เลิกจ้างลาออก

หนังสือเลิกจ้างพ้นสภาพ LAID OFF เตือนพนักงาน 3 ตัวอย่างแบบง่ายๆ

Click to rate this post!
[Total: 244 Average: 5]

หนังสือเลิกจ้าง

หนังสือยืนยอมเลิกจ้าง
หนังสือยืนยอมเลิกจ้าง

ข้อควรรู้เรื่อง เลิกจ้าง! สิ่งที่นายจ้างต้องรู้ และ ลูกจ้างต้องเตรียมตัว

จากวิกฤตการณ์โรคระบาดเชื้อไวรัสโคโรน่าโควิด 19 ทำให้หลายหน่วยงานหรือบริษัทได้เลิกจ้างพนักงานออกจากหน่วยงานองค์กร ไม่ว่าจะหน่วยงานองค์กรขนาดเล็กใหญ่ก็ต้องประสบกับความไม่มั่นคงเรื่องการจ้างงานด้วยกันทั้งสิ้น เมื่อเกิดวิกฤตกับหน่วยงานองค์กร ทำให้หลายคนต้องตกงาน ขาดรายได้ ทั้งนี้ไม่ว่าจะเกิดวิกฤตการณ์เหตุการณ์ใดเกิดขึ้น

ถูกเลิกจ้าง
ถูกเลิกจ้าง

ไม่ว่าพนักงานหรือลูกจ้างจะลาออกเองหรือถูกเลิกจ้าง สิ่งที่ต้องตระหนักเลยก็คือนายจ้างหรือลูกจ้างจะต้องทราบกฎหมายเพื่อสร้างความเป็นธรรมทั้งสองฝ่ายและเพื่อรักษาสิทธิส่วนบุคคล อาทิเช่นในระหว่างที่พนักงานถูกเลิกจ้างจากบริษัทเกิดวิกฤตก็จะต้องได้รับค่าชดเชยตามกฎหมาย หรือกรณีหากพนักงานหรือลูกจ้างกระทำความผิดร้ายแรงนายจ้างหรือหน่วยงานองค์กรมีสิทธิที่จะสามารถเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยได้ หรือกรณีที่ลูกจ้างหรือพนักงานตัดสินใจลาออกเองก็จะมีค่าชดเชยตามกฎหมายจากประกันสังคมเช่นกัน

หนังสือเตือนพนักงานบกพร่องในหน้าที่

 
หนังสือตักเตือนพนักงาน
หนังสือตักเตือนพนักงาน

ไม่ว่าพนักงานหรือลูกจ้างจะ ลาออกเองหรือถูกเลิกจ้าง สิ่งที่ต้องตระหนักเลยก็คือนายจ้างหรือลูกจ้างจะต้องทราบกฎหมายเพื่อสร้างความเป็นธรรมทั้งสองฝ่ายและเพื่อรักษาสิทธิส่วนบุคคล

การลาออก คือ 

การลาออกมีการยินยอมทั้งสองฝ่ายจะไม่มีการจ่ายค่าชดเชยจากนายจ้าง เพราะถือว่าบริษัทหรือหน่วยงานไม่ได้ทำการปลดพนักงานออกเอง แต่หากพนักงานหรือลูกจ้างมีประกันกันสังคมที่ได้ทำกับบริษัทหรือหน่วยงานองค์กรก็จะสามารถขอค่าชดเชยระหว่างการว่างงานได้เช่นกัน แปลง่าย ๆ ว่า ผู้จ่ายค่าชดเชยจะไม่ใช่นายจ้างหากพนักงานหรือลูกจ้างตัดสินใจลาออกเอง โดยจะเสร็จสิ้นสมบูรณ์การลาออกเมื่อมีเอกสารหนังสือลาออกจากหน่วยงานหรือองค์กร

