กู้กยศ

กยศ กู้ยืมเพื่อการศึกษาวิธีการคนค้ำประกันทุนหมุนเวียน 3 กยศ?

Click to rate this post!
[Total: 113 Average: 5]

กยศ

กยศ คือ กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) จัดตั้งขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2538 และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2539 ให้เริ่มดำเนินการกองทุนในลักษณะเงินทุนหมุนเวียน ตามนัยมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติเงินคงคลัง พ.ศ. 2491

กยศ
กยศ

ต่อมารัฐบาลได้พิจารณาเห็นความสำคัญของกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษามากขึ้น จึงได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2541 มีผลให้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษามีฐานะเป็นนิติบุคคล โดยอยู่ในการกำกับดูแลของกระทรวงการคลัง มีวัตถุประสงค์ให้กู้ยืมเงินแก่นักเรียนหรือนักศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์เพื่อเป็นค่าเล่าเรียน ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษา และค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการครองชีพระหว่างศึกษา

e-studentloan

e-studentloan คือ ระบบการให้กูยืมเงินผ่านอินเตอร์เน็ต ระบบ e-Studentloan เป็นระบบเพื่อให้ถานศึกษาดำเนินการให้กู้ยืมเงินกองทุน กยศ. และ กรอ. แก่นักเรียนนักศึกษา เข้าระบบโดยผ่านเว็ปไซด์ กองทุน www.studentloan.or.th ซึ่งใช้ปีการศึกษา 2563 เป็นปีสุดท้าย ปัจจุบันได้เปลี่ยนไปใช้ระบบใหม่ที่ชื่อว่า dsl

กรอ

กรอ. คือ กองทุนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาที่ผูกกับรายได้ในอนาคตเพื่อให้สิทธิ์ประชาชนสามารถเข้าถึงโอกาสทางการศึกษาได้อย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกันในระดับอุดมศึกษา และอนุปริญญาโดยให้ผู้เรียนรับภาระค่าใช่จ่ายตามความเหมาะสม และชำระเงินคืน เมื่อมีรายได้ถึงเกณฑ์ที่กำหนดผ่านระบบการจัดเก็บภาษีของกรมสรรรพกร

ซึ่งระบบการกู้ยืมเงินแบบ กรอ. จะทำให้สถานศึกษาของรัฐและเอกชนดำเนินการจัดการศึกษาในเงื่อนไขที่มีความเท่าเทียมกัน มีความเป็นอิสระในการดำเนินงานและแข่งขันกันพัฒนาคุณภาพทางการศึกษาสู่การผลิตบัณฑิตในสาขาวิชาการต่าง ๆ ที่มีคุณภาพและสอดคล้องกับความต้องการของประเทศ

กยส กรอ
ความแตกต่างระหว่าง กยศ กรอ
ข้อแตกต่าง กยศ. กรอ
แบบที่ 1 แบบที่ 2
คุณสมบัติ -กู้ได้ทุกสาขาวิชา-จำกัดรายได้ครอบครัว -เฉพาะสาขาวิชาที่กำหนด- รายได้ครอบครัวเกิน200,000บาท/ปี

สามารถกู้เฉพาะค่าเล่าเรียน

-เฉพาะสาขาวิชาทีกำหนด-รายได้ครอบครัวไม่เกิน200,000 บาท/ปี สามารถกู้ค่าเทอม+ค่าครอบชีพได้
ด้านการพิจารณา -มีการสัมภาษณ์และพิจารณา-อนุมัติโดย มหาวิทยาลัย -คุณสมบัติตรงไม่สัมภาษณ์ -มีการสัมภาษณ์ จากมหาวิทยาลัย แลพิจารณาอนุมัติโดย กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
วงเงินให้กู้ยืม -วงเงินไม่เกิน 70,000 บ./ปี-ขอค่าครองชีพได้ 2,200 /เดือน -วงเงินไม่เกิน 70,000 บ./ปี-ไม่มีค่าครองชีพ -วงเงินไม่เกิน 70,000 บ./ปี-มีค่าครองชีพ2,200 /เดือน
ขั้นตอนการดำเนินการกู้ยืม ผ่านระบบ e-Studentloan ผ่านระบบ e-Studentloan ผ่านระบบ e-Studentloan
การชำระหนี้ -ปลอดหนี้ 2 ปี หลังจากจบการศึกษาหรือไม่กู้ต่อ และเริ่มชาระหนี้ในปีที่ 3-ถ้ายังไม่มีรายได้ขอผ่อนผันชำระหนี้ได้-อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1/ปี

-ชำระหนี้ ในกองทุน กยศ.

