ตรวจสอบบัญชี
การตรวจสอบบัญชี
ตรวจสอบบัญชี เป็นงานที่ให้ความเชื่อมัน สภาวิชาชีพ ในพระราชูปถัมภ์ ได้ออกแม่บทสำหรับงานที่ให้ความเชื่อมั่น (Framework for Assurance Engagement) ได้สรปุเรื่องที่มีสาระสำคัญไว้ดังนี้
คำจำกัดความ วัตถุประสงค์ และประเภทของงานที่ให้ความเชื่อมัน
ขอบเขตของแม่บทสำหรับงานที่ให้ความเชื่อมัน
การรับงาน ที่ให้ความเชื่อมั่น
องค์ประกอบของงานที่ให้ความเชื่อมัน
การตรวจสอบบัญชี
การตรวจสอบ (Audit Test) หมายถึง การทดสอบเพื่อให้ได้มาซึ่งหลักฐานการสอบบัญชี เพื่อสนับสนุนสิ่งที่ผู้บริหารได้ให้การรับรองไว้เกี่ยวกับงบการเงิน แบ่งเนื้อหาขอบเขตการตรวจสอบได้ 3 ระดับ คือ
การตรวจสอบบัญชี
สิ่งที่ผู้บริหารได้ให้การรับรองไว้เกี่ยวกับงบการเงิน
วิธีการได้มาของหลักฐานการสอบบัญชี
ประเภทของการสอบ
สิ่งที่ผู้บริหารได้ให้การรับรองไว้เกี่ยวกับงบการเงิน เช่น ผู้บริหารของกิจการได้ให้การรับรอง ว่าบัญชีมีเงินสดที่แสดงอยู่ในงบแสดงฐานะการเงินนั้นมีอยู่จริง การหาหลักฐานสนับสนุน ก็คือ 1 มีตัวตนอยู่จริงท 2 แสดงด้วยจำนวนที่ถูกต้อง 3 เป็นของกิจการและไม่มีข้อจำกัดในการใช้ เป็นต้น สิ่งที่ผู้บริหารต้องคำนึงถึงในการรับรองงบการเงินมีดังนี้
การจัดประเภทรายการและเหตุการณ์ของงวดบัญชีที่ตรวจสอบ
การเกิดขึ้นจริง (Occurrence) รายการและเหตุการณ์ที่บันทึกไว้เกิดขึ้นจริงและเกี่ยวข้องกับกิจการ เช่นยอดขายที่เกิดขึ้นต้องมาจากการขายจริง
ความครบถ้วน (Completeness) รายการและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ถูกบันทึกไว้ครบถ้วน ไม่ได้มีการละเว้น หรือบันทึกซ้ำซ้อน
ความถูกต้อง (Accuracy) รายการและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ถูกบันทึกไว้ด้วยจำนวนที่ถูกต้อง รวมทั้งการวัดมูลค่าอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสม
การตัดยอด (Cutoff) รายการและเหตุการณ์ได้บันทึกไว้ตรงตามงวดบัญชีที่ถูกต้อง เช่น หากสินค้าหรือบริการยังไม่ถึงงวดที่ตัดยอดก็ต้องคงค้างไว้ก่อนจนกว่าจะถึงงวด
การจัดประเภท (Classification) รายการและเหตุการณ์ วิธีการได้มาของหลักฐานการสอบบัญชีว่าได้มาอย่างไร
ยอดคงเหลือ
ความมีอยู่จริง (Existence) ของสินทรัพย์ หนี้สิน ส่วนของเจ้าของ วันสิ้นงวดบัญชี
สิทธิและภาระผูกพัน (Rights and Obligations) สินทรัพย์เป็นสิทธิของกิจการ และใช้ประโยชน์ในสินค้าคงเหลือ และหนี้สินเป็นภาระผูกพันของกิจการ
