การปฐมพยาบาลเบื้องต้น

4 การปฐมพยาบาลเบื้องต้น อันที่ใกล้ที่สุดแผลถลอก?

การปฐมพยาบาลเบื้องต้น

การใช้ผ้าสามเหลี่ยม แผลงูพิษกัด ผงเข้าตาบาดแผล สุนัขกัด การห้ามเลือด เป็นลม เลือดกำเดาไหล การเคลื่อนย้ายผู้ป่วย โดยผู้ช่วยเหลือสองคน  โดยผู้ช่วยเหลือสามคน  โดยใช้เปลหาม

เครื่องมือปฐมพยาบาลเบื้องต้น
เครื่องมือปฐมพยาบาลเบื้องต้น

การปฐมพยาบาล

การปฐมพยาบาล หมายถึง การให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยหรือผู้บาดเจ็บ ณ สถานที่เกิดเหตุ โดยใช้อุปกรณ์เท่าที่จะหาได้ในขณะนั้น ก่อนที่ผู้บาดเจ็บจะได้รับการดูแลรักษาจากบุคลากรทางการแพทย์ หรือส่งต่อไปยังโรงพยาบาล

การปฐมพยาบาลมีวัตถุประสงค์ที่สำคัญคือ

  1. เพื่อช่วยชีวิต
  2. เพื่อเป็นการลดความรุนแรงของการบาดเจ็บหรือการเจ็บป่วย
  3. เพื่อทำให้บรรเทาความเจ็บปวดทรมาน และช่วยให้กลับสู่สภาพเดิมโดยเร็ว
  4. เพื่อป้องกันความพิการที่จะเกิดขึ้นตามมาภายหลังการปฐมพยาบาลแบบต่าง ๆ

การใช้ผ้าสามเหลี่ยม ( Triangular bandages)

การใช้ผ้าสามเหลี่ยม เมื่อมีบาดแผลต้องใช้ผ้าพันแผล ซึ่งขณะนั้นมีผ้าสามเหลี่ยม สามารถใช้ผ้าสามเหลี่ยมแทนผ้าพันแผลได้ โดยพับเก็บมุมให้เรียบร้อย และก่อนพันแผลต้องพับผ้าสามเหลี่ยมให้มีขนาดเหมาะสมกับบาดแผล และอวัยวะ

ปฐมพยาบาลแขนหัก
ปฐมพยาบาลแขนหัก
  1. การคล้องแขน (Arm sling) ในกรณีที่มีกระดูกต้นแขนหัก หรือกระดูกปลายแขนหัก เมื่อตกแต่งบาดแผลและเข้าเฝือกชั่วคราวเรียบร้อยแล้ว จะคล้องด้วยผ้าสามเหลี่ยมตามลำดับดังนี้
  2. วางผ้าสามเหลี่ยมให้มุมยอดของสามเหลี่ยมอยู่ใต้ข้อศอกข้างที่เจ็บให้ชายผ้าด้านพบพาดไปที่ไหล่อีกข้างหนึ่ง
  3. จับชายผ้าด้านล่างตลบกลับขึ้นข้างบน ให้ชายผ้าพาดไปที่ไหล่ข้างเดียวกับแขนข้างที่เจ็บ
  4. ผูกชายทั้งสองให้ปมอยู่ตรงร่องเหนือกระดูกไหปลาร้า
  5. เก็บมุมสามเหลี่ยมโดยใช้เข็มกลัดติดให้เรียบร้อย
วิธีผูกแขนเมื่อแขนหัก
วิธีผูกแขนเมื่อแขนหัก

การพันมือ ใช้กรณีที่มีบาดแผลที่มือ

การพันมือใช้กรณีที่มีบาดแผลที่มือ
การพันมือใช้กรณีที่มีบาดแผลที่มือ

ทำตามลำดับดังนี้

  1. วางมือที่บาดเจ็บลงบนผ้าสามเหลี่ยม จับมุมยอดของผ้าสามเหลี่ยมลงมาด้านฐานจรดบริเวณข้อมือ
  2. ห่อมือโดยจับชายผ้าทั้งด้านซ้ายและขวาไขว้กัน
  3. ผูกเงื่อนพิรอดบริเวณข้อมือกลับสู่ข้างบน

