สุนทรภู่
ประวัติสุนทรภู่
ท่านสุนทรภู่ ครูกวีเอกศรีแผ่นดินของประเทศไทย ประวัติสุนทรภู่ คือ กวี 4 รัชกาลแผ่นดินของกรุงรัตนโกสินทร์ มีชื่อเดิมตั้งแต่กำเนิดว่า “ภู่” ท่านเกิดวันวันจันทร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2329 (เดือน 8 ขึ้น 1ค่ำ) ตรงกับปีมะเมีย หลังการตั้งราชธานีกรุงรัตนโกสินทร์ได้เพียง 4 ปีเท่านั้นตรงกับในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก หรือในสมัยรัชกาลที่ 1 ทำให้ทุกๆวันที่ 26 มิถุนายนของทุกๆปี ถูกกำหนดให้เป็นวันสุนทรภู่ บิดาและมารดาของท่านเป็นชาวบ้านกร่ำ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง
- สุนทรภู่
สุนทรภู่เป็นนักประพันธ์กวีที่มีชื่อเสียง ในช่วงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย หรือในสมัยรัชกาลที่ 2 เป็นยุครุ่งเรื่องยุคทองของวรรณกรรมไทย จากการประพันธ์บทกลอนนิทาน บทกลอนนิราศ ตำแหน่งของสุนทรภู่ เคยได้รับราชการในตำแหน่งอาลักษณ์ราชสำนัก ผลงานสุนทรภู่ทางด้านวรรณคดีของสุนทรภู่ ที่โด่งดังและเป็นที่รู้จักมากมาย มากด้วยอัจฉริยะความสามารถในการแต่งบทประพันธ์ เป็นวรรณกรรมที่มีคติสอนใจมากมาย นั้นก็คือพระอภัยมณี บทเสภาขุนช้างขุนแผน และนิราศที่มีชื่อเสียงในวรรณคดีไทยอีกมากมาย ประวัติของสุนทรภู่ หากได้ ศึกษาเรื่องสุนทรภู่ ผลงานที่แต่งกลอนสุนทรภู่ หรือ คำกลอนสุนทรภูมิสอนใจต่างๆ หลายๆผลงานของท่าน มาจากชีวประวัติสุนทรภู่เองที่ได้ถ่ายทอดออกมาเป็นบทกวี สุนทรภู่พบเจอทั้งเรื่องราวสุข ทุกข์ปะปนกันไป
ประวัติผู้แต่งนิราศภูเขาทอง
สุนทรภู่ คือ ประวัติผู้แต่งนิราศภูเขาทอง นิราศเรื่องนี้ ถูกแต่งขึ้นเมื่อในปลายๆปีพุทธศักราช 2373 ตรงกับในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือในสมัยรัชกาลที่ 3 โดยหลังจากที่รัชกาลที่ 2 คือ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้ทรงสวรรคตลงเพียง 6 ปี สุนทรภู่ได้ออกผนวชเป็นพระภิกษุสงฆ์ อยู่ที่ ณ วัดราชบุรณะ หรือเรียกกันสั้นๆอีกชื่อว่า วัดเลียบ จากการแต่งนิราศ ลักษณะของบทกลอนบทประพันธ์ มีความคล้ายคลึงกันมากกับบทคำกลอนสุภาพ แต่มีความยาวเพียง 89 คำกลอนเท่านั้น นิราศของสุนทรภู่ให้ความไพเราะ มีเสน่ห์ของการนำถ้อยคำทางภาษามาร้อยเรียงให้เกิดเป็นคำสัมผัสภายในและภายนอกกัน
ซึ่งเป็นบทกลอนที่เรียบง่าย ภาษาที่สุนทรภู่เลือกใช้ในการแต่งแต่บทประพันธ์นั่น ช่วยทำให้ผู้อ่านหรือผู้ฟังในทุกยุคในทุกสมัย เกิดความเข้าใจได้อย่างง่ายดาย เกิดการจินตนาการเห็นภาพตามที่สุนทรภู่ท่านต้องการสื่อได้อย่างชัดเจน บทประพันธ์นิราศภูเขาทอง เป็นเรื่องราวของการบรรยายถึงความรู้สึกถ่ายทอดอารมณ์ สภาพของเส้นทางที่กำลังเดินทาง และในขณะเดียวกันก็เล่าถึงเรื่องของท่านเองเป็นการเปรียบเทียบชีวิตของท่านในโชคชะตาที่ได้ภพประสบ กับสภาพของธรรมชาติรอบๆข้างของการเดินทาง ที่กำลังผ่านไป ยกตัวอย่างเช่น บทกลอนท่อนหนึ่งเป็นข้อคิดเรื่องของการเจรจาและคำพูด
