SDGs มาจาก Sustainable Development Goals หมายถึง การจัดทำเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
เริ่มต้นจากการประชุมสหประชาชาติ ครั้งที่ 2 ณ กรุงริโอ เดอ จาเนโร ประเทศบราซิล ในปี 1992 (2535) ประเทศสมาชิกต่างๆ ประชุมร่วมกันในหัวข้อว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา (Environment and Development) เพื่อเป็นแผนแม่บทของโลกสำหรับการดำเนินงานที่จะทำให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนทั้งในด้านสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม และในเวลาต่อมาได้มีการจัดทำเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ (Millennium Development Goals: MDGs) จำนวน 8 เป้าหมาย ครอบคลุมระยะเวลา 15 ปี (พ.ศ. 2543 -2558) อาทิ การขจัดความยากจนและความหิวโหย การส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศและบทบาทสตรี และการรักษาและจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน เป็นต้น
ปัจจุบัน MDGs ได้สิ้นสุดลงแล้ว แต่ยังคงทำต่อเนื่องสำหรับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของโลก (Sustainable Development Goals: S D Gs) ใน 15 ปีข้างหน้าที่จะใช้เป็นทิศทางการพัฒนาของประชาคมโลก¹
S D G เหมือนหรือต่างจากศาสตร์พระราชาอย่างไร
ศาสตร์พระราชามุ่งสู่ S D Gs
ถึงตรงนี้ “ม.ร.ว.ดิศนัดดา” จึงกล่าวในตอนท้ายว่าผมเชื่อว่าศาสตร์พระราชา เป็นศาสตร์แห่งการแก้ไขปัญหา และพัฒนาชีวิตคนอย่างยั่งยืน และหากนำศาสตร์พระราชาไปปฏิบัติได้จริง จะนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน S D Gs อย่างแน่นอน
“เพราะโคฟี่ อันนัน เลขาธิการสหประชาชาติในขณะนั้น มาเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ จากรัชกาลที่ 9 แล้วนำไปปรับใช้ใน S D Gs แม้ว่าก่อนหน้านั้นสหประชาชาติอาจจะทำเรื่องนี้มาก่อนแล้วก็ตาม ซึ่งผมเชื่อว่าเขามาเรียนรู้เพิ่มเติมโดยเฉพาะเศรษฐกิจพอเพียง เพราะรัชกาลที่ 9 ทรงงานด้านความมั่นคง และความยั่งยืนมาตลอด 70 ปี
“ดังนั้น ในความคิดของผมแล้ว พระองค์มีความลึกซึ้งมากกว่าชาวตะวันตก และนั่นทำให้ S D Gs มีบริบทของเศรษฐกิจพอเพียงหรือศาสตร์พระราชาอยู่ ซึ่งผมเชื่อแบบนี้”²