เพชรสังฆาต กลีบห้ามกินริดสีดวงเดือยไก่เป็นข้อต่อกัน 2 ชนิด?
เพชรสังฆาต วิธีกิน เพชรสังฆาต สรรพคุณ ผลข้างเคียง เพชรสังฆาต กินนานแค่ไหน เพชรสังฆาต สรรพคุณ เพชรสังฆาต ข้อควรระวัง เพชรสังฆาต ริดสีดวง กินกี่วัน
ศาสนาทุกศาสนามีหลักธรรมคำสอนเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของศาสนิกชน โดยทุก ศาสนามี เป้าหมายเดียวกันคือ “มุ่งให้ทุกคนมีธรรมะ มีคุณธรรม และสอนให้คนเป็นคนดี” ดังนั้น ศาสนาแต่ละศาสนาจึงมีหลักธรรมคำสอนของตนเอง เป็นแนวทางในการประพฤติปฏิบัติ
หลักธรรมคำสอนของพุทธศาสนา ศาสนาพุทธมีหลักธรรมคำสอนที่พุทธศาสนิกชนยึดถือ และใช้เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต หลาย ประการ ได้แก่ อริยสัจ 4 ทิศ 6 ธรรมคุณ 6 สัปปุริสธรรม 7 อิทธิบาท 4 อบายมุข 6 เป็นต้น
คือ ความจริงสุดยอดซึ่งพระพุทธเจ้าได้ทรงตรัสรู้และ ได้ แสดงต่อจาก โอวาทปาติโมกข์ ความจริงสุดยอดอันประเสริฐ มี 4 ประการ ได้แก่
1. ทุกข์ ความไม่สบายกายไม่สบายใจ ทำให้เกิดปัญหาแก่ การดำเนินชีวิต แบ่งเป็น 2 ประเภท ใหญ่ ๆ คือ สภาวทุกข์ หมายถึง ทุกข์ประจำ ที่เป็นไปตามธรรมชาติคือ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ปกิณณกทุกข์ หมายถึง ทุกข์จร ที่อาจเกิดขึ้นเพราะเหตุต่าง ๆ เช่น ความเศร้าโศก น้อยใจ ตรอมใจ เจ็บป่วยไม่สบายกาย การประสพกับ สิ่งที่ไม่รัก การพลัดพรากจากสิ่งที่รัก และความไม่สมปรารถนา
2. สมุทัย สาเหตุที่ทำให้เกิดความทุกข์ ได้แก่ ตัณหา (ความอยาก) มี 3 ลักษณะคือ
(1) กามตัณหา คือ ความอยากได้ อยากมี อยากเป็นในสิ่งที่ไม่เคยได้ ไม่เคยมี และ ไม่เคยเป็น
(2) ภวตัณหา หมายถึง ความอยากให้คงอยู่ เช่น เกียรติยศ ชื่อเสียง อำนาจ คำสรรเสริญ อยากให้สิ่งเหล่านั้น ดำรงอยู่กับตนเองตลอดไป
(3) วิภวตัณหา หมายถึง ความไม่อยากมี ไม่อยากเป็น เช่น ความไม่พอใจในสถานะ ที่ตนมีอยู่ เป็นอยู่ในปัจจุบัน
3. นิโรธ หมายถึง ความดับทุกข์คือ การละตัณหา 3 ประการดังกล่าว เมื่อละต้นเหตุของทุกข์ เสียได้ ความทุกข์ย่อมไม่มี
4. มรรค หมายถึง วิธีดับทุกข์ เป็นแนวทางปฏิบัติเพื่อที่จะละตัณหาซึ่งเป็นต้นเหตุของทุกข์ มี 8 ประการดังนี้
(1) สัมมาทิฐิ (ความเห็นชอบ) ได้แก่ การมีความเห็นที่ถูกต้อง เช่น ยอมรับเรื่องบาป บุญ กรรมดี กรรมชั่ว ชาตินี้และชาติหน้า ในระดับที่ละเอียดอ่อนขึ้นไปอีกคือ ความเข้าใจในอริยสัจ 4
(2) สัมมาสังกัปปะ (ความดำริชอบ) ได้แก่ การคิดเพื่อที่จะให้จิตใจของตนเองเป็นอิสระคือ คิดปลีกตัวออกจากกาม ไม่ตกเป็นทาศของรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส จนเกินไป ไม่คิดพยาบาท และ ประการสุดท้ายคือ ไม่คิดเบียดเบียนผู้อื่น
