วิชาสามัญ สอบเนื้อหาวิชาข้อสอบออกอะไรบ้างต่อสายสามัญ 9 วิชา?
9 วิชาสามัญ วิชาสามัญ 9 วิชา วิธีสมัคร gat pat การสมัครสอบ 9 วิชาสามัญ Test Blueprint คืออะไร
ข้อมูลที่ปรากฏจากเหตุการณ์ในอดีต เป็นข้อมูลทางประวัติศาสตร์ หลักฐานที่ปรากฏแบบเป็นลายลักษณ์อักษรและไม่ลายลักษณ์อักษร ซึ่งหลักฐานทางประวัติศาสตร์เป็นข้อมูลที่เกิดขึ้นในเหตุการณ์ที่ได้รับการถ่ายทอดทางตรงและทางอ้อม
โดยมีลักษณะเป็นนามธรรมและรูปธรรม สำหรับหลักฐานที่ปรากฏชัดเจนในรูปแบบของรูปธรรมนั้น เช่น องค์พระพุทธรูป ที่อยู่คู่กับประวัติศาสตร์ของชาติไทย หากมีแต่เฉพาะคำสั่งสอนที่ไม่มีหลักฐานปรากฏที่ชัดเจน เป็นเพียงแค่การถ่ายทอดทางคำพูดจากการบอกกล่าวทางพุทธวจนขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้น ทำให้หลักฐานทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับศาสนาพุทธ มีพลังสนับสนุนและมีความน่าเชื่อถือมาก
จดหมายเหตุ พงศาวดาร ตานาน บันทึกคาบอกเล่า คาสัมภาษณ์ เอกสารทางราชการ โบราณสถาน สารานุกรม วิทยานิพนธ์ โบราณวัตถุ
หลักฐานทางศิลปกรรมและโบราณคดี
หลักฐานของจีนราชวงศ์ต่างๆ
หลักฐานที่เป็นหนังสือเก่า
หลักฐานที่เป็นศิลาจารึก
หลักฐานพวกที่เป็นพงศาวดาร
พระไตรปิฎก
สำหรับหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของพระพุทธศาสนา ที่ปรากฏชัดเจนและเป็นหลักฐานยืนยันในศาสนาพุทธว่ามีมายาวนานมากกว่าพุทธศักราช 2,500 ปี คือคัมภีร์ พระไตรปิฏก หมายถึง การรวบรวมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าไม่ให้เกิดการกระจัดกระจายเก็บเอาไว้เป็นหมวดเป็นหมู่คล้ายๆกับการจัดวางแบ่งหมวดหมู่เอาไว้ในตะกร้าหรือภาชนะที่เอาไว้ใส่ชองนี่เอง
พระไตรปิฎก มี 3 หมวดหมู่ ประกอบด้วย 84,000 พระธรรมขันธ์
กรุงศรีอยุธยา
อาณาจักรลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาของชาติไทย ที่มีอายุยาวนานมากที่สุดในประวัติศาสตร์มากถึง 417 ปี ในช่วงปีพ.ศ. 1893 ถึงปี พ.ศ. 2310 กรุงศรีอยุธยาคืออาณาจักรที่มีความเจริญรุ่งเรืองยิ่งใหญ่มากที่สุด เป็นราชธานีเมืองศูนย์กลางของสุวรรณภูมิ เป็นเมืองศูนย์กลางทางภูมิภาคในการติดต่อค้าขายมากมาย เช่น จีน โปรตุเกส อินเดีย ฝรั่งเศส ดัตซ์(ชาวฮอลันดา)
นอกจากนี้ ในจาลึกของวัดไชยวัฒนาราม ในสมัยพระเจ้าปราสาททอง มีข้อความจารึก แม้จะมีลักษณะไม่ได้เป็นแท่นศิลาจารึกเฉกเช่นดังในสมัยอาณาจักรบ้านเมืองสุโขทัย มีข้อความระบุว่า กรุงศรีอยุธยา มีประเทศราช คืออาณาจักรล้านช้าง อาณาจักรล้านนา เป็นต้น นั้นเป็นหลักฐานมากมายที่พบว่ากรุงศรีมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ไทยและเคียงคู่มากับหลักความศรัทธาความเชื่อและการนับถือพระพุทธศาสนา
พระแก้วมรกต