-ชำระหนี้หลังจากจบการศึกษา และเมื่อมีรายได้ถึงเกณฑ์ที่กองทุนฯกำหนด-ต้องรายงาน สถานะรายได้ต่อกองทุนฯ ในเดือนมีนาคมของทุกปี-อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1/1

-ชำระหนี้ ในกองทุน กรอ.

-ชำระหนี้หลังจากจบการศึกษา และเมื่อมีรายได้ถึงเกณฑ์ที่กองทุนๆกำหนด

-ต้องรายงาน การมีรายได้ต่อ

กองทุนฯ ในเดือนมีนาคมของ

ทุกปี

-อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1ปี

-ชำระหนี้ ในกองทุน กรอ.

ทำความรู้จักกับ กยศ. กันเถอะ

ไม่มีเงินทุนสำหรับการศึกษาเล่าเรียนจะกู้ที่ไหนได้บ้าง? คำถามที่คนส่วนใหญ่อยากรู้จะมีหน่วยงานไหนบ้างที่ให้เงินกู้เพื่อการศึกษาโดยเฉพาะหรือไม่? กู้ได้จริงไหม? จะเลือกมองหาแหล่งเงินทุนจากเอกชนก็กลัวดอกเบี้ยแพง ๆ จะหาเงินกู้นอกระบบก็กลัวความไม่ปลอดภัย ..รัฐบาลร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงได้จัดตั้งหน่วยงานเพื่อให้ทุนการศึกษา ตลอดจนค่าใช้จ่ายที่จำเป็นระหว่างที่ต้องมีการเรียนให้ด้วย นั้นก็คือ แหล่งเงินทุนจากรัฐบาลที่มีชื่อว่า “กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา” หรือเรียกสั้น ๆ ว่า กยศ. นั้นเอง แล้วกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.)นี้ มีการจัดสรรงบประมาณอย่างไร ใครบ้างที่สามารถขอยืมเงินจากกองทุนนี้ วันนี้เราไปรู้จักกับกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.)กันเลย

ที่มาของกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.)

เนื่องมาจากรัฐบาลได้ตระหนักดีว่าการที่พัฒนาประเทศชาติของเราที่จะต้องอาศัยการพัฒนาเชิงบุคคล ให้ประชาชนให้ชาติได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างเข้าถึง ส่งเสริมให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ส่งผลให้ประเทศได้พัฒนาขึ้นตามไปด้วย จึงได้เกิดความร่วมมือระหว่างรัฐบาล โดยได้ประชุมหารือกันและออกมาเป็นมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2539 โดยมีคำสั่งให้จัดตั้งกองทุนลักษณะเงินหมุนเวียนขึ้นมา ระบุไว้ตามมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติเงินคงคลัง พ.ศ. 2491 ซึ่งได้กำหนดเงินกองทุนนี้ไว้ให้ประชาชนได้กู้ยืมได้เพื่อใช้สำหรับการศึกษา ต่อมาก็มีประกาศไว้ด้วยในพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2541 ว่ากองทุนนี้เป็นนิติบุคคลซึ่งจะต้องอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงการคลัง

สำหรับข้อกฎหมายเกี่ยวข้องกับกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาล่าสุด มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษา พระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2560 ซึ่งถูกบัญญัติไว้เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2560 และได้มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2560 อธิบายเกี่ยวกับกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาว่าจากเดิมอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงการคลัง ให้มาอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐมนตรีแทน โดยเป็นหน่วยงานแบบนิติบุคคลและถือว่าหน่วยงานนี้ไม่ได้เป็นหน่วยงานราชการซึ่งไม่อยู่ภายใต้กฎหมายที่ว่าด้วยระเบียบบริการราชการแผ่นดินหรือไม่ได้อยู่ภายใต้กฎหมายรัฐวิสาหกิจ ซึ่งว่าด้วยกฎหมายวิธีการงบประมาณและกฎหมายอื่น เพราะว่ากองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษานี้มีความเกี่ยวข้องกับเรื่องรายได้ของอนาคตตามระเบียบกระทรวงการคลัง ซึ่งแสดงถึงลักษณะการจัดการงบประมาณเพื่อการนำเงินมาใช้บริการจัดการและดำเนินงานได้อย่างจำกัด รวมทั้งลักษณะการจัดสรรงบของกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาไม่ได้มีลักษณะที่สอดรับกับแผนนโยบายการผลิตกำลังคนและการพัฒนาประเทศ จึงมีความคิดเห็นอย่างเป็นทางการว่าควรมีการบูรณาการการบริหารจัดการรวมทั้งมีการดำเนินการของกองทุน กยศ. และกองทุน กรอ.ให้เป็นหน่วยงานแบบเอกภาพไปเลย แต่ก็จะต้องอยู่ภายใต้กฎหมายเดียวกัน โดยจะมีเงื่อนไขเรื่องมาตรการบางอย่างเฉพาะสำหรับหน่วยงานเพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพต่อการบริการจัดการ

วัตถุประสงค์หลักของการก่อตั้งกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.)

วัตถุประสงค์ก่อตั้งสำหรับกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษานี้จะให้เงินทุนกับผู้ที่ต้องการเป็นนักเรียนหรือนักศึกษาที่ไม่มีทุนทรัพย์เพียงพอ มีความคาดแคลนเงินในการเล่าเรียน โดยจะสามารถกู้ยืมเงินได้จากกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษานี้ทั้งสำหรับเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อค่าเล่าเรียนแต่ละเทอม หรือค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา และยังสามารถกู้เงินเพื่อใช้จ่ายสำหรับค่าครองชีพระหว่างที่ได้เล่าเรียนได้อีกด้วย

วิสัยทัศน์ (Vision) กยศ

หน่วยงานมีความมุ่นเน้นเรื่องวิสัยทัศน์อย่างกว้างไกลเรื่องการศึกษา โดยมีแนวคิดว่า “เป็นกองทุนหมุนเวียนที่ให้โอกาสทางการศึกษาเพื่อสร้างอนาคตที่มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน”

ค่านิยม

มีคำจำกัดความว่า TRUST และสามารถขยายความได้ ดังนี้

  • T – Teamwork ต้องมีการทำงานร่วมกันเป็นทีมอย่างมีประสิทธิภาพ
  • R -Responsibility ต้องมีความรับผิดชอบ
  • U- Unity ต้องเกิดความสามัคคี
  • S -Serviced mindedness ต้องมีความใส่ใจให้บริการเป็นเลิศ
  • T – Transparency ต้องมีความโปร่งใส และสามารถตรวจสอบได้

พันธกิจ (Mission)

มีการสร้างพันธกิจเพื่อให้เกิดเป้าหมายในการทำงานของหน่วยงานได้เป็นอย่างดี โดยมีแนวคิดความต้องการในการมุ่งเน้นการสนับสนุนรวมทั้งการส่งเสริมการศึกษาด้วยการให้เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาให้แก่นักเรียนนักศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ ให้สามารถศึกษาในสาขาวิชาที่เป็นความต้องการหลัก หรือสามารถศึกษาได้ในสาขาวิชาขาดแคลน หรือสาขาวิชาที่กองทุนมุ่งส่งเสริมเป็นพิเศษ ตลอดจนส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถเรียนดีเพื่อสร้างความเป็นเลิศ กล่าวคือผู้กู้สามารถกู้เงินเพื่อเรียนต่อในระดับปริญญาโทได้

เป้าหมาย (Goal)

เป็นเรื่องที่ต้องพัฒนาไปให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของหน่วยงานเพื่อให้สามารถบรรลุความต้องการในการสร้างบุคลากรที่มีคุณภาพต่อไปได้ ซึ่งกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ก็มีเป้าหมายหลัก 3 อย่าง ดังนี้

