อักษรไทย
อักษรไทย คือ เครื่องหมายที่ใช้เขียนแทนเสียงในภาษาไทย ประกอบด้วย รูปพยัญชนะ ,รูปสระ และรูปวรรณยุกต์ ซึ่งให้แทนเสียงพยัญชนะ ,เสียงสระ และเสียงวรรณยุกต์ ตามลำดับ หากพูดถึงพยัญชนะไทยนั้นจะมีทั้งหมด 44 รูป 21 เสียง โดยมีรายละเอียดดังนี้
- อักษรไทย
พยัญชนะไทย 44 รูป 21 เสียง ดังนี้
- รูป ก ออกเสียง ก
- ตัวอย่างเช่น กับ ,กา ,ไก่ ,กิน ,กลอง เป็นต้น
- รูป ค ออกเสียงคล้ายรูป ข ฃ ค ฅ ฆ
- ตัวอย่างเช่น ขวด ,ขิง ,คิงคอง ,คิด ,ระฆัง เป็นต้น
- รูป ง ออกเสียง ง
- ตัวอย่างเช่น งก ,งู ,งาน ,เงย เป็นต้น
- รูป จ ออกเสียง จ
- ตัวอย่างเช่น จาน ,ใจ ,จาม ,จันทร์ เป็นต้น
- รูป ช ออกเสียงคล้ายรูป ช ฌ ฉ
- ตัวอย่างเช่น ชาม ,ฌาน ,ฉิ่ง ,ฉาบ เป็นต้น
- รูป ซ ออกเสียงคล้ายรูป ซ ศ ษ ส
- ตัวอย่างเช่น โซ่ ,โซเซ ,เศษ ,เสือ ,สาป ,ทศกัณฐ์ เป็นต้น
- รูป ด ออกเสียงคล้ายรูป ด ฎ
- ตัวอย่างเช่น เด็ก ,ดูด ,กฎ ,ชฎา เป็นต้น
- รูป ต ออกเสียงคล้ายรูป ต ฏ
- ตัวอย่างเช่น ตาม ,ไต ,ปฏิบัติ เป็นต้น
- รูป ท ออกเสียงคล้ายรูป ท ธ ฑ ฒ ถ ฐ
- ตัวอย่างเช่น ทำ ,เธอ ,เฒ่า ,ถุง ,ฐาน เป็นต้น
- รูป น ออกเสียงคล้ายรูป น ณ
- ตัวอย่างเช่น นาน ,นัยน์ตา ,ณรงค์ ,เณร เป็นต้น
- รูป บ ออกเสียง บ
- ตัวอย่างเช่น บาน ,ใบ ,บันได เป็นต้น
- รูป ป ออกเสียง ป
- ตัวอย่างเช่น ไป ,ปีน ,ป้า เป็นต้น
- รูป พ ออกเสียงคล้ายรูป พ ภ ผ
- ตัวอย่างเช่น พบพาน ,ภรรยา ,ภัย ,ผึ้ง ,ไผ่ เป็นต้น
- รูป ฟ ออกเสียงคล้ายรูป ฟ ฝ
- ตัวอย่างเช่น ไฟ ,ฟัน ,ไฝ่ฝัน เป็นต้น
- รูป ม ออกเสียง ม
- ตัวอย่างเช่น ม้า ,มากมาย ,มุก ,เมฆ เป็นต้น
- รูป ร ออกเสียง ร
- ตัวอย่างเช่น รอ, รัก ,เรี่ยไร เป็นต้น
- รูป ย ออกเสียงคล้ายรูป ย ญ
- ตัวอย่างเช่น ยักษ์ ,ยาก ,ใหญ่ เป็นต้น
- รูป ล ออกเสียงคล้ายรูป ล ฬ
- ตัวอย่างเชน เวลา ,ลักษณะ ,นาฬิกา เป็นต้น
- รูป ว ออกเสียง ว
- ตัวอย่างเช่น วันวาน ,ไว ,วิ่ง เป็นต้น
- รูป ฮ ออกเสียงคล้ายรูป ฮ ห
- ตัวอย่างเช่น นกฮูก ,เฮฮา ,หอ ,หัก เป็นต้น
- รูป อ ออกเสียง อ
