หน้าที่ 7 ขึ้นทะเบียนผู้ทําบัญชีไม่เสี่ยงลูกจ้าง CPD หน้าที่
หน้าที่ของผู้ทําบัญชี
ผู้ทําบัญชี คือ ผู้รับผิดชอบในการทำบัญชีของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี ไม่ว่าจะได้กระทำในฐานะเป็นลูกจ้างของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีหรือไม่ก็ตาม
หน้าที่ของผู้ทำ บัญชี
- จัดทำบัญชีเพื่อแสดง
- ลงรายการบัญชีเป็นภาษาไทย หากลงรายการเป็นภาษาต่างประเทศให้มีภาษาไทยกำกับหรือลงรายการเป็นรหัสบัญชี ให้มีคู่มือคำแปรรหัสบัญชีที่เป็นภาษาไทยไว้
- เขียนด้วยหมึก ดีดพิมพ์ หรือตีพิมพ์ หรือทำด้วยวิธีอื่นใดที่ได้ผลในทำนองเดียวกัน
ผู้ทำบัญชี บุคคลต่อไปนี้
- กรณีเป็นพนักงานของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี ได้แก่
- ผู้อำนวยการฝ่ายบัญชี
- สมุห์บัญชี
- หัวหน้าแผนกบัญชี
- ผู้ดำรงตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีหน้าที่รับผิดชอบเช่นเดียวกับผู้ดำรงตำแหน่ง ดังกล่าว
- กรณีเป็นสำนักงานบริการรับทำบัญชี คือ
- หัวหน้าสำนักงานกรณีที่เป็นสำนักงานที่มิได้จัดตั้งในรูปคณะบุคคล
- ผู้เป็นหุ้นส่วนซึ่งรับผิดชอบในการให้บริการรับทำบัญชี กรณีเป็นสำนักงานที่จัดตั้งในรูป คณะบุคคล
- กรรมการหรือผู้เป็นหุ้นส่วนซึ่งรับผิดชอบในการให้บริการรับทำบัญชี กรณีที่เป็นสำนักงาน ที่จัดตั้งในรูปนิติบุคคล
- บุคคลธรรมดา ที่ประกอบวิชาชีพรับจ้างทำบัญชีอิสระ กรณีเป็นผู้รับจ้างทำบัญชีอิสระ
- ผู้ช่วยผู้ ทำบัญชี กรณีที่ “ผู้ ทำบัญชี” รับทำบัญชีเกินกว่า 100 ราย
- บุคคลอื่นนอกจากที่ระบุตาม 1.1-1.4 ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบในการทำบัญชีของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี
คุณสมบัติของผู้ทำบัญชี
-
- มีภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร
- มีความรู้ภาษาไทยเพียงพอที่จะทำหน้าที่เป็นผู้ ทำบัญชีได้
- มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามที่จะประกอบวิชาชีพเป็นผู้ทำ บัญชีตามกฎหมาย ว่าด้วยวิชาชีพบัญชี
- ไม่เคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกเนื่องจากกระทำความผิดตามฐานความผิดหรือ กฎหมายที่กำหนดในมาตรา 39 (3) แห่งพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 เว้นแต่ต้องคำพิพากษา หรือพ้นโทษมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี
- คุณวุฒิการศึกษาของผู้ ทำบัญชีที่สามารถรับทำบัญชีได้ ดังนี้
-
- ก.วุฒิไม่ต่ำกว่าอนุปริญญาหรือ ปวส.ทางการบัญชีหรือเทียบเท่า สามารถเป็นผู้ทำ บัญชีของกิจการดังนี้ได้
-
- ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
- บริษัทจำกัดที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยซึ่ง ณ วันปิดบัญชีในรอบปีบัญชีที่ผ่านมามี ทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้านบาท มีสินทรัพย์รวมและรายได้รวมไม่เกิน 30 ล้านบาท
- ข.วุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการบัญชีหรือเทียบเท่า สามารถเป็นผู้ทำ บัญชีของกิจการดังนี้ได้
