การตัดบัญชีสินทรัพย์

การตัดบัญชีสินทรัพย์ออกจากบัญชีที่ไม่มีใครรู้ 7 ตัดบัญชี?

Click to rate this post!
[Total: 149 Average: 5]

การตัดบัญชีสินทรัพย์

การตัดบัญชีสินทรัพย์การวัดมูลค่าสินทรัพย์และหนี้สินทางการเงิน

การตัดบัญชีสินทรัพย์ทางการเงิน กิจการต้องตัดออกจากงบดุลของกิจการ เมื่อกิจการสูญเสียการควบคุมซึ่งสิทธิตามสัญญาในสินทรัพย์ทางการเงินนั้น เมื่อกิจการสูญเสียการควบคุมซึ่งสิทธิและประโยชน์ในสัญญาดังกล่าวหรือเมื่อสิทธินั้นได้หมดไป หรือกิจการได้สละสิทธิ

การตัดบัญชีสินทรัพย์

การควบคุมสินทรัพย์ในที่นี้หมายถึง อำนาจในการได้มาซึ่งประโยชน์เชิงเศรษฐกิจที่เกิดจากสินทรัพย์นั้นหากกิจการได้โอนสินทรัพย์ไปให้กิจการอื่นและการโอนนั้นไม่เข้าเงื่อนไขการตัดบัญชีผู้โอนจะต้องบันทึกรายการบัญชีในลักษณะเช่นเดียวกับการกู้ยืมโดยมีหลักประกัน กรณีนี้สิทธิของผู้โอน ในการซื้อหรือได้สินทรัพย์คืนมาไม่ถือเป็นอนุพันธ์ การพิจารณาว่ากิจการสูญเสียการควบคุมในสินทรัพย์ทางการเงินนั้นขึ้นอยู่กับสถานะของกิจการเองและของผู้รับโอนด้วยดังนั้นหากสถานะของกิจการแสดงให้เห็นว่าผู้โอนยังคงไว้ซึ่งการควบคุม ผู้โอนต้องไม่ตัดบัญชีสินทรัพย์ออกจากงบดุลของผู้โอน

หลักเกณฑ์ที่ใช้ในการตัดบัญชีสำหรับสินทรัพย์ทางการเงิน จึงพิจารณาจากการควบคุมในสินทรัพย์ทางการเงินที่โอน หากมีข้อเท็จจริงบ่งชี้ว่าผู้โอนยังคงไว้ซึ่งการควบคุมในสินทรัพย์ที่โอนไป ผู้โอนยังคงต้องบันทึกสินทรัพย์ไว้ในงบดุลของผู้โอน ผู้โอนไม่สามารถตัดบัญชีสินทรัพย์ทางการเงินนั้นออกจากงบดุลได้ ในการโอนสินทรัพย์ทางการเงินทั้งหมดหรือบางส่วนผู้โอนจะถือว่าการโอนนั้นเป็นการขายได้ก็ต่อเมื่อผู้โอนไม่มีสิทธิในการควบคุมสินทรัพย์ดังกล่าว ผู้โอนจะบันทึกการโอนเป็นการขายได้ไม่เกินจำนวนสิ่งตอบแทนสุทธิที่ได้รับ ซึ่งไม่รวมถึงส่วนได้เสียในผลประโยชน์ของสินทรัพย์ที่โอนไป ผู้โอนจะถือว่าสละการควบคุมในสินทรัพย์ที่โอนหากเป็นไปตามเงื่อนไขทุกข้อดังต่อไปนี้

  1. สินทรัพย์ที่โอนแยกจากผู้โอนอย่างเด็ดขาดโดยสันนิษฐานได้ว่าผู้โอนหรือเจ้าหนี้ของผู้โอนจะไม่สามารถเรียกร้องผลประโยชน์จากสินทรัพย์ดังกล่าวได้ แม้ในกรณีที่ผู้โอนล้มละลาย
  2. ผู้รับโอนเข้าเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้
    • ผู้รับโอนได้รับสิทธิอย่างไม่มีเงื่อนไขในการนำสินทรัพย์ที่โอนไปแลกเปลี่ยนหรือวางเป็นประกันอีกทอดหนึ่ง
    • ผู้รับโอนเป็นนิติบุคคลที่มีสถานภาพทางกฎหมายแยกต่างหากจากผู้โอน และผู้ที่มีส่วนได้เสียในผลประโยชน์ของนิติบุคคลนั้นได้รับสิทธิอย่างไม่มีเงื่อนไขที่จะนำสินทรัพย์ที่โอนไปแลกเปลี่ยนหรือวางเป็นประกันอีกทอดหนึ่ง
  3. ผู้โอนไม่ได้ทำการตกลงตามข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้ ซึ่งโดยนับแล้วการตกลงดังกล่าวจะทำให้ผู้โอนยังคงสามารถควบคุมสินทรัพย์ที่โอน
    • ข้อตกลงที่ทำให้ผู้โอนได้รับสิทธิและเกิดภาระผูกพันที่จะซื้อคืนหรือไถ่ถอนสินทรัพย์ที่โอนก่อนวันที่สินทรัพย์จะครบกำหนด
    • ข้อตกลงที่ทำให้ผู้โอนสิทธิที่จะซื้อคืนหรือไถ่ถอนสินทรัพย์ที่โอนซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่ไม่สามารถซื้อหาได้ทันที 