- ตัวอย่างเช่น ไอ ,อวบ ,อ้วน เป็นต้น
ส่วนสระมีทั้งหมด 21 รูป 32 เสียง โดยมีรายละเอียดดังนี้
21 รูป ประกอบด้วย
- ะ เรียกว่า วิสรรชนีย์ ตัวอย่างเช่น อะไร ,ละลาน ,ละลาย เป็นต้น
- อั เรียกว่า ไม้หันอากาศ ตัวอย่างเช่น คัน ,ปั่น ,วันจันทร์ เป็นต้น
- อ็ เรียกว่า ไม้ไต่คู้ ตัวอย่างเช่น เกร็ง ,เซ็ง ,เสร็จ เป็นต้น
- า เรียกว่า ลากข้าง ตัวอย่างเช่น ตา ,ยาย ,อา เป็นต้น
- อิ เรียกว่า พินท์ุอิ ตัวอย่างเช่น กิน ,พิง ,ปลิง เป็นต้น
- ่ เรียกว่า ฝนทอง ใช้กับชื่อเฉพาะหรือคำที่ต้องการเน้น ตัวอย่างเช่น ประโยคที่ว่า การนำพยัญชนะทางภาษาศาสตร์มารวมกันเพื่อให้เกิดความหมาย เราเรียกว่า ‘การผสมคำ’ คำว่าผสมคำเป็นคำที่ต้องการเน้นจึงใส่ ‘ ฝนทองกำกับไว้
- อํ เรียกว่า นิคหิตหรือหยาดน้ำค้าง ไม่ค่อยพบเห็นในปัจจุบัน
- “ เรียกว่า ฟันหนู ใช้สำหรับต้องการเน้นคำพูด ตัวอย่างเช่น พ่อบอกว่า “แม่ออกไปธุระข้างนอก” ใช้ฟันหนูเพื่อกำกับประโยคที่เป็นคำพูด
- อุ เรียกว่า ตีนเหยียด ตัวอย่างเช่น ฟันผุ ,ทะลุ ,จุดพลุ เป็นต้น
- อู เรียกว่า ตีนคู้ ตัวอย่างเช่น ปู่ ,พูด ,บริบูรณ์ เป็นต้น
- เ เรียกว่า ไม้หน้า ตัวอย่างเช่น เคลม ,เกมส์ ,เปรมปรีดิ์ เป็นต้น
- ใ เรียกว่า ไม้ม้วน ตัวอย่างเช่น ใจ ,ใช้ ,ใหญ่ เป็นต้น
- ไ เรียกว่า ไม้มลาย ตัวอย่างเช่น ไป ,ไกล ,กลไก เป็นต้น
- โ เรียกว่า ไม้โอ ตัวอย่างเช่น โม้ ,ขโมย ,โต เป็นต้น
- อ เรียกว่า ตัวออ ตัวอย่างเช่น รอย ,คอ ,กลอน เป็นต้น
- ย เรียกว่า ตัวยอ ตัวอย่างเช่น อยู่ อย่าง อยาก เป็นต้น
- ว เรียกว่า ตัววอ ตัวอย่างเช่น กวน ,อ้วน ,ท้วม เป็นต้น
- ฤ เรียกว่า ตัวรึ ตัวอย่างเช่น คฤหาสน์ ,พฤหัสบดี ,หฤทัย เป็นต้น
- ฤๅ เรียกว่า ตัวรือ ตัวอย่างเช่น ฤาษี เป็นต้น
- ฦ เรียกว่า ตัวลึ ปัจจุบันเลิกใช้แล้ว
- ฦๅ เรียกว่า ตัวลือ ปัจจุบันเลิกใช้แล้ว
32 เสียง ประกอบด้วย
- อะ ตัวอย่างเช่น กะทะ ,ปะทะ ,ฝ้ากระ เป็นต้น
- อา ตัวอย่างเช่น การบ้าน ,บานปลาย ,จาม ,พา เป็นต้น
- อิ ตัวอย่างเช่น พระอินทร์ ,กิน ,ชิน ,ปิติ เป็นต้น
