QA

QA QC โรงงานทำอะไรบ้างอันไหนดีกว่า 2 MUST KNOW เงินเดือนเท่าไหร่

Click to rate this post!
[Total: 4474 Average: 5]

QC QA

การรับประกัน และ ควบคุมคุณภาพสินค้า

แต่ละองค์กรก็จะมีการตั้งนิยามคำจำกัดความหรือให้ประเด็นในเรื่องของ QC กับ QA ไม่เหมือนกัน เรามักจะพบว่าเวลาที่เราจะต้องไปทำงานในภาคส่วนของอุตสาหกรรมต่างๆ คือ คำว่า Quality assurance กับ Quality Control ทั้งนี้ ในแต่ละองค์กรมักเกิดการสับสนระหว่าง 2 กระบวนการนี้ เราจะพูดถึงความแตกต่าง และความเหมือน ระหว่าง QA และ QC แตกต่างกันอย่างไร

QA คือ

( Quality Control ) คือ การควบคุมคุณภาพ การสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าในลักษณะของกิจกรรมที่เราควบคุม เป็นการทำกิจกรรมต่างๆ ที่สร้างความถึงพอใจให้กับลูกค้า โดยการควบคุมการผลิตสินค้า ผลิตภัณฑ์ สินค้า หรือบริการ ให้ได้ตามาตราฐานที่ลูกค้ากำหนดไว้ เช่น การตรวจสอบชิ้น งานการทดสอบชิ้นงาน การควบคุมการผลิตสิ้นค้า การแก้ไขปัญหาคุณภาพต่างๆ ระว่างการผลิตชึ้นงาน เป็นต้น

qc engineer คือ

qc engineer เป็นตำแหน่งงาน วิศวกรควบคุมคุณภาพงาน มีหน้าที่ ควบคุม ตรวจสอบ ผลิตภัณฑ์ระหว่าง ผลิต และเสร็จสิ้นการผลิต ก่อนส่งถึงมือลูกค้า ทั้งนี้ยังรวมถึงการ วิเคาะห์ และวางแผนป้องกัน แก้ไข้ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้

การควบคุมคุณภาพ หมายถึง

การควบคุมคุณภาพ quality control

  • การควบคุม ( control ) หมายถึง การบังคับให้กิจกรรมต่างๆ สามารถดำเนินการได้ตามกระบวนการที่วางไว้ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการผลิตที่มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพสูงสุด
  • คุณภาพ ( quality ) หมายถึง ผลิตภัณฑ์ที่ถูกผลิตให้มีความเหมาะสมกับการใช้งาน ( fineness for use ) มีการออกแบบที่ดี ( quality of design ) และมีการผลิตที่ได้มาตรฐาน โดยลักษณะของผลิตภัณฑ์ที่ได้ต้องมีความมั่นคงคงทน มีรูปร่างสวยงาม สามารถใช้ได้ดี และไม่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้งาน
การควบคุมคุณภาพสินค้าหมายถึง
การควบคุมคุณภาพสินค้ าหมายถึง

หลายคนอาจจะเคยได้ยินเรื่องการควบคุมคุณภาพว่าจะต้องมีมาตรฐานตามหลักการสากล แต่หลักการควบคุมมาตรฐานเหล่านั้นเราจะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นไปตามหลักมาตรฐานจริง ๆ เมื่อเราจะต้องซื้อหรือใช้บริการสินค้าหรือผลิตภัณฑ์สิ่งใดสิ่งหนี่งเมื่อเราเห็นว่าสินค้าหรือผลิตภัณฑ์สิ่งนั้นผ่านการควบคุมมาตรฐานมาแล้ว สิ่งที่จะสามารถการันตี ความหมายของ qc ได้ว่าผลิตภัณฑ์เหล่านี้ได้มาตราฐาน iso นั้นเอง

คุณลักษณะของผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ

  • สามารถปฏิบัติงานได้ ( performance ) ผลิตภัณฑ์มีความสามารถในการใช้งานได้ตามหน้าที่ที่ได้ถูกกำหนดไว้
  • มีความสวยงาม ( aesthetics ) สินค้าสามารถดึงดูดใจลูกค้าได้ในทุกๆด้าน ได้แก่ กลิ่น รสชาติ รูปร่าง ผิวสัมผัส สีสัน เป็นต้น
  • มีคุณสมบัติพิเศษ ( special features ) ผลิตภัณฑ์ควรมีความโดดเด่นรวมทั้งมีคุณสมบัติพิเศษแตกต่างจากสินค้าชนิดอื่นๆ
  • มีความสอดคล้อง ( conformance )  ราคาและคุณภาพของผลิตภัณฑ์มีความเหมาะสมกัน
  • มีความปลอดภัย  (safety ) คือ มีความเสี่ยงอันตรายในการใช้ผลิตภัณฑ์ต่อผู้ใช้งานน้อยที่สุด
  • สามารถเชื่อถือได้ ( reliability ) คือ ผลิตภัณฑ์ควรใช้งานได้อย่างสม่ำเสมอ
  • ความคงทน ( durability ) คือ ระยะเวลาหรืออายุการใช้งานผลิตภัณฑ์ที่ยาวนานในระดับหนึ่ง
  • คุณค่าที่รับรู้ ( perceived quality ) คือ ผลิตภัณฑ์มีภาพลักษณ์ที่ดี และสามารถสร้างความประทับใจ แก่ผู้บริโภคได้
  • มีบริการหลังการขาย ( service after sale ) คือ ธุรกิจมีบริการหลังการขายที่ดีและต่อเนื่องแก่ผู้บริโภค ในการคงคุณสมบัติและการทำงานของผลิตภัณฑ์ให้มีความสมบูรณ์และมีคุณภาพ รวมไปถึงมีการรับฟังความคิดเห็นของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์

QA คือ

(Quality Assurance) เป็นการประกันคุณภาพ สร้างความมั่นใจ มีการวางแผนไว้ล่วงหน้าอย่างมีระบบ เพื่อให้เกิดความมั่นใจได้ว่าผลิตภัณฑ์หรือบริการจะมาสามารถตอบสนองความต้องการทางด้านคุณภาพได้ตามตกลง ซึ่ง การประกันคุณภาพนี้เป็นสิ่งที่ช่วยสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้าว่าจะได้รับสินค้าและบริการที่มีคุณภาพเท่านั้น เพราะบา’ครั้งชิ้นงานที่ต้องการอาจจะยังไม่เกิดขึ้น แต่เรารับประกันว่าจะผลิตออกมาได้ตามที่ต้องการ เช่น ลูกค้าต้องการเสื้อสีแดงที่ใช้ผ้า cotton 95% ทางบริษัท ก็มีการ QA สร้างความั่นใจว่าจะได้ใช้วัตถุดิบผ้า cotton 95% ลูกค้าจึงพึงพอใจ และสั่งทางบริษัทผลิตเสื้อสีแดง เป็นต้น

เพิ่มเติ่ม : qa engineer คือ หน่วยงานรับประกันคุณภาพ (QA) ที่ทำงานร่วมกันกับ หน่วยงานควบคุมคุณภาพ จะมี “ วิศวกรคุณภาพ ( qc engineer )” ที่ดูแลอยู่ส่วนใหญ่ก็จะเรียกว่า “ QA Engineer หรือ Quality Assurance Engineer ”โดยจะใช้หลักการควบคุมคุณภาพคล้ายกันไปทั่วโลก แต่จะมีมาตรฐานเรื่องละเอียดในการผลิตหรือคุณภาพแบบละเอียดยิบย่อยแต่ต่างกันออกไป ทั้งนี้พอเรารับรู้แล้วว่าสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ผ่าน การควบคุมมาตรฐานคุณภาพ หรือ (Quality Control–Q.C.) คนส่วนใหญ่จึงรู้สึกวางใจว่าจะสามารถได้รับสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพมาตรฐานมาแล้ว แต่ทว่าคำว่าการควบคุมมาตรฐานที่ใช้กันอยู่ตามหลักสากลนั้นแท้จริงคือการควบคุมคุณภาพอย่างไร มีหลักเกณฑ์มาตรฐานลักษณะใด แล้วเราจะสามารถไว้วางใจเรื่องการควบคุมคุณภาพเหล่านั้นได้จริงหรือไม่

