อริยสัจ

ตัวอย่าง 3 วิธีแก้ปัญหาชีวิตแบบของอริยสัจ 4 EXAMPLE ประโยชน์อะไร

Click to rate this post!
[Total: 327 Average: 5]

อริยสัจ 4

อริยะสัจ 4 เกิดอยู่ในจิตของเราตลอดเวลในชั่วชีวิตของมนุษย์ทุกคนบนโลกใบนี้ต่างต้องเผชิญกับความทุกข์และความสุขที่ปะปนกันไป ไม่มีใครที่พบเจอแต่เฉพาะเรื่องเลวร้ายหรือมีแต่ความทุกข์แบบนี้ตลอดไป และในขณะเดียวกันก็ไม่มีผู้ใดที่ต้องประสบพบเจอแต่ความสุขอยู่ตลอดเวลา เพราะความทุกข์และความสุขเป็นของที่คู่กันเสมอ ๆ

อริยสัจ 4

อริยสัจ คือ หรือจตุราริยสัจ หรืออริยสัจ 4 เป็นหลักคำสอนหนึ่งของพระโคตมพุทธเจ้า แปลว่า ความจริงอันประเสริฐ ความจริงของพระอริยบุคคล

หลัก ธรรม อริยสัจ 4

เปรียบเสมือนสภาวะต่างขั้ว ของขั้วบวกและขั้วลบ ขึ้นอยู่กับว่ามนุษย์ทุกคนจะตั้งรับมือกับสภาวะปัญหาที่กำลังเผชิญเกิดขึ้นนี้ได้อย่างไร ซึ่งตามหลักธรรมคำสั่งสอนของทางพระพุทธศาสนา ที่มีองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นพระศาสดาเอก เป็นผู้ก่อตั้งศาสนาพุทธที่มีอายุยืนยาวนาน จากคำสั่งสอนของหลักธรรม อริยสัจ 4 ที่พระองค์ทรงแสดงพระธรรมเทศนามาก่อน ปีพุทธศักราช 2,500 ปี เกี่ยวกับความหมาย เรื่องของหลักความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ อริยสัจ 4 สามารถทำความเข้าใจได้ไม่ยากนัก แต่ในบางครั้งแล้วสำหรับมนุษย์ปุถุชนทั่ว ๆไป เรื่องของการทำใจให้ยอมรับกับความเป็นจริงเป็นสิ่งที่ยากที่สุด ทำให้ไม่ว่าจะผ่านไปกี่ยุคกี่สมัยแล้ว สำหรับเรื่องของหลักอริยสัจนั้น

อริยสัจ 4 คือ
อริยสัจ 4 คือ

อริยสัจ 4 คือ

อริยสัจ 4 คือ อะไร ความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ อันเป็นหลักคำสอนสำคัญของพระพุทธเจ้าที่ค้นพบ ในทางพระพุทธศาสนา

อริยสัจ 4 มีอะไรบ้าง

สรุปหลักความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ ได้แก่

  • 1.) ทุกข์
  • 2.) สมุทัย
  • 3.) นิโรธ
  • 4.) มรรค

ความ หมาย ของ อริยสัจ 4 หากเราแยกออก เป็น 2 คำ คือ คำว่า อริยะ / สัจ 4

  • อริยะ  อริ ที่แปลว่า ข้าศึก และ ยะ ที่แปลว่า ไปจาก
    • ดังนั้น ความหมายของคำว่าอริยะ คือ หมดไปเสียจากข้าศึก  ( ข้อศึกในที่นี้หมายถึงความทุกข์ )
  • สัจจะ สิ่งเที่ยงแท้ สิ่งซึ้งมีลักษณะเป็นสิ่งเดียว ไม่ต้องมีคู่ (เพียงสิ่งเดียว)
    • ดังนั้น ความหมายของคำว่าสัจจะ คือ ต้องมีเพียงสิ่งเดียว หนึ่งเดียว หากมี 2 สิ่ง 2 อย่าง ก็ไม่ถือเป็น สัจจะ