- อี ตัวอย่างเช่น ปีน ,ภาษาจีน ,ชีวิต ,มีดี ,ศรี เป็นต้น
- อึ ตัวอย่างเช่น ตึก ,กึ๋น ,บึกบึน เป็นต้น
- อือ ตัวอย่างเช่น คือ ,กิ้งกือ ,จือปาก ,กระบือ เป็นต้น
- อุ ตัวอย่างเช่น กินจุ ,ขรุขระ ,อุกกาบาต ,ดุดัน เป็นต้น
- อู ตัวอย่างเช่น ปู่ ,ประตู ,จูบ ,ชาบู เป็นต้น
- เอะ ตัวอย่างเช่น เละเทะ ,เกะกะ ,เอะอะ ,เตะ เป็นต้น
- เอ ตัวอย่างเช่น เกเร ,ทะเล ,โลเล ,เวหา เป็นต้น
- แอะ ตัวอย่างเช่น แคะ ,แทะ ,แกะ ,และ ,แพะ เป็นต้น
- แอ ตัวอย่างเช่น แม่ ,แอร์ ,ตุ๊กแก ,แบ ,แก เป็นต้น
- โอะ ตัวอย่างเช่น โป๊ะแตก ,โก๊ะตี๋ ,โละ ,โบะ เป็นต้น
- โอ ตัวอย่างเช่น โมโห ,โลเล ,โอ้โห ,โต ,โบว์ เป็นต้น
- เอาะ ตัวอย่างเช่น ทะเลาะ ,กะเทาะ ,เบาะ ,เกาะ ,เจาะ เป็นต้น
- ออ ตัวอย่างเช่น คลอง ,กลอง ,ฉลอง ,คอ ,ตอ ,งอ เป็นต้น
- เออะ ตัวอย่างเช่น เจอะ ,เลอะเทอะ ,เยอะ เป็นต้น
- เออ ตัวอย่างเช่น เธอ ,เบลอ ,เบอร์ ,เจอ ,ละเมอ เป็นต้น
- อัว ตัวอย่างเช่น กลัว ,มัว ,ผัว ,หัว ,วัว ,บัว ,ตัว เป็นต้น
- เอีย ตัวอย่างเช่น เมีย ,เพลีย ,เบียร์ ,เสีย ,เจีย ,เลีย เป็นต้น
- เอือ ตัวอย่างเช่น เกลือ ,เบื่อ ,เสือ ,เรือ ,มะเขือ ,จุนเจือเป็นต้น
- อัวะ ตัวอย่างเช่น ผัวะ ,ยัวะ ,จัวะ เป็นต้น
- เอียะ ตัวอย่างเช่น เกียะ ,เพียะ ,เดียะ เป็นต้น
- เอือะ ตัวอย่างเช่น เกือะ ,เขือะ ,เอือะ เป็นต้น
- อำ ตัวอย่างเช่น กำ ,ตำ ,ดำ ,รำ เป็นต้น
- ใอ ตัวอย่างเช่น ใบ ,ใส ,ใจ ,ใน เป็นต้น
- ไอ ตัวอย่างเช่น ไข ,ไป ,ไร ,ไอ เป็นต้น
- เอา ตัวอย่างเช่น เกา ,เรา , เสา ,เตา เป็นต้น
- ฤ ตัวอย่างเช่น ฤดี
- ฤๅ ตัวอย่างเช่น ฤๅษี
- ฦ ปัจจุบันไม่ได้ใช้แล้ว
- ฦๅ ปัจจุบันไม่ได้ใช้แล้ว
และวรรณยุกต์มีทั้งหมด 4 รูป 5 เสียง
- เสียงสามัญ ไม่มีรูปมีแต่เสียง ตัวอย่างเช่นคำว่า อา
- เสียงเอก เรียกว่า ไม้เอก ตัวอย่างเช่นคำว่า อ่า
- เสียงโท เรียกว่า ไม้โท ตัวอย่างเช่นคำว่า อ้า
- เสียงตรี เรียกว่า ไม้ตรี ตัวอย่างเช่นคำว่า อ๊า
- เสียงจัตวา เรียกว่า ไม้จัตวา ตัวอย่างเช่นคำว่า อ๋า
- อักษรไทย 44 ตัว