ความครบถ้วน (Completeness) หมายถึง กิจการบันทึกบัญชีเกี่ยวกับสินทรัพย์ หนี้สิน และสวนของเจ้าของทุกรายการหรือทั้งหมดโดยครบถ้วน ไม่ละเว้นการบันทึกบัญชี
การแสดงมูลค่าและการปันส่วน (Valuation and Allocation) หมายถึง สินทรัพย์ หนี้สิน และ สวนของเจ้าของ แสดงในงบการเงินด้วยจํานวนเงินที่เหมาะสม การปรับปรุงเกี่ยวกับมูลค่าและการปันส่วนได้ บันทึกบัญชีไว้อย่างเหมาะสม
การแสดงรายการและการเปิดเผยข้อมูลในงบการเงิน
การเกิดขึ้นจริง และสิทธิและภาระผูกพัน (Occurrence and Rights and Obligations) หมายถึง การเปิดเผยข้อมูล (เหตุการณ์ รายการ และประมาณการอื่น) เกี่ยวกับสิทธิและภาระผูกพันที่เกิดขึ้นจริง และเกี่ยวข้องกับกิจการ
ความครบถ้วน (Completeness) หมายถึง การเปิดเผยข้อมูลทั้งหมดอย่างครบถ้วนใน งบการเงิน
การจัดประเภทและการจัดข้อมูลให้เข้าใจง่าย (Classification and Understandability) หมายถึง การแสดงและอธิบายข้อมูลทางการเงินอย่างเหมาะสม และเปิดเผยข้อมูลอย่างชัดเจน
ความถูกต้องและการแสดงมูลค่า (Accuracy and Valuation) หมายถึง การเปิดเผยข้อมูล ทางการเงินและข้อมูลอื่นอย่างถูกต้องตามควร และด้วยจํานวนเงินที่เหมาะสม
หลักฐานการสอบบัญชี
หลักฐานการสอบบัญชี คือข้อมูลหรือข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่ผู้สอบบัญชีได้ทำการรวบรวมมา เพื่อตรวจสอบและเป็นการยืนยันว่างบการเงินของกิจการนั้นเป็นไปตามมาตรฐานการสอบบัญชี และมีความน่าเชื่อถือหรือไม่ และใช้ข้อสรุปนั้นเป็นเกณฑ์อย่างเหมาะสมในการแสดงความเห็นของผู้สอบบัญชี
คุณลักษณะของหลักฐาน
ความเพียงพอของหลักฐาน จะพิจรณาปริมาณของหลักฐาน
ความเชื่อถือได้ของหลักฐาน จะพิจรณาคุณภาพของหลักฐาน
ปัจจัยที่จะกระทบต่อความน่าเชื่อถือของหลักฐาน มีดังนี้
1.แหล่งที่มาของหลักฐาน
หลักฐานที่ได้มาจากภายนอก (บุคคลที่3) จะมีความน่าเชื่อถือมากกว่าหลักฐานที่จัดทำโดยบริษัทเอง
หลักฐานที่ผู้สอบบัญชีได้เห็น หรือทดสอบด้วยตนเองจะน่าเชื่อถือกว่า
2.ประสิทธิภาพของการควบคุมภายใน
องค์กรที่มีระบบการควบคุมภายในที่ดี จะทำให้หลักฐานมีความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น
3.วิธีการที่ใช้และเวลาในการมี่ได้มาของหลักฐาน
4.ความเหมาะสมของผู้ที่ให้ข้อมูล
5.ประสบการณ์จากการตรวจสอบครั้งก่อนๆ
6.หลักฐานที่เป็นความจริงหรือความเห็น
7.ความเสี่ยงอื่น ๆที่อาจทำให้เกิfข้อผิดพลาด
วิธีการได้มาซึ่งหลักฐานการสอบบัญชี
ผู้สอบบัญชีจะมีวิธีการต่าง ๆ ซึ่งให้ได้มาเพื่อใช้ในการตรวจสอบ โดยอาจใช้วิธีใดวิธีหนึ่ง หรือใช้ทุกวิธีก็ได้ วิธีการมีดังนี้