  1. เป้าหมายในการบริหารจัดการเงินให้กู้ยืมที่ตรงกลุ่มเป้าหมายและสอดคล้องกับการพัฒนาประเทศ ซึ่งเป็นเป้าหมายที่ต้องบรรลุด้วยหน่วยงานเอง
  2. หน่วยงานต้องสามารถสร้างเครือข่ายที่เข้มแข็ง มีการสนับสนุนและร่วมมือกับกองทุนฯ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหาร การจัดการเงินกองทุนเพื่อให้กู้ยืม รวมทั้งต้องสามารถลดอัตราหนี้ค้างชำระของผู้กู้ยืมลงได้
  3. หน่วยงานจะต้องเป็นองค์กรที่มีสมรรถนะสูง (Smart SLF) โดยแนวทางการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อมาช่วยในการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ และจะต้องทำงานอย่างโปร่งใสสามารถเข้าตรวจสอบได้

ขั้นตอนการกู้ กยศ

ขั้นตอนการกู้ กยศ
ขั้นตอนการกู้ กยศ

การยื่นของเงินกู้เงินจากกองทุน

สามารถขอกู้ยืมได้ผ่านระบบแบบดิจิทัล  (Digital Student Loan Fund System : DSL) สามารถยื่นเรื่องผ่านสถานศึกษาเพื่อช่วยเข้าใช้งาน หรือขอกู้ยืมเองก็ได้เช่นกัน แบ่งเป็นระบบการกู้ยืมสำหรับ นักเรียน / นักศึกษา และระบบการกู้ยืมสำหรับสถานศึกษา สามารเข้าระบบได้ทาง https://www.studentloan.or.th/th/highlight/1546921466

อย่างไรก็ตามจะมีการขอตรวจสอบคุณสมบัติและเช็คว่าอยู่ในเงื่อนไขผู้ที่สามารถขอเงินกองทุนได้หรือไม่ รวมทั้งเป็นการยินยอมให้เปิดเผยข้อมูลเพื่อมีการตรวจสอบข้อมูลส่วนบุคคล

ระบบแบบดิจิทัล  (Digital Student Loan Fund System : DSL) สามารถเข้าใช้งานได้ทั้งทางเว็บไซด์ และช่องทางแอปพริเคชัน

  1. ผู้กู้ยืมสามารถเข้าใช้งานผ่านแอปพริเคชัน “กยศ. Connect”
  2. สถานศึกษาสามารถเข้าใช้งานผ่านเว็บไซด์ของกองทุนเท่านั้น ที่ https://institute.dsl.studentloan.or.th/

ขั้นตอนการให้กู้ยืม กยส มีดังนี้

  1. ผู้กู้ยืมเงินรายใหม่ ทำการ Pre-Register เพื่อรับรหัสผ่าน
  2. ผู้กู้ยืมเงินรายเก่าและรายใหม่ (รหัสผู้กู้ยืมเงิน) ยื่นแบบคำขอกู้ยืมเงิน/แบบคำยืนยันขอกู้ยืมเงิน ภายในระยะเวลาที่กองทุนกำหนดพร้อมจัดเตรียมเอกสารประกอบการพิจารณาคุณสมบัติ
  3. สถานศึกษา (คณะกรรมการฯ ประจำสถานศึกษา) พิจารณาคัดเลือกผู้กู้ยืมเงิน
  4. สถานศึกษา (รหัสผู้ปฏิบัติงาน) บันทึกกรอบวงเงินทุกภาคการศึกษา
  5. สถานศึกษา (รหัสผู้บริหาร) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิกู้ยืม
  6. ผู้กู้ยืมเงินรายใหม่ หรือรายเก่า ที่เปลี่ยนระดับ/เปลี่ยนสถานศึกษา” (รหัสผู้กู้ยืมเงิน)บันทึกและพิมพ์สัญญากู้ยืมเงิน พร้อมจัดเตรียมเอกสารประกอบจัดส่งให้สถานศึกษาเพื่อจัดทำสัญญา
  7. สถานศึกษา (รหัสผู้บริหาร) ยืนยันความถูกต้องของสัญญากู้ยืมเงิน
  8. ผู้กู้ยืมเงินรายเก่าและรายใหม่ (รหัสผู้กู้ยืมเงิน) บันทึกจำนวนเงินค่าเล่าเรียน และ/หรือค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องฯ (กรณีมีการกู้ยืม)
  9. สถานศึกษา (รหัสผู้ปฏิบัติงาน) ลงทะเบียนพร้อมกับพิมพ์ และให้ผู้ที่เกี่ยวข้องลงนาม
  10. สถานศึกษา (รหัสผู้บริหาร) ตรวจสอบใบลงทะเบียนและส่งข้อมูล
  11. สถานศึกษา รวบรวมสัญญาและเอกสารประกอบ และแบบลงทะเบียน นำส่งธนาคาร