หากจะมอง คำว่า  “อริยสัจ4” ตามตัวหนังสือก็จะมีความหายแค่ว่า ความจริงอันประเสริฐ  แต่หากเรามองตาม อัตถะ (ประโยชน์เนื้อหา) สัจจะของพระอริยะ สัจจะเพื่อทำเป็นอริยะ สัจจเพื่อดับทุกข์สิ้นเชิง

เพิ่มเติม : อริยสัจ 4 ข้อใดที่เราควรบรรลุ ” พระพุธทเจ้าทรงเน้นมากที่สุด ” การดับทุกข์ หากดับทุกข์ ก็ไม่มีทุกข์ เพราะ หัวใจของพระพุทธศาสนา คือการดับทุกข์ เราจึงควรศึกษาให้รู้และเข้าใจ

ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค

อริยสัจ 4 ประกอบด้วย หลักธรรมในกรอบอริยสัจ 4

  1. ทุกข์ คือ ความไม่สบายกายไม่สบายใจความโศกเศร้าเป็นภาวะที่จะต้องกำหนดรู้เราจึงต้องรู้ความทุกข์ของเราว่าเราไม่สบายใจเรื่องอะไร
  2. สมุทัย คือ ธรรมที่ควรละมีความหมายว่าสาเหตุที่ทำให้เกิดความทุกข์ได้แก่ปัญหาซึ่งมีอยู่ 3 ประการคือ
    • กามตัณหา คือ ความอยากได้อยากมี
    • ภาวตัณญหา คือ ความอยากเป็น
    • วิภาวตัณหา คือ ความไม่อยากเป็นเป็นสภาวะที่ต้องรักเพราะว่ายิ่งทำมันก็ยิ่งทุกข์
  3. นิโรธ คือการดับทุกข์ คือสภาวะที่ความทุกข์ให้หมดสิ้นไปแล้วเกิดจากการปฏิบัติตามมรรค 8 ประการเป็นสภาวะที่ต้องบรรลุ คือ ธรรมที่ควรบรรลุ
  4. มาร์ค คือ ข้อปฏิบัติหรือแนวทางที่เป็นเหตุให้ถึงความดับทุกข์ซึ่งมีอยู่ 8 ประการเป็นสภาวะที่ต้องเจริญหรือทำให้มีขึ้นมาก็คือเป็นหลักธรรมที่เราควรเจริญ

ทั้งหมดนี้ เป็นข้อควรประพฤติและปฏิบัติที่พอดีของทางสายกลางไม่หย่อนหรือหนักมากจนเกินไป ซึ่งสามารถที่จะเป็นวิธีการนำไปสู่เส้นทางของความหลุดพ้นได้ เพียงการนำหลักธรรมในกรอบอริยสัจ4 มาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันของการทำงาน ของการใช้ชีวิตในทุกๆ วันที่ยังคงมีลมหายใจอยู่ และของการดำรงอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างสงบสุข ตลอดจนการเร่งสร้างทำความเพียรในการทำความดีไม่กระทำความชั่วตามแนวทางของมรรคแปด สะสมกุศลกรรมธรรมอันดี ด้านทาน ด้านศีล และด้านการเจริญภาวนา

ตัวอย่างอริยสัจสี่
ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ตัวอย่าง

อริยสัจ 4 ตัวอย่าง

ตัวอย่างอริยสัจ4

คือ การเปรียบเทียบ หรือเราเรียกว่าอุปมา คือการยกคำ 1 คำขึ้นมา ต้องเปรียบเทียบให้ได้และมองให้เห็นภาพ เพราะไม่ว่าจะยกคำไหน จะมี 4 อย่างประกอบได้อยู่เสมอ เช่น การเกิดโรค การหิวข้าว การเสียใจ การสอบตก เล่นกีฬาแล้วแพ้ เป็นต้น

