คำไวพจน์
ความหมายของคำไวพจน์ คือ คำศัพท์ที่มีความหมายเหมือนกัน หรืออีกนัยหนึ่งคือ คำศัพท์ที่มีความหมายคล้ายกันมาก แต่เขียนออกมาไม่เหมือนกัน หลายคนเรียกกันว่าการหลากคำ ซึ่งประกอบไปด้วย คำพ้องเสียง ,คำพ้องรูป ,คำพ้องความหมาย
โดยอิงความหมายตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พุทธศักราช 2552 ได้นิยามคำไวพจน์ไว้ว่า “คำที่เขียนต่างกันแต่มีความหมายที่เหมือนกันหรือคล้ายกันเป็นอย่างมาก เช่นคำว่า มนุษย์กับคน ,ป่ากับดง ,บ้านกับเรือน ,รอกับคอย” เป็นต้น จะสังเกตุได้ว่าคำศัพท์เหล่านี้มีความหมายที่เหมือนหรือคล้ายกัน แต่การเขียนแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง
ประเภทของคำไวพจน์
แบ่งออกเป็น 3 ประเภทดังต่อไปนี้
1.คำพ้องรูป หมายถึง คำที่มีรูปเขียนเหมือนกัน อาจจะอ่านออกเสียงเหมือนกันหรือแตกต่างกันก็ได้ และความหมายโดยรวมก็สื่อความหมายที่ต่างกันเช่นกัน
ยกตัวอย่างเช่นคำว่า พยาธิ หากอ่านออกเสียงว่า พะ – ยา – ทิ จะแปลว่า ความเจ็บไข้ได้ป่วย
แต่ถ้าหากอ่านออกเสียงว่า พะ – ยาด จะแปลว่า เชื้อโรคชนิดหนึ่งที่อาศัยอยู่ในร่างกาย อาจเกิดขึ้นจากการที่กินอาหารไม่สุก เป็นต้น
2.คำพ้องเสียง หมายถึง คำที่มีรูปเขียนต่างกัน อ่านออกเสียงเหมือนกัน แต่ความหมายโดยรวมสื่อความหมายที่ไม่เหมือนกัน
ยกตัวอย่างเช่นคำว่า กัน ,กันต์ ,กรรณ ,กัณฐ์ ,กัลป์ และ กันย์ จะเห็นได้ว่าได้หกคำนี้อ่านออกเสียงว่า ‘กัน’ ทั้งสิ้น แต่ความหมายของแต่ละคำแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง มีความหมายดังต่อไปนี้
- กัน แปลว่า ลักษณะท่าทางของการบัง หรือห้าม
- กันต์ แปลว่า การโกนหรือการตัดออก
- กรรณ แปลว่า อวัยวะหู
- กัณฐ์ แปลว่า อวัยวะคอ
- กัลป์ แปลว่า ระยะเวลาที่ยาวนาน
- กันย์ แปลว่า ชื่อของจักรราศีที่หก เรียกว่า ราศีกันย์
3.คำพ้องความหมาย หมายถึง คำที่ต่างทั้งรูปและเสียง กล่าวคือเขียนไม่เหมือนกันและอ่านออกเสียงไม่เหมือนกัน แต่เป็นคำที่มีความหมายเหมือนกันหรือใกล้เคียงกัน
ยกตัวอย่างคำไวพจน์ ท้องฟ้า มีคำที่เขียนไม่เหมือนกันและอ่านออกเสียงไม่เหมือนกัน แต่มีความหมายที่เหมือน ดังคำศัพท์ต่อไปนี้ เวหา ,นภ ,ทิฆัมพร ,คคนางค์ ,อัมพร และหาว เป็นต้น
ยกตัวอย่างคำไวพจน์ ดอกไม้
มีคำที่เขียนไม่เหมือนกันและอ่านออกเสียงไม่เหมือนกัน แต่มีความหมายที่เหมือน ดังคำศัพท์ต่อไปนี้ บุปผา ,บุปผชาติ ,บุหงา ,บุษบัน ,ผกา ,มาลา และ บุษบา เป็นต้น
ยกตัวอย่างคำไวพจน์ ช้าง
