําส่ง ภ.ง.ด. 1 ผ่านอินเตอร์เน็ต
ยื่นภาษี ภงด 1 ออนไลน์ *ยื่นแบบออนไลน์ในเว็บไซต์ของกรมสรรพากร
ตัวอย่าง การคำนวณ ภ.ง.ด.1
บริษัท ปังปอน จำกัด มีพนักงาน 5 คน รายละเอียดแต่ละคนดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 นำข้อมูลที่คำนวณได้ ไปกรอกในใบแนบ ตามแบบฉบับที่สรรพากรกำหนด
จะสั่งเกตุได้ว่า มีบางคน ไม่ถูกหัก ภาษี ณ ที่จ่าย เนื่องจาก เมื่อคำนวณ แล้วรายได้ไม่ถึงเกณฑ์ ที่ต้องเสีย แต่ก็ใส่ไว้เพื่อความสะดวกในการ จัดทำ แบบ ภ.ง.ด. 1ก เพื่อสรุปอีกทีสิ้นปี
ขั้นตอนที่ 2 เมื่อได้ข้อมูลในใบแนบแล้ว ก็ทำการใส่ข้อมูลลงใน แบบ ภ.ง.ด.1
ขั้นตอนที่ 3 เมื่อได้ข้อมูลทั้ง 2 แล้ว ก็นำส่งได้ทั้ง ในทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ ยื่นตามเขตพื้นที่กรมสรรพากร ของท่านและรับใบเสร็จ ใบเหลือง หรือปริ้นจากอินเตอร์หากยื่นเน็ต
ในการยื่นแบบ ภ.ง.ด.1 พนักงาน ลูกจ้างทั่วไป อาจไม่จำเป็นต้องรับรู้ เพราะ โดยปกตินายจ้างจะเป็นผู้จัดทำ แต่ สิ่งที่สำคัญที่ ลูกจ้างต้องทราบ คือ เมื่อนายจ้าง หักเงินบ้างส่วนไว้แล้วนำส่ง ลูกจ้างเอกก็ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.91 ตามในแต่ละเดือน หรือยินยอมให้นายจ้าง ยื่นแบบให้ เนื่องจาก ภ.ง.ด.1 นั้นเป็นภาษีอีกรูปแบบของการจัดเก็บภาษีจากภาครัฐ เพื่อแสดงข้อเท็จจริงจากการได้รับเงินได้ของบุคคลที่เป็นลูกจ้าง พนักงาน ในแต่เดือนของแต่ละบุคคลว่าได้รับมาเท่าไร หากพนักงานที่ได้รับเงินเดือนมากพอที่จะถึงเกณฑ์การเสียภาษีแต่ไม่ยอมเสียภาษี สรรพากรจะสามารถตรวจสอบได้จากการยืนยันยอดจากแบบ ภ.ง.ด.1 ที่เคยนำส่ง
ภงด 1ก คือ
ภ.ง.ด. 1ก คืออะไร แบบภ.ง.ด.1 ก คือใบสรุปการจ่ายเงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง โบนัส สวัสดิการอื่นที่จ่ายให้กับพนักงาน (เช่น ค่าเช่า) ภาษีที่นายจ้างออกแทนให้ และภาษีของพนักงานรอบรายปี ซึ่งเจ้าของธุรกิจจะต้องทำส่งเพื่อแจ้งให้กรมสรรพากรทราบทุกๆปีและปีละหนึ่งครั้ง
ความแตกต่างของ ภ.ง.ด 1 และ ภ.ง.ด. 1ก
ภ.ง.ด. 1 ใช้สำหรับแจ้งพนักงานที่มีรายได้ถึงฐานที่ต้องเสียภาษีแล้วเท่านั้น และต้องทำส่งกรมสรรพากรทุกเดือน ภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไปทุกเดือน
ภ.ง.ด. 1 ก ใช้สำหรับแจ้งพนักงานทุกคนแม้ว่าจะมีรายได้ไม่ถึงฐานที่ต้องเสียภาษีก็ตาม และทำส่งกรมสรรพากรแค่ปีละหนึ่งครั้งก่อนวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ของปีถัดไป
ใครบ้างที่ต้องทำ ภ.ง.ด 1ก
ทุกคนที่มีรายได้ต้องมีหน้าที่เสียภาษีบุคคลธรรมดา ดังนั้นเจ้าของธุรกิจเมื่อมีการจ้างพนักงานโดยรับเป็นเงินเดือน จึงต้องมีหน้าที่ออกเงินเดือนและสลิปเงินเดือนให้แก่พนักงาน ซึ่งในสลิปเงินเดือนจะต้องบอกรายละเอียด รายได้แต่ละเดือนที่พนักงานได้ จำนวนเงินที่พนักงานโดนหักค่าภาษี หรือค่าประกันสังคมต่างๆ และยอดสะสมรายได้ตลอดปี
สถานที่ยื่นแบบ และกำหนดเวลาในการนำเงินภาษีส่ง
นำส่งพนักงานก่อนวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ของปีถัดไป ที่สรรพกรพื้นที่สาขาในท้องที่ๆ
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมีสำนักงานตั้งอยู่
ใบแนบ ภงด.1ก excel ฟรี
มื่อเริ่มต้นทำธุรกิจแน่นอนว่าเมื่อเวลาผ่านไป ธุรกิจอาจจะไม่ได้เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ ไม่ว่าจะด้วยเหตุสุดวิสัยอะไร ที่ส่งผลให้ต้องปิดกิจการลง การเตรียมความ
คํา นามนับได้ 100 คํา คํา นามนับไม่ได้ 100 คํา uncountable noun มีอะไรบ้าง คํานามนับได้ มีอะไรบ้าง นามนับไม่ได้ เป็นเอกพจน์หรือพหูพจน์ คํานามนับได้
ตัวกลางชนิดใดแสงไม่สามารถผ่านได้ กฎการสะท้อนของแสง คลื่นแสงที่ตามองเห็น ประโยชน์ แสงเกิดจากอะไร สรุปเรื่องแสง แสงและการมองเห็น ม.3 สรุป สมบัติ
เกณฑ์คงค้าง ตัวอย่าง เกณฑ์คงค้าง มาตรฐานการบัญชี เกณฑ์คงค้างและเกณฑ์เงินสด ความหมาย เกณฑ์คงค้าง มีอะไรบ้าง เกณฑ์คงค้าง 65 บัญชีเกณฑ์คงค้าง
อุณหภูมิ อุณหภูมิเท่าไรถึงเป็นไข้ ไข้มีกี่ระดับ กี่องศาถึงเป็น อาการร้อนในร่างกาย อุณหภูมิตอนนี้ อุณหภูมิคนปกติ อุณหภูมิคือ อุณหภูมิร่างกาย อุณหภูมิอากาศ
การพัฒนาเศรษฐกิจของชุมชน ตัวอย่าง การพัฒนาเศรษฐกิจ มีอะไรบ้าง การพัฒนาเศรษฐกิจมีขอบเขต การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ ส่งผล อย่างไร ต่อ นักเรียน
การจัดการเรียนการสอนออนไลน์ 5 รูปแบบ การจัดการเรียนการสอนออนไลน์ในช่วงสถานการณ์โควิด – 19 การเรียนการสอนออนไลน์ หมายถึง การเรียนการสอน
บทความแนะนำ หมวดหมู่: เศรษฐกิจ
จำนวนคอมเมนต์ของโพสต์ ID 143321: 1530