งานฟรีแลนซ์

ข้อดีเสีย รู้ก่อนจดทะเบียนฟรีแลนซ์นิติบุคคลธรรมดาครบ 5 ข้อ?

Click to rate this post!
[Total: 170 Average: 5]

ฟรีแลนซ์

การรับงานโดยจดทะเบียนนิติบุคคล หรือรับงานแบบบุคคลธรรมดา เรื่องนี้เป็นปัญหาที่ฟรีแลนซ์หลายคนกำลังกังวลและตัดสินใจอยู่ว่าจะทำยังไงดี ดังนั้นวันนี้เรามาดูข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจกันว่าเราจะทำเป็นนิติบุคคล หรือทำเป็นบุคคลธรรมดาดี

คุณรับงานในลักษณะที่ต้องใช้ความน่าเชื่อถือสูงหรือไม่

ในคำถามนี้ถ้าหากคุณตอบออกมาว่าใช่ แน่นอนสิ่งที่ควรทำคือจดทะเบียนนิติบุคคล ไม่ว่าจะเป็นจดทะเบียนบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนจำกัด เพราะคุณมีความจำเป็นต้องสร้างความน่าเชื่อถือให้เกิดขึ้นแก่ลูกค้าของคุณ ซึ่งการจดทะเบียนนิติบุคคลสามารถสร้างความน่าเชื่อถือได้มากที่สุด เพื่อเป็นการรับประกันกับลูกค้าว่าสามารถวางใจได้ เป็นนิติบุคคลที่มีความมั่นคง เชื่อถือได้ ไม่ได้มารับงานเล่น ๆ แน่นอน นอกจากการรับงานแล้ว การจ้างพนักงานมาทำงานด้วย การจัดซื้อจัดจ้าง การซื้อขายที่ต้องใช้เครดิต การขอกู้ยืมกับแหล่งเงินทุนต่าง ๆ ก็มีความน่าชื่อถือในนิติบุคคลมากกว่าบุคคลธรรมดาเช่นกัน

ข้อดีและข้อเสีย ของรับงานด้วยนิติบุคคล หรือรับงานแบบบุคคลธรรมดา

จำนวนหุ้นส่วน

การเป็นนิติบุคคล จะต้องใช้หุ้นส่วนอย่างน้อย 2 คนขึ้นไปสำหรับการจดห้างหุ้นส่วนจำกัด และต้องใช้ตั้งแต่ 3 คนขึ้นไปสำหรับการจดทะเบียนบริษัท

การเป็นบุคคลธรรมดา จะสามารถดำเนินการทุกอย่างได้โดยบุคคลเดียว

การระดมเงินทุน

การเป็นนิติบุคคล จะสามารถระดมทุนจากหุ้นส่วน หรือผู้ถือหุ้นได้ ทำให้มีเงินหมุนเวียนในกิจการที่สูง

การเป็นบุคคลธรรมดา เงินทุนจะมีเพียงแค่เท่าที่ตัวเองมีและนำมาลงทุนเท่านั้น

การระดมความคิด

การเป็นนิติบุคคล จะสามารถระดมความคิด ระดมสมองได้จากหลากหลายคนที่เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้น รวมไปถึงจากพนักงานในองกรณ์ ข้อดีคือจะได้เห็นหลากหลายความคิดและมุมมอง และมีความปลอดภัย แต่ข้อเสียคืออาจจะเป็นต้นกำเนิดของความขัดแย้งทางความคิดได้ การตัดสินใจต่าง ๆ ก็ทำสิ่งต่าง ๆ ได้ช้าเพราะต้องผ่านความเห็นของหลายคน

การเป็นบุคคลธรรมดา จะต้องคิดเองทำเองทั้งหมด แต่ข้อดีคือสามารถตัดสินใจเรื่องต่าง ๆ ได้รวดเร็ว สามารถปรับเปลี่ยนแผนการต่าง ๆ ตามสถานการณ์ได้ทันท่วงที แต่ถ้าผิดพลาดก็จะพลาดเลย

ฟรีแลนซ์
ฟรีแลนซ์

การตัดสินใจ

การเป็นนิติบุคคล การตัดสินใจในการทำเรื่องต่าง ๆ จะต้องผ่านคณะบริหาร หรือมีการตัดสินใจเป็นลำดับชั้น หากเป็นการตัดสินใจที่สำคัญ