-
- ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนและบริษัทจำกัดที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยซึ่ง ณ วันปิดบัญชีในรอบปีบัญชีที่ผ่านมามีทุนจดทะเบียนไม่ 5 ล้านบาท มีสินทรัพย์รวมและรายได้รวมไม่เกิน 30 ล้านบาท
- บริษัทมหาชนจำกัดที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย
- นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย
- กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร
เงื่อนไขของการเป็นผู้ทำบัญชี
- แจ้งรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับการทำบัญชี พร้อมด้วยหลักฐานตามที่กำหนดต่ออธิบดี ตามแบบ ส.บช. 5 และ ส.บช.5-1
ภายใน 60 วัน นับจาก
-
- (1) วันที่ประกาศมีผลบังคับใช้ (10 สิงหาคม 2544) กรณีทำบัญชีอยู่แล้ว
(2) วันเริ่มทำบัญชี
(3) วันที่มีการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับผู้ทำ บัญชี
- เข้ารับการอบรมความรู้เกี่ยวกับวิชาชีพบัญชีอย่างน้อย 1 ครั้ง ในทุก ๆ รอบสามปี
- ต้องรับทำบัญชีไม่เกินปีละ 100 ราย หากเกินจะต้องมีผู้ช่วยที่มีคุณวุฒิเช่นเดียวกับ ผู้ทำ บัญชีอย่างน้อย 1 คน ในทุก ๆ 100 ราย ที่เกิน 100 รายแรก เศษของ 100 ถ้าเกินกว่า 50 ให้นับ เป็น 100
ผู้ทำบัญชี ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไข
-
- ต้องเป็นสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชีหรือขึ้นทะเบียนไว้กับสภาวิชาชีพบัญชีตาม พระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547
- แจ้งรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับการทำบัญชีทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่เว็บไซต์ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (www.dbd.go.th) พร้อมด้วยสำเนาหลักฐานภายใน 30 วัน นับแต่วันเริ่มทำบัญชี
- กรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงรายการที่แจ้งไว้ ต้องแจ้งการเปลี่ยนแปลงทางระบบ อิเล็กทรอนิกส์ที่เว็บไซต์กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (www.dbd.go.th) พร้อมด้วยสำเนาหลักฐานภายใน 30 วัน นับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลง
- กรณีที่มีการยกเลิกการแจ้งรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับการทำบัญชี ต้องแจ้งการยกเลิก ทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่เว็บไซต์กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (www.dbd.go.th) พร้อมด้วยสำเนาหลักฐาน ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่มีการยกเลิก
- กรณีที่ยกเลิกการแจ้งรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับการทำบัญชีแล้วและขอกลับมาแจ้ง รายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับการทำบัญชีใหม่ ต้องเข้ารับการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพบัญชีให้ครบ จำนวนชั่วโมงตามระยะเวลาที่ขาดหายไปก่อนการยกเลิก แต่เมื่อรวมกันแล้วไม่เกิน 24 ชั่วโมง และแจ้ง การขอกลับมาแจ้งรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับการทำบัญชีใหม่ทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่เว็บไซต์กรมพัฒนา ธุรกิจการค้า (www.dbd.go.th)
