คำราชาศัพท์

หลักการใช้คําราชาศัพท์สังเกตสุภาพเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม 5 ข้อ?

Click to rate this post!
[Total: 178 Average: 5]

คําราชาศัพท์

คำราชศัพท์ คือ ถ้อยคำสุภาพที่นำมาใช้ให้ถูกต้อง มีความเหมาะสมกับฐานะของบุคคลในสังคมไทย เป็นคำศัพท์หลวงของทางราชการที่มีคุณค่า เป็นวัจนทางภาษาที่สวยงามมีความไพเราะอ่อนหวาน สะท้อนถึงความมีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่เจริญงอกงามในด้านจิตใจชองชาติไทย

คําราชาศัพท์
คําราชาศัพท์

ความหมายของคำราชาศัพท์ คือ เครื่องหมายที่แสดงถึงความเคารพ ความอ่อนน้อมถ่อมตน การมีมารยาทการรู้จักกาลเทศะเป็นขนมธรรมเนียมของไทยที่มีอัตลักษณ์ ยึดถือและนิยมปฏิบัติ รวมถึงถ่ายทอดกันมาจากบรรพบุรุษ เสมือนเป็นมรดกของประเทศไทย ที่สืบเนื่องกันมาในอดีตจากรุ่นสู่รุ่น

ความหมายของคำราชศัพท์

เพื่อให้ง่ายต่อการจดจำและการนำไปใช้ในโอกาสพิเศษต่างๆ จึงมีการจัดแบ่งและการจัดหมวดหมู่ คำราชาศัพท์หมวดต่างๆ เอาไว้อย่างชัดเจน เพื่อเป็นประโยชน์แก่นักเรียน นิสิตนักศึกษา ครูบาอาจารย์ ตลอดจนบุคคลที่ทำงานเกี่ยวข้องโดยทางตรงและประชาชนทั่ว ๆ ไปที่มีความสนใจศึกษาเกี่ยวกับ คำราชศัพท์และความหมาย

พจนานุกรมคําราชาศัพท์
พจนานุกรมคําราชาศัพท์

ถึงแม้ว่าแท้จริงแล้วอาจจะไม่ได้มีการนำคำราชศัพท์ และคำสุภาพ ถูกหยิบยกมาใช้กันในการดำเนินชีวิตประจำวันเท่าที่ควร แต่ก็ควรเป็นสิ่งหนึ่งที่ประชาชนคนไทยทุกคนควรใส่ใจ ให้ความสำคัญ เห็นคุณค่า และเป็นความรู้รอบตัวที่สามารถสร้างเสน่ห์ทางด้านการใช้ภาษาและการใช้ถ้อยคำที่สุภาพได้อย่างถูกต้องและดีเยี่ยม

  • คำสามัญ คือ คำนามที่ใช้เรียกสิ่งต่างๆ ทั่วๆไป ไม่ได้จำเพาะหรือเจาะจงว่าเป็นบุคคลใด หรือกลุ่มใด เป็นทั้งในแบบรูปธรรมและนามธรรม เช่น ผัก ผลไม้ ดอกไม้ อาหาร สัตว์ต่างๆ
  • คำสุภาพ คือ คำที่ไม่หยาบกระด้าง เป็นการหลีกเลี่ยงการใช้คำที่หยาบคาย มาใช้สื่อสารกับบุคคลที่มีสถานะระดับที่สูงกว่า สถานะระดับที่เท่ากัน หรือสถานะระดับที่น้อยกว่า เพื่อให้เกิดความเหมาะสมกับสภาพสังคมของไทย ทำให้ในปัจจุบัน คำสุภาพ ถูกนิยมนำมาใช้สื่อสารอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการกันมากขึ้น ทั้งในภาษาพูด และภาษาเขียน จึงทำให้มีการจัดแบ่งประเภทและการจัดหมวดหมู่ คำสุภาพหมวดต่างๆ

หลักการใช้คำราชาศัพท์

สามารถจำแนกตามประเภท ตามระดับความเหมาะสม และตามระดับความสำคัญของการนำมาใช้ ทำให้สามารถนำคำราชาศัพท์มาใช้กับบุคคลได้ในลักษณะเดียวกันหรือมีทิศที่สอดคล้องกันได้ ดังนี้

