คำซ้อน

คำซ้อนเพื่อเสียง DOUBLE WORDS เทคนิคให้จำง่ายพร้อม 50 ตัวอย่าง

Click to rate this post!
[Total: 359 Average: 5]

คำซ้อน

คำซ้อน คือ

คำซ้อน หมายถึง คำที่เกิดจากการสร้างคำโดยนำคำที่มีความหมายเหมือนกัน คล้ายกัน ตรงข้ามกัน หรือมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน ในทางใดทางหนึ่งมาเขียนซ้อนกัน ซึ่งอาจทำให้เกิดความหมายเฉพาะหรือความหมายใหม่ขึ้นมา คำ ซ้อนสามารถจำแนกจุดประสงค์ของการซ้อนคำได้เป็น 2 ลักษณะ คือ1.) ซ้อนเพื่อความหมาย  2.) ซ้อนเพื่อเสียง

คำซ้อน คือ

ตัวอย่าง คำซ้อน มีอะไรบ้าง

ซ้อนเพื่อความหมาย เป็นการนำคำที่มีความหมายสมบูรณ์มาซ้อนกันตั้งแต่ 2 คำขึ้นไป  ได้แก่

  1. คำที่มีความหมายเหมือนกัน
  2. คำที่มีความหมายเป็นพวกเดียวกัน
  3. คำที่มีความหมายเกี่ยวข้องกัน
  4. คำที่มีความหมายตรงข้ามกัน

คำที่มีความหมาย เหมือนกัน

  • กัก + ขัง = กักขัง
  • ใหญ่ + โต = ใหญ่โต
  • นุ่ม + นิ่ม = นุ่มนิ่ม
  • กู้ + ยืม = กู้ยืม

คำที่มีความหมายเป็น พวกเดียวกัน

  •  บ้าน + เรือน = บ้านเรือน
  •  แข้ง + ขา = แข้งขา
  • ห้าง + ร้าน = ห้างร้าน
  • เนื้อ + ตัว = เนื้อตัว

คำที่มีความหมาย เกี่ยวข้องกัน

  • ลูก + หลาน = ลูกหลาน
  • เหงือก + ฟัน = เหงือกฟัน
  • ข้าว + ปลา = ข้าวปลา
  • พี่ + น้อง = พี่น้อง

คำที่มีความหมาย ตรงข้ามกัน

  • ผิด + ชอบ = ผิดชอบ
  • ได้ + เสีย = ได้เสีย
  • เท็จ + จริง = เท็จจริง
  • แพ้ + ชนะ = แพ้ชนะ

คําซ้อนเพื่อเสียง ตัวอย่าง

ซ้อนเพื่อเสียง เป็นการนำคำที่มีเสียงคล้ายกันมาซ้อนกัน เพื่อให้ออกเสียงง่ายขึ้น คำที่นำมาซ้อนนั้นอาจมีความหมายเพียงคำเดียว หรือไม่มีความหมายทั้งสองคำก็ได้ วิธีการสร้างคำที่ซ้อนเพื่อเสียง  ได้แก่