วิธีกู้ กยศ

เอกสารที่ต้องเตรียมเบื้องต้นเพื่อยื่นกู้เงินกองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.)

ไม่ว่าจะเคยหรือไม่เคยยืมเงินจากกองทุนมาก่อนก็จะต้องเตรียมเอกสารให้เรียบร้อย โดยกรณีที่ต้องมีการใช้เอกสารก็จะเป็น กรณีผู้กู้รายใหม่ต้องการยื่นคำขอกู้ผ่านระบบ DSL หรือกรณีผู้กู้รายเก่าเปลี่ยนสถานศึกษา, มีการเปลี่ยนหลักสูตรการเรียน, การเปลี่ยนสาขาวิชาเรียน เป็นต้น โดยจะต้องเตรียมเอกสาร ดังนี้

  1. เอกสาร “หนังสือให้ความยินยอมในการเปิดเผยข้อมูล” จะต้องดาวน์โหลดที่ studentloan.or.th/sites/default/files/files/highlight/10. ร่าง_หนังสือให้ความยินยอมเปิดเผยข้อมูล 24.pdf
  2. เอกสารสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้กู้, ผู้ปกครอง, คู่สมรส (ถ้ามี)
  3. เอกสารเพื่อใช้ในการรับรองรายได้ของผู้ปกครอง
  • กรณีมีรายได้มั่นคงเป็นพนักงานงานประจำ ใช้เอกสารสลิปเงินเดือน หรือหนังสือรับรองเงินเดือน
  • กรณีที่รายได้ไม่ได้มีความมั่นคง ไม่ได้เป็นพนักงานประจำ ต้องใช้สำเนาบัตรประจำตัวของเจ้าหน้าที่รัฐ,ราชการ,หัวหน้าสถานศึกษา อย่างใดอย่างหนึ่ง พร้อมด้วยการแนบเอกสารแบบฟอร์ม กยศ.102 ดาวน์โหลดที่ studentloan.or.th/sites/default/files/files/highlight/กยศ.102.pdf

เอกสารทั้งหมดจะต้องถูกรับรองสำเนาถูกต้องให้เรียบร้อยก่อนนำส่ง และจะต้องอัพโหลดผ่านระบบ DSL โดยเห็นรายละเอียดให้ชัดเจน

การชำระเงินให้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.)

สำหรับคนที่เคยยืมเงินจากกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) จะมีสถานะเป็นลูกหนี้ และจะต้องมีการชำระเงิน โดยช่องทางการชำระเงินมีด้วยกันหลายแห่ง สามารถเลือกได้ว่าจะส่งเงินชำระให้กับกองทุนเองผ่านธนาคารกรุงไทย, ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ทางแอปพริเคชัน หรือเคาเตอร์บริการมากมาย ฯลฯ ทั่วประเทศ หรือจะให้บริษัท (นายจ้าง) เป็นผู้หักเงินนำส่งก็ได้เช่นกัน ทั้งนี้การหักชำระรายเดือนจะมีข้อดีสำหรับผู้กู้กยศ.เองตรงที่ยิ่งนำส่งเงินเร็วเท่าไรก็หมดเงินต้นเร็วดอกเบี้ยจะถูกลง เพราะเป็นลักษณะของลดต้นลดดอก ดังนั้นก็นำส่งแบบรายเดือนก็จะเสียดอกเบี้ยถูกกว่าการชำระหนี้แบบรายปีเพราะเสียดอกเบี้ยน้อยกว่านั้นเอง