การเลิกจ้าง คือ

นายจ้างหรือหน่วยงานองค์กรได้ทำการปลดพนักงานหรือลูกจ้างและจะต้องทำการจ่ายค่าชดเชนให้พนักงานหรือลูกจ้างตามกฎหมายแรงงาน ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ที่สำคัญคือนายจ้างจะต้องแจ้งให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้าก่อนสัญญาจ้างสิ้นสุดไว้ล่วงหน้าอย่างน้อย 1 เดือนตามกฎหมายแรงงาน ซึ่งเป็นกฎหมายแพ่งและพาณิชย์และกฎหมายคุ้มครองแรงงานวางหลักคุ้มครองลูกจ้าง หากนายจ้างไม่แจ้งล่วงหน้าจะต้องจ่ายค่าชดเชยให้พนักงานหรือลูกจ้างเพิ่มอีก 1 เดือนตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน

โดยการจ้างงานจะต้องเป็นเอกสารหนังสือจ้างที่กำหนดระยะเวลาจ้างแน่นอนเรียกว่าสัญญาปลายปิด (Fixed Terms Contract) เป็นลักษณะหนังสือสัญญาจ้างมีกำหนดเวลาเริ่มและสิ้นสุดของสัญญาไว้ชัดเจน เมื่อครบกำหนดสัญญานายจ้างไม่ต้องบอกล่วงหน้าหรือบอกเลิกสัญญาจ้างอีก หากหนังสือจ้างไม่กำหนดเวลาจ้างแน่นอนจะเรียกว่าเป็นสัญญาปลายเปิด ในกรณีสัญญาจ้างแบบนี้ หากมีการเลิกจ้างจะต้องแจ้งล่วงหน้าอย่างน้อย  1 เดือนหรือ 1 คราว เพื่อให้มีผลเลิกจ้างในเดือนหรือคราวถัดไป ตัวอย่างหัวข้อหนังสือเลิกจ้างอาทิเช่น

  • หนังสือบอกเลิกสัญญาจ้างงาน
  • แบบฟอร์มหนังสือบอกเลิกสัญญาจ้างงาน

ในกรณีที่นายจ้างหรือหน่วยงานองค์กรมีการจ่ายค่าจ้างต่อเดือน 2 ครั้ง เช่น มีการจ่ายค่าจ้างวันที่ 15 และวันสุดท้ายของเดือน ลักษณะนี้นายจ้างอาจจะบอกล่วงหน้าก่อน 1 คราว คืออย่างน้อยต้องแจ้งบอกเลิกสัญญาจ้างหรือแจ้งเลิกจ้างพนักงานลูกจ้างตั้งแต่อย่างน้อยวันสุดท้ายของเดือน เช่น นายจ้างหรือบริษัทหน่วยงานองค์กรต้องการเลิกจ้างพนักงาน 15 ก.พ.2564 ต้องการบอกเลิกจ้างอย่างน้อยวันที่ 31 ม.ค. 2564 ซึ่งถือเป็น 1 คราว คิดจากรอบการจ่ายเงินเดือน หรือในกรณีที่ไม่ได้บอกล่วงหน้ากับพนักงานหรือลูกจ้าง นายจ้างจะต้องจ่ายค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างต่อเดือนให้กับพนักงานหรือลูกจ้างแทน ซึ่งจะเรียกค่าชดเชยจากนายจ้างนี้ว่า “ค่าสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า” หรือ “ค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า” นั้นเอง

อย่างไรก็ตามการแจ้งล่วงหน้าเพื่อปลดพนักงานหรือเลิกจ้างจะสามารถแจ้งด้วยหนังสือหรือแจ้งทางวาจาก็ได้เช่นกัน แต่เพื่อให้เป็นหลักฐานและเป็นธรรมแก้ทั้งสองฝ่ายควรจะต้องทำการแจ้งล่วงหน้าเป็นลายลักษณ์อักษรจะดีที่สุดนั้นเอง