(3) สัมมาวาจา (วาจาชอบ) การเว้นจากวจีทุจริต 4 คือ เว้นจากการพูดเท็จ (มุสาวาจา) เว้นจากการพูดส่อเสียด (ปีสุณาวาจา) เว้นจากการพูดคำหยาบ (ผรุสวาจา) เว้นจากการพูด เพ้อเจ้อ ไร้สาระ (สัมผัปปลาปวาจา)
(4) สัมมากัมมันตะ (การกระทำชอบ) ได้แก่ การงดเว้นจากกายทุจริต คือ การไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ และไม่ประพฤติ ผิดในกาม
(5) สัมมาอาชีวะ (การเลี้ยงชีวิตชอบ) ได้แก่ การประกอบอาชีพที่ไม่ผิดศีลธรรมและ ไม่ เบียดเบียน ผู้อื่น รวมความไปถึง การไม่อยู่เฉย ๆ โดยไร้ประโยชน์ ต้องเป็นผู้ที่ทำงานประกอบอาชีพ
(6) สัมมาวายามะ (ความเพียรชอบ) ได้แก่ การเพียรระวังไม่ให้ความชั่วเกิดขึ้น หรือเพียร ขจัดความชั่วที่ได้เกิดขึ้นแล้ว เพียรสร้างความดีให้เกิดขึ้น และเพียรรักษาความดีที่มีอยู่แล้วให้คงอยู่ ตลอดไป
(7) สัมมาสติ (ความระลึกชอบ) คือ การกำหนดรู้พฤติกรรมของจิต ระลึกได้ตลอดเวลาว่า ตนเองกำลังคิดอะไร ทำอะไร ไม่เป็นคนใจลอย ไม่ประสาท มีความรอบคอบ
(8) สัมมาสมาธิ (ความตั้งใจชอบ) ได้แก่ การตั้งจิตให้มั่นคง สามารถควบคุมอารมณ์ได้ จนกระทั่งสามารถบังคับจิตใจ ให้หยุดนิ่งอยู่กับอารมณ์อันเดียวทิศ 6
ทิศ 6 หรือการปฏิบัติชอบระหว่างบุคคลผู้มีอุปการะคุณต่อกัน 6 พวกคือ
สัปปุริสธรรม 7 คือ หลักธรรมของคนดีหรือหลักธรรมของสัตตบุรุษ 7 ประการ ได้แก่ รู้จักเหตุ รู้จักผล รู้จักตน รู้จักประมาณ รู้จักกาล รู้จักปฏิบัติ และรู้จักบุคคล
1. รู้จักเหตุหรือธัมมัญญุตา หมายถึง ความเป็นผู้รู้จักเหตุ รู้จักวิเคราะห์หาสาเหตุ ของสิ่งต่าง ๆ
2. รู้จักผลหรืออัตถัญญุตา หมายถึง ความเป็นผู้รู้จักผลที่จะเกิดขึ้นจากการกระทำ
3. รู้จักตนหรืออัตตัญญุตา หมายถึง ความเป็นผู้รู้จักตน ทั้งในด้านความรู้ คุณธรรม และความ สามารถ
4. รู้จักประมาณหรือมัตตัญญุตา หมายถึง ความเป็นผู้รู้จักประมาณ รู้จักหลักของความ พอดี การดำเนินชีวิต พอเหมาะพอควร
5. รู้จักกาลเวลาหรือกาลัญญุตา หมายถึง ความเป็นผู้รู้จักกาลเวลา รู้จักเวลาไหนควรทำ อะไร แล้วปฏิบัติให้เหมาะสม กับเวลานั้น ๆ
6. รู้จักปฏิบัติหรือปริสัญญุตา หมายถึง ความเป็นผู้รู้จักปฏิบัติ การปรับตน และแก้ไขตน ให้เหมาะสมกับสภาพของ กลุ่มและชุมชน
7. รู้จักบุคคลหรือบุคคลัญญุตา หมายถึง ความเป็นผู้รู้จักปฏิบัติตนให้เหมาะสมกับบุคคล ซึ่งมีความแตกต่างกันการที่ บุคคลใดนำเอาหลักสัปปุริสธรรม 7 มาใช้ในการดำเนินชีวิต จะช่วยให้ ชีวิตพบกับความสุข ในชีวิตได้