ซึ่งลำดับการเรียงพยัญชนะจะเริ่มต้นด้วย พยัญชนะ กอไก่ เป็นตัวที่ 1 และพยัญชนะไทยตัวที่ 44 คือ ฮอนกฮูก ซึ่งเราจะมาเจาะลึกถึงองค์ประกอบของอักษรไทยว่าจะประกอบไปด้วยอะไรบ้าง
หลายคนอาจสงสัย อักษรไทยมีกี่ตัว หรือภาษาไทยมีกี่ตัว คำว่าอักษรไทยมีความหมายเดียวกันกับคำว่าพยัญชนะไทยหรือเปล่า วันนี้เราจะมาไขข้อข้องใจกันให้กระจ่าง
- อักษรไทย
พยัญชนะไทยเป็นองค์ประกอบของอักษรไทย เพราะอักษรไทยประกอบไปด้วย 3 ส่วน คือ พยัญชนะ ,สระ และวรรณยุกต์ ดังกล่าวข้างต้น โดยทั้ง 3 ส่วนทำหน้าที่ต่างกัน และเมื่อนำ 3 ส่วนนี้มาผสมเข้าด้วยกันจะเกิดเป็นพยางค์ หลายๆ พยางค์จะเกิดเป็นคำ หลายๆ คำก็จะเกิดเป็นประโยคในที่สุด
หน้าที่ของพยัญชนะ ประกอบด้วย 2 ส่วนใหญ่ๆ ซึ่งวิธีการแยกส่วนนั้นไม่ใช่เป็นการเรียงvพยัญชนะและตัดทอนเป็นส่วนๆ แต่ใช้วิธีดูจากบริบทและหน้าที่ของพยัญชนะนั้นๆ ดังต่อไปนี้
- เป็นพยัญชนะต้น 21 เสียง แบ่งออกเป็น 2 ส่วน
1.1 พยัญชนะต้นประสม หรือที่เรียกว่าพยัญชนะควบกล้ำแท้ เช่นคำว่า คลอง ,กลับ ,กลาง ,ตรัง เป็นต้น
1.2 พยัญชนะต้นเดี่ยว หรือที่เรียกว่าพยัญชนะไม่ควบกล้ำ หรือควบกล้ำไม่แท้ เช่นคำว่า บ้าน ,รัก ,ทราย ,ทราบ เป็นต้น
- เป็นพยัญชนะท้าย หรือที่เรียกว่าเป็นตัวสะกด ประกอบด้วย 8 เสียง ดังนี้ กก ,กง ,กด ,กบ ,กน ,กม ,เกย และเกอว ตัวอย่างเช่น ปัก ,แรง ,แปด ,กลับ ,นาน ,แต้ม ,เฉย ,เปรี้ยว ,เปลว เป็นต้น
ซึ่ง 8 ตัวสะกดนี้ยังสามารถแบ่งออกเป็น 2 มาตรา คือ ตัวสะกดตรงมาตรา และตัวสะกดไม่ตรงมาตรา
– ตัวสะกดตรงมาตรา ได้แก่ กง กม เกย เกอว เช่นคำว่า โรง ,สาม ,สวย ,เปรี้ยว เป็นต้น
– ตัวสะสดไม่ตรงมาตรา ได้แก่ กก กด กบ กน เช่นคำว่า โรค ,พิษ ,ภาพ ,บุญ เป็นต้น
หน้าที่ของสระ ประกอบด้วย 2 ข้อ ดังต่อไปนี้
- สระแท้ จะมีทั้งสระเสียงสั้น และสระเสียงยาว
สระเสียงสั้น เช่น อะ อิ อุ อึ
ยกตัวอย่าง กะทะ ,ปิติ ,ดุ ,บึกบึน เป็นต้น
สระเสียงยาว เช่น อา อี อู อื
ยกตัวอย่าง ตา ,มีดี ,เชิดชู ,มือถือ เป็นต้น