กรณีเป็นพนักงานประจำ ลูกจ้างบริษัท

ไม่ได้กำหนดรายได้ขั้นต่ำต่อเดือนว่าจะต้องมีรายได้เท่าไร จึงจะถูกหักเงินเดือนเพื่อนำส่งกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) โดยจะสามารถเลือกได้ว่าจำชำระหนี้แบบรายเดือน หรือชำระหนี้แบบรายปี เมื่อได้ทำสัญญากับทางบริษัทต้นสังกัดนายจ้างจะมีหน้าที่หักเงินและนำส่งให้สรรพากรได้เมื่อพบว่าคุณเป็นลูกหนี้ของกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ซึ่งก็จะมีการปรากฏไว้ในสัญญากฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่งต่าง ๆ ตามมาตรา 12 ของสัญญากู้ยืมเงิน กยศ. ว่าด้วยการยินยอมให้นายจ้างหักเงินเดือนนำส่ง แล้วตั้งแต่วันที่ได้เริ่มกู้ยืมเงินกับทางกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) แต่กรณีที่คุณเป็นลูกหนี้ของกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) แต่ไม่ยินยอมให้มีการหักเงินเดือน และมีส่วนทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย มีสิทธิ์ถูกเลิกจ้างได้โดยไม่จำเป็นต้องบอกล่วงหน้า ทั้งนี้ก็จะแล้วแต่กรณีอีกเช่นกัน ว่าหากไม่ต้องการให้มีการหักเงินเดือนนำส่งก็จะต้องยื่นเรื่องไปที่กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) เพื่อพิจารราตามแต่กรณีไป

สำหรับคนที่ต้องการติดต่อเรื่องเกี่ยวกับการหักเงินเดือนก็สามารถติดต่อกับกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ที่ฝ่ายบริหารหนี้ 2 โดยตรง โทรศัพท์ : 094-2126250 ถึง 79 (มีทั้งหมด 30 คู่สาย)

จะสามารถดูยอดหนี้กยศ.ของเราได้จากที่ไหน

สำหรับคนที่ต้องการทราบว่าตอนนี้จำนวนเงินที่ได้กู้ยืมเพื่อใช้ในการศึกษาเป็นเท่าไรแล้ว สามาถตรวจสอบจำนวนยอดหนี้ ณ ปัจจุบันของเราได้เลย

  • เว็บไซด์กองทุนเพื่อให้สามารถตรวจสอบยอดหนี้ โดยจะต้องลงชื่อเข้าใช้งานส่วนบุคคล ได้ที่ https://wsa.dsl.studentloan.or.th/#/rms/rms-login
  • กดตรวจสอบสถานะเกี่ยวกับการโอนเงิน คำถาม หรือข้อมูลส่วนบุคคลเบื้องต้น และตรวจสอบหนี้คงค้างได้ทาง แอปพริเคชันของกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) Mobile Application ดาวน์โหลด “กยศ. Connect”

เป็นช่องทางที่อำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้งานของกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ได้โดยตรง และมีความปลอดภัยเรื่องข้อมูลส่วนบุคคลสูง

ข้อมูลติดต่อ กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.)

  • ชื่อสำนักงาน กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.)
  • ที่อยู่สำนักงานใหญ่ เลขที่ 89 อาคาร เอไอเอ แคปปิตอล เซ็นเตอร์ ชั้น 5-6 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง กทม. 10400           โทรศัพท์ : 0-2016-2600 โทรสาร : 0-2016-2666
  • E-Mail: info@studentloan.or.th
  • Call Center (กยศ.): 0-2016-4888
ปก ฝันว่าเข้าห้องน้ำ
banknote
เพาะเมล็ด
สัมภาษณ์งานภาษาอังกฤษ
สระเสียงสั้นสามารถเปลี่ยนแปลง
คำคมชีวิต
บทความแนะนำ หมวดหมู่: วัยรุ่น
จำนวนคอมเมนต์ของโพสต์ ID 162142: 919