อิทธิบาท 4 คือ หลักธรรมที่นำไปสู่ความสำเร็จแห่งกิจการ มี 4 ประการคือ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา
1. ฉันทะ คือ ความพอใจ ใฝ่รัก ใฝ่หาความรู้ และใฝ่สร้างสรรค์
2. วิริยะ คือ ความเพียรพยายาม มีความอดทนไม่ท้อถอย
3. จิตตะ คือ ความเอาใจใส่และตั้งใจแน่วแน่ในการทำงาน
4. วิมังสา คือ ความหมั่นใช้ปัญญาและสติในการตรวจตราและคิดไตร่ตรอง
กุศลกรรมบท 10 เป็นหนทางแห่งการทำความดีงาม ทางแห่งกุศลซึ่งเป็นหนทางนำไปสู่ความสุข ความเจริญ แบ่งออกเป็น 3 ทางคือ กายกรรม 3 วจีกรรม 4 และมโนกรรม 3
1. กายกรรม 3 หมายถึง ความประพฤติดีที่แสดงออกทางกาย 3 ประการ ได้แก่
(1) เว้นจากการฆ่าสัตว์ คือ การละเว้นจากการฆ่าสัตว์ การเบียดเบียนกัน เป็นผู้มีเมตตา กรุณา
(2) เว้นจากการลักทรัพย์ คือ ละเว้นจากการลักขโมย เคารพในสิทธิของผู้อื่น ไม่หยิบฉวย เอาของคนอื่นมาเป็นของตน
(3) เว้นจากการประพฤติผิดในกาม คือ การไม่ล่วงละเมิดสามีหรือภรรยาผู้อื่น ไม่ล่วง ละเมิด ประเวณีทางเพศ
2. วจีกรรม 3 หมายถึง การเป็นผู้มีความประพฤติดีซึ่งแสดงออกทางวาจา 4 ประการ ได้แก่
(1) เว้นจากการพูดเท็จ คือ พูดแต่ความจริง ไม่พูดโกหก หลอกลวง
(2) เว้นจากการพูดส่อเสียด คือ พูดแต่ในสิ่งที่ทำให้เกิดความสามัคคี กลมเกลียว ไม่พูดจา ในสิ่งที่ก่อให้เกิดความ แตกแยก แตกร้าว
(3) เว้นจากการพูดคำหยาบ คือ พูดแต่คำสุภาพ อ่อนหวาน อ่อนโยน กับบุคคลอื่นทั้ง ต่อหน้า และลับหลัง
(4) เว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ คือพูดแต่ความจริง มีเหตุมีผลเน้นเนื้อหาสาระที่เป็น ประโยชน์ พูดแต่สิ่งที่จำเป็นและพูดถูกกาลเทศะ
3. มโนกรรม 3 หมายถึง ความประพฤติที่เกิดขึ้นในใจ 3 ประการ ได้แก่
(1) ไม่อยากได้ของของเขา คือ ไม่คิดจะโลภอยากได้ของผู้อื่นมาเป็นของตน
(2) ไม่พยาบาทปองร้ายผู้อื่น คือ มีจิตใจดี มีความปรารถนาดี อยากให้ผู้อื่นมีความสุข ความเจริญ
(3) มีความเห็นที่ถูกต้อง คือ มีความเชื่อในเรื่องการทำความดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว และมี ความ เชื่อว่า ความพยายามเป็นหนทางแห่งความสำเร็จ
อกุศลกรรมบท 10 เป็นหนทางแห่งการทำความชั่ว ความไม่ดี 10 ประการ แบ่งออกเป็น 3 ทางคือ กายกรรม 3 วจีกรรม 4 และมโนกรรม 3
สังคหวัตถุ 4
สังคหวัตถุ 4 เป็นหลักธรรมคำสอนทางพุทธศาสนาที่เป็นวิธีปฏิบัติเพื่อยึดเหนี่ยวจิตใจคนอื่นที่ยัง ไม่เคยรักใคร่นับถือ ให้เกิดความรัก ความนับถือ สังคหวัตถุเป็นหลักธรรมที่ช่วยผูกไมตรีซึ่งกันและกันให้ แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ประกอบด้วย ทาน ปิยวาจา อัตถจริยา สมานัตตตา
