การตลาด

การตลาด 5 MARKETING พฤติกรรมเส้นทางลัดที่ไม่เคยมีใครบอกคุณ?

Click to rate this post!
[Total: 0 Average: 0]

การตลาด

ความหมายของการตลาด

          “การตลาดคืองานอย่างหนึ่งทางธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับลูกค้าโดยตรงเป็นงานที่มาขอบเขตกว้างกว่างานหน้าที่อื่น ๆ ทั้งหมดในองค์การ
          เพื่อเข้าใจความหมายของการตลาดมากขึ้น จึงขอนำนิยามของการตลาดที่น่าสนใจบางนิยามมากล่าวเพิ่มเติม เพื่อการศึกษาเปรียบเทียบ ดังนี้
          1. สมาคมการตลาดแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ให้นิยามของการตลาดอย่างเป็นทางการครั้งล่าสุดในปี ค.ศ. 1985 ไว้ว่าการตลาดคือกระบวนการวางแผนและปฏิบัติการตามแผน ตามแนวคิดผลิตภัณฑ์ที่ได้กำหนดขึ้น
          2. อาร์มสตรองและคอตเลอร์ ได้ให้นิยามของการตลาดในลักษณะที่เน้นพฤติกรรมของมนุษย์ไว้ดังนี้
               – ความจำเป็น ความต้องการ และอุปสงค์ จุดเริ่มต้นอันเป็นฐานสำคัญที่สุดที่ทำให้เกิดกิจกรรมทางการตลาด เกิดจากความจำเป็นของมนุษย์
               – ผลิตภัณฑ์และบริการ คนเราทุกคนสนองความจำเป็นและความต้องการทำให้เกิดความพอใจด้วยผลิตภัณฑ์และบริการ
               – คุณค่า ความพึงพอใจ และคุณภาพ ผู้บริโภคตัดสินใจเลือกผลิตภัณฑ์โดยอาศัยการรับรู้คุณค่าอันเกิดจากผลิตภัณฑ์และบริการเหล่านั้น ผลิตภัณฑ์ใดให้คุณค่าแก่เขามากที่สุดในความรู้สึกของเขา เขาก็จะเลือกซื้อผลิตภัณฑ์หรือบริการนั้น
               – การแลกเปลี่ยน ธุรกรรมและความสัมพันธ์กับลูกค้า เนื่องจากผลิตภัณฑ์ เป็นสิ่งตอบสนองความต้องการและความจำเป็นของมนุษย์ให้ได้รับความพอใจ ดังนั้นเมื่อมนุษย์มีความต้องการผลิตภัณฑ์ชนิดใดชนิดหนึ่งโดยเฉพาะ มนุษย์จะแสดงพฤติกรรมบางอย่างเพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งนั้น
               – ตลาด จากแนวความคิดของ การแลกเลี่ยน และการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า นำไปสู่แนวความคิดของตลาดนั่นคือ ตลาด หมายถึงกลุ่มของผู้ซื้อทั้งหมดที่เป็นหรือความต้องการ มีทรัพยากรเหล่านี้เพื่อการแลกเปลี่ยน เพื่อให้ได้มาในสิ่งที่เข้าต้องการอีกด้วย
               – การตลาด จากแนวคิดของตลาด ในที่สุดก็จะได้ความหมายของการตลาดโดยสมบูรณ์ นั่นคือ การตลาด หมายถึงการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับตลาดโดยตรง กระทำขึ้นเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยน และสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างสรรค์คุณค่าและเพื่อสนองความจำเป็นและมีความต้องการ โดยอาศัยการสร้างสรรค์ และการแลกเปลี่ยนผลิตภัณฑ์และสิ่งของมีคุณค่ากับผู้อื่น

ที่มา:sites.google.com/site/groupmarketingsites

อ่านบทความทั้งหมด >>> pangpond.com

บทความแนะนำ หมวดหมู่: เศรษฐกิจ
จำนวนคอมเมนต์ของโพสต์ ID 173218: 1919