- สระประสม เป็นการผสมกันระหว่างสระเสียงสั้นและสระเสียงยาว เช่น อัวะ อัว ,เอียะ เอีย
ยกตัวอย่าง ผัวะ ,เพียะ ,เสีย ,เพลีย เป็นต้น
หน้าที่ของวรรณยุกต์ จะเสมือนเป็นเสียงในภาษาไทย หรือที่หลายๆ คนเรียกหน้าที่ของวรรณยุกต์ว่าเป็นเสียงดนตรี จะประกอบไปด้วย เสียงสามัญ เสียงเอก เสียงโท เสียงตรี และเสียงจัตวา มีทั้งหมด 4 รูป 5 เสียง ดังตัวอย่างข้างล่างนี้
- ตัวอักษรไทย
- เสียงสามัญ เช่นคำว่า ปา
- เสียงเอก เช่นคำว่า ป่า
- เสียงโท เช่นคำว่า ป้า
- เสียงตรี เช่นคำว่า ป๊า
- เสียงจัตวา เช่นคำว่า ป๋า
สำหรับเสียงสามัญจะไม่ปรากฎรูป การใช้วรรณยุกต์ที่ต่างกัน ส่งผลให้การอ่านออกเสียงและความหมายของคำเปลี่ยนไป เช่นคำว่า ปา ป่า ป้า ป๊า ป๋า แค่เปลี่ยนเครื่องหมายวรรณยุกต์ ทั้งการอ่านออกเสียงและความหมายของคำต่างกันโดยสิ้นเชิง
การเรียงลำดับตัวอักษรไทย จะเรียงตามรูปไม่ใช่เรียงตามเสียง เช่นคำว่า หนา อยู่หมวด ห ไม่ใช่ หมวด น ซึ่งสามารถนำตัวอักษรไปเทียบกับตารางพยัญชนะที่เรียง ก-ฮ เพื่อดูลำดับตัวอักษรไทย และอย่างที่อธิบายถึงอักษรไทยไว้ข้างต้นสามารถตอบคำถามที่ว่า “ตัวอักษรไทยมี่กี่ตัว” คำตอบคือ มีพยัญชนะ 44 ตัว ,สระ 21 ตัว และวรรณยุกต์ 4 ตัว
พยัญชนะไทย 44 ตัวแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ รูปพยัญชนะ และเสียงพยัญชนะ สามารถแบ่งออกเป็น 3 หมู่ เรียกว่า ไตรยางศ์ ประกอบด้วย
– อักษรสูง มี 11 ตัว ได้แก่ ข ฃ ฉ ฐ ถ ผ ฝ ศ ษ ส ห
ยกตัวอย่างคำเช่น ไข่ ,ฃ(ขวด) ,ฉิ่ง ,ฐาน ,ถุง ,ผึ้ง ,ฝา ,เศรษฐี ,สาป ,หาย เป็นต้น
– อักษรกลาง มี 9 ตัว ได้แก่ ก จ ฎ ฏ ด ต บ ป อ
ยกตัวอย่างคำเช่น ก่อ ,จำ ,ดุ ,ตาม ,บิน ,ไป ,อาบ เป็นต้น
– อักษรต่ำ มี 24 ตัว แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ อักษรต่ำคู่ และอักษรต่ำเดี่ยว
อักษรต่ำคู่ มี 14 ตัว ได้แก่ ค ฅ ฆ ช ฌ ฑ ฒ ท ธ พ ฟ ภ ซ ฮ
ยกตัวอย่างคำเช่น คัน ,ชัก ,พาน ,ภูมิ ,ธง เป็นต้น
อักษรต่ำเดี่ยว มี 10 ตัว ได้แก่ ง ญ ณ น ม ย ร ล ฬ ว
ยกตัวอย่างคำเช่น งมงาย ,นา ,มา ,รัก ,ยักษ์ ,ลาน ,วันวาน เป็นต้น