ปฐมพยาบาลผ้าพันมือเบื้องต้น

แผลงูพิษกัด

  1. ดูรอยแผล ถ้างูไม่มีพิษแผลจะเป็นรอยถลอก ให้ทำแผลแบบ แผลถลอกแล้วถ้าแผลไม่ลุกลามหรือไม่มีอาการอื่น ไม่ต้องไปหาหมอ แผลจะหายเอง ถ้างูมีพิษจะมีรอยเขี้ยว 1 หรือ 2 จุด ให้รักษาตามข้อ 2-7
  2. พูดปลอบใจอย่าให้กลัวหรือตกใจ, ให้นอนนิ่งๆ, ถ้าจำเป็นให้เคลื่อนไหวน้อยที่สุด
  3. ห้ามให้ดื่มเหล้า ยาดองเหล้า หรือยากล่อมประสาท
  4. ห้ามใช้มีดกรีดปากแผล ห้ามบีบเค้นบริเวณแผล เพราะจะทำให้แผลช้ำสกปรก และทำให้พิษกระจายเร็วขึ้น.
  5. ห้ามขันชะเนาะรัดแขนหรือขา เพราะจะเกิดอันตรายมากขึ้น
  6. รีบพาไปหาหมอ, ถ้าเป็นไปได้ควรนำซากงูที่กัดไปด้วย
  7. ถ้าหยุดหายใจ ให้ เป่าปากช่วยหายใจ
ตรวจดูแผลที่ถูกงูกัดเบื้องต้น
ตรวจดูแผลที่ถูกงูกัดเบื้องต้น
มัดเชือกเหนือแผลที่งูดกัดเผื่อกันพิษเข้าสู่หัวใจ
มัดเชือกเหนือแผลที่งูดกัดเผื่อกันพิษเข้าสู่หัวใจ

ผงเข้าตา

  • ห้ามขยี้ตา , รีบลืมตาในน้ำสะอาด , และกลอกตาไปมาหรือเทน้ำให้ไหลผ่านตา
  • ที่ถ่างหนังตาไว้ ถ้ายังไม่ออก ให้คนช่วยใช้มุมผ้าเช็ดหน้าที่สะอาดเขี่ยผงออกถ้าไม่ออก ควรรีบไปหาหมอ
ผงเข้าตา ให้ล้างออกด้วยน้ำสะอาด
ผงเข้าตา ให้ล้างออกด้วยน้ำสะอาด

บาดแผล

แผลตื้นหรือแผลมีดบาด (เลือดออกไม่มาก)

  1. บีบให้เลือดชะเอาสิ่งสกปรกออกมาบ้าง
  2. ถ้ามีฝุ่นผงหรือสกปรก ต้องล้างออกด้วยน้ำสุกกับสบู่
  3. ส่ ทิงเจอร์ใส่แผลสด หรือ น้ำยาโพวิโดนไอโอดีน
  4. พันรัดให้ขอบแผลติดกัน
  5. ควรทำความสะอาดแผลและเปลี่ยนผ้ากอซวันละ 1 ครั้ง จนกว่าแผลจะหาย
ใช้ สำลี ผ้าสะอาดกดแผลห้ามเลือด
ใช้ สำลี ผ้าสะอาดกดแผลห้ามเลือด