  1. พระมหากษัตริย์
  2. พระบรมวงศานุวงศ์
  3. พระภิกษุสงฆ์
  4. ขุนนางหรือข้าราชการชั้นสูง
  5. สุภาพชนทั่ว ๆ ไป

คำราชาศัพท์หมวด

เพื่อง่ายต่อการทำความเข้าใจ การศึกษา และการนำคำราชาศัพท์มาใช้งานได้อย่างถูกต้อง ตลอดจนเพื่อให้คำราชาศัพท์ ความหมายเหมือนกัน คือ เมื่อทำการสื่อสารแล้ว เกิดการรับรู้ร่วมกัน ความหมายเป็นไปในทิศทางเดียวกัน และเข้าใจในเรื่องราวเดียวกัน ว่ากำลังกล่าวถึงสิ่งๆเดียวกันหรือกล่าวถึงบุคคลคนเดียวกัน  จึงทำให้มีการแบ่งประเภทของหมวดคำราชาศัพท์ เอาไว้อย่างชัดเจน ดังนี้

คําราชาศัพท์ พร้อมความหมาย
คําราชาศัพท์ พร้อมความหมาย

ประเภทของหมวดคำราชาศัพท์

  1. คำราชาศัพท์หมวดเครื่องใช้

  • “พระแสงกรรบิด” ความหมาย  “มีดโกน”
  • “โต๊ะทรงพระอักษร” ความหมาย “โต๊ะเขียนหนังสือ”
  • “เครื่องพระสุคนธ์” ความหมาย  “เครื่องหอม”
  • “พระสุวรรณภิงคาร” ความหมาย  “คนโทน้ำ”
  1. คำราชาศัพท์หมวดร่างกาย

  • “พระภมู พระขนง” ความหมาย “คิ้ว”
  • “พระจักษุ พระเนตร” ความหมาย “ดวงตา”
  • “พระกมล พระหทัย” ความหมาย “หัวใจ”
  • “บั้นพระองค์ พระกฤษฎี” ความหมาย “สะเอว”
  1. คำราชาศัพท์หมวดอาหาร

  • “พระกระยาหาร” ความหมาย “ข้าว”
  • “เครื่องเสวย” ความหมาย “ของกิน”
  1. คำราชาศัพท์หมวดเครือญาติ

  • “พระชนนี” ความหมาย “มารดา แม่”
  • “พระชนก” ความหมาย “บิดา พ่อ”
  • “พระภัสดา พระสวามี ” ความหมาย “สามี”
  • “พระมเหสี พระชายา” ความหมาย “ภรรยา”
  1. คำราชาศัพท์หมวดกริยา

  • “พระราชปฏิสันถาร” ความหมาย “ทักทายปราศรัย”
  • “พระบรมราชวินิจฉัย” ความหมาย “ตัดสิน”
  • “พระบรมฉายาลักษณ์” ความหมาย “รูปถ่าย”
  • “ลงพระปรมภิไธย” ความหมาย “ลงสายมือชื่อ ลายเซน”
  1. คำราชาศัพท์หมวดสรรพนาม

  • “ข้าพระพุทธเจ้า” (แทนผู้พูด) ความหมาย “ใช้กับ พระมหากษัตริย์”
  • “ฝ่าพระบาท” (แทนบุรุษที่2)  ความหมาย “ใช้กับ เจ้านายชั้นสูง”
  1. คำราชาศัพท์หมวดที่ใช้กับพระภิกษุสงฆ์

  • “ปลงผม” ความหมาย “โกนผม”
  • “ทำวัตรเช้า ทำวัตรเย็น” ความหมาย “สวดมนต์ตอนเช้า ตอนเย็น”
  • “จำวัด” ความหมาย “นอนพักผ่อน”
  • “ฉันภัตตาหารเพล” ความหมาย “รับประทานอาหารกลางวัน”