การเลิกจ้างหรือลาออก ไม่เหมือนกัน 

ความแตกต่างของการลาออกและเลิกจ้างคือความยินยอมของทั้งสองฝ่ายจะไม่เหมือนกัน หากพนักงานหรือลูกจ้างตัดสินใจลาออกเองจะถือว่าได้รับความยินยอมทั้งสองฝ่าย หากหน่วยงานหรือบริษัทองค์กรเลิกจ้างพนักงานหรือลูกจ้างนั้นหมายถึงพนักงานหรือลูกจ้างอาจจะยินยอมหรือไม่ยินยอมก็ได้เช่นกัน

ลาออก กับ เลิกจ้าง แตกต่างกันหรือไม่
ลาออก กับ เลิกจ้าง แตกต่างกันหรือไม่

ความผิดร้ายแรงต่อนายจ้างหรือองค์กร

ทั้งนี้หากพบว่ากรณีพนักงานหรือลูกจ้างได้กระทำความผิดร้ายแรงต่อนายจ้างหรือหน่วยงานองค์กร หรือกระทำความผิดบางอย่างนายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างพนักงานหรือลูกจ้างได้โดยไม่บอกล่วงหน้า ได้แก่

  • ลูกจ้างมีเจตนาหรือจงใจขัดคำสั่งโดยชอบด้วยกฎหมายของนายจ้าง
  • ลูกจ้างละเลยต่อคำสั่งโดยชอบด้วยกฎหมายของนายจ้าง
  • ลูกจ้างได้ละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร และละทิ้งหน้าที่เป็นเวลานานเกินสมควร
  • ลูกจ้างกระทำความผิดร้ายแรง
  • ลูกจ้างได้กระทำการอันไม่สมควรแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต
  • ลูกจ้างทุจริตต่อหน่วยงานองค์กร
  • ลูกจ้างได้กระทำความผิดทางอาญาโดยเจตนาต่อนายจ้าง
  • ลูกจ้างมีเจตนาและจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย
  • ลูกจ้างประมาทเลินเล่อ ส่งผลให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง
  • ลูกจ้างกระทำการฝ่าฝืนคำสั่ง ระเบียบหรือข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างซึ่งเป็นเหตุร้ายแรง
  • ลูกจ้างได้กระทำความผิดซ้ำคำตักเตือน
  • ลูกจ้างละทิ้งหน้าที่ตั้งแต่ 3 วันทำงานติดต่อกันขึ้นไปโดยไม่มีเหตุอันสมควร
  • ลูกจ้างกระทำความผิดและได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุด หากเป็นความผิดที่ได้ประทำเป็นความประมาทหรือลหุโทษ และส่งผลให้นายจ้างจะต้องได้รับความเสียหายตามไปด้วย
ตัวอย่าง ความผิดร้ายแรงต่อนายจ้าง
ตัวอย่าง ความผิดร้ายแรงต่อนายจ้าง

ทั้งนี้หากเป็นไปตามข้อ 6) – 13) นายจ้างมีสิทธิที่จะเลิกจ้าง หรือปลดพนักงานลูกจ้างได้ โดยไม่ต้องมีการจ่ายค่าชดเชยแต่อย่างใด เพราะถือว่าเป็นความผิดอันร้ายแรงต่อนายจ้างนั้นเอง ตัวอย่างเอกสารหนังสือที่ปลดพนักงานลูกจ้าง อาทิเช่น

  • หนังสือพ้นสภาพการเป็นพนักงาน
  • แบบฟอร์มหนังสือเลิกจ้างละทิ้งหน้าที่

หากนายจ้างต้องการชี้แจงเพื่อตักเตือนความผิดในครั้งแรกเพื่อให้พนักงานหรือลูกจ้าง อย่างการกระทำความผิดของลูกจ้างในข้อ 11) เป็นต้น โดยจะยังไม่ได้เป็นการเลิกจ้างหรือปลดพนักงานทันที นายจ้างสามารถใช้เอกสาร “หนังสือเตือนพนักงานบกพร่องในหน้าที่” เพื่อเป็นหลักฐานต่อการกระทำในความคิดครั้งแรกของลูกจ้างได้ ซึ่งความคิดนั้นจะยังไม่ถือเป็นความผิดร้ายแรงที่มีผลให้เลิกจ้างได้ในทันที อย่างไรก็ตามว่าด้วยเรื่องการกระทำความผิดซ้ำที่ได้ตักเตือนจะกระทำเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ก็ได้