มีคำที่เขียนไม่เหมือนกันและอ่านออกเสียงไม่เหมือนกัน แต่มีความหมายที่เหมือน ดังคำศัพท์ต่อไปนี้ กุญชร ,กรี ,ดำริ ,คชาธาร ,หัสดี ,คช ,คชินทร์ และหัตถี เป็นต้น
ยกตัวอย่างคำไวพจน์ ผู้หญิง
มีคำที่เขียนไม่เหมือนกันและอ่านออกเสียงไม่เหมือนกัน แต่มีความหมายที่เหมือน ดังคำศัพท์ต่อไปนี้ แก้วตา ,นงคราญ ,บังอร ,สตรี ,อรไท ,ดวงสมร ,นงพะงา และร้อยชั่ง เป็นต้น
ยกตัวอย่างคำไวพจน์ น้ำ
นที ,สาคร ,ชลาลัย ,ชโลทร ,คงคา ,สินธุ์ ,สมุทร และอุทก เป็นต้น
นอกจากนี้ยังมีคำพ้องรูปพ้องเสียง ซึ่งมีคำนิยามคือ คำศัพท์ที่เขียนเหมือนกัน อ่านออกเสียงเหมือนกัน แต่ความหมายโดยรวมแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ทั้งนี้ความหมายจะขึ้นอยู่กับคำที่นำมาประสมอยู่ในประโยคทำให้บริบทของคำนั้นเปลี่ยนแปลงไป
คำพ้องรูปพ้องเสียง
ยกตัวอย่างคำพ้องรูปพ้องเสียง ดังต่อไปนี้
คำว่าขัน สามารถแปลได้หลายความหมายขึ้นอยู่กับการนำไปใช้
- ขันความหมายที่ 1 แปลว่า ทำให้ตึง
- ขันความหมายที่ 2 แปลว่า น่าหัวเราะ
- ขันความหมายที่ 3 แปลว่า ภาชนะที่ใช้สำหรับตักน้ำ
คำว่าเขา สามารถแปลได้หลายความหมายขึ้นอยู่กับการนำไปใช้
- เขาความหมายที่ 1 แปลว่า เนินที่นูนสูง
- เขาความหมายที่ 2 แปลว่า สิ่งที่งอกออกมาจากศีรษะของสัตว์ มีลักษณะที่แข็ง
- เขาความหมายที่ 3 แปลว่า ชื่อของนกชนิดหนึ่ง ลำตัวมีลักษณะเป็นลายและมีขนสีน้ำตาลแดง
- เขาความหมายที่ 4 แปลว่า คำที่ใช้พูดถึงสรรพนามบุรุษที่สาม เป็นคนที่เรากำลังพูดถึง
และนี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของตัวอย่างของคำไวพจน์ ในภาษาไทยยังมีความหมายของภาษาไทยให้เราได้เรียนรู้ศึกษาอีกมาก เราสามารถเรียนรู้เพิ่มเติมคำไวพจน์ต่างๆ ได้ในขณะที่เราฟังข่าวในชีวิตประจำวัน และข่าวมีกี่ประเภท เราได้รวบรวมประเภทของข่าวมาให้คร่าวๆ จะมีอะไรบ้าง ไปดูกันเลย
- ข่าวการเมือง
- ข่าวสังคม
- ข่าวเศรษฐกิจ
- ข่าวอาชญากรรม
- ข่าวบันเทิง
- ข่าวกีฬา
- ข่าวไอที
คำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต
หากเราต้องการทราบว่าคำศัพท์ที่ใช้ในปัจจุบันมีคำไหนบ้างที่เป็นคำไทยแท้ และคำไหนบ้างที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต เชื่อว่าหลายๆ คนคงยังไม่ทราบว่าภาษาบาลีและสันสกฤตได้เข้ามามีบทบาทกับภาษาไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เป็นไปได้ว่าบางคำที่ใช้กันอยู่ในชีวิตประจำวันอาจไม่ใช่คำไทยแท้ แต่อาจเป็นคำจากภาษาบาลีและสันสกฤตก็เป็นได้ มีหลักข้อสังเกตุง่ายๆ 4 ข้อ ดังต่อไปนี้
คำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต
- ภาษาบาลีและสันสกฤต มักเป็นคำที่มีหลายพยางค์ เช่นคำว่า กษัตริย์ ,พฤกษา ,ศาสนา ,อุทยาน และทัศนะ เป็นต้น
- ภาษาบาลีและสันสกฤต มักมีตัวสะกดที่ไม่ตรงมาตราตัวสะกด เช่นคำว่า เทวัญ ,เนตร , อากาศ ,พิเศษ ,อังคาร และอาหาร เป็นต้น
- ภาษาบาลีและสันสกฤต มักนิยมใช้ตัวการันต์ เช่นคำว่า กาญจน์ ,เกณฑ์ ,มนุษย์ ,สัมภาษณ์ และอาทิตย์ เป็นต้น
- ภาษาบาลีและสันสกฤต มักประสมด้วยพยัญชนะ ฆ ,ฌ ,ฎ ฏ ,ฐ ,ฑ ,ฒ ,ณ ,ภ ,ศ ,ษ ,ฤ ,ฤๅ เช่นคำว่า วัฒนา ,เณร ,โลภ ,ฤทัย ,พยัคฆ์ ,อัชฌาสัย ,กฎ ,ปรากฏ ,สัณฐาน ,ครุฑ และปฏิบัติ เป็นต้น
หมายเหตุ : แต่มีข้อยกเว้นสำหรับคำว่า ฆ่า ,เฆี่ยน ,ฆ้อง ,ศอก ,ศึก ,เศิก และเศร้า เป็นคำไทยแท้ทั้งหมด
นอกจากจะได้ใช้คำไวพจน์ในชีวิตประจำวัน ยังมีคำไวพจน์อีกหลายคำที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติ อย่างเช่นคำไวพจน์ ป่าไม้ มีคำที่เขียนไม่เหมือนกันและอ่านออกเสียงไม่เหมือนกัน แต่มีความหมายที่เหมือน ดังคำศัพท์ต่อไปนี้ อรัญญิก พงพนา ,ไพรวัน ,พงพี ,พงไพร ,ไพร ,พง, ดง ,อารัญ ,พนา ,ชัฏ ,พนัส และพนา เป็นต้น
เกร็ดความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับธรรมชาติ ประเภทของป่าไม้ในประเทศไทย ประกอบไปด้วย 2 ประเภทใหญ่ นั่นก็คือ ประเภทป่าดงดิบหรือป่าไม่ผลัดใบ (Evergreen forest) และประเภทป่าผลัดใบ (Deciduous Forest) และยังมีคำที่เราใช้กันเป็นประจำ แต่อาจไม่รู้คำไวพจน์ของคำนั้นๆ อีกมาก ยกตัวอย่างเช่น
- คำไวพจน์ ดวงจันทร์ มีคำที่เขียนไม่เหมือนกันและอ่านออกเสียงไม่เหมือนกัน แต่มีความหมายที่เหมือน ดังคำศัพท์ต่อไปนี้ บุหลัน ,พิธุ ,มนทก ,มาส ,รชนีกร ,รัตติกร ,กลา ,แข ,จันทร์ ,นิศาบดี ,วิธู ,ศศิ ,ศศิน ,ศิตางคุ์ และโสม เป็นต้น
- คำไวพจน์ นก มีคำที่เขียนไม่เหมือนกันและอ่านออกเสียงไม่เหมือนกัน แต่มีความหมายที่เหมือน ดังคำศัพท์ต่อไปนี้ บุหรง ,สกุณี ,สกุณา ,ทิชากร ,ทวิช ,สกุณ ,วิหค และปักษี เป็นต้น
- คำไวพจน์ แม่ มีคำที่เขียนไม่เหมือนกันและอ่านออกเสียงไม่เหมือนกัน แต่มีความหมายที่เหมือน ดังคำศัพท์ต่อไปนี้ นนทลี ,มารดา ,มาตุเรศ ,มาตุรงค์ ,มาตุ ,ชนนี ,ชเนตตี และมารดร เป็นต้น
- คำไวพจน์ พระอาทิตย์ มีคำที่เขียนไม่เหมือนกันและอ่านออกเสียงไม่เหมือนกัน แต่มีความหมายที่เหมือน ดังคำศัพท์ต่อไปนี้ ทิวากร ,ภาสกร ,รวี ,ระพี ,ทิพากร ,ทินกร ,รวิ และรพิ เป็นต้น
