ชนิดหุ้นกู้

ชนิดของหุ้นกู้ ไม่ด้อยสิทธิไม่ประกันตราสารขยายกิจการ 5 ชนิด?

Click to rate this post!
[Total: 58 Average: 5]

ชนิดของหุ้นกู้

การบัญชีเกี่ยวกับชนิดของหุ้นกู้การโอนหุ้นกู้และทะเบียนผู้ถือหุ้นกู้

หุ้นกู้ เป็นตราสารหนี้ที่ออกโดยเอกชนเพื่อการลงทุนในการขยายกิจการ ซื้อเครื่องจักรใหม่ที่ทันสมัยและมีราคาสูง หรือสร้างขยายโรงงาน หุ้นกู้จะแบ่งออกเป็นหน่วยๆ ในการลงทุนในหุ้นกู้ ผู้ซื้อหุ้นกู้จะมีสถานะเจ้าหนี้ ผู้ออกหุ้นกู้จะมีสถานะเป็นลูกหนี้ หุ้นกู้ก็คือลักษณะการขอยืมเงินมาลงทุนโดยจ่ายเงินคืนเป็นอัตราดอกเบี้ย ซึ่งจะมีกำหนดระยะเวลาเป็นตัวบ่งชี้ หุ้นกู้อาจจำแนกออกเป็นหลายประเภทดังนี้

ชนิดของหุ้นกู้

ชนิดของหุ้นกู้

  1. หุ้นกู้ที่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน (secured or mortgage bond) หมายถึงหุ้นกู้ที่บริษัทผู้ออกหุ้นกู้มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน ถ้าบริษัทผิดสัญญา ผู้ถือหุ้นกู้มีสิทธิขายหลักทรัพย์นั้นเพื่อนำเงินมาชำระหนี้
  2. หุ้นกู้ที่ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน (unsecured or debenture bond) หมายถึงหุ้นกู้ที่ออกโดยบริษัทที่มีความมั่นคงทางด้านการเงินเนื่องจากไม่มีหลักทรัพย์ใดๆค้ำประกันเงินกู้ ผู้ถือหุ้นกู้มีความเชื่อมั่นในฐานะการเงินของบริษัทสูง ในบางกรณีหุ้นกู้ชนิดนี้อาจจะเป็นหนี้สินอันดับรองของบริษัท (subordinated or junior debt) หมายความว่าถ้าบริษัทล้มละลาย ผู้ถือหุ้นกู้จะได้รับชำระหนี้หลังจากที่บริษัทชำระหนี้ให้แก่หนี้สินอันดับแรกแล้ว (senior debt)
  3. หุ้นกู้ที่จดทะเบียนชื่อผู้ถือ (registered bond) บริษัทจะจดทะเบียนชื่อที่อยู่ของผู้ถือหุ้นกู้ไว้ การจ่ายดอกเบี้ยจะกระทำโดยการส่งเช็คทางไปรษณีย์ การโอนหุ้นกู้จะต้องแจ้งให้บริษัททราบเพื่อแก้ไขในสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นกู้
  4. หุ้นกู้ที่ออกให้แก่ผู้ถือ (coupon or bearer bond) หมายถึงหุ้นกู้ที่มิได้มีการจดทะเบียน ชื่อ และที่อยู่ของผู้ถือหุ้นกู้ไว้ที่บริษัท ผู้ที่มีใบหุ้นไว้ในครอบครองคือผู้ถือหุ้นกู้ หุ้นกู้ชนิดนี้จะมีบัตรรับดอกเบี้ยทุกๆงวด ตลอดอายุหุ้นกู้แนบติดกับใบหุ้น ในบัตรรับดอกเบี้ยจะระบุวันจ่ายดอกเบี้ยและจำนวนเงิน เมื่อครบกำหนดจ่ายดอกเบี้ยแต่ละครั้ง ผู้ถือหุ้นกู้จะดึงบัตรรับดอกเบี้ยใบนั้นออกจากใบหุ้น เซ็นชื่อสลักหลัง แล้วส่งให้ธนาคารเรียกเก็บเงินให้หรือนำไปรับดอกเบี้ยจากบริษัทด้วยตนเอง
  5. หุ้นกู้ที่ครบกำหนดไถ่ถอนในระยะเวลาต่างๆกัน (Serial bond) หมายถึงหุ้นกู้ที่มีวันไถ่ถอนแตกต่างกัน เพื่อไม่ให้บริษัทมีภาระที่จะต้องจ่ายเงินชำระหนี้ครั้งเดียวจำนวนมาก
  6. หุ้นกู้ที่บริษัทสงวนสิทธิที่จะไถ่ถอนคืนก่อนครบกำหนด (callable bond) หมายถึงหุ้นกู้ที่บริษัทอาจจะจ่ายคืนเงินต้นให้แก่ผู้ถือหุ้นกู้ก่อนวันครบกำหนด ซึ่งโดยปกติราคาไถ่ถอน (call price) จะต้องสูงกว่าราคามูลค่าหุ้น
  7. หุ้นกู้ที่เปลี่ยนเป็นหุ้นสามัญได้หรือหุ้นกู้แปลงสภาพ (convertible bond) หมายถึงหุ้นกู้ที่ผู้ถือหุ้นกู้มีสิทธิที่จะเปลี่ยนเป็นหุ้นสามัญได้เมื่อต้องการ การออกหุ้นกู้ชนิดนี้ก็เพื่อจูงใจให้มีผู้ลงทุนซื้อหุ้นกู้ของบริษัท ผู้ถือหุ้นกู้เมื่อพิจารณาว่าอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ได้รับต่ำกว่าอัตราเงินปันผลหุ้นสามัญก็อาจจะใช้สิทธิเปลี่ยนหุ้นกู้เป็นหุ้นสามัญเพื่อจะได้มีส่วนในกำไรสุทธิของบริษัท