การตรวจ (Inspection)
การสังเกตการณ์ (Observation)
การสอบถาม (Inquiry)
การขอคำยืนยัน (Confirmation)
การคำนวณ (Computation)
การปฏิบัติซ้ำ (Reperformance)
การวิเคราะห์เปรียบเทียบ (Analytical Procedure)
1.การตรวจ แบ่งได้ 2 ประเภท คือ 1การจตรวจสินทรัพย์ที่มีตัวตน 2 การตรวจเอกสาร และการบันทึกบัญชี
การตรวจสินทรัพย์ที่มีตัวตน เช่น การตรวจเงินสด หลักทรัพย์ สินค้าคงเหลือ สินทรัพย์ถาวร เป็นต้น
การตรวจเอกสาร และการบันทึกบัญชี เช่น การตรวจการบันทึกบัญชีตั้งแต่ขั้นต้นจนถึงขั้นปลาย ตลอดจนเอกสารที่เกี่ยวข้องการการบันทึกบัญชี หลักฐานเกี่ยวกับเอกสาร แบ่งได้ 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
เอกสารภายใน (Internal Document) เป็นเอกสารที่จักทำขึ้นจากภายใน ใช้และเก็บรักษาไว้โดยกิจการ เช่น ใบรับสินค้า บัตรลงเวลาทำงาน เป็นต้น และ
เอกสารภายนอก (External Document ) เป็นเอกสารที่บุคคลภายนอกออกให้ แล้วกิจการได้รับมา เช่น ใบเสร็จรับเงิน หนังสือยืนยันยอดลูกหนี้ เป็นต้น
2. การสังเกตการณ์ (Observation) การสังเกตการณ์เป็นการดูขั้นตอนหรือวิธีการปฏิบัติงานของบุคคลอื่น ที่ไม่อาจทิ้งร่องรอยไว้ให้ตรวจ เช่น
การสั่งเกตการณ์การปฏิบัติงานว่าเป็นไปตามกระบวนการที่บริษัทกำหนดไว้หรือไว้
สังเกตการณ์ตรวจนับสินค้า การรับส่งสินค้า การขายสินค้า ของแผนกคลังสินค้า เป็นต้น
3. การสอบกาม (Inquiry) เป็นหารหาข้อมูลจากบุคคลกรที่มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ ไม่ว่าจะเป็นทั้งบุคคลกรภาย หรือภายนอก อาจสอบถามเป็นคำพูด หรือเขียนหนังสือเป็นลายลักษณ์อักษร เช่น
ผู้สอบอาจเขียนหนังสือสอบถามทนายความเกี่ยวกับคดีฟ้องร้องที่เกิดขึ้น หรือ
ผู้สอบอาจสอบถามการใช้งานโปรแกรมเฉพาะที่ใช้ในกิจการ เป็นต้น
4. การขอคำยืนยัน (Confirmation) เป็นการหาคำตอบจากข้อสอบถามที่ผู้สอบคิดขึ้น และเขียนสอบถามจากบุคคลภายนอกโดยเฉพาะ เช่น
การส่งหนังสือขอคำยืนยันยอดบัญชีลูกหนี้ จากลูกหนี้ของกิจการ
การขอข้อมูลจากธนาคาร
การขอข้อมูลเกี่ยวกับคดีฟ้องร้องต่าง ๆ ของบริษัททั้งฟ้องคนอื่น หรือถูกคนอื่นฟ้อง เป็นต้น
5. การคำนวณ (Computation) การคำนวนในที่นี้เป็นการคำนวณโดยผู้สอบ โดยจะตรวจความถูกต้อของตัวเลขในเชิงคณิตศาสตร์ด้วยการคำนวนตัวเลขในเอกสารเบื้องต้น และการบันทึกบัญชี หรือจะเป็นการทดสอบ การคำนวนค่าเสื่อมที่เกิดขึ้น ดอกเบี้ยต่าง ๆ ค่าประกันภัยจ่ายล่วงหน้า หรือรายการเกี่ยวกับค้างรับ ค้างจ่าย เป็นต้น
