การบริหารเวลาในการเรียนเทคนิคเพื่อความสำเร็จโคตรเจ๋ง 8 บริหารเวลา?
การบริหารเวลาในการเรียน เทคนิคการบริหารเวลา เพื่อความสำเร็จ การบริหารจัดการเวลา time management การบริหารเวลาในชีวิต ประ จํา วัน 5 วิธีการบริหาร
ต้นทุน คือ จำนวนเงินที่จ่ายไปเพื่อใช้ในการผลิตสินค้าทุกขั้นตอนตั้งแต่การแปรสภาพวัตถุดิบจนแปรเปลี่ยนเป็นสินค้าสำเร็จรูป
การบัญชี ต้นทุน (Cost Accounting) จึงหมายความถึง วิธีการทางบัญชีที่ทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลทางด้านต้นทุนของธุรกิจ ประเภทอุตสาหกรรม โดยมีวัตถุประสงค์พื้นฐานในการจัดทำรายงานทางการเงินตลอดจนวิเคราะห์ และจำแนกข้อมูลเพื่อใช้ในการบริหารต้นทุน (Cost Management) ตามความต้องการของผู้บริหาร
ซึ่งในปัจจุบันไม่เพียงแต่ธุรกิจเท่านั้นที่จะต้องใช้วิธีการทางบัญชีหรือข้อมูลของบัญชี ต้นทุน แต่ยังมีธุรกิจอีกหลายประเภท เช่น โรงแรม โรงพยาบาล โรงเรียน มหาวิทยาลัย ธนาคาร บริษัทเงินทุน บริษัทสายการบิน และกิจการอื่น ๆ อีกมากมายที่ได้มีการนำวิธีการบัญชีต้นทุนไปประยุกต์ใช้เพื่อการตัดสินใจของผู้บริหาร
ดังนั้นหากกล่าวโดยสรุป วัตถุประสงค์ของการทำบัญชี ต้นทุน คือการสะสมและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับต้นทุนของกิจการ เพื่อนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการตัดสินใจหรือการวางแผนและควบคุมต้นทุนของฝ่ายบริหารระดับต่างๆขององค์กร / กิจการ ซึ่งโดยปกติแล้วการบัญชี ต้นทุนจะทำหน้าที่หลักในการสะสมข้อมูลทางด้านต้นทุนที่เป็นข้อมูลที่เกิดขึ้นแล้วในอดีต เพื่อคำนวณหาต้นทุนของผลิตภัณฑ์ รวมทั้งใช้ประมาณมูลค่าของสินค้าคงเหลือ นอกจากนี้การบัญชี ต้นทุนยังเป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับการประมาณหรือการพยากรณ์ต้นทุนที่จะเกิดขึ้นในอนาคตเพื่อการตัดสินใจอีกด้วย
ซึ่งในส่วนนี้เองจึงทำให้การบัญชี ต้นทุนเข้ามามีบทบาทเพื่อการตัดสินใจของฝ่ายบริหาร ในปัจจุบันนี้การพัฒนาทางด้านอุตสาหกรรมและการผลิตได้มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก เช่น การนำเครื่องจักรกล เครื่องคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ในกระบวนการผลิต เป็นต้น การนำบัญชีต้นทุนเข้ามาใช้เพื่อทำหน้าที่ในการเก็บรวบรวมข้อมูลทางด้านต้นทุนที่ถูกต้อง และมีความสามารถที่จะให้ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจแก่ฝ่ายบริหารได้อย่างรวดเร็ว ทันสมัย และเชื่อถือได้จึงเป็นสิ่งที่นักบัญชี ต้นทุนจะต้องมีความเข้าใจ และสามารถที่จะประยุกต์การบัญชี ต้นทุนให้ใช้ได้กับลักษณะของธุรกิจต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ดังนั้น จากขอบเขตหน้าที่ความรับผิดชอบของการบัญชีการเงิน และการบัญชี ต้นทุน ทำให้สามารถสรุปถึงความสัมพันธ์ระหว่างการบัญชีการเงินและการบัญชี ต้นทุนได้ 2 ลักษณะ ดังนี้
1) การคำนวณต้นทุนขาย (Cost of Goods sold)
เป็นรูปแบบการจัดทำงบการเงินเพื่อเสนอต่อบุคคลภายนอก ซึ่งถือเป็นหน้าที่และความรับผิดชอบประการสำคัญของการบัญชีการเงิน ในกรณีที่กิจการเป็นธุรกิจซื้อขายสินค้าโดยทั่วไปการคำนวณต้นทุนขายเพื่อแสดงเป็นค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุนก็สามารถกระทำได้โดยไม่ต้องอาศัยหลักการบัญชี ต้นทุน
แต่ในกรณีที่กิจการมีลักษณะเป็นธุรกิจผลิตสินค้าการคำนวณต้นทุนขายจำเป็นต้องอาศัยหลักการบัญชี ต้นทุนในการคำนวณต้นทุนการผลิตของสินค้าที่ผลิตได้เพื่อขาย ซึ่งจะมีรูปแบบซับซ้อนมากยิ่งขึ้น
2) การแสดงสินค้าคงเหลือ (Inventories)
การแสดงสินค้าคงเหลือนิยมแสดงผ่านรายงานทางงบดุล (Balance Sheet) ซึ่งเป็นงบการเงินชนิดหนึ่งที่การบัญชีการเงินมีหน้าที่ความรับผิดชอบที่จะต้องแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับฐานะการเงินของกิจการให้มีความถูกต้อง เที่ยงธรรม และเชื่อถือได้มากที่สุด
การบันทึกบัญชี ต้นทุนการผลิตของผลิตภัณฑ์จะแยกบัญชีออกตามลักษณะของต้นทุน คือ วัตถุดิบทางตรง แรงงานทางตรง และค่าใช้จ่ายการผลิต หากในการผลิตนั้นจำเป็นจะต้องใช้วัตถุดิบหลายชนิดจะแยกบัญชีวัตถุดิบออกตามชนิด หรือแรงงานทางตรงหากมีการผลิตในหลายแผนกหลาย หน่วยงานจะบันทึกแรงงานทางตรงของแต่ละหน่วยออกจากกัน เช่นเดียวกับค่าใช้จ่ายการผลิต เช่น แรงงานทางอ้อม ค่าเช่า ค่าประกันภัย ค่าบำรุงรักษา ค่าเสื่อมราคา ค่าภาษีทรัพย์สิน เป็นต้น
การบันทึกบัญชี ต้นทุนที่ใช้อยู่เป็นประจำ มีดังนี้
ดังนั้น จะเห็นได้ว่าการจัดทำบัญชีต้นทุนของกิจการจึงเป็นส่วนหนึ่งของบัญชีบริหาร (Managerial accounting) โดยนำมาร่วมกันในการวางแผน ควบคุม ประเมินและวัดผลการดำเนินงานขององค์กรและหน่วยงานต่างๆในองค์กร ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมากในการตั้งราคาขาย ร่วมงานประมูล จัดส่งเสริมการขาย ร่วมทั้งจัดงานลดราคาประจำปีเพราะการทราบถึงต้นทุนที่แท้จริงของผลิตภัณฑ์จะทำให้กิจการสามารถวางแผนสร้างกำไรที่มากขึ้นมากกว่าการเสียเงินจ้างนักบัญชี ต้นทุนและยังคุ้มค่ากับการเสียเวลาในการเก็บข้อมูลเพื่อจัดทำต้นทุนผลิตภัณฑ์อีกด้วย
อ่านบทความทั้งหมด >>> pangpond.com