องค์พระแก้วมรกตหรือพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร ที่ ณ ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ภายในพระอุโบสถ ของ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรือวัดพระแก้ว ข้างสนามหลวง ในกรุงเทพมหานาคานั้นเอง พระแก้วมรกต ถูกอัญเชิญมาจากอาณาจักรล้านช้างของเวียงจันทน์ ในประเทศลาว โดยกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่และมีพระคุณต่อแผ่นดินไทยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช หรือ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี โดยพระองค์ทรงนำพระแก้วมรกต องค์พระพุทธรูปที่สร้างขึ้นตามแบบศิลปะก่อนเชียงแสน พรพุทธรูปในปางสมาธิ ซึ่งครั้งนั้นได้อัญเชิญมาประดิษฐานไว้ ภายในพระอุโบสถของวัดอรุณราชวราราม
นิทานไทย
สำหรับคนไทยแล้วเรื่องราวที่มีการเล่าสืบๆกันว่า มักจะเรียกกันว่า นิทานไทย หรือตำนานไทย มีความเก่าแก่ แท้จริงแล้วกำเนิดมาจากการเล่าสู่กันฟัง เกิดการถ่ายทอดผูกเล่าเรื่องราว ชวนให้น่ารับฟัง ชวนให้อ่านและเกิดเป็นจินตนาการให้อยากติดตาม มีคติและความเชื่อ คำสั่งสอนที่เตือนใจ สอดแทรกคุณธรรมมากมาย เพราะนิทานเป็นเรื่องราวที่สร้างความบันเทิงให้กับมนุษยชาติ เช่น นิทานอีสาป นิทานก่อนนอน
นิทานชาดก
ในทางพระพุทธศาสนาแล้ว นิทานชาดกหรือนิทานทศชาติทั้งสิบ เป็นเรื่องที่มีจริง เคยเกิดขึ้น มิเช่นเรื่องที่แต่งขึ้นด้วยความบันเทิงหรือความเพลิดเพลิน ทั้ง 10 ทศชาติ คือเรื่องราวคำสอนที่มีอยู่ในหลักธรรมของพระไตรปิฎก ที่ถูกบรรจุอยู่ในหมวดพระสุตตันตปิฏก ซึ่งคือหลักธรรมเรื่องราวคำสั่งสอนธรรมะและเป็นปรากฏการณ์เรื่องราวก่อนที่พระโคตมจะตรัสรู้เป็นองค์พระสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ปลูกฝั่งทางคุณธรรม ขัดเกลาจิตใจให้อ่อนโยนลง ทศชาติทั้งสิบประกอบด้วย
ทศชาติที่1 พระเตมีย์ชาดก ทรงบำเพ็ญเนกขัมมบารมี (การออกบวช)
ทศชาติที่2 พระมหาชนกชาดก ทรงบำเพ็ญวิริยบารมี (ความพยายาม)
ทศชาติที่3 พระสุวรรณสามชาดก ทรงบำเพ็ญเมตตาบารมี (ความมีเมตตาธรรม)
ทศชาติที่4 พระเนมิราชชาดก ทรงบำเพ็ญอธิษฐานบารมี
ทศชาติที่5 พระมโหสถชาดก ทรงบำเพ็ญปัญญาบารมี
ทศชาติที่6 พระภูริทัตชาดก ทรงบำเพ็ญศีลบารมี
ทศชาติที่7 พระจันทชาดก ทรงบำเพ็ญขันติบารมี
ทศชาติที่8 พระนารทชาดกทรงบำเพ็ญอุเบกขาบารมี
ทศชาติที่9 พระวิทูรชาดก ทรงบำเพ็ญสัจจบารมี
ทศชาติที่10 พระเวสสันดรชาดก ทรงบำเพ็ญทานบารมี
โบราณสถานพระปฐมเจดีย์
โบราณสถานพระสถูปที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของไทย โบราณสถานพระปฐมเจดีย์ตั้งอยู่ในอาณาบริเวณ วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร ของจังหวัดนครปฐม ซึ่งวัดแห่งนี้คือพระอามหลวงชั้นเอกพิเศษ ระดับชนิดประเภทราชวรมหาวิหาร ภายในพระสถูปเจดีย์ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ประเภทหลักฐานชั้นต้น ที่มีลายอักษรสันนิษฐานว่าสร้างพระปฐมเจดีย์ขึ้นในสมัยพระอโศกมหาราช
เมื่อครั้งเหตุการณ์ที่พระองค์ได้ทรงส่งพระสมณทูต มาเผยแพร่พระพุทธศาสนา ณ ดินแดนสุวรรณภูมิ ตามข้อมูลของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติในประเทศไทยและนักโบราณคดีของกรมศิลปกร เห็นตรงกันจากหลักฐานว่าพระสมณทูต พระโสณเถระและพระอุตตรเถระ เป็นสมณทูต และประกาศหลักธรรมคำสอนภาษาบาลีและภาษาสันสฤตที่นครปฐมเป็นครั้งแรก