ข้อควรรู้ คือ เมื่อพนักงานหรือลูกจ้างตัดสินใจลาออกหรือถูกเลิกจ้างแล้ว พนักงานหรือลูกจ้างควรไปยื่นเรื่องขอค่าชดเชยที่ประกันสังคมในเรื่อง “สิทธิประกันสังคมกรณีว่างงาน” โดยจะแบ่งเป็นกรณี

  • ชดเชยประกันสังคมกรณีว่างงานด้วยเหตุสุดวิสัย
  • ชดเชยประกันสังคมกรณีว่างงานด้วยการลาออกเองหรือเลิกจ้าง

การเลิกจ้างในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโคโรน่า หรือโควิด-19 จะถือเป็นการเลือกจ้างการเหตุผลทางเศรษฐกิจ เป็นการเลิกจ้างอย่างเป็นธรรม อย่างไรก็ตามค่าชดเชยจากประกันสังคมที่พนักงานหรือลูกจ้างจะได้รับเมื่อลาออกหรือถูกเลิกจ้างในช่วงนี้จะมีอัตราค่าชดเชยที่สูงกว่าปกติ เพื่อเป็นการชดเชยเยียวยาแก่พนักงานหรือลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโคโรน่า หรือโควิด-19 ด้วยเช่นกัน

เงินชดเชยแรงงานถูกเลิกจ้าง

เงินชดเชยเลิกจ้าง
เงินชดเชยเลิกจ้าง

เมื่อทำความเข้าใจเรื่องการลาออกและเลิกจ้างไปแล้วมาดูเรื่องค่าชดเชยที่จะได้รับกรณีการถูกเลิกจ้างกันบ้าง

  • กรณีลูกจ้างทำงานติดต่อกันครบกำหนดระยะเวลา 120 วัน แต่ไม่ถึง 1 ปี
  • จะได้รับค่าชดเชยไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตรางวดสุดท้ายคิดเป็น 30 วัน (1 เดือน)
  • กรณีลูกจ้างทำงานติดต่อกันครบกำหนดระยะเวลา 1ปี แต่ไม่ถึง 3 ปี
  • จะได้รับค่าชดเชยไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตรางวดสุดท้ายคิดเป็น 90 วัน (3 เดือน)
  • กรณีลูกจ้างทำงานติดต่อกันครบกำหนดระยะเวลา 3 ปี แต่ไม่ถึง 6 ปี
  • จะได้รับค่าชดเชยไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตรางวดสุดท้ายคิดเป็น 180 วัน (6 เดือน)
  • กรณีลูกจ้างทำงานติดต่อกันครบกำหนดระยะเวลา 6 ปี แต่ไม่ถึง 10 ปี
  • จะได้รับค่าชดเชยไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตรางวดสุดท้ายคิดเป็น 240 วัน (8 เดือน)
  • กรณีลูกจ้างทำงานติดต่อกันครบกำหนดระยะเวลา 10 ปีขึ้นไป
  • จะได้รับค่าชดเชยไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตรางวดสุดท้ายคิดเป็น 300 วัน (10 เดือน)
  • กรณีลูกจ้างทำงานติดต่อกันครบกำหนดระยะเวลา 20 ปีขึ้นไป
  • จะได้รับค่าชดเชยไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตรางวดสุดท้ายคิดเป็น 400 วัน