หน้าที่สำคัญของพยัญชนะไทย คืออะไร
๑. เป็นพยัญชนะต้น คือ พยัญชนะซึ่งอยู่ต้นพยางค์ พยัญชนะทุกตัวทำหน้าที่เป็นพยัญชนะต้นได้
๒. เป็นตัวสะกด คือ พยัญชนะที่อยู่ท้ายพยางค์มี ๘ เสียง เรียกว่ามาตราสะกด ได้แก่
แม่กน มี น เป็นตัวสะกด และตัวอื่นทำหน้าที่เป็นตัวสะกดแทนได้ ได้แก่ น ญ ณ ร ล
แม่กง มี ง เป็นตัวสะกด
แม่กม มี ม เป็นตัวสะกด
แม่เกอว มี ว เป็นตัวสะกด
แม่กก มี ก เป็นตัวสะกด และตัวอื่นทำหน้าที่เหมือนตัว ก ได้แก่ ก ข ค ฆ
แม่กด มี ด เป็นตัวสะกดและตัวอื่นทำหน้าที่เหมือนตัว ด ได้แก่ ด จ ช ซ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ด ถ ท ธ
แม่กบ มี บ เป็นตัวสะกด และตัวอื่นทำหน้าที่เหมือนตัว บ ได้แก่ บ ป พ ฟ ภ
เสียงพยัญชนะท้ายพยางค์หรือพยัญชนะสะกด เช่น
/ก/ มัก มรรค สุก สุด เมฆ /ด/ บาท ชาติ คาด กฎหมาย ปรากฏ
/บ/ บาป พาบภาพ ลาภ กราฟ /ง/ ทาง องค์
/น/ กาน บริเวณ เรียน กาล กาฬ /ม/ คำ ธรรม
/ย/ ได ใย ชัย อาย /ว/ เสา สาว
๓. เป็นตัวการันต์ คือ พยัญชนะที่อยู่ท้ายแต่ไม่ออกเสียงส่วนมากมาจากภาษาอื่น
๔. เป็นตัวอักษรควบ คือ พยัญชนะที่ออกเสียงกล้ำกับ ร ล ว
๕. เป็นอักษรนำ คือ พยัญชนะ ๒ ตัวประสมกันสระเดียวกันแต่ออกเสียง ๒ พยางค์
๖. พยัญชนะที่เป็นรูปสระด้วย คือ ย ว อ
๗. พยัญชนะอัฒสระ คือ พยัญชนะที่มีเสียงกึ่งสระ ได้แก่ ย (อิ อี) ร (ฤ ฤา) ล (ฦ ฦา) อ (อุ อู )
๘. พยัญชนะที่ไม่ใช้เป็นตัวสะกด ได้แก่ ฌ ฉ ผ ฝ ห อ ฮ (ฃฅ)
๙. พยัญชนะทีทำไม่ใช้ในปัจจุบัน คือ ฃ ฅ
วิวัฒนาการของอักษรไทย ประดิษฐ์ตัวอักษรไทยขึ้น เพื่ออะไร
พ่อขุนรามคำแหงมหาราชได้ทรงประดิษฐ์ตัวอักษรไทยขึ้นใช้ ที่เรียกว่า “ลายสือไทย” ลายสือไทยที่ทรงประดิษฐ์ขึ้นนี้ได้ดัดแปลงมาจากตัวอักษรขอม โดยพยายามให้ลักษณะของตัวอักษรสามารถเขียนได้ง่ายขึ้น ทรงกำหนดได้วางรูปสระไว้ให้อยู่ในบรรทัดรวมกับตัวพยัญชนะทั้งหมดเช่นเดียวกับแบบอย่างตัวอักษรของโรมัน และทรงคิดให้มีวรรณยุกต์กำกับเสียงด้วยอันเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นของภาษาไทย จนถึงทุกวันนี้