- ผู้ทำ บัญชีต้องยืนยันรายชื่อผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีที่รับทำบัญชีและสถานภาพการเป็น สมาชิกสภาวิชาชีพบัญชีหรือขึ้นทะเบียนกับสภาวิชาชีพบัญชีทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่เว็บไซต์กรมพัฒนา ธุรกิจการค้าพร้อมด้วยสำเนาหลักฐานภายใน 30 วัน นับแต่วันสิ้นปีปฏิทินของทุกปี – 3 –
- ต้องเข้ารับการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพบัญชีไม่น้อยกว่า 12 ชั่วโมงต่อปี ปฏิทิน ซึ่งจำนวนชั่วโมงการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพบัญชีต้องมีเนื้อหาเกี่ยวกับการบัญชี ไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง ตามที่สภาวิชาชีพบัญชีประกาศกำหนด
- แจ้งรายละเอียดการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพบัญชีทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่ เว็บไซต์กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (www.dbd.go.th) หลังการท ากิจกรรมพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพ บัญชี แต่ไม่เกิน 30 วัน นับแต่วันสิ้นปีปฏิทินของทุกปีปฏิทิน และต้องเก็บหลักฐานการพัฒนาความรู้ ต่อเนื่องทางวิชาชีพบัญชีเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 3 ปี นับแต่วันสิ้นสุดของการท ากิจกรรมในแต่ละครั้ง
- ผู้ทำบัญชีรับทำบัญชีให้กับผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีได้ไม่เกิน 100 รายต่อปีปฏิทิน ไม่ว่าจะเป็นการรับทำบัญชีในรอบปีบัญชีใดก็ตาม
“ผู้ทำ บัญชี” เป็นเพียงจำกัดความของวิชาชีพ ที่ปัจจุบันมีการตรากฎหมายออกมาเพื่อคุ้มครองอาชีพนี้โดยเฉพาะ คือ พระราชบัญญัติ การบัญชี พ.ศ.๒๕๔๓ “ผู้ ทำบัญชี” ที่มีคุณสมบัติตามกฎหมาย แต่อาจจะยังไม่ใช่ “นักบัญชี” หากว่าผู้นั้นยังขาดประสบการณ์ในหน้าที่งานบัญชี และเช่นกัน “นักบัญชี” เป็นผู้มีความสามารถและประสบการณ์ ไม่อาจจะเป็น “ผู้ทำ บัญชี” ได้หากว่าขาดคุณสมบัติวุฒิการศึกษาตามที่กฎหมายกำหนด
ดังนั้น จะเห็นได้ว่า “ผู้ทำ บัญชี” และ “นักบัญชี” เป็นวิชาชีพหนึ่งที่ต้องอาศัยซึ่งกันและกัน โดยส่วนหนึ่งที่ผู้ทำ บัญชี และนักบัญชี มีเหมือนกันคืออุปนิสัยและคุณสมบัติ
ดังนี้
- ซื่อสัตย์มีจรรยาบรรณวิชาชีพ เนื่องจากนักบัญชีจะรับทราบตัวเลขความเคลื่อนไหวทางการเงินของบริษัทอยู่ตลอดเวลานักบัญชีที่ดีจะไม่เปิดเผยข้อมูลต่างๆ ทางการเงินของบริษัทเด็ดขาด
- ขยัน อดทนรับผิดชอบงานในหน้าที่ให้สำเร็จลุล่วงตามกำหนดเวลา จึงเป็นเรื่องปกติที่จะเห็นนักบัญชีกลับบ้านดึกกว่าแผนกอื่นเสมอ