สำหรับคำด่าที่เรามักพบเจอหรือได้ยินกันเป็นประจำก็มีคำที่มีความหมายคล้ายกัน เช่นคำว่า สถุล หมายถึง ต่ำช้า ,ชั่วช้า หรือเลวทราม เป็นต้น อาจจะไม่ได้ด่าโดยตรงว่าคนชั่ว คนเลว คนสารเลว แต่ใช้คำว่า คนสถุลแทน ก็ทำให้คนฟังรู้สึกเจ็บแสบได้เลยทีเดียว
ขอยกตัวอย่างคำพ้องเสียงพร้อมความหมายเพิ่มเติม คำพ้องเสียงจะเหมือนการเล่นคำ เป็นการอ่านออกเสียงเหมือนกัน แต่เขียนต่างกัน และความหมายก็ต่างกันโดยสิ้นเชิง ดังตัวอย่างต่อไปนี้
- คำว่าเกด ที่แปลว่า ชื่อต้นไม้ ,ลูกองุ่น และปลาน้ำจืด มีคำพ้องเสียง ได้แก่ คำว่าเกตุ ที่แปลว่า ชื่อดาว ,ธง และคำว่าเกศ ที่แปลว่า ผม เป็นต้น
- คำว่าข้า ที่แปลว่า บ่าวไพร่ ,คนรับใช้ หรือคำที่ใช้แทนตัวผู้พูด มีคำพ้องเสียง ได้แก่ คำว่าค่า ที่แปลว่า ของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่คิดเป็นเงินไม่ได้ มีคุณค่าทางจิตใจ และคำว่าฆ่า ที่แปลว่า การทำลาย หรือทำให้เสียชีวิต เป็นต้น
ตัวอย่างคำพ้องรูป
พร้อมความหมายเพิ่มเติม ได้แก่คำว่า เพลา อ่านว่า เพ – ลา ที่แปลว่า กาลเวลา และเพลา ที่อ่านว่า เพลา แปลว่า แกนสำหรับสอดในดุมรถหรือดุมเกวียน หรือเป็นไม้สำหรับขึงใบเรือ เป็นต้น
คำประสมหมายถึง
การนำคำที่มีความหมายที่ต่างกันตั้งแต่สองคำขึ้นไป มารวมกันและเกิดเป็นคำใหม่ หรือเรียกว่าเป็นคำผสม ก่อให้เกิดเป็นคำใหม่ที่มีความหมายใหม่ แต่ยังคงความหมายของคำเดิมไว้บ้าง ยกตัวอย่างเช่นคำว่า ลูก + เสือ อ่านว่า ลูกเสือ แปลว่า นักเรียนที่แต่งเครื่องแบบ ,หาง + เสือ อ่านว่า หางเสือ แปลว่า อุปกรณ์ที่ใช้บังคับทิศทางของเรือ เป็นต้น
นอกจากนี้ยังมีคำที่มีความหมายโดยตรงและโดยนัย มีความหมายดังต่อไปนี้
ความหมายของภาษาไทยสำหรับคำที่มีความหมายโดยตรง
หมายถึง คำที่มีความหมายตรงตัว เช่นคำว่า ดาว สามารถแปลความหมายได้ตรงตัวคือ สิ่งที่อยู่บนท้องฟ้าส่องสว่างระยิบระยับ เราเรียกกันว่า ดาว เป็นต้น
และคำที่มีความหมายโดนนัย หรือเรียกอีกชื่อว่า นัยประหวัด หมายถึง คำที่มีความหมายไม่ตรงตัว หลังได้ยินหรืออ่านแล้วต้องแปลความอีกครั้งตามบริบทที่พูดคุยกัน เช่นคำว่า กิน ที่หมายถึง กิริยาของคนที่กำลังกินสิ่งได้สิ่งหนึ่ง เช่น กินข้าว ,กินผลไม้ ,กินขนม เป็นต้น แต่ถ้าหากมีกลุ่มคนพูดว่า “เบื้องหลังพวกนั้นก็กินหมด” จะแปลความหมายไปอีกแบบทันที ซึ่งมีความหมายโดยนัยที่แปลว่า การฉ้อราษฎร์บังหลวงหรือการคอรัปชั่น นั่นเอง