ความดันต่ำ หน้ามืด เวียนศีรษะ

  1. ถ้ามีอาการเจ็บหน้าอกรุนแรง, ปวดท้องหรืออาเจียนรุนแรง, ถ่ายอุจจาระดำ,ใจหวิวใจสั่น, ชีพจรเต้นเร็ว, เหงื่อแตกท่วมตัว, หรือลุกนั่งมีอาการเป็นลม ต้องไปหาหมอโดยเร็ว.
  2. ถ้าไม่มีอาการในข้อ 1 ให้ปฏิบัติดังนี้
    • ให้นอนลงสักครู่ แล้วลุกขึ้นใหม่โดยลุกช้าๆ อย่าลุกพรวดพราด เช่น ค่อยๆลุกจากท่านอน เป็นท่านั่ง แล้วนั่งพักสักครู่ ขยับและเกร็งขาหลายๆ ครั้ง, แล้วค่อย ๆ ลุกขึ้นยืน, ยืนนิ่งอยู่ สักครู่ แล้วจึงค่อยเดิน
    • ถ้ายังมีอาการให้กินยาหอม หรือกดจุด
  3. ถ้าเป็น ๆ หาย ๆ เรื้อรัง ควรไปหาหมอเพื่อตรวจหาสาเหตุ
  4. ถ้ามีอาการวิงเวียน เห็นบ้านหมุน ดูเรื่อง วิงเวียน เห็นบ้านหมุน  การป้องกัน ให้ออกกำลังกายเพิ่มขึ้นทีละน้อย, นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ, และดื่มน้ำมาก ๆ
เป็นลม
เป็นลม
ดมยาหอม ยาดม เพื่อบรรเทาอาการเบื้องต้น
ดมยาหอม ยาดม เพื่อบรรเทาอาการเบื้องต้น

สุนัขกัด

  1. ให้รีบทำแผลทันที โดยล้างแผลด้วยน้ำสะอาด, ฟอกสบู่หลายๆ ครั้ง,แล้วชะแผลด้วย แอลกอฮอล์ หรือ ทิงเจอร์ใส่แผลสด หรือ น้ำยาโพวิโดนไอโอดีน
  2. รีบพาไปหาหมอ เพื่อพิจารณาฉีดยาป้องกันบาดทะยัก, ฉีดยาป้องกันโรคกลัวน้ำและใช้ ยาปฏิชีวนะ
ปฐมพยาบาล สุนัขกัด
ปฐมพยาบาล สุนัขกัด

การห้ามเลือด

  1. ถ้าบาดแผลเล็ก กดปากแผลด้วยผ้าสะอาด แล้วพันให้แน่น
  2. ถ้าบาดแผลใหญ่ เลือดออกพุ่ง ทำตามข้อ 1 แล้วเลือดยังไม่หยุด ใช้ผ้า เชือกหรือสายยางรัดเหนือแผล(ระหว่างบาดแผลกับหัวใจ) ให้แน่นพอที่เลือดหยุดไหลเท่านั้น โดยอวัยวะส่วนปลายไม่เขียวคล้ำ หรือถ้าเป็นเลือดพุ่งออกมาจากปลายหลอดเลือดที่ขาดอยู่ ให้ใช้ก้อนผ้าเล็กๆ กดลงตรงนั้นเลือดจะหยุดได้
  3. ยกส่วนที่มีเลือดออกให้สูงไว้
การห้ามเลือดเมื่อไหลไม่หยุดเบื้องต้น
การห้ามเลือดเมื่อไหลไม่หยุดเบื้องต้น

เป็นลม

  1. ถ้าเป็นลมหมดสติ และหยุดหายใจ , หรือชัก , หรือเป็นลมอัมพาต
    • (ส่วนหนึ่งส่วนใดของ ร่างกายอ่อนแรงทันที), หรือเป็นลมแน่นอกหรือจุกอก จนหายใจไม่ออก, หรือมีอาการรุนแรง อื่น ต้องไปหาหมอโดยเร็ว.
  2. ถ้าเป็นลมหน้ามืด อาจหมดสติจนไม่รู้สึกตัวได้โดยก่อนเป็นลมหน้ามืดอาจใจหวิวใจสั่น หรือเวียนศีรษะแล้วหมดแรงฟุบตัวลงกับพื้น (มักจะไม่ล้มฟาด) – ให้นอนหงายลงกับพื้น ( ศีรษะไม่หนุนหมอน) แขนขาเหยียด ใช้หมอนหรือสิ่งอื่นรองขา และเท้าให้สูงกว่าลำตัว
  3. คลายเสื้อผ้าให้หลวมออก เอาฟันปลอมและของในปากออก
  4. พัดโบกลมให้ถูกหน้าและลำตัว ห้ามคนมุงดู.
  5. ให้ดมยาหม่องหรือยาดมอื่นๆ หรือกดจุด
  6. ใช้ผ้าชุบน้ำเย็นหรือน้ำอุ่นเช็ดหน้า และบีบนวดแขนขา
  7. ถ้าไม่ดีขึ้นใน 30 นาที ให้ไปหาหมอ