การเป็นบุคคลธรรมดา การตัดสินใจจะทำด้วยตัวเองทั้งหมดไม่ว่าจะงานเล็กหรืองานใหญ่

การแบ่งจ่ายผลกำไร

การเป็นนิติบุคคล จะเป็นการแบ่งกันตามสัดส่วนที่กำหนดขึ้น ไม่ว่าจะแบ่งจ่ายตามหุ้นส่วน หรือแบ่งจ่ายปันผลให้ผู้ถือหุ้น นอกจากนี้ยังรวมไปถึงเงินเดือนของพนักงานด้วย

การเป็นบุคคลธรรมดา รับผลกำไร รายได้แต่เพียงผู้เดียว

การเสียภาษี

การเป็นนิติบุคคล เสียภาษีจากยอดกำไรของกิจการ หากมีกำไรก็ต้องเสียภาษี แต่หากขาดทุนก็ไม่ต้องเสียภาษี การคำนวณกำไร ขาดทุนจะคำนวณจาก รายได้หักรายจ่ายเหลือคือกำไรที่นำมาเสียภาษี

การเป็นบุคคลธรรมดา เป็นการเสียภาษีแบบเหมาจ่าย โดยนำรายได้ของปีนั้น ๆ มาหักการเป็นการเป็นบุคคลธรรมดา ค่าใช้จ่ายแบบเหมาจ่าย มากน้อยขึ้นกับลักษณะของธุรกิจ หักค่าใช้จ่ายแล้วเหลือเท่าไหร่จึงนำมาคิดภาษี ต่อให้ขาดทุนก็ต้องเสียภาษี

อัตราภาษี

การเป็นนิติบุคคล จะเสียภาษีในอัตราก้าวหน้า กำไร 1 ล้านบาทแรกสียภาษี 15% กำไรล้านที่ 2 – 3 เสียภาษี 25% กำไรตั้งแต่ 3 ล้านบาทขึ้นไปเสียภาษี 30%

การเป็นบุคคลธรรมดา จะเสียแบบอัตราก้าวหน้า โดยรายได้หลังหักค่าใช้จ่าย 1 แสนบาทแรกให้ยกเว้นภาษี เงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย 1 – 5 แสนเสียภาษี 10% เงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย 5 แสน – 1 ล้าน เสียภาษี 20% เงินได้หลักหักค่าใช้จ่าย 1 ล้าน – 4 ล้าน เสียภาษี 30% เงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย 4 ล้านขึ้นไปเสียภาษี 37%

การบันทึกบัญชี

การเป็นนิติบุคคล จะต้องมีการจัดทำบัญชี และการสอบบัญชีโดยผู้ที่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงพาณิชย์ โดยส่วนนี้จะต้องเสียค่าบริการเพิ่ม

การเป็นบุคคลธรรมดา ไม่จำเป็นต้องมีการทำบัญชีหากเป็นการหักค่าใช้จ่ายแบบเหมาจ่าย แต่หากต้องการหักตามจริงจะต้องมีการจัดทำบัญชี

ความรับผิดชอบ

การเป็นนิติบุคคล จะรับผิดชอบแค่เท่ากับหุ้นที่ตัวเองถืออยู่เท่านั้นถ้าเป็นบริษัท แต่ถ้าเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด หุ้นส่วนจะรับผิดชอบแคเท่าที่ตนลงเงินไป

การเป็นบุคคลธรรมดา จะต้องรับผิดชอบในทุกอย่าง ไม่จำกัดวงเงิน

ทั้งหมดนี้ก็คือข้อดีและข้อเสียของการเป็นนิติบุคคลหรือเป็นบุคคลธรรมดา ซึ่งมีเหตุผลในการใช้งานที่แตกต่างกัน จะเลือกแบบไหนก็ขึ้นอยู่กับลักษณะของงานและลูกค้าด้วย

vertify

อ่านบทความทั้งหมด >>> pangpond.com

บทความแนะนำ หมวดหมู่: เศรษฐกิจ
จำนวนคอมเมนต์ของโพสต์ ID 62591: 1682