อริยสัจ 4 ในชีวิตประจําวัน
อริยสัจ 4 ในชีวิตประจําวัน

ตัวอย่าง การแก้ปัญหาโดยใช้ อริยสัจ 4 ใน-ชีวิต-ประ-จํา-วัน

1.) ตัวอย่าง โรคภัย

  • ทุกข์ อุปมาได้ คือ ความมีโรค การเจ็บไข้ได้ป่วย ทั้งหมดคือเรื่องทุกข์
  • สมุทัย อุปมาได้ คือ เหตุให้เกิดโรค เหตุที่ทำให้เจ็บไข้ได้ป่วย การกระทำที่ให้เจ็บ
  • นิโรธ อุปมาได้ คือ ความหายจากโรคภัย หายเจ็บ หายป่วย ไม่มีโรค
  • มรรค อุปมาได้ คือ วิธีการรักษาให้หายจากโรค การกินยา บำบัด หรือเยียวให้หายโรค เป็นต้น

2.) ตัวอย่าง ทุพภิกขภัย

  • ทุกข์ อปุมาได้ คือ การขาดแคลนอาหาร ลำบาก ข้าวยากหมากแพง
  • สมุทัย อุปมาได้ คือ ฝนแล้ง ดินฟ้าอากาศไม่ดี ทำนาไม่ได้ ปลูกอะไรก็ไม่ขึ้น น้ำท่วม
  • นิโรธ อุปมาได้ คือ มีอาหารกิน ข้าวปลาอาหารสมบูรณ์ ปลูกอะไรก็ขึ้น
  • มรรค อุปมาได้ คือ มีกินมีใช้ ฝนดี สภาพอากาศดี มีน้ำปลูกข้าว เป็นต้น

3.) ตัวอย่าง  แข่งกีฬาวิ่งแพ้

  • ทุกข์ อปุมาได้ คือ วิ่งแล้วแพ้ ไม่ชนะการแข่งขัน ผิดหวัง ไม่ได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
  • สมุทัย อุปมาได้ คือ ซ้อมไม่มากพอ สนามซ้อมไกล ฝนตกบ่อยซ้อมไม่ได้ สนามเปียก
  • นิโรธ อุปมาได้ คือ แข่งขันชนะ ทำได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ มีเหรียบรางวัล
  • มรรค อุปมาได้ คือ ซ้อมมากขึ้น มีโค้ชที่ดี สภาพอากาศเป็นใจ ฝึกซ้อมตามตาราง เป็นต้น

4.) อริยสัจ 4 สอบตก

  • ทุกข์ อปุมาได้ คือ สอบไม่ผ่าน มีความเครียด ไม่ได้ดั่งที่ใจหวังไว้ คะแนนไม่ดี ทำให้พ่อแม่ผิดหวัง
  • สมุทัย อุปมาได้ คือ ไม่อ่านหนังสือ เลนเกมมากไป ไม่แบ่งเวลาในการเรียน ไม่หัดทำการบ้าน ชอบลอกการบ้านเพื่อน
  • นิโรธ อุปมาได้ คือ สอบผ่าน ทำคะแนนได้ดี ทำให้พ่อแม่มีความภูมิใจ มีกำลังใจมากขึ้น
  • มรรค อุปมาได้ คือ ตั้งใจอ่านหนังสือ แบ่งเวลา ฝึกทำการบ้านมากขึ้น ตั้งใจทำข้อสอบ เป็นต้น