  • นำคำที่มีเสียงพยัญชนะต้นเหมือนกัน แต่ !! เสียงสระต่างกันมาซ้อนกัน เช่น งุ่มง่าม โด่งดัง จริงจัง ซุบซิบ ตูมตาม ซับซ้อน ท้อแท้
  • นำคำที่มีเสียงพยัญชนะต้นเหมือนกัน เสียงสระเดียวกัน แต่เสียงตัวสะกดต่างกันมาซ้อนกัน เช่น อัดอั้น ลักลั่น ออดอ้อน รวบรวม
  • นำคำที่มีเสียงพยัญชนะต้นต่างกัน แต่ !! มีเสียงสระเดียวกันมาซ้อนกัน เช่น แร้นแค้น รอมชอม อ้างว้าง ราบคาบ จิ้มลิ้ม
  • นำคำที่ไม่มีความหมายมาซ้อนกับคำที่มีความหมาย เพื่อให้สะดวกในการออกเสียง มักใช้ในภาษาพูดเท่านั้น เช่น กระดูกกระเดี้ยว อดเอิด ตาเตอ พยายงพยายาม
  • เพิ่มพยางค์ลงในคำ ซ้อนเพื่อให้มีเสียงสมดุล  พยางค์ที่แทรกมักเป็น  “กระ”  เช่น
    • ดุกดิก = กระดุกกระดิก
    • จุ๋มจิ๋ม = กระจุ๋มกระจิ๋ม
    • หนุงหนิง = กระหนุงกระหนิง
    • ตุ้งติ้ง = กระตุ้งกระติ้ง
  • นำคำที่ซ้อนกัน 4-6  พยางค์ที่มีเสียงสัมผัสภายในคำมาซ้อนกัน  ข้าเก่าเต่าเลี้ยง  ถ้วยโถโอชาม  ประเจิดประเจ้อ  ทรัพย์ในดินสินในน้ำ

ตัวอย่าง คำซ้อน

ตัวอย่าง คำซ้อน
คํา ซ้อน 4 จังหวะ คํา ซ้อน เพื่อ เสียง 50 คํา

คํา ซ้อน

ข้อสังเกตุระหว่าง คำที่ซ้อนเพื่อความหมาย และ ซ้อนเพื่อเสียง  มีข้อสังเกตที่สำคัญดังนี้

1.คำที่นำมาซ้อนเป็นคำไทยซ้อนกับคำไทย คำไทยซ้อนกับคำต่างประเทศ  หรือคำต่างประเทศซ้อนกับคำต่างประเทศก็ได้  เช่น

ไทย + ไทย

  • ชุก + ชุม = ชุกชุม
  • อ้วน + พี = อ้วนพี
  • ผี + สาง = ผีสาง
  • เจ้า + นาย = เจ้านาย

ไทย + ต่างประเทศ (ไทย + เขมร)

  • งาม + ลออ = งามลออ
  • เงียบ + สงบ = เงียบสงบ
  • แบบ + ฉบับ = แบบฉบับ
  • โง่ + เขลา = โง่เขลา

ต่างประเทศ + ต่างประเทศ (บาลี + สันสกฤต)

  • อุดม + สมบูรณ์ = อุดมสมบูรณ์
  • เหตุ + การณ์ = เหตุการณ์
  •  อิทธิ + ฤทธิ์ = อิทธิฤทธิ์
  • มิตร + สหาย = มิตรสหาย

คำซ้อนที่มาจาก ต่างประเทศ + ต่างประเทศ (เขมร + บาลี)

  • รูป + ทรง                    รูปทรง
  • สุข + สงบ                   สุขสงบ
  • พละ + กำลัง                พละกำลัง
  • ภูมิ + ลำเนา                ภูมิลำเนา

2. จำนวนคำที่นำมาซ้อน คำที่นำมาซ้อนอาจมีจำนวน 2 คำ 4 คำ หรือ 6 คำ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า คำคู่ เช่น

  • ซ้อน 2 คำ – ยักษ์/มาร ข้าทาส ศีลธรรม ขับขี่ เคร่งครัด งอแง
  • ซ้อน 4 คำ – กู้/หนี้/ยืม/สิน ชั่วดีถี่ห่าง เจ้าบุญนายคุณ ที่นอนหมอนมุ้ง
  • ซ้อน 6 คำ – อด/ตา/หลับ/ขับ/ตา/นอน นอนกลางดินกินกลางทราย เป็นต้น

