แปรสภาพหุ้น

ข้อต้องรู้ก่อนหุ้นกู้แปลงสภาพเจ้าของมีสิทธินำไปแลกได้ 2 ข้อ?

Click to rate this post!
[Total: 167 Average: 5]

หุ้นกู้แปลงสภาพ

 
หุ้นกู้แปลงสภาพ คือ หุ้นกู้ที่ผู้เป็นเจ้าของมีสิทธินำไปแลกเป็นหุ้นประเภทอื่นของบริษัทผู้ออกหุ้นกู้ได้  ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนด  จากความหมายดังกล่าว  แสดงว่า  หุ้นกู้แปลงสภาพเป็นหุ้นกู้ที่บริษัทออกจำหน่ายโดยกำหนดเงื่อนไขให้ผู้ถือหุ้น สามารถแปลงสภาพเป็นหุ้นประเภทอื่นของบริษัทได้  ในการแปลงสภาพหุ้นกู้ ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของผู้ถือหุ้นกู้เป็นสำคัญว่าควรจะแปลงสภาพหรือไม่  และควรจะแปลงสภาพเมื่อไร  แต่ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขของการแปลงสภาพที่กำหนดไว้
หุ้นกู้แปลงสภาพ
หุ้นกู้แปลงสภาพ
 
โดยปกติอัตราดอกเบี้ยของหุ้นกู้แปลงสภาพจะมีอัตราที่ต่ำกว่าปกติ  เนื่องจากผู้ถือหุ้นกู้ได้สิทธิในการแปลงสภาพหุ้นกู้เป็นหุ้นทุนของบริษัท การแปลงสภาพหุ้นกู้เป็นหุ้นทุน  สามารถทำได้ 2  วิธี ดังนี้

1. บันทึกบัญชีหุ้นทุนที่ออกให้ในราคาตลาดของหุ้นทุน ณ วันแปลงสภาพ ถ้ามีผลต่างของรายการให้บันทึกเป็นกำไรหรือขาดทุนจากการแปลงสภาพหุ้นกู้เป็นหุ้นทุน

2. บันทึกบัญชีหุ้นทุนที่ออกให้ในราคาตามบัญชีของหุ้นกู้ ณ วันแปลงสภาพ ถ้ามีผลต่างของรายการให้บันทึกเป็นส่วนเกินมูลค่าหุ้นทุนหรือส่วนลดหรือส่วนต่ำกว่ามูลค่าหุ้นทุน บางครั้งการออกขายหุ้นกู้  กิจการอาจจะออกใบสำคัญแสดงสิทธิหรือใบมอบสิทธิซื้อหุ้นทุนของบริษัท แนบไปกับหุ้นกู้ที่จำหน่าย ถือว่าเป็นการให้ผลประโยชน์แก่ผู้ซื้อหุ้นกู้  ซึ่งผู้ซื้อหุ้นกู้สามารถนำใบสำคัญแสดงสิทธิดังกล่าวไปซื้อขายในตลาดได้  ส่วนจะใช้สิทธิซื้อหุ้นทุนของบริษัทหรือไม่นั้น  ขึ้นอยู่กับการเคลื่อนไหวของราคาหุ้นทุนในตลาดด้วย

อ่านบทความทั้งหมด >>> pangpond.com

บทความแนะนำ หมวดหมู่: เศรษฐกิจ
จำนวนคอมเมนต์ของโพสต์ ID 150913: 1571