qc คือ

ขั้นตอนการกําหนดคุณภาพ มีอะไรบ้าง

งาน qa คือ วางแผนการ ควบคุมคุณภาพสินค้า มีขั้นตอนดังนี้

  1. กำหนดคุณภาพในระดับนโยบาย ในเรื่องนี้บริษัทหรือผู้บริหารระดับสูง จะต้องประกาศเป็นนโยบายให้ชัดเจน ที่เกี่ยวกับคุณภาพ ซึ่งจะนำไปสู่แนวทางการปฏิบัติ ในสายการผลิตทุกขั้นตอน และนำไปสู่การส่งเสริมการลงทุน
  2. ออกแบบผลิตภัณฑ์ ให้ได้มาตรฐานตามที่กำหนดขึ้น
  3. การควบคุมคุณภาพในการผลิต ในขั้นนี้ถือว่าเป็นขั้นดำเนินการต่อจาก ขั้นที่ 1 ขั้นที่ 2 เมื่อกำหนดนโยบายออกหรือได้รูปแบบที่แน่นอนแล้วก็ดำเนินการผลิตในกระบวนการ ให้เป็นไปตามแบบกำหนด
  4. การควบคุมคุณภาพสินค้าสำเร็จรูปก่อนส่งจำหน่าย เป็นขั้นตอนหลังจากกระบวนการผลิต การควบคุมขั้นนี้ ก็ต้องระมัดระวัง เช่น การตรวจสอบคุณภาพ (Inspection) การคัดเลือกผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป (Selection products) การบรรจุ (Packing) การขนส่ง (Transportation) ต่างๆ เป็นต้น

ทั้งนี้ เพื่อให้สินค้าและบริการถึงมือลูกค้าตามเงื่อนไข และข้อกำหนดที่ได้ตกลงกันไว้ ด้วยความพึงพอใจที่สุด ของทุกฝ่าย และเพื่อให้เกิดความเข้าใจขั้นตอนการควบคุมคุณภาพ

การควบคุมคุณภาพสินค้า
การควบคุมคุณภาพสินค้า

วิธีการควบคุมคุณภาพสินค้า มีอะไรบ้าง ?

การตรวจสอบคุณภาพวัตถุดิบ (Raw Material) สำหรับด้านการทำงานเพื่อควบคุมคุณภาพ QC จะต้องแบ่งลักษณะของการดำเนินการโดยจะแบ่งเป็นการควบคุมมาตรฐานคุณภาพสำหรับก่อนดำเนินงาน ในระหว่างการดำเนินงาน และภายหลังการดำเนินงานแล้ว ซึ่งจะมีทั้งหมด 5 ขั้นตอน ดังต่อไปนี้

qc โรงงาน ทําอะไรบ้าง

  • ตรวจสอบคุณภาพวัตถุดิบ (RAW MATERIAL)
  • ตรวจสอบคุณภาพบรรจุภัณฑ์ (PACKAGING)
  • ตรวจสอบคุณภาพเนื้อผลิตภัณฑ์ (BULK)
  • ตรวจสอบคุณภาพระหว่างการผลิต
  • ตรวจสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป (FINISH GOOD)

1.การตรวจสอบคุณภาพ วัตถุดิบ (Raw Material)

การตรวจสอบคุณภาพวัตถุดิบ (Raw Material)
การตรวจสอบคุณภาพวัตถุดิบ (Raw Material)