1. ทาน คือ การให้ปันสิ่งของของตนให้แก่ผู้อื่นด้วยความเต็มใจ เพื่อให้ประโยชน์แก่ผู้รับ การให้เป็นการยึดเหนี่ยวน้ำใจกัน อย่างดียิ่ง เป็นการสงเคราะห์สมานน้ำใจกัน ผูกมิตรไมตรีกันให้ยั่งยืน
2. ปิยวาจา คือ การเจรจาด้วยถ้อยคำไพเราะอ่อนหวาน พูดชวนให้คนอื่นเกิดความรักและ นับถือ คำพูดที่ดีนั้นย่อมผูกใจคน ให้แน่นแฟ้นตลอดไป หรือแสดงความเห็นอกเห็นใจ ให้กำลังใจ รู้จักพูดให้เกิด ความเข้าใจดี สมานสามัคคี ย่อมทำให้เกิดไมตรี ทำให้ รักใคร่นับถือและช่วยเหลือ เกื้อกูลกัน
3. อัตถจริยา คือ การประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่กัน คือช่วยเหลือด้วยแรงกายและ ขวนขวาย ช่วยเหลือกิจการต่าง ๆ ให้ลุล่วงไป เป็นคนไม่ดูดาย ช่วยให้เกิดสติสำนึกในความผิดชอบชั่วดี หรือช่วย แนะนำให้เกิดความรู้ ความสามารถในการ ประกอบอาชีพ
4. สมานัตตตา คือ การวางตนเป็นปกติเสมอต้นเสมอปลาย ไม่ถือตัวการวางตนให้ เหมาะสม กับฐานะของตนตามสภาพ ได้แก่ เป็นผู้ใหญ่ ผู้น้อย หรือผู้เสมอกัน เอาใจใส่ปฏิบัติตามฐานะ ผู้น้อย คารวะนอบน้อมยำเกรงผู้ใหญ่
คำว่าอบายมุข คือ หนทางแห่งความเสื่อม หรือหนทางแห่งความหายนะ ความฉิบหาย มี 6 อย่าง ได้แก่
1. การเป็นนักเลงผู้ใหญ่ หมายถึง การเป็นคนมีจิตใจใฝ่ในเรื่องเพศ เป็นคนเจ้าชู้ ทำให้เสีย ทรัพย์สิน เงินทอง สูญเสีย เวลาและเสียสุขภาพ
2. การเป็นนักเลงสุรา หมายถึง ผู้ที่ดื่มสุราจนติดเป็นนิสัย การดื่มสุรานอกจากจะทำให้เสียเงิน ทองแล้ว ยังเสียสุขภาพ และบั่นทอนสติปัญญาอีกด้วย
3. การเป็นนักเลงการพนัน หมายถึง ผู้ที่ชอบเล่นการพนันทุกชนิด การเล่นการพนันทำให้ เสียทรัพย์สิน เสียสุขภาพ การพนันไม่เคยทำให้ใครร่ำรวย มั่งมีเงินทองได้เลย
4. การคบคนชั่วเป็นมิตร หมายถึง การคบคนไม่ดีหรือคนชั่ว คนชั่วมักชักชวนให้ทำในสิ่งที่ไม่ ถูกต้อง และอาจนำความเดือดร้อนมาสู่ตนเองและครอบครัว
5. การเที่ยวดูการละเล่น หมายถึง ผู้ที่ชอบเที่ยวการละเล่นกลางคืน ทำให้เสียทรัพย์และ อาจทำให้เกิดการ ทะเลาะเบาะแว้งในครอบครัว
6. เกียจคร้านทำการงาน หมายถึง ผู้ไม่ชอบทำงาน ขี้เกียจ ไม่ขยันขันแข็ง
เบญจศีลเบญจธรรม คือ หลักธรรมที่ควรปฏิบัติควบคู่กัน มุ่งให้บุคคลทำความดี ละเว้นความชั่ว
เบญจศีล (สิ่งที่ควรละเว้น)
|
เบญจธรรม (สิ่งที่ควรปฏิบัติ)
|
1. เว้นจากการฆ่าสัตว์ 2. เว้นจากการลักทรัพย์ 3. เว้นจากการประพฤติผิดในกาม 4. เว้นจากการพูดเท็จ 5. เว้นจากการเสพของมึนเมา |
1. มีความเมตตากรุณา
2. ประกอบอาชีพสุจริต 3. มีความสำรวจในกาม 4. พูดความจริง ไม่พูดโกหก 5. มีสติสัมปชัญญะ |