เมื่อไรก็ตามที่มีการเลิกจ้างงานเกิดขึ้นนายจ้างจะต้องจ่ายค่าชดเชยค่าจ่าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด ค่าล่วงเวลาทำงานในวันหยุด โดยต้องจ่ายเงินตามกฎหมายการจ้างงานให้แก่ลูกจ้างภายใน 3 วันนับจากวันที่เลิกจ้างงาน หากพบว่านายจ้างมีการผิดนัดไม่ชำระจ่ายค่าตอบแทนตามกฎหมาย กำหนดให้นายจ้างจะต้องเสียค่าดอกเบี้ยให้ลูกจ้างจำนวนเงินดอกเบี้ย 15% ต่อปีตามระยะเวลาที่ผิดนัดได้ ซึ่งเป็นเป็นกฎหมายคุ้มครองแรงงานฉบับใหม่ที่ได้ปรับปรุงเพื่อลูกจ้าง

ลูกจ้างไม่ได้รับความเป็นธรรม

เรื่องการร้องทุกข์ของ ลูกจ้าง หากพบว่าได้รับความ ไม่เป็นธรรม

ว่าด้วยเรื่องความเป็นธรรมของลูกจ้าง ลูกจ้างสามารถร้องทุกข์ได้ เมื่อพบว่าตนเองไม่ได้รับความเป็นธรรมจากนายจ้างตามกฎหมาย โดยลูกจ้างสามารถนำคดีความที่เกิดขึ้นไปฟ้องกรมแรงงานได้ กรณีที่ลูกจ้างจะสามารถร้องทุกข์เพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมได้มีดังนี้

  1. กรณีลูกจ้างต้องการเรียกร้องสิทธิของตนอันเนื่องมาจากการฝ่าฝืนกฎหมายแรงงานของนายจ้าง สามารถเรียกร้องด้วยวิธีนำคดีความที่เกิดขึ้นไปฟ้องศาลแรงงาน และ/หรือ ลูกจ้างสามารถยื่นคำร้องทุกข์ต่อพนักงานตรวจแรงงานได้ด้วยเช่นกัน
  2. กรณีการยื่นคำร้องทุกข์ของลูกจ้างหรือทายาทตามกฎหมาย จะต้องยื่นคำร้องทุกข์ตามแบบที่อธิบดีได้กำหนด และ/หรือ ลูกจ้างสามารถยื่นต่อพนักงานตรวจแรงงานในท้องที่ ซึ่งสามารถยื่นคำร้องทุกข์ในสถานที่ลูกจ้างทำงานอยู่ หรือในสถานที่นายจ้างมีภูมิลำเนาอยู่ หรือยื่นคำร้องทุกข์ในท้องที่ที่ลูกจ้างมีภูมิลำเนาอยู่ก็ได้
  3. สำหรับการพิจารณาคำร้องทุกข์ของพนักงานตรวจแรงงาน จะมีกระบวนการดังต่อไปนี้
    • ขั้นตอนแรก เจ้าหน้าที่จะเร่งสอบสวนข้อเท็จจริงจากทางหน่วยงาน มีการเรียกสอบสวนนายจ้าง ลูกจ้าง รวมทั้งเรียกสอบพยานที่เกี่ยวข้องโดยเร็ว รวมทั้งเจ้าหน้าที่ต้องทำการรวบรวมหลักฐานที่มีส่วนเกี่ยวข้อง
    • ขั้นตอนต่อมา หลังจากสอบสวนข้อเท็จจริงแล้ว ลำดับต่อมาเจ้าหน้าที่จะเริ่มการไกล่เกลี่ยระหว่างนายจ้างและลูกจ้างก่อน และจะต้องมีคำสั่งให้นายจ้างจ่ายเงิน หรือยกคำร้องทุกข์ของลูกจ้างอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ได้ตกลงกัน ซึ่งในระหว่างการรวบรวมข้อเท็จจริงและมีคำสั่งข้อสรุปออกมา การดำเนินการทั้งหมดต้องกระทำให้แล้วเสร็จ ภายใน 60 วัน นับแต่วันรับคำร้องทุกข์ของลูกจ้างไว้ดำเนินการ ถ้าหากเจ้าหน้าที่ไม่สามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน จะต้องมีการขอขยายระยะเวลาดำเนินการต่ออธิบดีหรือผู้ว่าราชการ อาจจะด้วยเหตุผลหลักฐานหรือพยานไม่พอ หรือยังหาข้อสรุปไม่ได้ เป็นต้น
  4. กรณีเกิดข้อยุติการร้องทุกข์ในระหว่างการสอบสวนข้อเท็จจริง จะมีข้อสสรุปและปฏิบัติดังนี้
    • ลูกจ้างขอสละสิทธิการเรียกร้องทั้งหมดเอง
    • ลูกจ้างตกลงสละสิทธิเรียกร้องเพียงบางส่วน และนายจ้างยินยอมจ่ายเงินชดเชยบางส่วนให้แก่ลูกจ้าง
    • นายจ้างยินยอมจ่ายเงินชดเชยทั้งหมดให้แก่ลูกจ้าง
ลูกจ้างไม่ได้รับความเป็นธรรม
ลูกจ้างไม่ได้รับความเป็นธรรม