ซึ่งปรากฏในข้อมูลตามหลักฐานของพงศวดารประวัติศาสตร์ประเทศไทยด้วย ตรงกับหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษรได้สร้างลักษณะโบราณสถานแบบเจดีย์สาญจิที่ความหมายเหมือนองค์พระปฐมเจดีย์ไว้ในประเทศอินเดีย ตามข้อมูลทางประวัติศาสตร์ได้บันทึกการสร้างพระเจดีย์ทรงบาตรคว่ำ ซึ่งปัจจุบันพระปฐมเจดีย์คือสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญประจำท้องถิ่นจังหวัดนครปฐมที่มีความสำคัญต่อพระพุทธศาสนา ส่วนใหญ่แล้วหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของศาสนาพุทธนั้นจะมีทั้งหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษรและหลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษรหรือการจดบันทึกไว้ อาจจะเป็นเพียงการบอกเล่าต่อๆกันมา
สำหรับศิลปะในยุคทวารวดี ตรงกับพุทธศตวรรษที่ 11 ถึงพุทธศตวรรษที่ 16 นั้น แม้ว่าจะเป็นยุคสมัยที่นานมาก แต่หลักฐานที่ค้นพบโบราณสถาน นอกจากองค์พระปฐมเจดีย์ พระประโทนเจดีย์แล้ว หากไปตามพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ตั้งอยู่ ณ ประจำจังหวัดต่างๆ หรือที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติของกรุงเทพมหานครที่เป็นจุดศูนย์กลางและเป็นเสมือนสำนักงานใหญ่ที่จัดแสดงรวบรวมข้อมูลทางประวัติศาสตร์มากมาย เช่น รูปพระพุทธรูปปูนปั้นตามยุคสมัยของอาณาจักรต่างตั้งแต่ยุคศรีวิชัย ยุคทวารวดียุคล้านนา
รวมไปถึงโบราณวัตถุแบบจำลองหลักศิลาจารึกหลักที่1 ในสมัยยุคอาณาจักรสุโขทัยส่วนอาณาจักรกรุงศรีอยุธยาอย่างเอกสารข้อมูลทางวัตถุสำคัญ อย่างหอกดาบที่จัดแสดงตามตำนานสมเด็จนเรศวรมหาราช, สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ล้วนแล้วแต่เป็นข้อมูลทางประวัติศาสตร์ที่ปรากฏและตรงกับหนังสือหรือเอกสารจดหมายเหตุที่เป็นลายลักษณ์อักษรไว้ด้วย
ภายใน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติไม่ใช่แต่จะมีแต่ของโบราณๆเท่านั้น ยังมีศิลปะร่วมสมัยอย่างภาพวาด, ภาพลายไทย ที่จิตกรบรรจงวาดให้สวยงาม ถูกจัดแสดงที่นี่ เพื่อสื่อให้ผู้เข้าชมได้ศึกษาและเข้าใจถึงชีวิตความเป็นอยู่ความเจริญรุ่งเรื่องตามยุคสมัยตามโบราณสถาน โบราณวัตถุ วัฒนธรรม ขนมธรรมเนียมประเพณีต่างๆที่ถ่ายทอดออกมาเป็นภาพวาดสวยๆให้ได้รับชมกัน แม้ว่าจะเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เป็นลายลักษณ์อักษรที่ถูกสร้างหรือวาดขึ้นโดยศิลปินรุ่นใหม่ๆ
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ
กรมพระยาดำรงราชานุภาพ พระองค์ทรงมีพระนามชื่อเต็ม “สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กรมพระยาดำรงราชานุภาพ”ทรงเป็นพระราชโอรส ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) และเจ้าจอมมารดาชุ่ม ทำให้กรมพระยาดำรงราชานุภาพเป็นต้นราชสกุล “ดิศกุล” นั้นเอง
พระองค์ทรงเป็นผู้ก่อตั้งและริเริ่ม “กระทรวงมหาดไทย” และเป็นพระองค์แรกที่ได้ดำรงตำแหน่งเป็นเสนาบดีของกระทรวงมหาดไทย (ในปัจจุบันเทียบได้กับตำแหน่งรัฐมนตรีสูงสุดประจำกระทรวง) และพระองค์ยังทรงเป็นพระองค์แรกดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบกด้วย