โลกบาลหรือธรรมคุ้มครองโลก เป็นหลักธรรมที่ช่วยให้มนุษย์ทุกคนในโลก อยู่กันอย่างมี ความสุข มีน้ำใจ เอื้อเฟื้อ มีคุณธรรมและทำแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์ ประกอบด้วยหลักธรรม 2 ประการ ได้แก่ หิริโอตตัปปะ
1. หิริ คือ ความละอายในลักษณะ 3 ประการ แล้วไม่ทำความชั่ว (บาป) คือ
(1) ละอายแก่ใจ หรือความรู้สึกที่เกิดขึ้นในใจตนเองแล้วไม่ทำความชั่ว
(2) ละอายผู้อื่น หรือสภาพแวดล้อมต่าง ๆ แล้วไม่ทำความชั่ว
(3) ละอายต่อความชั่วที่ตนจะทำนั้นแล้วไม่ทำความชั่ว
2. โอตตัปปะ คือ ความเกรงกลัว หมายถึง
(1) เกรงกลัวตนเอง ติเตียนตนเองได้
(2) เกรงกลัวผู้อื่นแล้วไม่กล้าทำความชั่ว
(3) เกรงกลัวต่อผลของความชั่วที่ทำจะเกิดขึ้นแก่ตน
(4) เกรงกลัวต่ออาญาของแผ่นดินแล้วไม่กล้าทำความชั่ว
กตัญญูกตเวที เป็นเครื่องหมายของคนดี
คำว่า “กตัญญู” แปลว่า “การรู้คุณคน” ส่วนคำว่า “กตเวที” แปลว่า การตอบแทนผู้มีบุญคุณ กับเรา ดังนั้นคำว่า กตัญญูกตเวที จึงหมายถึง “การรู้คุณคนและตอบแทนผู้มีบุญคุณกับเรา”บุคคลผู้มีอุปการะคุณแก่คนเรานั้น มีมากมาย แบ่งกว้าง ๆ ได้ 5 กลุ่ม ประกอบด้วย
1. ทางสกุล ได้แก่ บิดา มารดา ปู่ ย่า ตา ยาย ลุง ป้า น้า อา เป็นต้น
2. ทางการศึกษา ได้แก่ ครูบาอาจารย์ หรือบุคคลที่อบรมสั่งสอนเรา
3. ทางการปกครอง ได้แก่ พระมหา กษัตริย์และเชื้อพระวงศ์ทุกพระองค์
4. ทางศาสนา ได้แก่ องค์พระศาสดาของทุกศาสนา
5. ทางอื่น ได้แก่ ผู้มีอุปการะคุณทางอ้อม เช่น เพื่อนฝูง เพื่อนบ้าน เจ้าหน้าที่บ้านเมืองที่ ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต เป็นต้น
“ธรรมะ 4 ประการนั้น ก็มีสัจจะ – ความจริงใจ มีทมะ – การบังคับตัวเอง ขันติ – ความ อดกลั้น อดทน จาคะ – บริจาคสิ่งที่ไม่ควรมีอยู่ในตน ก็เรียกว่า มีฆราวาสธรรมที่สมบูรณ์ จะเป็น เด็กก็ดี ผู้ใหญ่ก็ดี ผู้หญิงก็ดี ผู้ชายก็ดี คนหนุ่ม คนสาว คนแก่ คนเฒ่าก็ดี เป็นฆราวาสก็ดี เป็นพระเจ้า พระสงฆ์ก็ดี ล้วนแต่อาศัยธรรมะทั้ง 4 อย่างนี้เป็นเครื่องกำจัดซึ่งสิ่งไม่พึงปรารถนา ; แล้วมาทำให้เกิดสิ่งที่ พึงปรารถนาขึ้นมาอย่างครบถ้วน ก็เป็นอันว่าจะได้รับสิ่งที่ดีที่สุดเพิ่มขึ้น ๆ จน จะถึงสิ่งที่ดีที่สุด ที่สูงสุด ที่มนุษย์เราควรจะได้รับ”
พุทธทาสภิกขุ