- ละเอียดรอบคอบ ถี่ถ้วนในการมอบหรือรับมอบเอกสารเกี่ยวกับการเงิน ควรเรียกเก็บหลักฐานทางการเงิน และตรวจสอบความถูกต้องทุกครั้ง ควรจัดเก็บเอกสารการเงิน การบัญชีทุกฉบับไว้ในที่ปลอดภัย ตามระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด
- มีความรู้แน่นภาคทฤษฎี และประยุกต์ใช้ให้เข้ากับธุรกิจได้นักบัญชีจำเป็นต้องนำทฤษฎีมาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลตัวเลขได้อย่าง ถูกต้องแม่นยำ ในขณะเดียวกันก็ต้องมีความเข้าใจในธุรกิจของบริษัท และนำทฤษฎีมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะกับธุรกิจได้ด้วย
- สร้างแรงกดดันให้ตนเองในการทำงานควรมีการกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน และหาวิธีที่จะทำให้ได้ตามเป้า นอกจากนั้น นักบัญชียังสามารถพัฒนาตนเองได้ตลอดเวลา ด้วยการกำหนดเวลาในการทำงานให้สั้นลง หรือขอทำงานที่ยากขึ้นเรื่อยๆ
- กล้านำเสนอแนวคิดและวิธีการใหม่ๆ ที่เป็นประโชน์ต่อบริษัท รวมทั้ง รีบแจ้งผู้มีอำนาจทราบทันที เมื่อพบการทุจริต หรือความเสียหายใดๆ
- ทบทวนตนเองทุกปีตั้งคำถามว่าตนเองต้องการอะไร และในปีที่ผ่านมาทำอะไรไปแล้วบ้าง ยังมีอะไรที่ต้องทำอีกบ้าง มีอะไรที่ผิดพลาดบ้าง เพื่อหาทางแก้ไข และปรับปรุงตนเองให้ดีขึ้น ไม่ให้เกิดความผิดพลาดอีกเป็นครั้งที่สอง
- รู้จักการเปิดรับเทคโนโลยี ข้อมูล ข่าวสาร และสิ่งใหม่ๆ ตลอดเวลานักบัญชีควรหาโอกาสพูดคุยพบปะกับคนในวิชาชีพเดียวกัน เพื่อแลกเปลี่ยนความคิด และเข้าใจวิธีการทำงานของคนอื่น รวมทั้งหมั่นศึกษากฎหมายเกี่ยวกับการบัญชี และภาษีอากรที่เกี่ยวข้องอยู่เสมอ
ผู้ทำบัญชี รับทำบัญชีได้ไม่เกินกี่รายต่อปีปฏิทิน
สนใจบริการ >>> รับทำบัญชี ยื่นภาษี บริษัท ปังปอน จำกัด
อ่านบทความทั้งหมด >>> pangpond.com
มื่อเริ่มต้นทำธุรกิจแน่นอนว่าเมื่อเวลาผ่านไป ธุรกิจอาจจะไม่ได้เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ ไม่ว่าจะด้วยเหตุสุดวิสัยอะไร ที่ส่งผลให้ต้องปิดกิจการลง การเตรียมความ
รายได้จากเน็ต 1. เว็บไซต์แสดงรูป และราคาสินค้า 2.เว็บไซต์เพื่อการขายสินค้า 3. การขายสินค้าบนชุมชนเว็บบอร์ดโดยผู้ขายไม่มีเว็บไซต์เป็นของตนเอง 4. เว็บ
ข้าวมันไก่ ถือเป็นอาหารที่ครองใจคนไทยมายาวนาน ด้วยความอร่อยที่เกิดจากการผสานของข้าวหอมมัน น้ำจิ้มรสเด็ด และเนื้อไก่นุ่มละมุน การทำข้าวมันไก่
ค.ร.น. หรือ ค่าร่วมคูณน้อยสุด (Least Common Multiple) คือค่าจำนวนน้อยที่สุดที่สามารถหารด้วยจำนวนที่กำหนดได้ทั้งหมด เช่น หากเราต้องการหาค่า ค.ร.น.
หวยลาว4ตัวได้เท่าไหร่ หวยลาว 4 ตัวตรง บาทละ7000 วิธี ซื้อ หวยลาว 4 ตัว เว็บซื้อหวยลาว 4 ตัว หวย4ตัว7000 หวยลาวบาทละ900 หวยลาวจ่ายยังไง ซื้อหวย
โลกธรรม 8 โลกธรรม คู่ที่ 1 ได้ลาภ-เสื่อมลาภ โลกธรรม คู่ที่ 2 ได้ยศ-เสื่อมยศ โลกธรรม คู่ที่ 3 ได้รับสรรเสริญ-ถูกนินทา โลกธรรม คู่ที่ 4 ได้สุข-ได้ทุกข์ โลกธรรม
โครงสร้างอะตอม โครงสร้างอะตอม ประโยชน์จากการเรียนเรื่องโครงสร้างอะตอม แบบจำลองอะตอมของทอมสัน สสารประกอบด้วยอนุภาคที่เล็กที่สุดเรียกว่า อะตอม
บทความแนะนำ หมวดหมู่: เศรษฐกิจ
จำนวนคอมเมนต์ของโพสต์ ID 62708: 1915