การวัดมูลค่าสินทรัพย์ทางการเงินและหนี้สินทางการเงิน

การวัดมูลค่าสินทรัพย์ทางการเงินและหนี้สินทางการเงินแบ่งออกเป็น

  1. การวัดมูลค่าสินทรัพย์ทางการเงินและหนี้สินทางการเงินเมื่อเริ่มแรก หากกิจการได้รับรู้สินทรัพย์ทางการเงินหรือหนี้สินทางการเงินเมื่อเริ่มแรกกิจการต้องวัดมูลค่าสินทรัพย์ทางการเงินหรือหนี้สินทางการเงินดังกล่าวโดยใช้ราคาทุน ซึ่งเท่ากับมูลค่ายุติธรรมของสิ่งตอบแทนที่จ่ายไป (ในกรณีของสินทรัพย์) หรือสิ่งตอบแทนที่ได้รับ (ในกรณีของหนี้สิน) ต้นทุนการทำรายการให้นำไปรวมเป็นราคาทุนของสินทรัพย์ทางการเงินและหนี้สินทางการเงินในการวัดมูลค่าเมื่อเริ่มแรก
  2. การวัดมูลค่าสินทรัพย์ทางการเงินและหนี้สินทางการเงินในภายหลัง
    • การวัดมูลค่าสินทรัพย์ทางการเงินในภายหลัง หลังจากที่กิจการได้วัดมูลค่าสินทรัพย์ทางการเงินเมื่อเริ่มแรกแล้ว กิจการจะต้องวัดมูลค่าสินทรัพย์ทางการเงินนั้นในภายหลังเพื่อให้งบการเงินของกิจการแสดงฐานะการเงินที่แท้จริง เนื่องจากมูลค่าสินทรัพย์ทางการเงินอาจเกิดการเปลี่ยนแปลงไปหลังจากที่บันทึกไว้เมื่อเริ่มแรก

กิจการต้องวัดมูลค่าสินทรัพย์ทางการเงินต่อไปนี้ โดยใช้ราคาทุนตัดจำหน่าย

การวัดมูลค่าสินทรัพย์

  • ลูกหนี้หรือเงินให้กู้ยืมของกิจการแต่เริ่มแรกที่กิจการมิได้มีไว้เพื่อค้า เช่น กรณีที่กิจการได้ให้กู้ยืมแก่ลูกหนี้ กิจการต้องวัดมูลค่าลูกหนี้นั้นโดยใช้จำนวนเงินที่กิจการได้รับรู้ลูกหนี้เมื่อเริ่มแรก หักด้วยการจ่ายคืนชำระเงินต้นบวกหรือหักด้วยค่าตัดจำหน่ายสะสมของส่วนต่างระหว่างราคาทุนเมื่อเริ่มแรกกับจำนวนเงินเมื่อครบกำหนดและหักด้วยการปรับลดจากการด้อยค่าหรือจำนวนที่คาดว่าไม่สามารถเรียกเก็บได้
  • เงินลงทุนที่ถือไว้จนครบกำหนด
  • สินทรัพย์ทางการเงินที่ไม่สามารถวัดมูลค่ายุติธรรมได้อย่างน่าเชื่อถือ ซึ่งโดยทั่วไปได้แก่ตราสารทุนที่ไม่มีราคาที่ตกลงซื้อขายคล่อง สินทรัพย์ทางการเงินอื่นที่นอกเหนือจากที่กล่าวไว้ข้างต้น ให้กิจการวัดมูลค่าได้โดยใช้มูลค่ายุติธรรม (Fair Value)
    • การวัดมูลค่าหนี้สินทางการเงินในภายหลัง กิจการต้องวัดมูลค่าหนี้สินทางการเงินทั้งหมดโดยใช้ราคาทุนตัดจำหน่าย ยกเว้นหนี้สินที่มีไว้เพื่อค้า และอนุพันธ์ที่เป็นหนี้สินให้วัดค่าโดยใช้มูลค่ายุติธรรม ซึ่งการกำหนดมูลค่ายุติธรรมของหนี้สินทางการเงินให้พิจารณาเช่นเดียวกับสินทรัพย์ทางการเงิน

การปรับสินทรัพย์ทางการเงินหรือหนี้สินทางการเงินให้เป็นมูลค่ายุติธรรมนั้น กิจการต้องรับรู้รายการกำไรและรายการขาดทุนจากการปรับมูลค่าให้เป็นมูลค่ายุติธรรมซึ่งขึ้นอยู่กับว่ากิจการได้จัดประเภทสินทรัพย์และหนี้สินดังกล่าวไว้เป็นประเภทใด

อ่านบทความทั้งหมด >>> pangpond.com

ไล่แมลงสาบ
217865
แมลงเข้าหู
เป็นอย่างไรบ้างที่ทำให้วาสลีนเซรั่มอัลตร้าไวท์
ปก ความปลอดภัยของข้อมูล
ปก การบริหารจัดการเวลา
บทความแนะนำ หมวดหมู่: เศรษฐกิจ
จำนวนคอมเมนต์ของโพสต์ ID 163300: 899