จดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

7 ซื้อขายออนไลน์ จดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ทำง่ายๆ?

การจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

ทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ กิจการมีระบบการสั่งซื้อ มีระบบการชําระเงิน ออฟไลน์หรือ ออนไลน์ มีระบบสมัครสมาชิก บริการข้อมูลหรืออื่น ๆ โดยมีการคิดค่าใช้จ่าย (ถือเป็นการขายบริการ) ชัดเจน และเปิดมาโดยมีวัตถุที่ประสงค์หลักในการรับจ้างโฆษณาสินค้าหรือบริการของผู้อื่น และมีรายได้จากการโฆษณานั้น

ตามพระราชบัญญัติตามพระราชบัญญัติ ทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ. 2499 กรมพัฒนาธุรกิจการค้า เดิมได้ออกประกาศกระทรวงพาณิชย์ พ.ศ. 2546 ให้ผู้ซื้อขายสินค้าหรือบริการ โดยวิธีการ

จดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

แบ่งได้ 4 รูปแบบ

  1. ใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบ
  2. เครือข่ายอินเทอร์เน็ต บริการอินเทอร์เน็ต
  3. ให้เช่าพื้นที่ของเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย และบริการ
  4. ตลาดกลางในการซื้อขายสินค้าสินค้าหรือบริการ โดยวิธีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่าย อินเทอร์เน็ต เป็นครั้งแรก

ต่อมากรมพัฒนาธุรกิจการค้า ได้ออกประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง ให้ผู้ ประกอบพาณิชยกิจต้องจดทะเบียนพาณิชย์ (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2551 ลงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 ข้อ (5) กําหนดให้ผู้ประกอบพาณิชยกิจ ไม่ว่าจะเป็น

  1. บุคคลธรรมดา
  2. ห้างหุ้นส่วนสามัญ
  3. ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
  4. ห้างหุ้นส่วนจํากัด
  5. บริษัทจํากัด

ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือบริษัทมหาชน จํากัด ตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจํากัด ทุกท้องที่ทั่วราชอาณาจักรต้องจดทะเบียนพาณิชย์ ซึ่ง ในส่วนที่ถือว่าเป็นการจดของทะเบียนพาณิย์อิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่

  1. การซื้อขายสินค้าหรือบริการ โดยวิธีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบ เครือข่ายอินเทอร์เน็ต
  2. การบริการอินเทอร์เน็ต (Internet Service Provider : ISP)
  3. ให้เช่าพื้นที่ของเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย (Web Hosting)
  4. บริการตลาดกลางในการซื้อขายสินค้าหรือบริการ (E-Marketplace)

เว็บไซต์ที่เข้าค่ายต้องจด

ตัวอย่างเว็บไซต์ที่เข้าข่ายต้องจดทะเบียนพาณิชย์ อิเล็กทรอนิกส์

  1. เว็บไซต์ซึ่งมีระบบการสั่งซื้อ เช่น ระบบกรอกฟอร์ม ระบบตะกร้า E-mail เป็นต้น
  2. เว็บไซต์ซึ่งมีระบบสมัครสมาชิก เพื่อรับบริการข้อมูลโดยมีการคิดค่าบริการ
  3. รับจ้างโฆษณาสินค้าหรือบริการของผู้อื่น หรือมีรายได้จากการรับจ้าง โฆษณานั้น
  4. รับจ้างออกแบบเว็บไซต์ โดยผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
  5. เว็บไซต์ที่ให้บริการเกมส์ออนไลน์ซึ่งคิดค่าบริการจากผู้เล่น
  6. เว็บไซต์ที่มีการส่งมอบสินค้าหรือบริการผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เช่น การ Download เพลง โปรแกรม เกมส์ Ringtone Screensaver SMS เป็นต้น