การโอนหุ้นกู้

การโอนหุ้นกู้ชนิดระบุซึ่งผู้ถือจะถือว่าสมบูรณ์เมื่อผู้โอนได้สลักหลังใบหุ้นกู้ โดยระบุชื่อผู้รับโอน มีการโอนหุ้นกู้ลายมือชื่อของผู้โอนกับผู้รับโอน และส่งมอบใบหุ้นกู้ให้แก่ผู้รับโอน การโอนหุ้นกู้นี้จะใช้ยันกับบริษัทได้เมื่อบริษัทได้รับคำร้องขอให้ลงทะเบียนการโอนหุ้นกู้แล้ว แต่จะใช้ยันกับบุคคลภายนอกได้เมื่อบริษัทได้ลงทะเบียนการโอนหุ้นกู้แล้ว ในการนี้ให้บริษัทลงทะเบียนการโอนหุ้นกู้ภายในเจ็ดวันนับแต่วันได้รับคำร้องขอนั้น

ในกรณีที่ผู้รับโอนประสงค์จะได้ใบหุ้นกู้ใหม่ ให้ร้องขอต่อบริษัทโดยทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อของผู้รับโอนหุ้นกู้ และมีพยานหนึ่งคนเป็นอย่างน้อยลงลายมือชื่อรับรองลายมือชื่อนั้น พร้อมทั้งคืนใบหุ้นกู้เดิมหรือหลักฐานอื่นให้แก่บริษัท ในการนี้ให้บริษัทลงทะเบียนการโอนหุ้นกู้ภายในเจ็ดวันนับแต่วันได้รับคำร้องขอ และให้บริษัทออกใบหุ้นกู้ให้ใหม่ภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันได้รับคำร้องขอนั้น ส่วนการโอนหุ้นกู้ชนิดไม่ระบุชื่อผู้ถือ กระทำโดยการส่งมอบใบหุ้นกู้ให้แก่ผู้รับโอน ในกรณีที่บริษัทออกหุ้นกู้ทั้งชนิดระบุชื่อผู้ถือและชนิดไม่ระบุชื่อผู้ถือ ผู้ถือหุ้นกู้ชนิดหนึ่งมีสิทธิขอเปลี่ยนเป็นหุ้นกู้อีกชนิดหนึ่งได้ เมื่อได้ส่งมอบใบหุ้นกู้ที่ตนถือให้แก่บริษัทแล้ว และให้บริษัทออกใบหุ้นกู้ให้ใหม่ภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันส่งมอบ

ทะเบียนผู้ถือหุ้นกู้

ทะเบียนผู้ถือหุ้นกู้  บริษัทที่ออกหุ้นกู้ต้องจัดให้มีทะเบียนผู้ถือหุ้นซึ่งอย่างน้อยต้องมีรายการดังต่อไปนี้

  1. ชนิด มูลค่า เลขที่ใบหุ้นกู้ จำนวนหุ้นกู้ และจำนวนเงิน
  2. วันชำระดอกเบี้ยหุ้นกู้
  3. วันไถ่ถอนหุ้นกู้

ในกรณีที่ออกหุ้นกู้ชนิดระบุชื่อผู้ถือ ต้องมีรายการ ชื่อ วัน เดือน ปีเกิด สัญชาติ และที่อยู่ของผู้ถือหุ้นกู้ และวันเดือนปีที่เป็นหรือขาดจากการเป็นผู้ถือหุ้นกู้ด้วย การเก็บรักษาทะเบียนผู้ถือหุ้นกู้ให้กระทำเช่นเดียวกับการเก็บรักษาทะเบียนผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิและหุ้นสามัญของบริษัทจำกัด

อ่านบทความทั้งหมด >>> pangpond.com

217350
ฟุตซอลเล่นอยู่ในเวลากี่นาที
220468
เปิดบัญชีธนาคาร
ภาษีหักณที่จ่าย
บทความแนะนำ หมวดหมู่: เศรษฐกิจ
จำนวนคอมเมนต์ของโพสต์ ID 163608: 1514