ในปัจจุบันได้มีการนำการศึกษาอย่าง IS เข้ามามีบทบาทในการศึกษาไทยมากขึ้น และการศึกษาแบบ IS คืออะไร เราหาคำตอบมาให้คุณแล้วIndependent Study (IS) คือ การศึกษาอิสระ หรือการค้นคว้าอิสระ ถือเป็นหนึ่งในรูปแบบการศึกษาที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในหลากหลายแขนงวิชาในปัจจุบัน โดยจุดเด่นของ IS คือ จะเน้นเรื่องความเป็นมาตรฐานและการมีระเบียบแบบแผนให้ผู้ที่เข้ามาศึกษาได้เดินตามอย่างเป็นระบบและชัดเจน อีกทั้งยังมีกระบวนการที่เข้าใจง่าย สอดคล้องกับกระบวนการของการศึกษา โดยแบ่งออกเป็น 5 ส่วน หรือที่เรียกกันว่า ‘บันได 5 ขั้น สู่วิชา IS’ หากทำตามทั้ง 5 ขั้นตอนก็จะได้ผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพ ประกอบไปด้วยดังนี้
- เนื้อหาส่วนบทนำ
- เนื้อหาส่วนแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
- เนื้อหาส่วนระเบียบวิธีวิจัย
- เนื้อหาส่วนของผลการศึกษา
- เนื้อหาส่วนสรุปและอภิปรายผล
บันไดทั้ง 5 นี้เป็นการวางรากฐานสำหรับการศึกษาอย่างอิสระเพื่อเป็นแนวทางในการหาคำตอบให้กับสิ่งที่ต้องการเรียนรู้ และพัฒนาต่อไป
คำอัพภาส
คำอัพภาส คือ เป็นคำซ้ำในไวยากรณ์ภาษาบาลีและสันสกฤต ที่กร่อนเสียงของคำข้างหน้าให้สั้นลงเหลือเพียงเสียง อะ ดังตัวอย่างต่อไปนี้
- ริกริก กร่อนเสียงให้สั้นลงเป็น ระริก
- ยิบยิบ กร่อนเสียงให้สั้นลงเป็น ยะยิบ
- วับวับ กร่อนเสียงให้สั้นลงเป็น วะวับ
- รื่นรื่น กร่อนเสียงให้สั้นลงเป็น ระรื่น
- ฉานฉาน กร่อนเสียงให้สั้นลงเป็น ฉะฉาน เป็นต้น
ลักษณะคำไทยแท้ในภาษาไทย หมายถึง คำไทยที่มีลักษณะพยางค์เดียว หรือเรียกว่าเป็น ภาษาคำโดด และมีความหมายสมบูรณ์ในคำๆ นั้น มีวิธีสังเกตุลักษณะคำไทยแท้ ดังนี้
- เป็นคำพยางค์เดียว และมีความหมายสมบูรณ์ในตัวเอง เช่นคำว่า ฟ้า ,ฝน ,มีด ,ตู้ ,ปู่ ,ย่า ,แขน ,ขา ,หมา ,กบ เป็นต้น หรือถ้าหากมีหลายพยางค์จะเรียกว่า การกร่อนเสียง ,การแทรกเสียง และการเติมพยางค์ท้าย
- การกร่อนเสียง เช่นคำว่า หมากม่วง กร่อนเสียงเป็น มะม่วง ,ตาวัน กร่อนเสียงเป็น ตะวัน หรือสายดือ กร่อนเสียงเป็น สะดือ เป็นต้น
- การแทรกเสียง เช่นคำว่า ลูกเดือก แทรกเสียงเป็น ลูกกระเดือก ,นกจอก แทรกเสียงเป็น นกกระจอก เป็นต้น
- คำไทยแท้มักเป็นคำที่มีตัวสะกดเดียว และตัวสดตรงตามมาตรา เช่น
- แม่กง สะกดด้วยตัว ง เช่น เก่ง ,นั่ง ,พิง ,ถัง ,กรง เป็นต้น
- แม่กน สะกดด้วยตัว น เช่น กิน ,นอน ,ฉุน ,เห็น ,เพลิน เป็นต้น
- แม่กม สะกดด้วยตัว ม เช่น ชาม ,หอม ,ดื่ม ,ตุ่ม ,จาม เป็นต้น