5.) อริยสัจ 4 กับการเรียนออนไลน์

  • ทุกข์ อปุมาได้ คือ เรียนไม่ค่อยรู้เรื่อง ไม่สนุกกับการเรียน ไม่ได้เจอเพื่อนๆ ไม่ได้แลกเปลี่ยนความรู้
  • สมุทัย อุปมาได้ คือ มีโรคติดต่อ เดินทางไม่สะดวก ครูไม่สามารถสอนออนไลน์ได้ ต้องกั๊กตัวอยู่บ้าน
  • นิโรธ อุปมาได้ คือ โรคติดต่อหมดไป ได้รับวัคซีนป้องกันมากพอ มีระบบการสอนออนไลน์ที่ดีขึ้น
  • มรรค อุปมาได้ คือ ต้องปรับตัวตามสถานการณ์ พยายามตั้งใจฟังที่ครูสอน ครูปรับตัวกับการสอนออนไลน์ได้ เป็นต้น

6.) อริยสัจ 4 ความรัก

  • ทุกข์ อปุมาได้ คือ อกหัก ผิดหวัง เสียใจ ไม่ได้ดั่งใจ เลิกลา
  • สมุทัย อุปมาได้ คือ ไม่เข้าใจกัน หมดรัก มีมือที่ 3 นอกใจ
  • นิโรธ อุปมาได้ คือ ทำใจได้ ลืมคนที่ทำให้เสียใจได้ มีคนรักใหม่
  • มรรค อุปมาได้ คือ ศึกษาดูใจก่อนคบ ไม่นอกใจอีกฝ่าย รักเดียว คิดถึงใจอีกฝ่ายมากขึ้น เป็นต้น
อริยสัจ 4 ทุกข์ คือ
ตัวอย่างอริยสัจ หนทางที่พระพุทธองค์คิดว่าจะทําให้พ้นทุกข์คือ

7.) ตัวอย่างที่ 4 จักยานชน

  • ทุกข์ (ผล) พิจารณารู้ถึงการเดินข้ามถนนแล้วถูกจักรยานชน
  • สมุทัย (เหตุ) พิจารณารู้ถึงสาเหตุว่าไม่ระวังให้ดี
  • นิโรธ (ผล) พิจารณารู้ถึงการมองซ้ายมองขวาก่อนขามถนนอย่างปลอดภัย
  • มรรค (เหตุ) พิจารณารู้ถึงสาเหตุที่จะเดินข้ามถนนอย่างปลอดภัย คือ มีสติแลระมัดระวังขณะเดิน

8.) ตัวอย่างที่ 5 ผิวหน้าไม่ดี รูปร่างไม่ดี

  • ทุกข์ (ผล) หน้าโทรม ขอบตาดำ ถูกเพื่อนล้อ
  • สมุทัย (เหตุ) นอนตึก ไม่ดูแลสุขภาพ
  • นิโรธ (ผล) หุ่นดี ร่างกายแข็งแรง ผิดพรรณดี
  • มรรค (เหตุ) พยายามเข้านอนเร็ว ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ทานอาหารมีประโยชน
อริยสัจ สี่
อริยสัจ สี่

วิธีคิดแบบอริยสัจ

วิธีคิดแบบอริยสัจ 4 แก้ ปัญหา

วิธีคิดแบบอริยสัจ 4 แก้ปัญหา ความทุกข์ คือการดับทุกข์ ให้ได้ เป็นหลักสำคัญที่พระพุธองค์ ทรงเน่น และหากมองในความมีเหตุมีผล และเปรียบเทียบกับวิทยาศาสตร์ (เป็นสิ่งที่พิสูจน์ได้) อริยสัจ4 ก็เปรียบเสมือนธรรมชาติที่เกิดขึ้นจริง ประกอบไปด้วยวิธีคิด ดังนี้

  1. ทุกข์ คือ ความจริงที่ว่าด้วยความทุกข์
  2. สมุทัย คือ ความจริงที่ว่าด้วยเหตุให้เกิดทุกข์
  3. นิโรธ คือ ความจริงที่ว่าด้วยความดับทุกข์
  4. มรรค คือความจริงที่ว่าด้วยทางแห่งความดับทุกข์