เงื่อนไขต้องของผู้จดทะเบียนพาณิชย์ทรอนิกส์

  1. จะต้องมีการยื่นคำขอสำหรับธุรกิจนั้นเพียง 1 คำขอยื่นจดทะเบียนพาณิชย์ทรอนิกส์ กล่าวคือ 1 คำขอต่อ 1 เว็บไซด์หรือต่อร้านค้าออนไลน์
  2. ผู้ที่สามารถมาจดทะเบียนพาณิชย์ทรอนิกส์ได้จะต้องมีธุรกิจเรียบร้อยแล้ว มีร้านค้าแบบออนไลน์เรียบร้อยแล้ว ถ้ามีแค่ชื่อร้านหรือแค่ชื่อร้านค้าจะยังไม่สามารถมาขอจดทะเบียนพาณิชย์ทรอนิกส์ได้
  3. การจดทะเบียนพาณิชย์ทรอนิกส์จะต้องประกอบธุรกิจตามที่กฎหมายผู้ประกอบพาณิชยกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ต้องจดทะเบียนพาณิชกำหนด 4 อย่าง
  4. การทำกิจการต้องไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพียงแค่การโฆษณา หรือเป็นสื่อออนไลน์เผยแพร่ข้อมูล รวมทั้งการประชาสัมพันธ์เท่านั้น เพราะนับเฉพาะการซื้อขายหรือทำกิจการตามที่กฎหมายกำหนด 4 อย่าง
  5. การจดทะเบียนพาณิชย์ทรอนิกส์ไม่ใช่แค่เว็บไซด์ แต่นับรวมกับการซื้อขายสินค้าบนโซเชียลมีเดียด้วยเช่นกัน เช่น Facebook, Instragram
  6. เมื่อทำการจดทะเบียนพาณิชย์ทรอนิกส์เรียบร้อยแล้วสามารถนำเลขทะเบียนแสดงบนหน้าร้านค้าออนไลน์ได้ทันที
  7. กรมพัฒนาธุรกิจการค้าอนุญาติให้นำเครื่องหมายสัญลักษณ์ DBD Registered มอบให้เฉพาะร้านค้าออนไลน์ที่เป็นกรณีเว็บไซด์เท่านั้น กล่าวคือต้องมีโดเมนเนมของตนเองแล้วเท่านั้น กรณีร้านค้าออนไลน์แบบโซเชียลมีเดียไม่สามารถใช้เครื่องหมายรับรองแบบ DBD Registered เฉพาะได้

เว็บไซต์ที่ ไม่ต้องจดทะเบียน

ตัวอย่างเว็บไซต์ที่ ไม่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ อิเล็กทรอนิกส์

  1. มีเฉพาะหน้าร้านโชว์สินค้าของตนเอง แต่ทําการค้าในช่องทางปกติ (ไม่ใช่ อินเทอร์เน็ต) แม้จะมีข้อความแจ้งว่าให้ติดต่อได้ เช่น สนใจโทร.ติดต่อ…. หรือ สอบถามรายละเอียด เพิ่มเติมที่ ……….
  2. การประชาสัมพันธ์หรือเผยแพร่ข้อมูลแก่สมาชิกหรือบุคคลทั่วไป โดยไม่ คิดค่าใช้จ่ายหรือบริการ เช่น เพื่อการสอน ประกาศรับสมัครงาน
  3. การประชาสัมพันธ์ข้อมูลเกี่ยวกับบริษัท หรือสินค้า
  4. เว็บไซต์ส่วนตัว (ส่วนบุคคล) ที่สร้างขึ้นเพื่อเผยแพร่ข้อมูลส่วนตัว การงาน การศึกษา หรือความสนใจส่วนตัว
  5. เว็บไซต์ที่เป็นสื่อกลางด้านข้อมูล โดยมีจุดประสงค์ในการแลกเปลี่ยนข้อมูล โดยไม่มีการเสียค่าสมาชิก หรือค่าใช้จ่ายใดๆ