- คำไทยแท้มักไม่มีพยัญชนะ ฆ ฌ ญ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ ธ ภ ศ ษ ฬ
- คำไทยแท้มักใช้ไม้ม้วน (ใ) ได้แก่คำว่า ใหญ่ ,ใหม่ ,ให้ ,สะใภ้ ,ใช้ ,ใฝ่ ,ใจ ,ใส่ ,หลงใหล ,ใคร ,ใคร่ ,ใบ ,ใส ,ใด ,ใน ,ใช่ ,ใต้ ,ใบ้ ,ใย และใกล้
- คำไทยมักมีรูปวรรณยุกต์ เช่น ปา ,ป่า ,ป้า ,ป๊า ,ป๋า เป็นต้น
- คำไทยมักไม่นิยมใช้ตัวการันต์และคำควบกล้ำ เช่นคำว่า วิ่ง ,กวน ,ปีน ,จับ เป็นต้น
และยังมีคำอีกประเภทหนึ่งที่เรียกว่าคำเป็น ขอยกตัวอย่างคำเป็นมีอะไรบ้าง ดังต่อไปนี้
- คำเป็นมักมีพยัญชนะประสมกับสระเสียงยาวในแม่ ก กา เช่นคำว่า ดู ,ปู ,มา ,ปี เป็นต้น
- คำเป็นมักมีพยัญชนะประสมกับสระ –ำ ,ใ ,ไ ,เ-า เช่นคำว่า กำ ,น้ำ ,ใจ ,เป่า ,เกา ,ไป เป็นต้น
- คำเป็นมักตัวสะกดอยู่ในแม่ กง ,กน ,กม ,เกย ,เกอว เช่นคำว่า ปลิง ,กัน ,กลม ,สาว เป็นต้น
สำหรับคำไวพจน์ที่เป็นคำพ้องรูป ,คำพ้องเสียง และคำพ้องความ ยังมีอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นคำไวพจน์เกี่ยวกับสัตว์ ,คน ,ธรรมชาติ ,ชมเชย ,ร่างกาย ฯลฯ ดังตัวอย่างต่อไปนี้
- คำพ้องความหมาย ควาย คำไวพจน์ คือ มหิษ ,มหิงส์ ,กาสร ,มหิงสา และลุลาย เป็นต้น
- คำพ้องที่เป็นความหมายของป่าไม้ คำไวพจน์ คือ พนาดร ,ไพรวัน ,อรัญญิก และดง เป็นต้น
- บุปผา แปลว่า ดอกไม้ มีคำไวพจน์ คือ บุปผชาติ ,บุษบา ,บุหงา ,บุษบง และมาลา เป็นต้น
- คำไวพจน์ สวย คือ โสภณ ,รุจิเรข ,วิศิษฏ์ ,งาม ,เสาวภาคย์ ,พะงา และขวร เป็นต้น
- ม้า คำไวพจน์ คือ สินธพ ,อาชาไนย ,อัศว ,ดุรงค์ ,มโนมัย ,พาชี ,ไหย และแสะ เป็นต้น
- คำไวพจน์ ไฟ คือ อัคนี ,เพลิง ,อัคคี ,เดช และปราพก เป็นต้น
- คำที่หมายถึงป่า เพิ่มเติม ได้แก่ ชัฏ ,พนัส ,พงพนา ,เถื่อน และพนาลี เป็นต้น
- ชื่อที่แปลว่าพระอาทิตย์ มีคำไวพจน์ คือ สุริย์ ,อโณทัย ,ทินกร ,ประภากร และตะวัน เป็นต้น
- คำไวพจน์ เมือง คือ ธานินทร์ ,ธานี ,นครินทร์ ,สถานิย ,บุรี ,ราชธานี และนคร เป็นต้น
- คำไวพจน์ ใจ คือ มโน ,ดวงหทัย ,ฤทัย ,กมล ,ฤดี และมน เป็นต้น
- คำไวพจน์ สวรรค์ คือ สรวง ,สุราลัย ,ศิวโลก ,สุคติ ,ไตรทิพย์ และไตรทศาลัย เป็นต้น
- คำไวพจน์ แม่น้ำ คือ ชลาสินธุ์ ,มหาสมุทร ,สทิง ,คลอง และสายชล เป็นต้น
- คำพ้องความหมายพระจันทร์ มีคำไวพจน์ คือ นิศากร ,มนทก ,รชนีกร และศิตางคุ์ เป็นต้น
ประวัติลีลาศในประเทศไทย