จุดตั้งต้น คือความทุกข์ หากคนเราเกิดความทุกข์ ก็สามารถนำหลัก อริยสัจสี่ มาปรับใช้ได้ ตัวอย่างวิธีคิดแบบอริยสัจ เช่น

1.) เมื่อเรา ปวดท้อง เท่ากับว่า เราเกิด ทุกข์ (ความทุกข์)

วันหนึ่งเรากำลังทานอาหารจนอิ่ม แล้วรู้สึกมีอากาศปวดท้อง หากเรารู้สึกทรมาณ หรือเจ็บปวด สิ่งเหล่านี้ ทำเราไม่สบายกาย ไม่สบายใจ อาจจะท้องแน่น ท้องเสีย ทั้งหมดนี้รวมๆแล้ว คือ ควาทุกข์จากการปวดท้อง เท่ากับว่าเราเป็นทุกข์

2.) เมื่อเรา ทราบสาเหตุ ก็จะค้นพบ สมุทัย (สาเหตุ)

หากการปวดท้องมันทำให้เราทุกข์ เราคิดต่อได้ ว่าทำไมเราถึงปวดท้อง ท้องแน่น จุกท้อง หรือท้องเสีย ทั้งหมด เกิดจาก การที่เรา กินเร็ว กินอาหารไม่สะอาด กินอาหารที่ไม่เข้ากัน หรือ กินมากจนเกินไป เมื่อเรารู้อย่างยนี้เท่ากับว่าเราค้นพบ สมุทัย

3.) เมื่อเรา หายจากอาการ ปวดท้องได้เราก็จะอยู่ในช่วง นิโรธ (ดับทุกข์/สุข)

เมื่อเราหายจากอาการปวดท้อง หายท้องเสีย หรือ กลับมาใช้ชีวิตปกติได้ เราจะมีความสุขไม่เจ็บท้อง สบายทั้งกาย และไม่ต้องกลัวอาการท้องเสียขณะเดินทาง ทำให้สบายใจ สิ่งเหล่านี้อยู่ในช่วงที่เรียกว่า นิโรธ

4.) เรา กินอาหารสะอาด ทำให้เราไม่ปวดท้อง เราจะค้นพบ มรรค (การดับทุกข์)

ต่อไปเมื่อเราทานอาหารเราจะระวังการกินเร็ว กินอาหารไม่สะอาด และเราก็จะเลือกร้านอาหารที่ดูสะอาดมากขึ้น หรือแม้กระทั้งทำหาอารทานเอง ซึ่งสิ่งเหล่านี้คือวิธีการ ทำให้เราไม่เกิดอาการปวดท้อง (ทุกข์) ที่เราเรียกว่า มรรค

อริยสัจ 4 ทุกข์ คือ
อริยสัจ 4 ทุกข์ คือ

สมุทัย คือ

สมุทัย คือ สาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ ได้แก่ ตัณหา หรือความทะยานอยาก ซึ่งจำแนกได้ 3 ประการ 1.) กามตัณหา 2.) ภวตัณหา และ 3.) วิภวตัณหา

  • กามตัณหา ความทะยานอยากในกาม กาม หมายถึง รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสที่ น่าใคร่ น่าปรารถนา น่าพอใจ ความทะยานอยากในกาม จึงหมายถึง ความดิ้นรนอยากเห็นสิ่งที่ สวยงาม อยากฟังเสียงที่ไพเราะ อยากดมกลิ่นที่หอม อยากลิ้มรสที่อร่อย อยากสัมผัสที่น่าใคร่น่า ปรารถนา น่าพอใจ
  • ภวตัณหา ความทะยานอยากในความเป็น คือ ดิ้นรนอยากเป็นบุคคลประเภทที่ ตนชอบ เช่น นักร้อง นักแสดง นักการเมือง หรืออยากได้เลื่อนยศเลื่อนตำแหน่ง
  • วิภวตัณหา ความอยากในความไม่มีหรือไม่เป็น คือ ดิ้นรนอยากไม่เป็นสิ่ที่เขาให้ เป็นหรืออยากจะพ้นไปจากตำแหน่างที่เป็นอยู่แล้ว รวมทั้งอยากให้สิ่งนั้นสิ่งนี้หมดไป