หมายเหตุ : ข้อสังเกตการใช้ความหมายคำราชาศัพท์ คำว่า “ทรง” จะไม่นำมาใช้กับ กับคำที่มี ความหมายคำราชาศัพท์ อยู่แล้ว เช่น เสวย, ประทับ, ชำระพระหัตถ์, ทอดพระเนตร แต่จะนำ “ทรง” มาใช้กับคำกริยา, คำนามที่ไม่ใช่คำราชาศัพท์ เช่น ทรงม้า, ทรงบาตร, ทรงสัมผัสมือ เป็นต้น

การใช้คำสามัญและคำสุภาพ

การแบ่งหมวดหมู่ของคำสามัญละคำสุภาพ เพื่อสะดวกต่อการสื่อสาร ทั้งผู้ส่งสาร ทั้งผู้รับสาร ให้ได้ความหมายที่เข้าใจร่วมกัน ทำให้ก่อให้เกิดประโยชน์ของการรับส่งสารระหว่างกัน จากบุคคลหนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่ง เพื่อให้เกิดการรับรู้ การคล้อยตามกัน ส่งผลให้ได้ประสิทธิภาพและประสิทธิผลอย่างสูงสุด

  1. สามัญ คำสุภาพ หมวดผลไม้

  • “ลูกมะม่วง” ความหมาย “ผลมะม่วง”
  • “ฟักเหลือง” ความหมาย “ฟักทอง”
  • “กล้วยกระ กล้วยเปลือกบาง” ความหมาย “กล้วยไข่”
  • “ผลอุลิด” ความหมาย “ลูกแตงโม”
  1. คำสามัญ คำสุภาพ หมวดพืชผัก

  • “ผักสามหาว” ความหมาย “ผักตบชวา”
  • “ผักทอดยอด” ความหมาย “ผักบุ้ง”
  • “ถั่วเพาะ” ความหมาย “ถั่วงอก”
  • “ผักรู้นอน” ความหมาย “ผักกระเฉด”
  1. คำสามัญ คำสุภาพ หมวดดอกไม้

  • “ดอกมัลลิกา” ความหมาย “ดอกมะลิ”
  • “ดอกมณฑาขาว” ความหมาย “ดอกยี่หุบ”
  • “ดอกถันวิฬาร์” ความหมาย “ดอกนมแมว”
  1. คำสามัญ คำสุภาพ หมวดอาหาร

  • “ขนมบัวสาว” ความหมาย “ขนามเทียน”
  • “เยื่อเคย” ความหมาย “กะปิ”
  • “นารีจำศีล” ความหมาย “กล้วยบวชชี”
  • “ปลามัจฉะ” ความหมาย “ปลาร้า”
  1. คำสามัญ คำสุภาพ หมวดสัตว์

  • “วิฬาร์” ความหมาย “แมว”
  • “มูสิกะ” ความหมาย “หนู”
  • “ปลายาว” ความหมาย “ปลาไหล”
  • “จรกาลงสรง” ความหมาย “ถั่วดำต้มหวาน”
  1. คำสามัญ คำสุภาพอื่นๆ

  • “ไม้ตีพริก” ความหมาย “สากกะเบือ”
  • “สีผึ้ง” ความหมาย “ขี้ผึ้ง”
  • “ยาจก” ความหมาย “ขอทาน”
  • “ฝ่ายต้อนรับ” ความหมาย “ฝ่ายปฏิคม”

Dictionary คำอ่าน

คือ พจนานุกรมสำหรับการแปลความหมายคำราชาศัพท์ แปลความหมายคำสามัญ และแปลความหมายคำสุภาพ ซึ่งต้องประกอบด้วย 3 ส่วนหลักๆ ที่จำเป็นต้องมี เนื่องจากมีความสำคัญมาก คือ

  1. คำศัพท์
  2. คำอ่าน
  3. คำแปล
  4. ส่วนประกอบเพิ่มเติม เช่น ประเภทคำนาม คำกริยา, ตัวอย่างประโยค, การนำไปใช้, ภาษาอังกฤษหรือภาษาอื่นๆ อาจจะมีหรือไม่มีก็ได้

ซึ่งในปัจจุบันนี้สามารถใช้วิธีการสืบค้นแหล่งข้อมูลทางความรู้ได้จากในหนังสือเรียน หนังสือพจนานุกรม หนังสือราชบัณฑิตยสถาน หรือการสืบค้นในโลกออนไลน์รบบะอินเตอร์เน็ท