ผู้ผลิตจะต้องคัดสรรวัตถุดิบที่ได้รับมาตรฐานเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด เรียกได้วว่าวัตถุดิบทุกชิ้นจะต้องมี Certificate of Analysis โดยจะก่อนนำวัตถุดิบต่าง ๆ มาผลิตใหม่จะต้องทราบข้อมูลการนำเข้าจากผู้ขายอย่างชัดเจน ต้องมีการสุ่มตรวจวัตถุดิบที่สั่งซื้อเป็นระยะ ไม่สามารถเลือกวัตถุดิบทดแทนหรือหาวัตถุแทนที่ได้เองตามใจชอบ จำต้องมีการกำหนดวัตถุที่จะนำมาใช้อย่างชัดเจน หากปรับเปลี่ยนวัตถุดิบเพียงหนึ่งอย่างก็จะต้องได้รับการวางแผนการดำเนินงานใหม่ทั้งหมดตั้งแต่ QA

2.การตรวจสอบคุณภาพ บรรจุภัณฑ์ (Packaging)

การตรวจสอบคุณภาพบรรจุภัณฑ์ (Packaging)
การตรวจสอบคุณภาพบรรจุภัณฑ์ (Packaging)

การบรรจุภัณฑ์จะต้องได้รับการกำหนดขนาดและจะต้องมีมาตรฐานเป็นไปตามที่ได้รับการรับรองแล้วว่าสามารถนำมาใช้ในการบรรจุสินค้าชนิดนั้น ๆ เรียกได้ว่าต้องมีความเหมาะสมกันระหว่างสินค้าและบรรจุภัณฑ์ และจะต้องมีการสุ่มตรวจด้วยเช่นเดียวกัน

3.การตรวจสอบคุณภาพ เนื้อผลิตภัณฑ์ (Bulk)

การตรวจสอบคุณภาพเนื้อผลิตภัณฑ์-(Bulk)
การตรวจสอบคุณภาพเนื้อผลิตภัณฑ์-(Bulk)

การที่จะทราบได้อย่างแน่นอนว่าสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ได้รับมาตรฐานการผลิตเป็นไปตามที่ต้องการทุกชิ้นหรือไม่ จะใช้วิธีการสุ่มตรวจเพื่อทำการทดสอบเนื้อของสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ โดยก็จะเป็นการทดสอบเนื้อสารใน 2 ลักษณะ ดังนี้

  • ใช้หลักการในการทดสอบทางกายภาพและทางเคมีของเนื้อผลิตภัณฑ์ (Physical Chemical Testing) ในลักษณะภายนอก (Appearance) อาทิเช่น สี (Color) ,กลิ่น (Odor) ,ความเป็นกรด-ด่าง (pH) และความเข้มข้นของผลิตภัณฑ์ (Viscosity) เป็นต้น
  • ใช้หลักการในการทดสอบเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา และเชื้อที่สามารถเป็นสาเหตุหรือก่อโรคต่าง ๆ ขึ้นไป โดยจะต้องถูกสุ่มเพื่อส่งตรวจที่ห้องปฏิบัติการที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO17025 เท่านั้น และจะต้องเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด (Microbiology Testing)

4.การตรวจสอบคุณภาพ ระหว่างการผลิต

การตรวจสอบคุณภาพระหว่างการผลิต
การตรวจสอบคุณภาพระหว่างการผลิต

สำหรับการควบคุมมาตรฐานในส่วนนี้เป็นการตรวจคุณภาพมาตรฐานระหว่างการผลิต จำเป็นจะต้องใช้การกำหนดสุ่มที่เป็น QC Line มาทำการสุ่มตรวจไลน์ในการผลิตขึ้นมา อาจจะกำหนดสุ่ม 10 ชิ้นแรกของการผลิต หรือการหยิบสุ่มตรวจทุกชั่วโมง ว่าเป็นไปตามมาตรฐานการประกันคุณภาพ QA หรือไม่