ยื่นคําขอจดทะเบียน

การยื่นคําขอจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ขั้นตอนและหลักเกณฑ์การยื่นคําขอจดทะเบียนพาณิชย์ อิเล็กทรอนิกส์ทั้งตั้งใหม่ เปลี่ยนแปลง และเลิกประกอบพาณิชยกิจ ใช้หลักเกณฑ์เดียวกับการจดทะเบียนพาณิชย์ทั่วไป

เอกสารที่ใช้ในการจดทะเบียนพาณิชย์อีเล็กทรอนิกส์    

ใช้เอกสารแบบเดียวกับจดทะเบียนพาณิชย์ทั่วไป แต่เพิ่มเติมคือ รายละเอียดเกี่ยวกับเว็บไซต์ โดยผู้ประกอบการที่มีเว็บไซต์มากกว่า 1 เว็บไซต์จะต้องกรอก เอกสารเกี่ยวกับเว็บไซต์แยกแต่ละเว็บไซต์ (1 เว็บไซต์ : เอกสารรายละเอียดเกี่ยวกับเว็บไซต์ 1 แผ่น) ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

การขอรับเครื่องหมายรับรองการจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (REGISTERED)

แบ่งได้ 2 กรณี คือ

  1. นายทะเบียนจัดส่งข้อมูลให้กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
  2. ผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ส่งข้อมูลเพื่อขอรับโดยตรง โดย ส่งสําเนาใบทะเบียนพาณิชย์ (แบบ พค.0403) พร้อมทั้งรายละเอียดเกี่ยวกับเว็บไซต์ ผ่านทางโทรสาร หมายเลข 0 2547 5973 หรือส่งทางอีเมล์ e-commerce@dbd.go.th

เอกสารที่ต้องใช้เพื่อขอเครื่องหมาย DBD Registered ดังนี้

สำหรับการจะเดินทางไปจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ก็ควรเตรียมเอกสารทุกอย่างให้พร้อมเพื่อให้การจดทะเบียนราบรื่น ทั้งนี้การขอเครื่องหมาย DBD Registered เป็นเสมือนส่วนเพิ่มเติมจากการจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งถือเป็นเครื่องหมายที่นำมาประดับเพิ่มเติมโดยจะขอได้เฉพาะร้านค้าออนไลน์บนเว็บไซด์ที่มีโดเมนเนมของตนเองเท่านั้น

  1. ใช้สำเนาเอกสาร ทะเบียนพาณิชย์ (แบบ พค.0403)
  2. ใช้สำเนาเอกสารซึ่งเป็นรายละเอียดเว็บไซด์ (เอกสารแนบ ทพ.) โดยยื่นคำขอเพียง 1 ใบต่อ 1 เว็บไซต์เท่านั้น
  3. ใช้สำเนาเอกสารที่ได้ทำการจดทะเบียนโดเมนเนม ซึ่งต้องปรากฏชื่อตรงกันเป็นชื่อของผู้จดทะเบียนโดเมนเนมที่เป็นเจ้าของกิจการจดทะเบียนพาณิชย์
  4. แสดงเอกสารอื่นที่มี (ถ้ามี) โดยอาจจะแนบเพิ่มเติมหรือไม่ก็ได้ หากไม่ครบทางเจ้าหน้าที่อาจจะเรียกขอเพิ่มเติม เช่น เอกสารที่ของตัวแทนจำหน่ายสินค้าชนิดนั้น ๆ หรือเอกสารเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ผลิตภัณฑ์ เป็นต้น

เมื่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้รับข้อมูลแล้ว จะทําการตรวจสอบพร้อมทั้งบันทึก ลงฐานข้อมูล จึงจะอนุมัติเครื่องหมายฯ โดยการจัดส่ง Source Code ผ่านทางอีเมล์