สมุทัย ตัวอย่างสาเหตุ และผลกระทบที่เกิดขึ้น

สมุทัย คือ ” สาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์  ” เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดกิเลสขึ้น ทำให้จิตใจและร่างกายเกิดความทุกข์ จากสภาวะของตัวตัณหา ดังนั้นตัวสมุทัยธรรมที่ควรละ จะทำให้สู่หนทางแห่งการดับทุกข์ได้ง่ายมากยิ่งขึ้น ซึ่งเป็น การแก้ปัญหาแบบอริยสัจ-4 เป็นแนวทางเบื้องต้นของวิธีดับทุกข์ คือจะต้องประพฤติปฏิบัติตั้งใจทำปหานะ  นั่นคือ การละ การขจัดตัวกิเลส การกำจัดตัณหา จากความรัก ความโลภ ความโกรธ และความหลง สมุทัยเป็นเหตุของทุกข์ ต้องละปิดกั้นทางอบายและความอยาก จาก 3 ประการนี้คือ

  • กามตัณหา มีรสอร่อยๆต่อลิ้น, อยากได้กลิ่นในสิ่งที่มีความหอมละมุนต่อจมูก, อยากได้ฟังเสียงที่มีความไพเราะมากระทบต่อหู เป็นต้น
  • ภวตัณหา คือ ความอยากได้ ความอยากมี ความอยากเป็น เช่น การอยากได้ยศได้ตำแหน่งหน้าที่การงานที่สูงๆขึ้น, การอยากมีคู่ชีวิตที่ดีๆไม่เจ้าชู้นอกใจและรักเดียวใจเดียว, การอยากเป็นมหาเศรษฐีที่ได้รับเงินรางวัลพิเศษ เป็นต้น
  • วิภวตัณหา คือ ความไม่อยากได้ ความไม่อยากมี ความไม่อยากเป็น เช่น การไม่อยากได้ทำงานวันหยุดเนื่องจากไม่ได้รับค่าตอบแทน, การไม่อยากมีคู่ชีวิตที่เกียจคร้านในหน้าที่การทำงาน, การไม่อยากเป็นผู้ที่ถูกนายจ้างเลิกสัญญาจ้างออกจากการทำงาน เป็นต้น

หัวใจของพระพุทธศาสนา อริยสัจ 4 เพราะเหตุผลในข้อใด

สาเหตุที่ทำให้ อริยสัจ 4 เป็นหัวใจของหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา เพราะ ทุกคนเมื่อมีความทุกข์ ก็จะพยายาม หาทางให้ตัวเองพ้นทุกข์ ไม่ว่าจะเป็น คนดี คนเลว คนฉลาด คนโง่ ก็จะมีวิธีการ คิดหาทางในแบบของตนเอง หากใครคิดได้ ถึง สาเหตุ และ วิธีดับทุกข์ บุคคลนั้น ก็จะไม่มี ทางทุกข์ นั้นเอง

อริยสัจ 4 เกี่ยวข้องกับวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาวันใดมากที่สุด

อริยสัจ 4 เกี่ยวข้องกับ วันวิสาขบูชา เนื่องจาก เป็นวันที่เกิด 3 เหตุการณ์สำคัญที่เกี่ยวกับพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คือ 1.) เป็นวันที่พระพุทธเจ้าประสูติ 2.) เป็นวันที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้อนุตตรสัมโพธิญาณ และ 3.) เป็นวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จเข้าสู่ปรินิพพาน ที่สำคัญคือ เป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ได้ด้วยตนเอง จึงมีหลักธรรม คำสั่งสอนมากมายที่ พระพุธทศาสนา ทั่วเลย นำมาเผยแพร่ และหนึ่งในนั้น คือ หลักอริยสัจ 4 เราอยู่ด้วย นั้นเอง