กลอนนิราศภูเขาทอง
ถึงบางพูดพูดดีเป็นศรีศักดิ์ มีคนรักรสถ้อยอร่อยจิต
แม้นพูดชั่วตัวตายทำลายมิตร จะชอบผิดในมนุษย์เพราะพูดจา
นิราศเรื่องแรกของไทย
สำหรับเกร็ดความรู้เรื่องของนิราศ นั้น ความหมายของ นิราศ คือ การพลัดพราก การจาก ข้อมูลในทางฉันทลักษณ์ เป็นบทประพันธ์ที่พรรณนาการจากถิ่นที่เคยอยู่อาศัยไปยังในสถานที่ในดินแดนต่างๆที่ไม่คุ้นเคย มีองค์ประกอบที่เป็นลักษณะเด่นๆ คือ ต้องบรรยายในสิ่งที่ได้พบหรือเจอตลอดของการเดินทาง มีการเปรียบเทียบ เปรียบเปรยพรรณนาถึงชีวิตตนเอง การพลัดพรากจากคนอันเป็นที่รัก จากกันไกลจากยอดดวงใจ หรือภรรยา เป็นการเปรียบเทียบเรื่องราวความในใจของผู้เขียนกับธรรมชาติ ในเรื่องของความรัก เรื่องของความทุกข์ เรื่องของชะตาชีวิต พร้อมๆกับการสอดแทรกเรื่องของความคิด ความรู้สึกต่างๆ เพื่อนำมาเชื่อมโยงสิ่งที่พบเห็นระหว่างการเดินทาง และแต่งเป็น บทกลอนนิราศ
ซึ่งนิราศเรื่องแรกของไทย ที่กวีได้ประพันธ์เอาไว้ ตั้งแต่ในสมัยอาณาจักรอยุธยา ไม่ปรากฏชื่อของกวีที่ชัดเจนในการแต่ง แต่จากการสันนิฐานทางข้อมูลทางประวัติศาสตร์ น่าจะตรงกับในรัชสมัยของพระเจ้าปราสาททอง ในราวพุทธศักราช 2181 คือ “โคลงหริภุญชัย”
กวีเอกของโลก
- กวีเอกของโลก
พระสุนทรโวหาร หรือ ท่านสุนทรภู่ ได้รับการยกย่อง ให้เป็น กวีเอกของโลกปี หรือ “เชกสเปียร์แห่งประเทศไทย” ซึ่งในปีพุทธศักราช 2529 ท่านสุนทรภู่ได้รับการยกย่องจาก องค์การยูเนสโก (UNESCO) องค์การเพื่อการศึกษา ทางวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ ให้เป็นบุคคลสำคัญของโลกในด้านงานวรรณกรรม ในโอกาสการครบรอบ 200 ปี โดยนับจากในปีที่ท่านสุนทรภู่กำเนิดนั้นเอง จากประวัติสุนทรภูมิอย่างละเอียดนั้น ท่านได้เป็นผู้ร่วมประพันธ์ ผลงานมากมายในช่วงยุคทองแห่งวรรณกรรม ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย หรือในสมัยรัชกาลที่ 2 สุนทรภู่เป็นผู้แต่งสังข์ทอง แต่งเรื่องอิเหนา แต่งเรื่องขุนช้างขุนแผน และตามประวัติผู้แต่งรามเกียรติ์ ก็มีชื่อในผลงานสุนทรภู่ร่วมประพันธ์วรรณกรรมด้วยเช่นกัน
วรรณคดีที่สุนทรภู่แต่ง
นิราศเมืองแกลง (นิราศเรื่องแรกที่สุนทรภู่ประพันธ์) นิราศภูเขาทอง นิราศสุพรรณ นิราศพระบาท นิราศอิเหนา บทเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน เพลงยาวถวายโอวาท กาพย์พระไชยสุริยา สุภาษิตสอนหญิง (สุภาษิตสุนทรภู่ที่ถูกนำมาใช้เป็นในแบบเรียนวิชาภาษาไทยและตีพิมพ์เป็นหนังสือข้อคิดสอนใจการใช้ชีวิตของผู้หญิงมากมาย) เรื่องสุนทรภู่แต่งและได้รับความนิยมการยกย่องจากหน่วยงานวรรณคดีสโมสรให้เป็น “ยอดของวรรณคดีประเภทกลอนนิทาน” เนื่องจากเป็นผลงานกลอนที่สุนทรภู่แต่งบรรยายและถ่ายทอดในบทประพันธ์ด้านทักษะ ด้านความรู้ ด้านทัศนะของท่านสุนทรภู่อย่างมากๆ