คำค้น : ความสําคัญของการปฐมเทศนามี 2 ประการคือ วันอัฏฐมีบูชา พลธรรม 4 ความสำคัญของการปฐมเทศนามี 2 ประการคือ สมุทัย ความสำคัญของการปฐมเทศนามี 2 ประการคืออะไร ความสําคัญของการปฐมเทศนา มี 2 ประการ อัฏฐมีบูชา คติธรรมใดต่อไปนี้ เกี่ยวข้องเนื่องในวันวิสาขบูชาน้อยที่สุด ความสำคัญของปฐมเทศนามี 2 ประการคือ ได้รับการยกย่องจากยูเนสโกให้เป็นบุคคลสำคัญของโลกด้านการเผยแผ่ หลักการ วิธีการ อุดมการณ์ ของ วันมาฆบูชา อหิงสา อยู่ใน ใด ของศาสนา พราหมณ์ การปฐมเทศนามี 2 ประการคือ โครงการส่งเสริมสุขภาพจิตโดยใช้ พอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน ฉันทะ ในอิทธิบาท 4 สามารถนำไปแก้ไขปัญหาเรื่องใดเกี่ยวกับการทำงาน การนํา มาใช้ใน การดํารงชีวิต ขันติ การปล่อยวาง ปรโตโฆสะ มีประโยชน์อย่างไร อริยสัจ 4 นำมา ใช้ในชีวิตประจำวัน ได้อย่างไร สมุทัย อธิปไตย 3 โอวาทปาติโมกข์ ประกอบด้วยอะไรบ้าง วัน วิสาขบูชา สํา คั ญ นกน้อยทํารังแต่พอตัว คบคนพาลพาไปหาผิด คบบัณฑิตพาไปหาผล ในชีวิตประจําวัน 10 วิตก3 ถ้า เรื่อง กรรม ๑๒ เป็นสัจธรรม ในข้อใดเป็นจริยธรรม ที่เป็นหัวใจของพุทธศาสนา อริยสัจ 4 นำมาใช้ในชีวิตประจำวัน ได้อย่างไร เรื่อง ปธาน 4 สอนให้มีความเพียรเรื่องใด ความสำคัญของการปฐมเทศนา มี 2 ประการ คือ สำหรับนักอนุรักษ์พระเครื่องว่ามีกี่ ในชีวิตประจําวัน 4 วันมาฆบูชา วิริยะ ความสําคัญของการปฐมเทศนามี 2 ประการคืออะไร อหิงสา อยู่ใน ใด ของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู วันวิสาขบูชา โลกธรรม8 มีความสำคัญต่อชีวิตมนุษย์อย่างไร หัวใจเศรษฐี การปฐมเทศนามี 2 ประการคืออะไร โซโรอัสเตอร์ อริยสัจ 4 นำมา ใช้ในชีวิตประจำวัน ได้ อย่างไร ความสำคัญของการปฐมนิเทศมี 2 ประการคือ การพัฒนากาย แนวทาง
ที่มา:http://www2.se-ed.net/nfed/religion/index_rel.html 14/02/2008
อ่านบทความทั้งหมด >>> pangpond.com
เพชรสังฆาต วิธีกิน เพชรสังฆาต สรรพคุณ ผลข้างเคียง เพชรสังฆาต กินนานแค่ไหน เพชรสังฆาต สรรพคุณ เพชรสังฆาต ข้อควรระวัง เพชรสังฆาต ริดสีดวง กินกี่วัน
ทั้งนี้ในกรณีของนายเอกสมมติให้เป็นผู้นำมาใช้ก่อน กล่าวคือ นายเอกอาจจะทดลองใช้ครีมกันแดดแล้ว พอใช้แล้วดูดี ตอบคำถามเพื่อนๆได้ (เป็นผู้ให้ข้อมูลได้) เกิด
ที่ตัดยาสามารถหาซื้อได้ที่ 7-11 สำหรับวิธีตัดยาเม็ดเล็กหรือแบ่งยาเป็น 4 ส่วน, 3/4, หรือ 1/4 เม็ด ต้องใช้ความระมัดระวัง เพื่อให้ได้ขนาดที่ถูกต้องตามที่ต้องการ
วิธีเก็บเงิน ลงทุนซื้อกระปุกออมสิน หัดรู้จักคำว่า ความจำเป็น กับ น่ารัก แบบบันทึกรายรับรายจ่าย ไม่ไปในที่ของแพง ซื้อกระเป๋าที่มีช่องลับเยอะๆ ฝากธนาคารแบบ
คณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (คปอ) คือกลไกสำคัญในการบริหารความปลอดภัยในองค์กร หน้าที่หลักของ คปอ คือ
การลดปริมาณขยะที่ส่งไปยังถังขยะและการส่งเสริมการนำขยะกลับมาใช้ใหม่เป็นแนวทางที่สำคัญในการสร้างสังคมที่มีสภาพแวดล้อมที่ดีขึ้น โดยการร่วมมือกัน