วิธี คิด แบบ อริยสัจ 4 แก้ ปัญหา

การ แก้ ปัญหา แบบ อริยสัจ 4

เริ่มต้นที่ ความทุกข์ หาวิธีแก้ไข หาปัญหา หาสาเหตุ

หลัก ธรรม ใน กรอบ อริยสัจ 4

หลัก อริยสัจ 4 เป็นหนึ่งในบทพระธรรม “ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ” พระธรรมเทศนาที่มีคำสอนของทางเดินสายกลาง หรือ “มัชฌิมาปฏิปทา” หมายถึง หนทางดับทุกข์  หรือ มรรคมีองค์ 8  และ อริยสัจ4 ประกอบด้วย ทุกข์, สมุทัย, นิโรธ, มรรคแม้ว่าหลักธรรมอริยสัจ 4 จะมีเพียงองค์ประกอบหลัก 4 ประการท่านั้น แต่สาระสำคัญของอริยสัจ 4 คือเป็นหลักธรรมที่ควรละ และหลักธรรมที่ควรรู้สามารถนำมาศึกษาและประพฤติปฏิบัติตามในแนวทางของมรรคธรรมที่ควรเจริญ

หลักธรรมในข้อใด หมายถึงความจริงอันประเสริฐ
หลักธรรมในข้อใด หมายถึงความจริงอันประเสริฐ

หลักธรรมในข้อใด หมายถึงความจริงอันประเสริฐ ? : หลักอริยสัจ 4

สรุป อริยสัจ 4

อริยสัจ 4 เป็นหลักธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบเป็นหลักเกี่ยวกับความจริงอันประเสริฐที่นำไปสู่การดับทุกข์ประกอบไปด้วยความจริง 4 ประการตามชื่อของหลักธรรม คือ 1 ทุกข์ 2 สมุทัย 3 นิโรธและ 4มรรค

ทั้งนี้ยังเป็นเส้นทางที่พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้และนำมาสั่งสอน เทศนา เผยแพร่ให้แก่พระสาวกและพุทธบริษัททั้ง 4 (ภิกษุ, ภิกษุณี, อุบาสก, อุบาสิกา) เป็นหลักธรรมของความจริงอันประเสริฐ “อริยะสัจ 4”  คือ แนวทางของการดับทุกข์ การปฏิบัติตามหลักธรรมอริยสัจ4 อยู่เป็นประจำเสมอๆนั้น จะช่วยทำให้ รู้เข้าใจ เกิดสภาวะของการไตร่ตรองตามสถานการณ์จริงของหนทางดับทุกข์ได้

หลักธรรม อริยสัจ 4 นำมา ใช้ในชีวิตประจำวัน ได้อย่างไร

ทุกข์ (ผล) > สอบตก ทุกข์ใจเพราะการสอบตก สมุทัย (เหตุ) > ไม่ตั้งใจเรียน ไม่อ่านหนังสือ นิโรธ (ผล) > สอบผ่าน มรรค (เหตุ) > ตั้งใจเรียน อ่าน ท่องหนังสือ

อริยสัจ 4 ภาษาอังกฤษ Four noble truths

พรหมวิหาร 4 หรือ พรหมวิหารธรรม เป็นหลักธรรมประจำใจเพื่อให้ตนดำรงชีวิตได้อย่างประเสริฐและบริสุทธิ์

ปิดกิจการ
219379
เงินสดย่อย
ปก การเปลี่ยนแปลงทางภูมิศาสตร์
การใช้คำเชื่อมเพื่อเชื่อมความคิดใ
220868
กระเทียม
บทความแนะนำ หมวดหมู่: ดูดวง
จำนวนคอมเมนต์ของโพสต์ ID 165563: 1755