แปลความหมายคำราชาศัพท์

มนต์เสน่ห์ของการใช้หลักภาษาไทย นั่นคือ การนำคำราชาศัพท์ การแปลความหมายคำราชศัพท์ การเปลี่ยนแปลงคำสามัญ มาเป็นคำสุภาพ ด้วยอิริยาบถต่างๆ ซึ่งเป็นข้อดีที่ประเทศไทยมีเพียงหนึ่งเดียวในโลกเท่านั้น ไม่มีชนชาติใดที่สามารถทำการลอกเลียนแบบได้เลย ภาษาไทยจึงเป็นภาษาประจำชาติ ที่ไพเราะ น่าฟัง น่าใช้ มีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง สามารถสร้างสรรค์วัจนภาษา และอวัจนภาษาให้ออกมาได้อย่างประณีต มีแบบแผน มีความอ่อนโยน อ่อนช้อยสวยงามในถ้อยคำ สำเนียง น้ำเสียง การใช้คำคล้องจอง การเปรียบเปรย และการใช้คำ วลี ประโยคให้ตรงกับระดับของบุคคล กลายเป็นเครื่องแทนใจ แทนคำพูด ที่มีคุณค่าทางความหมาย ของคำราชาศัพท์ ของคำสามัญ และคำสุภาพ ที่เกิดจากการร้อยเรียงทางวิวัฒนาการด้านภาษา โดยใช้ระยะเวลาทางกระบวนการธรรมชาติในลักษณะแบบค่อยเป็นค่อยไป ผสมกับการดำรงชีวิต วิถีชุมชน อิทธิพลทางศาสนา อารยธรรม ระดับฐานะความเป็นอยู่ของบุคคล จนกลั่นกรองให้สภาพสังคมไทย มีการใช้คำที่เหมาะสม มีความเคารพซึ่งกันและกัน ความโอบอ้อมอารี การนับถือกันตามวัยวุฒิ เคารพนับถือทางตำแหน่งระดับหน้าที่การงาน การมีมารยาทให้เกรียติซึ่งกันและกันในที่สาธารณะ ตลอดจนการแสดงออกที่งดงามทางด้านกิริยาวาจา กิริยาทางกาย และกิริยาทางใจ

แปลคําราชาศัพท์
แปลคําราชาศัพท์

นี่คือความภาคภูมิใจและเรื่องน่ายินดีของประชาชนคนไทย เนื่องจากมีภาษาประจำชาติไทยที่เป็นภาษาหลักสำหรับใช้ในการติดต่อสื่อสาร เป็นภาษาที่ดำรงอยู่คู่กับสยามประเทศมาอย่างยาวนาน แม้ว่าในทุกวันนี้สังคมและความเป็นอยู่จะแปรเปลี่ยนสภาพไปบ้างด้วยวัฒนธรรมทางตะวันตกและกระแสของโลกาภิวัฒน์ที่มุ่งเน้นเรื่องนวัตกรรมเป็นหลัก แต่สำหรับประเทศไทยเรื่องของวัฒนธรรมอันดีงาม จริยธรรม ขนมธรรมเนียม การแสดงความเคารพยกย่องและการนับถือต่อผู้ที่มีฐานะหรือยศตำแหน่งทางสังคมที่สูงกว่า หรือการที่เด็กให้การเคารพต่อผู้ใหญ่ การแสดงความนอบน้อม การใช้คำพูดเลือกคำสุภาพ และคำราชาศัพท์ ก็ยังปรากฏให้เห็นและคงอยู่คู่กับประเทศไทยเสมอ

ปิดกิจการ
ปก ขั้นตอนการพัฒนาทีมงาน
mushroom 1
ประโยคในภาษาอังกฤษมีโครงสร้างอะไรบ้าง
ปก สื่อสาร 1
218254
ชื่อเต็มกรุงเทพ
บทความแนะนำ หมวดหมู่: วัยรุ่น
จำนวนคอมเมนต์ของโพสต์ ID 163798: 1311