การป้องกัน

  • รักษาสุขภาพให้แข็งแรง เช่น กินอาหารและนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
  • ออกกำลังกาย สม่ำเสมอ
  • หลีกเลี่ยงชนวนที่ทำให้เป็นลมหน้ามืด เช่น ที่แออัดอบอ้าว
  • ดื่มน้ำร้อน ๆ หรือน้ำขิง/ข่า/กระชาย (อย่างใดอย่างหนึ่ง)
  • กินยาลดกรด ยาขับลม
  • อย่ากินอาหารจนอิ่มมาก และหลีกเลี่ยงอาหารที่เกิดลมง่าย เช่น นม ถั่ว อาหารที่ย่อยยาก อาหารค้างหรือเริ่มบูด เป็นต้น
  • พูดหรือร้องเพลงให้น้อยลง
  • จิบน้ำบ่อยๆ เพื่อไม่ให้กลืนลมโดยไม่รู้ตัว
  • ผ่อนคลายความเครียดลง ดูเรื่องกังวล-เครียด
ออกกำลังกายเพื่อป้องกันโรคความดัน
ออกกำลังกายเพื่อป้องกันโรคความดัน

เลือดกำเดาไหล

  1. ให้นั่งนิ่งๆ, หงายศีรษะไปด้านหลัง พิงพนักหรือผนัง,หรือนอนหนุนไหล่ให้สูงแล้วหงายศีรษะพิงหมอน
  2. ปลอบใจให้สงบใจ ให้หายใจยาวๆ (ยิ่งตื่นเต้นตกใจ เลือดยิ่งออกมาก)
  3. ใช้นิ้วมือบีบจมูกทั้ง 2 ข้างให้แน่น โดยให้หายใจทางปากแทนหรือใช้ผ้าสะอาดม้วนอุดรูจมูกข้างนั้น หรือ กดจุด
  4. วางน้ำแข็งหรือผ้าเย็นบนสันจมูก หน้าผาก และใต้ขากรรไกร
  5. ถ้าเลือดไม่หยุด รีบพาไปโรงพยาบาล
  6. ถ้ามีเลือดกำเดาออกบ่อย ควรปรึกษาหมอ, อาจเป็นความดันเลือดสูงหรือโรคอื่น ๆ ได้
เลือดกำเดาไหล
เลือดกำเดาไหล

การเคลื่อนย้ายผู้ป่วย

          การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยโดยผู้ช่วยเหลือสองคน

การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยโดยผู้ช่วยเหลือสองคน

  • วิธีที่ 1 อุ้มและยก เหมาะสำหรับผู้ป่วยรายในรายที่ไม่รู้สึกตัว แต่ไม่ควรใช้ในรายที่มีการบาดเจ็บของลำตัว หรือกระดูกหัก
  • วิธีที่ 2นั่งบนมือทั้งสี่ที่จับประสานกันเป็นแคร่ เหมาะสำหรับผู้ป่วยในรายที่ขาเจ็บแต่รู้สึกดีและสามารถใช้แขนทั้งสองข้างได้
  • วิธีที่ 3 การพยุงเดิน วิธีนี้ใช้ในรายที่ไม่มีบาดแผลรุนแรง หรือกระดูกหัก

การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยโดยผู้ช่วยเหลือสามคน

วิธีเคลื่อนย้าย ผู้ช่วยเหลือทั้งสองคนใช้มือขวากำข้อมือซ้ายของตนเอง

ขณะเดียวกันก็ใช้มือซ้ายกำมือขวาซึ่งกันและกัน ให้ผู้ป่วยใช้แขนทั้งสองยันตัวขึ้นนั่งบนมือทั้งสี่ที่จับประสานกันเป็นแคร่ แขนทั้งสองของผู้ป่วยโอบคอผู้ช่วยเหลือ จากนั้นวางผู้ป่วยบนเข่าเป็นจังหวะที่หนึ่ง และอุ้มยืนเป็นจังหวะที่สอง แล้วจึงเดินไปพร้อมๆ กัน

          การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยโดยผู้ช่วยเหลือสามคน

วิธีที่ อุ้มสามคนเรียง เหมาะสำหรับผู้ป่วยในรายที่ไม่รู้สึกตัว ต้องการอุ้มขึ้นวางบนเตียงหรืออุ้มผ่านทางแคบ ๆ วิธีเคลื่อนย้าย ผู้ช่วยเหลือทั้งสามคนคุกเข่าเรียงกันในท่าคุกเข่าข้างเดียวทุกคนสอดมือเข้าใต้ตัวผู้ป่วย และอุ้มพยุงไว้ตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายดังนี้

  • คนที่ 1 สอดมือทั้งสองเข้าใต้ตัวผู้ป่วยตรงบริเวณคอและหลังส่วนบน
  • คนที่ 2 สอดมือทั้งสองเข้าใต้ตัวผู้ป่วยตรงบริเวณหลังส่วนล่างและก้น
  • คนที่ 3 สอดมือทั้งสองเข้าใต้ขาผู้ช่วยเหลือคนที่อ่อนแอที่สุดควรเป็นคนที่ 3 เพราะรับน้ำหนักน้อยที่สุด

          เมื่อจะยกผู้ป่วยผู้ช่วยเหลือทั้งสามคน จะต้องทำงานพร้อมๆ กัน โดยให้คนใดคนหนึ่งเป็นออกคำสั่ง ขั้นแรก ยกผู้ป่วยพร้อมกันและวางบนเข่า จากท่านี้เหมาะสำหรับจะยกผู้ป่วยขึ้นวางบนเปลฉุกเฉินหรือบนเตียง แต่ถ้าจะอุ้มเคลื่อนที่ผู้ช่วยเหลือทั้งสามคน จะต้องประคองตัวผู้ป่วยในท่านอนตะแคง และอุ้มยืน เมื่อจะเดินจะก้าวเดินไปทางด้านข้างพร้อมๆ กัน และถ้าจะวาง ผู้ป่วยให้ทำเหมือนเดิมทุกประการ คือ คุกเข่าลงก่อนและค่อย ๆ วางผู้ป่วยลง

          การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยด้วยวิธีอุ้มสามคนเรียง

การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยด้วยวิธีอุ้มสามคนเรียง

วิธีที่ การใช้คน 3 คน วิธีนี้ใช้ในรายที่ผู้บาดเจ็บนอนหงาย หรือ นอนคว่ำก็ได้ให้คางของผู้บาดเจ็บยกสูงเพื่อเปิดทางเดินหายใจ

  1. ผู้ปฐมพยาบาล 2 คนคุกเข่าข้างลำตัวผู้บาดเจ็บข้างหนึ่ง อีกข้างหนึ่งผู้ปฐมพยาบาลอีก 1 คน คุกเข่าข้างลำตัวผู้บาดเจ็บ
  2. ผู้ปฐมพยาบาลคนที่ 1 ประคองที่ศีรษะและไหล่ผู้บาดเจ็บ มืออีกข้างหนึ่งรองส่วนหลังผู้บาดเจ็บ
  3. ผู้ปฐมพยาบาลคนที่ 2 อยู่ตรงข้ามคนที่ 1 ใช้แขนข้างหนึ่งรองหลังผู้บาดเจ็บเอามือไปจับมือคนที่ 1 อีกมือหนึ่งรองใต้สะโพกผู้บาดเจ็บ
  4. ผู้ปฐมพยาบาลคนที่ 3 มือหนึ่งอยู่ใต้ต้นขาเหนือมือคนที่ 2 ที่รองใต้สะโพกแล้วเอามือไปจับกับมือคนที่ 2 ที่รองใต้สะโพกนั้น ส่วนมืออีกข้างหนึ่งรองที่ขาใต้เข่า
  5. มือคนที่ 1 และคนที่ 2 ควรจับกันอยู่ระหว่างกึ่งกลางลำตัวส่วนบนของผู้บาดเจ็บผู้ปฐมพยาบาลจะต้องให้สัญญาณลุกขึ้นยืนพร้อม ๆ กัน

          การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยโดยใช้เปลหาม

เปลหรือแคร่มีประโยชน์ในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย อาจทำได้ง่ายโดยดัดแปลงวัสดุการใช้เปลหามจะสะดวกมากแต่ยุ่งยากบ้างขณะที่จะอุ้มผู้ป่วยวางบนเปลหรืออุ้มออกจากเปล

วิธีการเคลื่อนย้าย

เริ่มต้นด้วยการอุ้มผู้ป่วยนอนราบบนเปล จากนั้นควรให้ผู้ช่วยเหลือคนหนึ่งเป็นคนออกคำสั่งให้ยกและหามเดิน เพื่อความพร้อมเพรียงและนุ่มนวล ถ้ามีผู้ช่วยเหลือสองคน คนหนึ่งหามทางด้านศีรษะ อีกคนหามทางด้านปลายเท้าและหันหน้าไปทางเดียวกัน ซึ่งหมายความว่าผู้ช่วยเหลือที่หามทางด้านปลายเท้าจะเดินนำหน้า หากมีผู้ช่วยเหลือ 4 คน ช่วยหาม อีก 2 คน จะช่วยหามทางด้านข้างของเปลและหันหน้าเดินไปทางเดียวกันการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยโดยใช้เปลหาม

วัสดุที่นำมาดัดแปลงทำเปลหาม

  • บานประตูไม้
  • ผ้าห่มและไม้ยาวสองอัน วิธีทำเปลผ้าห่ม ปูผ้าห่มลงบนพื้นใช้ไม้ยาวสองอันยาวประมาณ 2.20 เมตร
    • อันที่ 1 สอดในผ้าห่มที่ได้พับไว้แล้ว
    • อันที่ 2 วางบนผ้าห่ม โดยให้ห่างจากอันที่ 1 ประมาณ 60 ซม. จากนั้นพับชายผ้าห่มทับไม้อันที่ 2 และอันที่ 1 ตามลำดับ

เสื้อและไม้ยาว 2 อันนำเสื้อที่มีขนาดใหญ่พอๆกันมาสามตัว ติดกระดุมให้เรียบร้อย ถ้าไม่แน่ใจว่ากระดุมจะแน่นพอให้ใช้เข็มกลัดซ่อนปลายช่วยด้วย แล้วสอดไม้สองอันเข้าไปในแขนเสื้อ

คำค้น : วิธี วิธี ไอน้ําร้อนจากอ่างน้ําร้อนสัมผัสร่างกาย หัวใจขาดเลือด วิธี แขนหัก วิธี เศษแก้วจากหลอดทดลองที่แตกบาดมือ น้ําร้อนลวก วิธี สัมผัสกับเม็ดโซเดียมไฮดรอกไซด์ น้ําร้อนลวก วิธี สารละลายกรดกระเด็นถูกผิวหนัง แขนหัก แขนหัก วิธี งูกัด อุปกรณ์ วิธี เมื่อสัมผัสกับเม็ดโซเดียมไฮดรอกไซด์ สัมผัสกับเม็ดโซเดียมไฮดรอกไซด์วิธี วิธี สุนัขขาหัก วิธี มีดบาด หลักการ 10 วิธี ppt มีดบาด วิธี ไอน้ำร้อนจากอ่างน้ำร้อนสัมผัสร่างกาย วิธี แผลถลอก งูกัด วิธี น้ําร้อนลวก ชัก วิธี ขาหัก ผึ้งต่อย วิธี ตะขาบกัด วิธี ข้อเท้าแพลง อาหารติดคอ ล้ม วิธี หกล้ม เลือดกําเดาไหล ชื่ออุปกรณ์ ข้อเท้าแพลง วิธี หัวแตก กระดูกหัก ลมชัก สุนัขกัด วิธี ชัก งูกัด วิธี แมลงกัดต่อย เป็นลมแดด ผึ้งต่อย วิธี ลมชัก วิธี กระดูกหัก วิธี ตะคริว อบรม แผลถลอก

ที่มา:doctor.or.th/default.asp,nurse.nu.ac.th/cai/index.html