5.การตรวจสอบคุณภาพ ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป (Finish Good)

ลำดับสุดท้ายคือการการตรวจคุณภาพภายหลังการผลิตแล้วนั้นเองว่าที่ผลิตมานั้นได้รับมาตรฐานในการผลิตจริงตรงตามที่กำหนดไว้หรือไม่อย่างไร ซึ่งจะต้องใช้ลักษณะของการเก็บผลิตภัณฑ์สำหรับนำมาตรวจสอบภายหลังอีกครั้ง ซึ่งก็คือการเก็บ Retain Sample ขึ้นมาเท่านั้น

QS คือ

ผู้ตรวจสอบปริมาณงาน Quantity Surveyor (QSr) หมายถึง บุคคลที่ทำการตรวจสอบปริมาณงานจากรูปแบบที่ได้รับเพื่อทำการประเมินงาน ลักษณะงาน เป็นการทำงานที่จะต้องใช้บุคคลเข้าช่วยว่าสามารถบรรลุผลการดำเนินงานตรงตามที่ต้องการทั้งหมดหรือไม่ต้องอาศัยความรู้เพื่อจัดทำเอกสาร บางครั้งเรียกตำแหน่งงานนี้ว่าเป็นนักพยากรณ์ ซึ่งจะต้องทำงานตั้งแต่การดูปริมาณสินค้าหรืองานทั้งหมด มีการสำรวจราคาเพื่อนำมาประเมินการคำนวณงาน ราคาการดำเนินงาน ตลอดจนการเข้าควบคุมด้านงบประมาณ และจะต้องมีการจัดทำเอกสารด้านรายจ่ายเกี่ยวกับโครงการอย่างครอบคลุม

ผู้ตรวจสอบปริมาณงาน Quantity Surveyor
ผู้ตรวจสอบปริมาณงาน Quantity Surveyor

ดังนั้นการทำงานทั้งหมดจำต้องมีความเกี่ยวข้องกันในการดำเนินงานเพื่อสร้างคุณภาพของสินค้าขึ้นมา ซึ่งกระบวนการดำเนินการจะต้องมีทั้งเรื่องการตรวจสอบและการควบคุมคุณภาพ และการประกันคุณภาพ  และมีผู้ตรวจสอบปริมาณงาน (QS) โดยเมื่อมีการดำเนินการครอบคลุมตามรายละเอียดได้อย่างครบทุกด้านแล้ว ก็จะเป็นการตรวจสอบเพื่อป้องกันความผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นได้ โดยจะสามารถเรียกวงจรการควบคุมคุณภาพเหล่านี้ได้ว่าเป็น “วงจรคุณภาพ” (Quality Loop)

ประโยชน์ของการควบคุมคุณภาพ QC

  1. ตรวจสอบคุณภาพวัตถุดิบที่นำมาใช้ในการผลิต
  2. ลดค่าใช้จ่ายในการผลิตที่ทำให้การผลิตเสียหาย
  3. ลดการทำงานซ้ำซ้อนของการผลิตสินค้าและชิ้นงาน
  4. สร้างบรรยากาศในการทำงานให้ดีขึ้น เนื่องจากไม่ต้องแก้ชิ้นหลายรอบ