3. ความหมายของคำซ้อน แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ  คือ

  • ความหมายคงเดิม  บางคำมีความหมายคงตามความหมายของคำที่นำมาซ้อน  เช่น  แก่ชรา  ซากศพ  พัดวี  เสื่อสาด  เป็นต้น
  • ความหมายใหม่  บางคำจะมีความหมายใหม่มีหลายลักษณะ  ดังนี้
    • ความหมายแคบลง  คือ  มีความหมายที่เน้นคำใดคำหนึ่ง  ซึ่งจะเป็นคำหน้าหรือคำหลังก็ได้  เช่น  ปากคอ  หัวหู  ท้องไส้  เป็นต้น
    • ความหมายกว้างขึ้น  คือ  มีความหมายรวมไปถึงอย่างอื่นที่มีลักษณะร่วมกันหรือจำพวกเดียวกัน  เช่น
      • ถ้วยโถโอชาม  หมายถึง  ภาชนะใส่อาหารและสิ่งของอื่น ๆ
      • ปู่ย่าตายาย  หมายถึง  อวัยวะภายใน  ไม่เฉพาะตับ  ไต  และไส้  เท่านั้น
    • ความหมายเชิงอุปมา  คือ  มีความหมายเปลี่ยนไป  เกิดเป็นคำที่มีความหมายใหม่ในเชิงอุปมา  เช่น
      • ข้าเก่าเต่าเลี้ยง หมายถึง คนที่เคยรับใช้
      • อยู่กิน หมายถึง การใช้ชีวิตอยู่ร่วมกัน
      • เจ้าบุญนายคุณ หมายถึง ผู้ที่มีบุญคุณ
      • ไปลามาไหว้ หมายถึง รู้จักกาลเทศะ
      • ขิงก็ราข่าก็แรง หมายถึง ร้ายพอ ๆ กันทั้งสองฝ่าย
      • ข้าวยากหมากแพง หมายถึง ความเป็นอยู่ฝืดเคือง
      • หัวหายสะพายขาด หมายถึง ไม่มีที่พึ่งพาอาศัย
      • ดูดดื่ม หมายถึง ความซาบซึ้งใจ
      • ปากหอยปากปู หมายถึง ชอบนินทาเล็กนินทาน้อย
  • ความสัมพันธ์ของเสียงสระ คำที่ซ้อนเพื่อเสียงจะมีความสัมพันธ์ระหว่างสระหลังกับสระหน้า  หรือสระอื่น ๆ กับสระอะ  สระอา  หรือสระเดียวกัน  เช่น
    • สระหลังกับสระหน้า เช่น ดุกดิก จุกจิก อู้อี้ ดู๋ดี๋ โอ้เอ้ โลเล เหลาะแหละ ก๊อกแก๊ก อ้อแอ้
    • สระเดียวกัน เช่น เปิดเปิง (เฉพาะข้อนี้ไม่ค่อยมีปรากฏ จะมีมาระหว่างสระหลังกับสระหน้า)
  • ตำแหน่งและความหมาย คำ ซ้อน บางคำ ถ้าเปลี่ยนตำแหน่งของคำ ความหมายจะเปลี่ยนไปจากเดิมและใช้ต่างกัน แต่บางคำมีความหมายคงเดิม  เช่น
    • ความหมายเปลี่ยนแปลง
      • เหยียดยาว – ยืดตัวออกไปในท่านอน  ใช้กับคนหรือสัตว์  เช่น  น้องสาวนอนเหยียดยาวอยู่ใต้ต้นลีลาวดี
      • ยาวเหยียด – มีความยาวมาก  เช่น  รถติดไฟแดงเป็นแถบยาวเหยียด
    • ความหมายคงเดิม
      • แจกจ่าย – แบ่งปันให้ไปทั่ว ๆ  เช่น  สภากาชาดมาแจกจ่ายสิ่งของให้กับผู้ประสบอุทกภัย
      • จ่ายแจก – เอาออกใช้หรือให้  เช่น  คุณครูจ่ายแจกอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้แก่นักเรียน

ลักษณะคำซ้อน

ปก ฝันว่าเก็บดอกบัว
รางจืดสรรพคุณ
221212
เศรษฐกิจพอเพียง
เงินมัดจำ
221042
บทความแนะนำ หมวดหมู่: วัยรุ่น
จำนวนคอมเมนต์ของโพสต์ ID 180848: 2047