การเต้นรำประเภทลีลาศมีมาตั้งแต่ยุคพันปีก่อน แต่สามารถระบุเวลาได้แน่ชัดถึงการเต้นรำประเภทนี้ในช่วงประมาณปีพุทธศักราช 1943 หรือปีคริสต์ศักราช 1400 เป็นการเต้นรำแบบก้าวเดินตามจังหวะดนตรี เรียกการเต้นรำแบบนี้ว่า การเต้นรำแบบบอลรูม ถือเป็นกิจกรรมที่เชื่อมสัมพันธ์อันดีระหว่างชนชาติหรือเผ่าพันธุ์ต่างๆ และเป็นที่นิยมชื่นชอบของชาวตะวันตกมากเป็นพิเศษสำหรับประเทศไทยถึงไม่มีกิจกรรมการเต้นรำอย่างลีลาศ แต่ไทยเราก็ยังมีวรรณคดีมรดกที่สืบทอดกันมาตั้งแต่ยุคอดีตจนถึงยุคปัจจุบัน
วรรณคดีมรดกหมายถึง วรรณคดีที่ได้รับการยกย่องมาตั้งยุคอดีตและได้มีการสืบทอดมาจนถึงยุคปัจจุบัน เน้นในด้านวรรณศิลป์ที่สะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อในสมัยบรรพบุรุษ ทำให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างการดำเนินชีวิตในสมัยของบรรพบุรุษกับการดำเนินชีวิตในปัจจุบัน ซึ่งมีการถ่ายทอดออกมาในรูปแบบหนังสือ หรือที่เราเรียกว่า ‘วรรณกรรม’ และในรูปแบบงานนิพนธ์ เช่น จุลสาร ,สิ่งพิมพ์ ,ปาฐกถา ,เทศนา ,คำปราศรัย ,สุนทรพจน์ และสิ่งบันทึกเสียงภาพ ก็เปรียบได้กับลีลาศของชาวตะวันตก แต่สำหรับไทยเราออกมาในรูปแบบของวรรณคดีมรดกนั่นเอง
คำที่มีความหมายโดยตรงมักไม่ปรากฏในคำพ้องเสียงในภาษาไทย เพราะคำพ้องเสียงมักอ่านออกเสียงเหมือนกัน แต่รูปเขียนต่างกัน บางคำความหมายอาจไม่ตรงตัวก็เป็นได้
ภาษาไทยมีกี่ระดับ
ในปัจจุบันมีทั้งหมด 5 ระดับ ประกอบด้วยดังต่อไปนี้
- ภาษาระดับพิธีการ เหมาะสำหรับการสื่อสารกับบุคคลสำคัญและงานที่เป็นพิธีการ
- ภาษาระดับทางการ เหมาะสำหรับการสื่อสารอย่างการอภิปรายหรือบรรยายอย่างเป็นทางการ
- ภาษาระดับกิ่งทางการ เหมาะสำหรับการสื่อสารในการประชุมกลุ่ม หรืออภิปรายกลุ่ม
- ภาษาระดับไม่เป็นทางการ เหมาะสำหรับการสื่อสารระหว่างกลุ่มคน 4-5 คน ใช้ถ้อยคำกันเองในระดับกลุ่มนั้นๆ
- ภาษาระดับกันเอง เหมาะสำหรับการสื่อสารที่มีความสนิทสนมกัน เช่น พ่อ ,แม่ ,เพื่อน เป็นต้น
คำไทยยังมีคำและความหมายที่สามารถสร้างให้เป็นบทกลอน หรือคำประพันธ์ที่ไพเราะได้อีกมาก เช่น การเล่นคำ คือ การเลือกใช้คำและพลิกแพลงคำเพื่อให้เกิดความหมายที่ต่างออกไป ประกอบไปด้วย 3 ชนิด ได้แก่ การเล่นคำพ้อง ,การเล่นคำซ้ำ และการเล่นคำเชิงคำถาม สำหรับบทเรียนนี้จะเน้นเฉพาะการเล่นคำพ้อง ที่เป็นการนำคำพ้องมาใช้คู่กันเพื่อให้เกิดความหมายที่สัมพันธ์กัน ดังตัวอย่างต่อไปนี้
“นางนวลจับนางนวลนอน เหมือนพี่แนบนวลสมรจินตะหรา
จากพรากจับจากจำนรรจา เหมือนจากนางสะการะวาตี”
บทความแนะนำ หมวดหมู่: วัยรุ่น
จำนวนคอมเมนต์ของโพสต์ ID 165917: 538