ประโยชน์ของการจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ

สร้างความน่าเชื่อถือให้แก่ผู้ประกอบการในระดับหนึ่ง โดยกรมพัฒนาธุรกิจ การค้าจะออกเครื่องหมายรับรองการจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (REGISTERED) ให้แก่ ผู้ประกอบการที่จดทะเบียน เพื่อนําไปแสดงไว้บนเว็บไซต์ของตนเอง เมื่อผู้บริโภค (ผู้ซื้อ) เห็น เครื่องหมาย REGISTERED แล้วจะเกิดความมั่นใจในการทําธุรกรรมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เพิ่มมาก

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า จะนํารายชื่อเว็บไซต์ที่จดทะเบียนพาณิชย์ อิเล็กทรอนิกส์แล้ว ไปเผยแพร่ไว้บนเว็บไซต์ของกรมฯ (www.dbd.go.th) เพื่อช่วยประชาสัมพันธ์ เว็บไซต์ของผู้ประกอบการอีกช่องทางหนึ่ง

ผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่จดทะเบียนแล้ว สามารถยื่นขอรับ เครื่องหมายรับรองความน่าเชื่อถือ (Trustmark) จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้ ซึ่งเครื่องหมาย Trustmark นี้มีความน่าเชื่อถือสูงกว่าเครื่องหมาย REGISTERED มีคุณสมบัติดังนี้

  1. เป็นนิติบุคคลและมีสถานประกอบการตั้งอยู่ในประเทศไทย
  2. จดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน
  3. เป็นเจ้าของชื่อโดเมน
  4. มีคุณสมบัติตรงตาม 8 ข้อบังคับของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.trustmarkthai.com)

การได้รับสิทธิพิเศษต่าง ๆ เช่น การเข้าร่วมอบรมสัมมนา การได้รับ คําแนะนํา และการได้รับข้อมูลข่าวสารด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

เรื่องควรรู้ ก่อนไปจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

ปัจจุบันการแข่งขันทางการตลาดของโลกธุรกิจต้องอาศัยความรวดเร็วบนโลกออนไลน์กันมากขึ้น หากธุรกิจใดไม่สามารถปรับตัวได้กับโลกอินเตอร์เน็ตหรือไม่สามารถทำการตลาดตามเทรนด์คนยุคใหม่ก็จะค่อย ๆ ตายหรือดับไปอย่างน่าเสียดาย ซึ่งก็มีหลายธุรกิจที่เราได้เห็นกันว่าเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว เพราะโลกโซเซียล และในทางกลับกันก็มลายหายไปกลายเป็นแบรนด์ในความทรงจำเพราะกระแสการค้าแบบออนไลน์ จึงเป็นเรื่องที่เราทุกคนต้องยอมรับว่าบทบาทของโลกอินเตอร์เน็ตวันนี้เข้ามาส่วนในการใช้ชีวิตประจำของเราแทบจะทั้งหมด การสั่งซื้อินค้าไม่ว่าจะด้วยทางตรงหรือทางอ้อมก็ล้วนแต่ใช้งานผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์กันทั้งสิ้น คนทุกคนเองต่างก็สื่อสารด้วยระบบอินเตอร์เน็ตได้ การเข้าถึงข้อมูลร้านค้าโดยตรง การค้นหาหรือสืบค้นข้อมูลแทบจะเป็นเรื่องง่ายในคลิกเดียว

กรมพัฒนาธุรกิจการค้าจึงได้เข้ามามีบทบาทในส่วนนี้ เพื่อช่วยส่งเสริมรวมทั้งมีส่วนสนับสนุนการธุรกิจที่ต้องการเติบโตด้วยโลกอินเตอร์เน็ต โดยเราจะสามารถเรียกลักษณะกิจการแบบนี้ได้ว่าเป็นการประกอบธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์นั่นเอง ซึ่งธุรกิจที่ต้องการใช้บริการลักษณะนี้จะต้องมีการจดทะเบียนสำหรับการประกอบธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อให้สามารถการซื้อขายสินค้าและบริการได้แบบถูกกฎหมายบนอินเตอร์เน็ต สามารถคิดง่าย ๆ ว่าก็เหมือนกับการประกอบกิจการทั่วไปเพียงแต่ย้ายมาอยู่บนอินเตอร์เน็ต ลูกค้าหรือพันธมิตรก็จะสามารถเชื่อถือและไว้วางใจคุณภาพและมาตรฐานของคุณได้