6. การปฏิบัติซ้ำ (Reperformance) เป็นการทดสอบด้วยตัวผู้สอบเอง โดยการทำซ้ำ ๆ เช่น ผู้สอบทดสอบการ เบิกจ่ายเงินสด การบันทึกบัญชีเกี่ยวกับสินค้า ลองทำหลาย ๆ รอบ เป็นการใช้เทคนิคคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วย เป็นต้น
7. การวิเคราะห์เปรียบเทียบ (Analytical Procedure) เป็นการวิเคราะห์อัตราส่วนและแนวโน้มสำคัญรวมทั้งการเปรียบเทียบความสัมพันธ์และความเปลี่ยนแปลงของข้อมูลต่าง ๆ ว่าเป็นไปตามคาดหมายหรือไม่ จากปีก่อน หน้าที่เกิดขึ้น
ตารางสรุป เทคนิคการสอบบัญชี
ประเภทของการตรวจสอบ
ผู้สอบบัญชีแบ่งประเภทของการตรวจสอบบการเงินตามวัตถุประสงค์ของการได้มาซึ่งหลักฐานการสอบถามบัญชีได้ 3 ประเภท ดังนี้
1.วิธีการประเมิณความเสี่ยง
2.การกดสอบการควบคุม
3.วิธีการตรวจเนื้อหาสาระ ซึ่งแบ่งได้ 2 ประเภท
การทดสอบรายละเอียด
การวิเคราะห์เปรียบเทียบ
แนวการสอบบัญชี
แนวการสอบบัญชี (Audit Program) หมายถึง กระดาษทำการของผู้สอบบัญชี ที่บ่งบอกถึงวิธีการ ลักษณะการทำงาน ระยะเวลา ขอบเขตของวิธีการตรวจ ที่สอดคล้องกับผลประเมิณความเสี่ยงสืบเนื่องและความเสี่ยงจากการควบคุม
การแผนการสอบบัญชีโดยรวม หากผู้สอบบัญชีได้ระบุถึงการประเมิณความเสี่ยงสืบเนื่องและความเสี่ยงจากการควบคุมไว้แล้ว งานต่อไปของผู้สอบคือการ จัดทำแนวการสอบบัญชีหรือแผนการสอบบัญชี
แนวการสอบบัญชี แบ่งเป็น 3 ส่วน ดังนี้
1 ส่วนของเนื้อหา
ขอบเขตของการตรวจสอบ
ข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจที่ตรวจสอบ
สภาพแวดล้อมของการควบคุม
ผลการดําเนินงานของกิจการ
ระดับความมีสาระสําคัญ
นโยบายการบัญชี
การประเมินความเสี่ยงในแต่ละระดับรายการ
กําหนดการตรวจสอบ
ประมาณการรายได้และค่าใช้จ่าย
ทีมงานตรวจสอบ
2 ส่วนของบุคคลที่จัดทำ
ผู้ช่วยผู้สอบบัญชีอวุโส
ผู้ควบคุมงาน
ผู้จัดการอวุโส
3 ผู้อนุมัติ (ชื่อผู้สอบบัญชีรับอนุญาติ)
ส่วนประกอบของแนวการสอบบัญชี
วัตถุประสงค์ของการสอบบัญชี
ขอบเขตการตรวจสอบ
เทคนิคการตรวจสอบที่ใช้
เวลาที่ใช้ในการตรวจสอบ
ดัชนีกระดาษทำการอ้างอิง
ลายมือชื่อผู้ตรวจสอบและผู้สอบทาน วันที่ตรวจ และวันสอบทานเสร็จสิ้น
เทคนิคการตรวจสอบภายใน
ขั้นตอนการวางแผนงานสอบบัญชี ควรวางแผนงานการสอบบัญชี 7 ข้อ ดังนี้
การพิจราณาการรับงานสอบบัญชี
การรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจที่ตรวจสอบ
การวิเคราะห์เปรียบเปรียบเทียบในเบื้องต้น
การกำหนดระดับความมีสาระสำคัญ