วันสุนทรภู่
กำหนดให้วันสุนทรภู่ วันที่ 26 มิถุนายน ของทุกๆปี เพราะสุนทรภู่กวีเอกของโลก และเป็นกวีเอกของไทยตั้งแต่ในต้นอาณาจักรรัตนโกสินทร์จนถึงในปัจจุบัน มีวรรณคดีที่ได้รับการยกย่องจากกการประพันธ์ของท่านมากมาย จนได้รับว่าให้เป็นบุคคลที่ชื่อเสียงเชิงกวีเอกของโลก ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาผลงานสุนทรภู่ทั้งหมด คำสอน แง่คิดเชิงคุณธรรมต่างๆ ที่ได้ถูกสอดแทรกในบทประพันธ์ทางวรรณกรรมของท่าน ในปัจจุบันยังทันสมัยและใช้ได้จริงในสภาพสังคมปัจจุบัน
คำสอนการคบคน
“เจ้าของตาลรักหวานขึ้นปีนต้น ระวังตนตีนมือระมัดมั่น
เหมือนคบคนคำหวานรำคาญครัน ถ้าพลั้งพลันเจ็บอกเหมือนตกตาล”
จากบทประพันธ์ บางตอนของ : เรื่องนิราศพระบาท
- นิราศภูเขาทอง
คำสอนเรื่องการคบคน อย่าเลือกคบคนที่คอยใส่คำหวาน ซึ่งในความเป็นจริงแล้วเบื้องหลังของคำหวานจะมีมีมิตรภาพดีๆหรือมีสิ่งอื่นซ่อนเร้นอยู่หรือไม่
“แล้วสอนว่าอย่าไว้ใจมนุษย์ มันแสนสุดลึกล้ำเหลือกำหนด
ถึงเถาวัลย์พันเกี่ยวที่เลี้ยวลด ก็ไม่คดเหมือนหนึ่งในน้ำใจคน”
จากบทประพันธ์ บางตอนของ : เรื่องพระอภัยมณี
คำสอนเรื่องไม่ควรประมาท ไม่ให้ไว้ใจใครจนง่ายเกินไป เพราะจิตใจของบุคคลนั้น สามารถเปลี่ยนแปลงได้อยู่ตลอดเวลา ในบ้างครั้งแม้ว่าวันนี้เขาอาจจะทำดีกับเรา แต่พรุ่งนี้อาจแปลเปลี่ยนไปกลายเป็นร้ายไปในทันทีก็เป็นไปได้ ท่านสุนทรภู่ได้ประพันธ์บทกวี และเปรียบเทียบให้เห็นภาพอย่างชัดเจนในเรื่องของเถาวัลย์คดเคี้ยวและพันเกี่ยว ระหว่างจิตใจของคนที่ยากแท้ต่อการหยั่งถึง ยิ่งนัก
ผลงานสุนทรภู่สุภาษิตสอนหญิง
“มีสลึงพึงประจบให้ครบบาท อย่าให้ขาดสิ่งของต้องประสงค์
จงมักน้อยกินน้อยค่อยบรรจง อย่าจ่ายลงให้มากจะยากนาน
ไม่ควรซื้อก็อย่าไปพิไรซื้อ ให้เป็นมื้อเป็นคราวทั้งคาวหวาน
เมื่อพ่อแม่แก่เฒ่าชรากาล จงเลี้ยงท่านอย่าให้อดระทดใจ”
จากบทประพันธ์ บางตอนของ : สุภาษิตสอนหญิง
คำสอนเรื่องการให้อดออม การประหยัด เก็บออมเงินทอง ให้ใช้จ่ายแต่ตามกำลังและตามฐานะของตน เท่านั้น ไม่ให้ใช้จ่ายตามอย่างคนมีฐานะหรือตามอย่างคนร่ำรวย แต่เกินกำลังทรัพย์ของตนเองไป คือให้รู้จักมัธยัสถ์ ไม่อวดร่ำรวยนั้นเอง
สุนทรภูมิเกิดที่จังหวัดใด
แท้จริงแล้ว “พระสุนทรโวหาร” ท่านเป็นชาวกรุงเทพฯ โดยตั้งแต่กำเนิด สันนิษฐานกันว่า สถานที่ที่ท่านกำเนิดนั้น ในปัจจุบัน คือ แถวๆสถานีรถไฟบางกอกน้อย ย่านฝั่งธนบุรี แต่ด้วยสาเหตุที่ท่านสุนทรภู่ ได้มีความผูกพันและมีความเกี่ยวข้องกับท้องถิ่นในสถานที่ต่างๆในอำเภอแกลง ของจังหวัดระยอง และตามหลักฐานข้อมูลทางประวัติศาสตร์ มีการกล่าวกันว่า สาเหตุอีกหนึ่งประการหนึ่งก็คือ บิดาของท่านสุนทรภู่เป็นคนจังหวัดระยองที่บ้านกร่ำ ของอำเภอแกลงที่ตั้งอยู่ในปัจจุบันนั้นเอง จึงทำให้สร้างอนุสาวรีย์สุนทรภู่ เพื่อเป็นอนุสรณ์ให้แก่มหากวีสุนทรภู่ กวีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์