เกี่ยวกับการจดทะเบียนประกอบธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

ว่าด้วยเรื่องกฎหมายข้อบังคับเริ่มแรกนั้นมาจาก กระทรวงพาณิชย์ได้อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ. 2499 นำขึ้นมาพิจารณาและได้ออกประกาศกระทรวงพาณิชย์เพิ่มเติมซึ่งเป็นเรื่องที่ว่าด้วยผู้ประกอบพาณิชยกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ (ฉบับที่ 11)พ.ศ. 2553 ในข้อที่ 5 ซึ่งได้มีข้อกำหนดไว้ว่า กำหนดให้ผู้ให้ผู้ประกอบพาณิชยกิจ  ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาห้างหุ้นส่วนสามัญ ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือบริษัทมหาชนจำกัด ตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจำกัด ทุกท้องที่ทั่วราชอาณาจักรต้องจดทะเบียนพาณิชย์ ซึ่งในส่วนที่ถือว่าเป็นการจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่

  1. การซื้อขายสินค้าหรือบริการโดยวิธีการสื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
  2. บริการอินเทอร์เน็ต (Internet Service Provider : ISP)
  3. ให้เช่าพื้นที่ของเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย (Web Hosting)
  4. บริการตลาดกลางในการซื้อขายสินค้าหรือบริการ (E-Marketplace)

จะเห็นได้ว่ามีข้อกำหนดซึ่งเป็นไปตามกฎหมายทั้งหมด 4 หัวข้อย่อยในข้อที่ 5 ซึ่งกล่าวถึงเรื่องผู้การค้าขายบนโลกอินเตอร์เน็ตจะต้องมีการจดทะเบียนประกอบธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์อย่างถูกกฎหมาย

กฎหมายจดทะเบียนพาณิชย์ทรอนิกส์

หากไม่ทำตามกฎหมายจะมีความผิดอะไร ?

สำหรับผู้ที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายข้อบังคับที่กระทรวงพาณิชย์ที่กำหนดเอาไว้ ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือเป็นนิติบุคคลก็ตามที่ได้ดำเนินการประกอบธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ แต่ไม่มีการจดทะเบียนพาณิชย์ อิเล็กทรอนิกส์ จะถือว่ามีความผิดตามกฎหมาย เกี่ยวกับ พ.ร.บ.ทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ.2499 ซึ่งมีโทษเป็นค่าปรับแบบรายวันไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะมีการจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกสืเสร็จสิ้นอย่างถูกต้องตามกฎหมาย

สถานที่จดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ดังนี้

ปัจจุบันมีสถานที่ที่สามารถให้บริการเกี่ยวกับเรื่องการจดทะเบียนพาณิชย์ได้ทั่วประเทศ โดยจะสามารถจำแนกได้ตามที่ตั้งของสถานประกอบการธุรกิจสาขาสำนักงานใหญ่เป็นหลัก ดังนี้