ตัวอย่างงาน

ตัวอย่าง เช่น ครีมยี่ห้อ A บรรจุแพ็ตแน่นหนาอย่างสวยงาม บอกว่าขนาดบรรจุ 50 กรัม แต่พอสินค้ามาจริงกระปุกนั้นอาจจะบรรจุเหลือเพียง 35 กรัม ก็ได้เช่นกัน ดังนั้นจากตัวอย่างข้างต้นนี้ รัฐบาลจึงได้กำหนดให้สินค้าหรือผลิตภัณฑ์มีการมาตรฐานคุณภาพสินค้าให้เป็นไปตามคุณภาพที่เหมาะสมของสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ตามชนิดนั้น ๆ เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาให้กับผู้บริโภค โดยจะมีวิธีการกำหนดการควบคุมด้วยการใช้วิธีกำหนดคุณภาพด้วยมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (ม.อ.ก.) ด้วยมาตรฐานที่ได้รับการตรวจสอบจากหน่วยงานภายนอกที่เข้าช่วยควบคุมเรื่องคุณภาพ ทำให้ผู้บริโภคที่ซื้อหรือใช้สินค้าหรือผลิตภัณฑ์มั่นใจการใช้สินค้ามากขึ้น สามารถเชื่อถือและไว้วางใจได้จริง เชื่อถือฉลากได้ตามที่กล่าวอ้างคุณภาพทางลักษณะเป็นทางกายภาพและทางเคมี ได้แก่ ความเป็นกรด น้ำหนัก ขนาด และสี เป็นต้น

คุณสมบัติลักษณะ

ผู้ที่ต้องการใช้ความรู้พื้นฐานและความรู้เกี่ยวกับเรื่องของมาตรฐาน ISO ว่ามีลักษณะอย่างไรบ้าง

1.QC (Quality Control) การควบคุมคุณภาพ

มักจะต้องการผู้ปฎิบัติงานที่มีคุณสมบัติเบื้องต้นคือ เป็นบุคคลที่ได้รับวุฒิตั้งแต่ปริญญาตรีขึ้นไป จบด้านที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมแห่งนั้นก็จะพิจารณาเป็นพิเศษได้ด้วย สามารถใช้ความรู้พื้นฐานเรื่องการควบคุมงานคุณภาพได้และมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องของมาตรฐาน ISO แต่ละประเภท สามารถใช้เครื่องมือที่เกี่ยวข้องได้เป็นอย่างดี ต้องการบุคคลที่มีประสบการณ์หรือเคยฝึกอบรมมาก่อนแล้ว โดยจะต้องการบุคคลที่มีบุคลิกภาพเก่งด้านการวางแผนงาน สื่อสารได้ดีเยี่ยมสามารถถ่ายทอดให้ผู้อื่นเข้าใจได้เป็นอย่างดี และต้องเป็นคนช่างสังเกต มีความรอบคอบ เป็นคนละเอียดในการทำงาน

2.QA (Quality Assurance) การประกันคุณภาพ

มักจะต้องการผู้ปฎิบัติงานที่มีคุณสมบัติเบื้องต้นคือ เป็นบุคคลที่ได้รับวุฒิตั้งแต่ ปวส. ขึ้นไป สามารถใช้ความรู้พื้นฐานเรื่องการควบคุมงานคุณภาพได้และมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องของมาตรฐาน ISO แต่ละประเภท สามารถใช้เครื่องมือที่เกี่ยวข้องได้เป็นอย่างดี ต้องการบุคคลที่มีประสบการณ์หรือเคยฝึกอบรมมาก่อนแล้ว โดยจะต้องการบุคคลที่มีบุคลิกภาพที่มีระเบียบวินัยอย่างเคร่งครัดเป็นพิเศษ และจะต้องเป็นคนช่างสังเกต มีความรอบคอบ เป็นคนละเอียดในการทำงาน

3.QS (Quantity Surveyor) ผู้ตรวจสอบปริมาณงาน

มักจะต้องการผู้ปฎิบัติงานที่มีคุณสมบัติเบื้องต้นคือ เป็นบุคคลที่ได้รับวุฒิตั้งแต่ปริญญาตรีขึ้นไป ในสาขางานที่เกี่ยวข้อง เช่น วิศวกรรม วิทยาศาสตร์การอาหาร เป็นต้น  โดยจะต้องการผู้ที่มีประสบการณ์ก็จะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ และมีบุคลิกภาพที่ช่างสังเกต มีความรอบคอบ เป็นคนละเอียดในการทำงาน และมีทักษะโดดเด่นเรื่องการสื่อสารได้เป็นอย่างดี

การจะตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ใดก็ตามที่เราเห็นแล้วว่ามีการควบคุมมาตรฐานการผลิตซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานสากล ISO แต่ละประเภทก็จะทำให้ผู้บริโภคเกิดความมั่นใจได้มากขึ้นอย่างแน่นอน จากนี้หากจะต้องการเลือกใช้หรือซื้อบริการอะไรก็ตามโดยที่เลือกจากสัญลักษณ์ ISO กำหนด ก็จะทำให้ทราบได้ทันทีว่าสินค้าหรือผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ผ่านการสควบคุมมาตรฐานมาแล้วเป็นอย่างไร

อย่างไรก็ตามมาตรฐาน ISO ก็จะกำหนดตัวเลขไม่เหมือนกัน เช่น ISO 900, ISO 45001,ISO 13485,ISO 22000, ISO 27001 ก็จะไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับลักษณะของอุตสาหกรรมที่จะเหมาะสมกับมาตรฐาน ISO ไหน ยิ่งนานวันเข้ามาตรฐานก็จะเพิ่มระดับการเข้าควบคุมให้มีมากขึ้นเพราะอุตสาหกรรมมีมาเท่าไร

มาตรฐาน ISO QA QC

ระดับและมาตรฐานก็จะต้องเพิ่มขึ้นไปตามยุคสมัยให้สอดรับกับเทคโนโลยีการผลิต ปัจจุบันจึงมีหน่วยงานหรือองค์กรหันมาให้ความสำคัญเรื่องการควบคุมมาตรฐานคุณภาพให้มีมากขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อสร้างความเป็นเลิศทางด้านคุณภาพ ถือเป็นการสร้างจุดแข็งในการเติบโตขององค์กรหรืออุตสาหกรรมชนิดนั้น ๆ ให้แข็งแกร่งระยะยาวได้อีกด้วย เพราะอุตสาหกรรมที่ได้รับมาตรฐานการควบคุมคุณภาพได้มากเท่าไร

โอกาสสร้างตลาดจากระยะประเทศไปสู่เวทีโลกก็จะง่ายมากยิ่งขึ้น เพราะถือเป็นมาตรฐานระดับสากล นับว่าเป็นข้อดีที่ส่งผลต่อทั้งกับฝั่งของผู้ผลิตเองหรือฝั่งด้านอุตสาหกรรมรวมทั้งเป็นผลดีต่อกลุ่มผู้บริโภคที่จะสามารถมั่นใจเรื่องสินค้าได้อย่างไม่ต้องเสียเวลาไปนั่งตรวจสอบเองให้เสียเวลาอีกด้วย

สรุป

  • qa ย่อมาจาก Quality assurance คือ การประกันคุณภาพ ส่วน Quality Control คือ การควบคุมคุณภาพ พูดให้เข้าใจง่าย ๆ การควบคุมคุณภาพ ( QC ) คือ ส่วนหนึ่ง หรือ ขึ้นตอน และวิธีการหนึ่งของการประกันคุณภาพ ( QA ) แต่หากจะมองภาพรวมใหญ่กว่านั้น ก็จะมีอีกคำหนึ่ง คือ Quality Management System หรือคำว่า QMS คือ การจัดการหรือทำระบบขึ้นมากเพื่อควบการการประกันด้านคุณภาพในภาพรวมที่ใหญ่กว่าqc ย่อมาจาก Quality Control การควบคุมคุณภาพ เป็นการตรวจสอบสินค้าและบริการให้เป็นไปตามมาตรฐาน (Standard) ซึ่งถูกต้องหรือสอดคล้องตรงตามแผนที่ได้วางไว้ ทั้งในด้านคุณภาพ (Quality) และปริมาณ (Quantity)
บทความแนะนำ หมวดหมู่: วัยรุ่น
จำนวนคอมเมนต์ของโพสต์ ID 159622: 2219