Big Data คือ
ทำไมต้อง Big Data?
ปัจจุบัน เราทุกคนใช้งานโซเชียลมีเดีย เช่น You tube, Facebook, Twitter, Google, Netflix, Walmart, Starbucks สิ่งหนึ่งที่ทำให้โซเชียลมีเดียเหล่านี้ประสบความสำเร็จ คือ Big Data เป็นการนำข้อมูลจำนวนมหาศาลที่ได้จากการให้บริการมาใช้วิเคราะห์ เพื่อหาโอกาสทางธุรกิจ ใช้ประกอบการตัดสินใจในเรื่องสำคัญๆ ทั้งการพัฒนาด้านการขายและการตลาด การปรับปรุงสินค้าบริการให้ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคยุคใหม่ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว รวมถึงภาคการผลิตที่นำข้อมูล Big-Data ไปใช้ในการวิเคราะห์เพื่อเพิ่ม Productivity ในกระบวนการผลิตและการดำเนินงาน
Big Data คืออะไร
Big-Data คือ ข้อมูลขนาดใหญ่/ปริมาณมาก หรือ ข้อมูลจำนวนมากมหาศาล ทุกเรื่อง ทุกแง่มุม ทุกรูปแบบ ซึ่งอาจเป็นข้อมูลที่มีโครงสร้างชัดเจน (Structured Data) เช่น ข้อมูลที่เก็บอยู่ในตารางข้อมูลต่างๆ หรืออาจเป็นข้อมูลกึ่งมีโครงสร้าง (Semi-Structured Data) เช่น ล็อกไฟล์ (Log files) หรือแม้กระทั่งข้อมูลที่ไม่มีโครงสร้าง (Unstructured Data) เช่น ข้อมูลการโต้ตอบปฏิสัมพันธ์ผ่านสังคมเครือข่าย (Social Network) เช่น Facebook, twitter หรือ ไฟล์จำพวกมีเดีย เป็นต้น ซึ่งอาจจะเป็นข้อมูลภายในองค์กรและภายนอกที่มาจากการติดต่อระหว่างองค์กร หรือจากทุกช่องทางการติดต่อกับลูกค้า แต่ทั้งหมดนี้ก็ยังคงเป็นเพียงข้อมูลดิบที่รอการนำมาประมวลและวิเคราะห์เพื่อนำผลที่ได้มาสร้างมูลค่าทางธุรกิจ ข้อมูลเหล่านี้อาจจะไม่ได้อยู่ในรูปแบบที่องค์กรสามารถนำไปใช้ได้ทันที แต่อาจมีข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อองค์กรบางอย่างแฝงอยู่
Big Data มีคุณลักษณะสำคัญอยู่ 4 อย่าง คือ
- ปริมาตร (Volume) หมายถึง ข้อมูลนั้นมันต้องมีขนาดใหญ่มาก ซึ่งไม่สามารถประมวลผลปริมาณของข้อมูลด้วยระบบฐานข้อมูลได้ จำเป็นต้องใช้คลังข้อมูล (Data Warehouse) และซอฟต์แวร์ฮาดูป (Hadoop) ทำงานประสานกันในการบริหารจัดการข้อมูล
- ความเร็ว (Velocity) หมายถึง ข้อมูลดังกล่าวต้องมีอัตราการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เช่น ข้อมูลจากภาพถ่ายโทรศัพท์ที่ถูกอับโหลดขึ้น ข้อมูลการพิมพ์สนทนา ข้อมูลวิดีโอ รวมไปถึงข้อมูลการสั่งซื้อสิ้นค้า พูดง่าย ๆ คือ ข้อมูลที่มีการเพิ่มขึ้นตลอดเวลาแบบไม่มีหยุดยั้งนั่นแหละ
- ความหลากหลาย (Variety) หมายถึง รูปแบบข้อมูลต้องมีความหลากหลาย อาจจะเป็นข้อมูลที่มีโครงสร้าง ไม่มีโครงสร้าง และกึ่งมีโครงสร้าง ซึ่งผมไม่ขอลงลึกนะเพราะมันซับซ้อนมาก แต่เอาเป็นว่ารูปแบบข้อมูลของ Big-Data มันมีทุกอย่าง ไม่ได้จำกัดแค่พวกข้อความ อีเมล์ รูปภาพ ฯลฯ เท่านั้น
- Veracity ไม่สามารถนำมาใช้เป็นข้อมูลที่สมบูรณ์ เพื่อการประกอบการพิจารณาได้
Big Data มีประโยชน์อย่างไร