  1. มีสาขาสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่จังหวัดกรุงเทพมหานคร สามารถยื่นเรื่องการจดทะเบียนได้ที่สำนักเขตประจำท้องที่ที่อยู่อาศัย
  2. มีสาขาสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในส่วนภูมิภาคอื่น สามารถยื่นเรื่องการจดทะเบียนได้ที่ สำนักงานเขตทะเบียนพาณิชย์เมืองพัทยา เทศบาล หรือองค์การบริการส่วนตำบลประจำท้องที่
  3. มีสาขาสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ต่างประเทศ โดยมีสำนักงานย่อยเป็นสาขาตั้งอยู่ที่ประเทศไทย ก็สามารถยื่นเรื่องการจดทะเบียนได้ที่ที่ สำนักงานเขตทะเบียนพาณิชย์เมืองพัทยา เทศบาล หรือองค์การบริการส่วนตำบลประจำท้องที่ ซึ่งเป็นไปตามเขตที่สำนักงานใหญ่อนุญาตให้สามารถรับผิดชอบสำนักงานได้ในประเทศไทย

จดทะเบียนพาณิชย์ อิเล็กทรอนิกส์ดีอย่างไร 

สำหรับคนที่ลังเลไม่รู้สึกว่าจะไปจดทะเบียนพาณิชย์ไปเพื่ออะไร และทำไม หากไม่นับเรื่องข้อบังคับทางกฎหมาย ก็ลองเปรียบเทียบง่าย ๆ กับการประกอบกิจการทั่วไป เมื่อเราต้องทำธุรกิจกับคนที่มีการจดทะเบียนเรียบร้อยแล้วกับคนไม่ได้จนทะเบียนย่อมมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจนในหลายแง่มุม อย่างไรก็ตามสามารถกล่าวถือประโยชน์ที่สามารถได้รับอย่างเห็นได้ชัด ดังนี้

  1. การจดทะเบียนพาณิชย์ทรอนิกส์จะทำให้กิจการมีตัวตนอยู่จริง ทำให้ธุรกิจมีความน่าเชื่อถือเพิ่มขึ้นทั้งกับต่อลูกค้าหรือพันธมิตรธุรกิจด้วยกันเอง เพราะปกติธุรกิจที่ต้องทำการซื้อขายหรือมีความเกี่ยวข้องกับโลกอินเตอร์เน็ตนั้นก็สร้างความน่าเชื่อถือได้น้อยกว่า กิจการที่เรามองเห็น ๆ กันอยู่แล้ว ดังนั้นหากลูกค้าหรือพันธมิตรไม่เคยมาติดต่อยังสถานที่จริงของธุรกิจ สิ่งที่การันตีธุรกิจได้ก็เป็นการใช้เอกสารราชการอย่าง ใบประกอบกิจการทะเบียนพาณิชย์ทรอนิกส์
  2. เจ้าของกิจการ ผู้ประกอบการ โดยบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลสามารถขอรับเครื่องหมายรับรองการจดทะเบียน DBD Registered จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า และเครื่องหมายรับรองความน่าเชื่อถือ DBD Verified สามารถแสดงให้เห็นได้ว่ารับการตรวจประเมินตามเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เป็นอย่างดี
  3. กรมพัฒนาธุรกิจการค้าจะมีหลักสูตรอบรบความรู้ต่าง ๆ ให้กับผู้ที่ได้รับการจดทะเบียนพาณิชย์ทรอนิกส์เรียบร้อยแล้ว รวมทั้งสามารถรับสิทธิ์เพื่อเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้ เช่น ออกบูท อบรม สัมมนา ตลอดจนสามารถรับข่าวสารพิเศษจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้าด้วยเช่นกัน
  4. การที่จดทะเบียนพาณิชย์ทรอนิกส์จะช่วยให้แหล่งเงินทุนให้สินเชื่อได้ง่ายขึ้น เพราะข้อมูลของกิจการมีความน่าเชื่อถือได้จริง เมื่อเทียบกับกิจการออนไลน์บนโลกอินเตอร์เน็ตที่ไม่มีการจดทะเบียนพาณิชย์ทรอนิกส์

ข้อมูลติดต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ส่วนของสำนักพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

  • โทรศัพท์ 02-547-5960, 02-547-5973
  • E-mail: e-commerce@@dbd.go.th

อ่านบทความทั้งหมด >>> pangpond.com