การประเมิณความเสี่ยงในการสอบบัญชียอดรับได้และความเสี่ยงสืบเนื่อง
การทำความเข้าใจในระบบการควบคุมภายใน และการะประเมิณความเสี่ยงจากการควบคุม
การพัฒนาแผนการสอบบัญชีโดยรวม (เลือกกลยุทธ์การสอบ) และแนวการสอบบัญชี (แผนการสอบ)
สร้างความสัมพันธ์ที่ดี ให้กับทุกฝ่าย เช่น ผู้ประกอบวิชาชีพ ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบและใช้ข้อมูล ผู้บริหารของกิจการ สื่อสารกับผู้มีหน้าที่ด้วยความสุภาพ
การเลือกตัวอย่างในการสอบ ควรพิจารณาจากจำนวน ประชากร จัดกลุ่ม จัดประเภทที่จะสอบ ทดสอบการควบคุม ตรวจสอบสาระเนื้อหา
ตรวจสอบวงจรต่าง ๆ ทั้งวงจรรายได้ วงจรรายจ่าย และวงวจรอื่น ๆที่เกี่ยวข้อง เช่นวงจรการผลิต วงจรการจ้างแรงงาน วงจรการจัดหาเงิน และวงจรในการจัดหาเงินลงทุน เป็นต้น
สรุปและเขียนรายงานที่ผู้สอบตรวจพบ และแสดงวามเห็นเมื่อสิ้นสุดการตรวจ
ในการดำเนินกิจการ ภายในรูปแบบบริษัทหรือธุรกิจต่างๆ องค์กร เหล่านั้นจำเป็นต้องมีการตรวจสอบบัญชี ตรวจสอบงบประมาณต่างๆเพื่อทำการยื่นภาษีต่างๆต่อกรสรรพากร และรวมไปถึงการรวบรวม ตรวจสอบเอกสารต่างๆและงบการเงินที่จัดทำขึ้นว่ามีข้อมูลที่ถูกต้องครบถ้วนหรือไม่โดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาติ
วัตถุประสงค์ของ การตรวจสอบบัญชี
เพื่อเพิ่มระดับความเชื่อมันของผู้ใช้งบการเงินที่มีต่องบการเงินการบรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าวเกิดขึ้นได้โดยการแสดงความคิดเห็นของผู้สอบบัญชีว่างบการเงินที่ได้จัดทำนั้นเป็นไปตามแม่บทการรายงานทางการเงินหรือไม่ การตรวจสอบบัญชี การแสดงให้เห็นว่าบริษัทหรือองค์กรนั้น ๆ ได้มีการจัดทำบัญชี อย่างมuมาตรฐาน ถูกต้องตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป และแสดงความคิดเห็นต่องบการเงินขององค์กรนั้น ๆ ว่ามีการจัดทำอบ่างถูกต้องและมีข้อมูลครบถ้วนหรือไม่ เพื่อให้ผู้ที่อ่านงบนั้นได้รับข้อมูลที่ครบถ้วน
ซึ่งกระบวนการในการสอบบัญชีนั้นสามารถแบ่งอออกได้เป็น 3ขั้นตอนคือ
กระบวนการวางแผน
การพิจารณารับงานสอบบัญชี
รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทที่จะทำตรวจสอบ
วิเคราะห์เปรียบเทียบในเบื้องต้น
กำหนดระดับการมีสาระสำคัญ
การประเมินความเสี่ยงในการสอบบัญชีที่ยอมรับได้และความเสี่ยงสืบเนื่อง
ทำความเข้าใจระบบควบคุมภายในและประเมินความเสี่ยงจากการควบคุม
พัฒนาแผนการสอบบัญชีโดยรวมและการจัดทำแนวการสอบบัญชี
การปฏิบัติงานตรวจสอบ
วงจรรายได้
วงจรรายจ่าย
วงจรการผลิต
วงจรการลงทุน