ในปัจจุบันนี้ การนำ Big-Data มาใช้ในภาครัฐ เพื่อแก้ปัญหาความเดือดร้อนและลดความเหลื่อมล้ำ โดยนำข้อมูลในระบบราชการจากหลายหน่วยงาน เช่น ข้อมูลสาธารณสุข ทะเบียนราษฎร์ ที่ตั้งของธุรกิจ โรงพยาบาล สถานบำบัด สถานการณ์จ้างงานฯ มาวิเคราะห์และการเชื่อมโยงกัน เกิดเป็นข้อมูลขนาดใหญ่ Big-Data ของภาครัฐ ผ่านกระบวนการวิเคราะห์เชื่อมโยงเพื่อตอบการให้บริการของภาครัฐ ตัวอย่างเช่น รัฐบาลต้องการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย แต่แทนที่จะช่วยเหลือโดยให้เงินอุดหนุนที่เท่าๆ กันแบบปูพรมทั้งประเทศ ก็นำ Big-Data ซึ่งเป็นข้อมูลจากแหล่งต่างๆมาใช้ชี้จำเพาะว่าบุคคลใดที่ถือว่ามีรายได้น้อย พร้อมทั้งกำหนดระดับและลักษณะความช่วยเหลือที่แตกต่างกัน เช่น ผู้มีรายได้น้อยที่สูงอายุ เป็นผู้พิการ อยู่กับบ้าน ให้ลูกหลานดูแล รัฐอาจช่วยโดยสนับสนุนขาเทียม ให้คูปองเข้ารับการทำกายภาพบำบัด พร้อมทั้งเลือกอาชีพที่เหมาะสมกับกายภาพของผู้สูงอายุ
การฝึกอาชีพเพื่อเพิ่มรายได้ ให้กับผู้มีรายได้น้อย พร้อมทั้งจับคู่กับแหล่งงานที่อยู่ใกล้เคียงกับที่พักอาศัย อีกทั้งยังติดตามและเสนอโอกาสฝึกอาชีพใหม่ๆ เพิ่มเติม เพื่อให้มีรายได้ที่สูงขึ้นและพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น ซึ่งถ้าวิเคราะห์ดูจะเห็นว่า ข้อมูลจำนวนมากเกิดการบูรณาการและวิเคราะห์ เพื่อใช้สำหรับการตัดสินใจในการให้บริการของภาครัฐได้ตรงกลุ่มเป้าหมาย โดยในปัจจุบันนี้ จะเห็นได้จากการใช้บัตรประชาชนเพียงบัตรเดียวก็สามารถเข้าถึงบริการภาครัฐได้มากขึ้น
Big-Data สำหรับภาคเอกชนที่นำมาใช้ประโยชน์ เช่น เว็บไซต์อี-คอมเมิร์ช ที่จัดเก็บข้อมูลพฤติกรรมการซื้อสินค้าของลูกค้าอย่างต่อเนื่อง และมีระบบที่ทำหน้าที่คัดเลือกสินค้าอื่นๆ ที่คาดว่าลูกค้าจะต้องการเพิ่มเติม แล้วนำเสนอขึ้นมาให้โดยอัตโนมัติบนหน้าเว็บไซต์อี-คอมเมิร์ชของลูกค้ารายนั้นๆ ทั้งนี้ ลูกค้าแต่ละคน ไม่จำเป็นต้องนำเสนอสินค้าเดียวกัน จากการสังเกตพฤติกรรมการซื้อสินค้า พบว่าภาคเอกชนจะมีการเก็บข้อมูล ชื่อ ที่อยู่ เพศ เชื้อชาติ อายุ ประวัติการซื้อสินค้า ชนิดสินค้า เวลาที่ซื้อ มูลค่าสินค้า นำมาวิเคราะห์จับคู่กับสินค้าอื่นที่มีศักยภาพ ทั้งนี้ เงื่อนไขหรือสูตรการจับคู่อาจแตกต่างกันไป ตามกลุ่มลูกค้าหรือประชากรในแต่ละประเทศ หรือตามกลุ่มสังคมหรือวัฒนธรรม
นอกจากนั้น ภาคเอกชนได้นำข้อมูล Big-Data มาใช้ประโยชน์ เพื่อยกระดับธุรกิจ ด้วยการพัฒนาเทคโนโลยีแชทบอท Chatbot ที่สามารถรับมือกับความต้องการข้อมูลของลูกค้าที่ติดต่อเข้ามาจำนวนมหาศาลผ่าน Messaging Application ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว ฉับไว พร้อมให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง และนี่คือจุดเปลี่ยนสำคัญของการให้บริการที่จะเข้ามาใช้งานแทนคน (Agent)
แม้ว่าเรื่องราวของ Big-Data ฟังดูแล้วยุ่งยาก ไม่ว่าจะเป็นอุปสรรคในระหว่างการนำไปประยุกต์ใช้งาน ไปจนถึงการปรับกระบวนการทำงานใหม่ เพื่อให้เอื้อต่อการจัดเก็บข้อมูล อีกทั้งความจำเป็นที่จะต้องปรับนโยบายรัฐหรือเอกชนให้สอดคล้องกับการทำ Big-Data ด้วยหรือไม่? จะทำได้สำเร็จหรือไม่? สารพัดเรื่องที่จะเกิดขึ้น
Big-Data ไม่ใช่เรื่องยากอย่างที่หลายคนกลัวหรือไม่เข้าใจ อาจเพราะมันใหญ่และมีรายละเอียดเยอะมาก จึงทำให้การใช้งาน Big-Data ค่อนข้างมีอุปสรรค แต่แท้จริงแล้วอุปสรรคต่าง ๆ นี้ล้วนเป็นสิ่งที่ทุกองค์กรต้องเผชิญหน้า เพื่อพัฒนาและก้าวกระโดดต่อไป ขอเป็นกำลังใจให้เรียนรู้เรื่องไกล้ตัวนี้อย่างต่อเนื่อง นะครับ
ที่มา:https://www.ops.go.th/main/index.php/knowledge-base/article-pr/657-big-data
อ่านบทความทั้งหมด >>> pangpond.com
บทความแนะนำ หมวดหมู่: ไอที
จำนวนคอมเมนต์ของโพสต์ ID 168861: 469