อนุสาวรีย์สุนทรภู่ ออกแบบและสร้างโดยท่านศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี มีพิธีเปิดอนุสาวรีย์และบวงสรวงอย่างเป็นทางการในวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2513 อนุสาวรีย์แห่งนี้ตั้งอยู่ที่ ถนนแกลง-แหลมแม่พิมพ์ ในตำบลกร่ำ ของอำเภอแกลง ณ จังหวัดระยอง ข้างๆอนุสาวรีย์รูปปั้นของท่านสุนทรภู่ที่ตั้งอยู่ตรงกลางและเป็นเสมือนประธานบนเนินที่ยกพื้นสูงขึ้นนั้น ส่วนของด้านล่างออกแบบเป็นบ่อน้ำ สร้างรูปปั้นประติมากรรม 3 ตัวละครเอกในวรรณกรรมที่มีชื่อเสียงโด่งดัง เรื่องพระอภัยมณี ได้แก่ พระอภัยมณี นางเงือก และนางผีเสื้อสมุทร
สรุปเรื่องสุนทรภู่
- สรุปเรื่องสุนทรภู่
ครูสุนทรภู่ คือ บุคคลที่มีความสำคัญของโลก ท่านเป็นกวีเอกมือหนึ่งของไทย ผู้สร้างวรรณคดีมากมาย และเพื่อเป็นการระลึกนึกถึงคุณงามความดี ผลงานที่มีคุณค่าของท่าน และเป็นการแสดงความกตัญญูต่อท่านสุนทรภู่ ครูภาษาไทยและวรรณคดีไทย จึงทำให้ทุกๆโรงเรียน ตลอดจนหน่วยงานต่างๆนั้น ได้จัดกิจกรรมสุนทรภู่ จัดบอร์ดนิทรรศการการให้ความรู้ ในเรื่องของวรรณคดีของสุนทรภู่ทั้งหมด, นิทานของสุนทรภู่ สุภาษิตคำสอนต่างๆ และสุนทรภู่นิราศที่สอดแทรกข้อคิด คุณธรรม ทัศนคติการสอนใจต่างๆลงไปในบทประพันธ์วรรณกรรมไทยด้วย ด้วยเหตุผลนี้ วันสุนทรภู่ วันที่ 26 มิถุนายน ของทุกปี จึงเป็นวันที่มีความสำคัญทางด้านวรรณกรรมของไทยในเรื่องของผลงานของสุนทรภู่ ประวัติสุนทรภู่ และการเชิดชูเกียรติคุณ ตลอดจนการส่งเสริมศิลปะการประพันธ์บทกวี เอกลักษณ์ทางด้านภาษาไทย
ความงดงามของการใช้ภาษา การเลือกใช้ถ้อยคำของบทกลอน ที่ถูกการถ่ายทอดออกมาเป็นตัวอักษรตัวหนังสือ ทำให้ผู้อื่นได้รับรู้และเห็นภาพตาม สามารถจินตนาการตามที่ท่านสุนทรภู่ได้ประพันธ์เอาไว้ เนื่องจากการใช้ภาษาของท่านเข้าใจง่าย ไม่มีความซับซ้อน เป็นถ้อยคำภาษาในเชิงเปรียบเทียบกับสภาพแวดล้อม กับวิถีชีวิตและวัฒนธรรมการเป็นอยู่ในสังคมรัตนโกสินทร์ในยุคตอนต้นได้อย่างชัดเจน นี่คงเป็นเสน่ห์ที่ทำให้ปทประพันธ์ของท่านสุนทรภู่มักถูกหยิบยกขึ้นมาสอน หยิบยกขึ้นมากล่าวถึง ตลอดจนการบรรจุเนื่อเรื่องบทประพันธ์ที่ท่านแต่งไว้ในเนื้อหาของหลักสูตรในบทเรียนทั้งระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษา และระดับอุดมศีกษา รวมถึงการตีพิมพ์ออกมาเป็นหนังสือต่างๆมากมาย จึงเป็นการสมควรอย่างยิ่งที่คนไทยรุ่นเราต้องอนุรักษ์ รักษาและคงสืบทอดไว้ซึ่งความสวยงามของทางวรรณคดีไทย ท่านครูกวีเอกของโลก ท่านสุนทรภู่ให้คงอยู่สืบนานเท่านานคู่กับเอกราชของชาติไทยตลอดไป