เช็คยอด กยศ.

7 วิธี เช็คยอดกยศ ตรวจสอบกรุงไทยสถานะด้วยบัตร?

เช็คยอดกยศ

กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) เปิดช่องทางตรวจสอบยอดหนี้ ผ่านแอปพลิเคชัน “กยศ. Connect” ทั้งระบบปฏิบัติการ iOS และ Android หรือทางเว็บไซต์ https://wsa.dsl.studentloan.or.th ให้บริการสำหรับผู้กู้ยืมที่ทำสัญญากับธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ไอแบงก์) ตั้งแต่วันที่ 16 พฤศจิกายน 2563 เป็นต้นไป ซึ่งผู้กู้ยืมยังคงสามารถชำระเงินผ่านช่องทางบริการรับชำระทั่วประเทศและ Mobile Banking ของทุกธนาคาร

เช็คยอดกยศ
เช็คยอดกยศ

เช็คยอด กยศ ได้ 2 ช่องทาง ดังนี้

  1. ผ่านช่องทาง Mobile Application กยศ.Connect ได้ทั้งระบบปฎิบัติการ iOS และ Android
  2. ผ่านทางเว็บไซต์  https://wsa.dsl.studentloan.or.th

เช็คยอด กยศ ด้วยบัตรประชาชน ผ่าน Application

  1. ทำการล็อคอินเข้าระบบ ด้วยบัตรประชาชนและรหัสที่ได้ทำการลงทะเบียนเอาไว้
  2. เลือกช่องทางรับรหัส OTP เพื่อใช้ยืนยันตัวตนในการเข้าใช้งานแอปพลิเคชั่น หากต้องการรับรหัสในช่องทางไหนให้ทำการติ๊กหน้าช่องทางนั้น และกดปุ่ม “รับรหัส OTP”
    วิธีเช็คยอด กยศ
    วิธีเช็คยอด กยศ
  3. ทำการใส่รหัส OTP ที่ได้รับจาก SMS หรือ อีเมล ที่ได้ทำการเลือกไว้ก่อนหน้านี้
  4. ทำการตั้งรหัส PIN เพื่อเป็นรหัสในการใช้งานแอปพลิเคชั่นในครั้งต่อ ๆ ไป
    วิธีเช็คยอด กยศ
    วิธีเช็คยอด กยศ
  5. เมื่อตั้งรหัส PIN ครั้งแรกเสร็จแล้วจะมีหน้าจอแนะนำวิธีการใช้งานคร่าว ๆ ของแอพพลิเคชั่นแสดงขึ้นมาเพื่อแนะนำวิธีการใช้งานเบื้องต้น
  6. ขั้นตอนสุดท้าย ระบบจะแสดงรายละเอียดข้อมูลต่าง ๆ เช่น ชื่อเจ้าของบัญชี เลขที่บัญชี ยอดเงินต้นคงเหลือ ยอดเงินกู้ทั้งหมด จำนวนเงินที่ชำระไปแล้ว (ทั้งที่เป็นแบบจำนวนเงิน และ แบบที่เป็นเปอร์เซ็นต์)
    วิธีเช็คยอด กยศ
    วิธีเช็คยอด กยศ
  7. แอปพลิเคชั่นจะมีระบบการแจ้งเตือนเมื่ผู้กู้ได้ทำการชำระเงิน และสามารถดูประวัติการชำระเงินได้
    วิธีเช็คยอด กยศ
    วิธีเช็คยอด กยศ

เปิดบัญชี กยศ

วิธีเปิดบัญชี กยศ ธนาคารกรุงไทย ดังนี้

เมื่อผุ้ขอกู้ได้รับอนุมัติให้กู้ยืมเงินแล้ว ให้ทำการเปิดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ เพื่อรับการโอนเงินค่าครองชีพรายเดือนได้ที่ ธนาคารกรุงไทย หรือ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย

  1. เปิดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ณ สาขาของธนาคารกรุงไทย โดยมีหลักฐาน ดังนี้ – หนังสือแจ้งผลการอนุมัติให้กู้ยืมเงินจากกองทุนเงินให้กู้ยืม เพื่อการศึกษาของสถานศึกษา (ฉบับจริง) – สำเนาบัตรประจําตัวประชาชน
  2. ติดต่อขอเปิดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์แบบมีสมุดคู่ฝากโดยอนุโลมให้เปิดบัญชีเป็นศูนย์บาท
  3. กรณีที่ต้องการทำบัตร ATM ให้นักเรียน นักศึกษาแจ้งความประสงค์การขอมีบัตร ATM โดยจะได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมแรกเข้า และค่าธรรมเนียมรายปีเฉพาะบัตร ATM ประเภทบัตรธรรมดาใบที่ 1 เท่านั้น และจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมรายปีเมื่อครบปี โดยการหักเงินจากบัญชี โดยนักเรียน นักศึกษา จะต้องมียอดเงินคงเหลือในบัญชี ไม่ต่ำกว่า 100 บาท
  4. กรณีที่เปิดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์แบบไม่มีสมุดคู่ฝากนักเรียน นักศึกษาจะต้องทำบัตร ATM และต้องสมัครใช้บริการ KTB Netbank ด้วย โดยจะได้รับกรณีที่นักเรียน นักศึกษาย้ายสถานศึกษาและขอเปิดบัญชี
  5. เงินฝากออมทรัพย์ใหม่ บมจ.ธนาคารกรุงไทย จะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมแรกเข้าและค่าธรรมเนียมรายปี เช่นเดียวกับลูกค้าทั่วไปการยกเว้นค่าธรรมเนียมเช่นเดียวกับข้อ 3

วิธีเปิดบัญชี กยศ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ดังนี้

  1. นักเรียน นักศึกษา เปิดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ณ สาขาของธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย โดยมีหลักฐาน ดังนี้ – หนังสือแจ้งผลการอนุมัติให้กู้ยืมเงินจากกองทุนเงินให้กู้ยืม เพื่อการศึกษาของ
  2. สถานศึกษา (ฉบับจริง) – สำเนาบัตรประจําตัวประชาชน
  3. ติดต่อขอเปิดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ได้ทั้งแบบมีสมุดคู่ฝากหรือแบบไม่มีสมุดคู่ฝาก โดยอนุโลมให้เปิดบัญชี เป็นศูนย์บาทได้ กรณีที่เปิดแบบไม่มีสมุดคู่ฝาก นักเรียน นักศึกษาจะได้รายละเอียดของบัญชี เป็นหลักฐานการเปิดบัญชี
  4. กรณีที่ต้องการทำบัตร ATM ให้นักเรียน นักศึกษาแจ้งความประสงค์การขอมีบัตร ATM โดยจะได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมแรกเข้า และค่าธรรมเนียมรายปีเฉพาะบัตร ATM ใบที่ 1 เท่

สถานศึกษาเปิดบัญชี กยศ

ให้สถานศึกษาที่ได้รับความเห็นชอบให้เข้าร่วมดำเนินงานกับกองทุน เปิดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ เพื่อรับการโอนเงินค่าเล่าเรียนและค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษา กับผู้บริหารและจัดการเงินให้กู้ยืม

ได้แก่ บมจ. ธนาคารกรุงไทย และ/หรือ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย โดยใช้ชื่อบัญชี บัญชีกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาของ ระบุชื่อสถานศึกษา  ตัวอย่าง “บัญชีกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาของ โรงเรียนประเทศไทย” เป็นต้น

นำบัตรประจำตัวประชาชนของของผู้มีอำนาจลงนามสั่งจ่ายในนามของสถานศึกษา

หลักฐานประกอบการเปิดบัญชี

1. เอกสารแสดงตนของผู้มีอำนาจลงนามสั่งจ่ายในนามของสถานศึกษา ดังนี้
– บัตรประจำตัวประชาชน หรือ
– บัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ/หรือบัตรประจำตัวข้าราชการ/หรือรัฐวิสาหกิจ/หรือองค์การของรัฐโดยต้องเป็นบัตรที่มีเลขประจำตัวประชาชนด้วย หรือ
– หนังสือเดินทาง (Passport) ที่ออกโดยกระทรวงการต่างประเทศ หรือใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ที่ระบุเลขประจำตัวประชาชน
2. หนังสืออนุมัติจัดตั้งสถานศึกษา
3. รายงานการประชุมคณะกรรมการให้สถานศึกษาเปิดบัญชีเงินฝากกับธนาคารหรือหนังสือแสดงความประสงค์ขอเปิดบัญชีเงินฝาก และกำหนดผู้มีอำนาจลงนามสั่งจ่าย และเงื่อนไขในการสั่งจ่ายโดยผู้มีอำนาจลงนามประทับตรา

หมายเหตุ :  ห้ามนำบัญชีดังกล่าวไปใช้วัตถุประสงค์อื่นที่ไม่เกี่ยวกับงานกองทุน