เพราะด้วยพระปรีชาสามารถมากมายของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทำให้องค์การยูเนสโก (UNESCO) ได้ยกย่องให้เป็นบุคคลสำคัญของโลกที่เป็นคนไทยคนแรก และมอบสมญานามถวายพระนามกรมพระยาดำรงราชานุภาพ คือ “พระบิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทย” ในวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2505 เนื่องจากพระองค์ได้ทรงได้รังสรรค์พัฒนาประเทศ วางรากฐานของต้นแบบ การปกครอง ยกตัวอย่างการก่อตั้ง “โรงเรียนฝึกหัดวิชาข้าราชการพลเรือน” ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “โรงเรียนมหาดเล็ก” และเปลี่ยนชื่อมาเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของไทยในปี พ.ศ. 2459 คือ “จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” นับเป็นคุณประโยชน์ต่อประเทศไทยอย่างมาก
เพราะพระองค์ได้ทรงริเริ่มโรงเรียนและมหาวิทยาลัยขึ้น ทำให้ประชาชนสามัญชนทุกชนชั้นที่มีความสามารถสามารถเข้ารับการศึกษาในสถาบันได้ มิใช่จำกัดแต่เฉพาะเจ้านายเท่านั้น รวมไปถึงพระองค์ได้ก่อตั้ง “โอสถศาลา” ซึ่งในปัจจุบัน คือกระทรวงสาธารณสุขนั้นเอง นอกจากนี้พระองค์ทรงมีผลงานพระนิพนธ์มากมายและกลายมาเป็นมรดกทางปัญญาของประเทศไทยจวบจนในปัจจุบันนี้
หลักฐานทางประวัติศาสตร์ เป็นสิ่งที่มีคุณค่าและคงอยู่กับประเทศไทย เป็นความภูมิภาคใจของประชาชนที่มีดินแดนเป็นของตนเอง มีประวัติศาสตร์ที่ยาวนาน มีเอกลักษณ์ทางศิลปะทางวัฒนธรรมที่เกิดจากการถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น ทั้งมีหลักฐานลายลักษณ์อักษรและไม่เป็นลายลักษณ์อักษร โบราณสถานและโบราณทางวัตถุ
เป็นเสมือนเครื่องช่วยยืนยันในหลักฐานในสมัยอดีตได้ทุกๆอาณาจักรของแผ่นดินสยามเมืองยิ้มแห่งนี้ แม้ว่าเรื่องราวในประวัติศาสตร์จะไม่สามารถย้อนเวลาเพื่อกลับไปเปลี่ยนแปลงเหตุการณ์หรือแก้ไขสถานการณ์ที่เคยเกิดขึ้นได้ แต่สามารถนำประวัติศาสตร์มาใช้เป็นบทเรียน และคอยเป็นเครื่องเตือนสติในการดำเนินชีวิต ไม่ให้เกิดเหตุการณ์เฉกเช่นอย่างในอดีต หรือเป็นการป้องกันสถานการณ์ที่จะนำพาไปสู่การแตกยาก การนำมาซึ่งปัญหาได้ ในทุกๆยุคทุกๆสมัยของประเทศไทยที่เกิดเรื่องราวต่างๆทางประวัติศาสตร์ที่เคยเกิดขึ้น
ไม่ว่าจะเป็นในสมัยอาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรกรุงศรีอยุธยา อาณาจักรกรุงธนบุรี หรืออาณาจักรกรุงรัตนโกสินทร์ในตอนนี้เช่นกัน ปัญหาการแตกราวการขาดความสามัคคีของคนในชาติคือประเด็นทางสังคมที่จำนะมาสู่การแตกแยกมากที่สุด แม้ว่าประวัติศาสตร์ในอดีตอาจจะถูกลืมเลือนไปตามกาลและเวลา แต่คุณค่า ความมีศักดิ์ศรีในความเป็นคนไทยที่ไม่เคยตกเป็นเมืองขึ้นของประเทศใด
นี่คือความภาคภูมิใจในสิ่งที่บรรพบุรุษรักษา หวงแหน ป้องกัน ดูแลพื้นแผ่นดิน ตลอดจนสละชีวิต พลีชีพเพื่อรักษาเอกราชของชาติไทยไว้ให้ลูกหลานได้อยู่อาศัย ได้ทำมาหากินในแผ่นดินสยามดังเฉกเช่นในปัจจุบันนี้ นี่จึงเป็นหลักฐานที่ยิ่งใหญ่และมีคุณอนันต์ต่อประชาชนชาวไทย
อ่านบทความทั้งหมด >>> pangpond.com