วงจรการจัดหาเงิน
การตรวจสอบที่สำคัญเพิ่มเติม
การเสร็จสิ้น
ประเมินผลจากหลักฐานการตรวจสอบบัญชี
การเสนอรายการปรับปรุงและรายการจัดประเภทบัญชี
ออกรายงานการสอบบัญชี
ประโยชน์การตรวจสอบบัญชี
งานตรวจสอบบัญชี
1.มั่นใจในงบการเงินช่วยให้จัดสรรงบประมาณต่าง ๆ ได้ง่ายยิ่งขึ้น การตรวจสอบ บัญชีให้เป็นไปตามมาตรฐานนั้นการสอบบัญชี และมาตรฐานรายงานทางการเงินนั้น จะช่วยทำให้ผู้ประกอบการมีความมั่นใจในการบริหารเงินภายในธุรกิจ และนำไปทำกิจกรรมต่าง ๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2.ช่วยลดความผิดพลาดในการจัดทำงบการเงิน การตรวจสอบ บัญชีจะทำการประเมินความเสี่ยงต่อสิ่งที่จะทำให้งบการเงินของบริษัทเกิดความผิดพลาด และไม่เป็นไปตามมาตรฐานการสอบบัญชี และหากพบข้อผิดพลาดในระหว่างการตรวจสอบ ก็จะทำให้ผู้บริหารองค์กรทราบและแก้ไขได้ทันที
3.นำผลการตรวจสอบที่ได้มาปรับปรุงการดำเนินงานของบริษัท การตรวจสอบ บัญชีนั้นก็ถือว่าเป็นการประเมินประสิทธิภาพ และผลลัพธ์ในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆขององค์กรนั้น ดังนั้นหากทำการตรวจสอบแล้วพบว่าองค์กรของเรามีจุดอ่อนหรือปัญหาตรงจุดไหน ก็ทำให้องค์กรหาวิธีแก้ไขได้อย่างถูกวิธี
ตัวอย่าง ตารางค่าสอบบัญชี
คนที่ประสบความสำเร็จ คือคนที่สามารถบรรลุเป้าหมายและสร้างชีวิตที่มีคุณค่าในแบบที่ตนเองต้องการ แต่เคยสงสัยไหมว่าคนเหล่านี้มีอะไรที่คล้ายกัน? บทความนี้
ฝันว่าได้จับปลาไหลได้หลายตัว ฝันว่าจับปลาไหลได้ 1 ตัว เลขเด็ด ฝันว่าจับปลาไหลได้หลายตัวเลขเด็ด ฝันว่าได้จับปลาไหลตัวใหญ่ ฝันเห็นปลาไหลเยอะมาก
คำประสม เช่น คำประสม คือ ตัวอย่าง คำประสม 100 คำ คำประสม การ คำประสม ของ คำประสม หัว คำประสม สรุป คำประสม แม่ คำประสม นัก การเอาคำมูลที่มี
การควบคุมน้ำหนัก เป็นหนึ่งในหัวข้อที่หลายคนให้ความสนใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเราต้องการกินได้อย่างเต็มที่แต่ยังคงรักษารูปร่างได้ หลายคนอาจสงสัยว่า ทำ
ในโลกที่เต็มไปด้วยความท้าทายและการแข่งขัน บุคคลตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จ มักสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้คนทั่วไป ไม่ว่าคุณจะอยู่ในช่วงเริ่มต้นของการเดิน
สับปะรด ฤดูกาลของสับปะรด แหล่งที่ปลูกสับปะรดในไทย ประโยชน์และสรรพคุณ แนะนำสับปะรด 3 สายพันธุ์ พันธุสัปะรดที่ควรรู้จักกระทรวงเกษตรและสหกรณ์โดย
บทความแนะนำ หมวดหมู่: เศรษฐกิจ
จำนวนคอมเมนต์ของโพสต์ ID 156146: 1684