สรุป

การเลิกจ้างหรือลาออกเป็นเรื่องทางกฎหมายแรงงานที่ควรรู้เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ทั้งสองฝ่าย นายจ้างควรเคารพสิทธิของลูกจ้าง ในขณะที่ลูกจ้างเองก็ต้องปฏิบัติติตามตามสัญญาด้วยเช่นกัน สิ่งสำคัญที่สุดเมื่อทั้งสองฝ่ายได้ทำข้อตกลงร่วมกัน เกิดการจ้างงานแล้ว ทั้งนายจ้างจะต้องชี้แจงรายละเอียดงานอย่างชัดเจนให้ลูกจ้างรู้ และลูกจ้างจะต้องอ่านเงื่อนไขข้อตกลงก่อนการเซ็นสัญญาทุกครั้ง ไม่ว่าจะเป็นสัญญาจ้างงานหรือเลิกจ้างก็ตาม ซึ่งหากไม่ได้มีการอ่านข้อตกลงเงื่อนไขให้ดีก่อน เช่นกรณีเมื่อต้องเลิกจ้างหรือปลดพนักงาน พนักงานหรือลูกจ้างได้ยินยอมเซ็นเอกสารลาออกแทนที่จะเป็นหนังสือเลิกจ้าง ทำให้นายจ้างไม่จำเป็นต้องจ่ายค่าชดเชยให้กับลูกจ้างก็ได้เช่นกัน ดังนั้นการเรียกร้องสิทธิจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อมามีหลักฐาน นายจ้าง ลูกจ้าง พยาน ครบทุกองค์ประกอบรวมกัน หากพบว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมจริงก็สามารถฟ้องร้องทุกข์ได้ที่กรมแรงงาน หรือสหภาพแรงงาน

บริษัทเลิกจ้างพนักงาน อาจมาจากหลายเหตุผล การเลิกจ้าง หรือปลดพนักงาน หากเป็นการเลิกจ้างแบบไม่เป็นธรรม ลูกจ้างอาจทำการ ฟ้องกรมแรงงานได้ เพราะฉะนั้นการจะเลิกจ้างต้องดูกฎหมายแรงงานเลิกจ้างให้ดีก่อนจะเลิกจ้าง เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับทั้ง 2 ฝ่าย

ดาวโหลดหนังสือเลิกจ้าง

หนังสือเลิกจ้าง

แพลตฟอร์ม ทำธุรกิจออนไลน์ 01
ปก ความเข้าใจและอุตสาหกรรมสื่อ
การพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่น
นิโรธเกิดขึ้นจากสาเหตุใด
220186
ปก การส่งเสริม ธุรกิจขนาดเล็ก
บทความแนะนำ หมวดหมู่: เศรษฐกิจ
จำนวนคอมเมนต์ของโพสต์ ID 156706: 1587