เช็คบัตรประชาชน

ตรวจสอบเลขบัตรประชาชนสิ่งนี้ไม่เคยมีใครบอกคุณครบจบ 3 ค้นหา?

Click to rate this post!
[Total: 204 Average: 5]

ตรวจสอบเลขบัตรประชาชน

บัตรประชาชน

ตรวจสอบเลขบัตรประชาชน 5 เอกสารใช้ทำบัตรประชาชน เลขหลังบัตรประชาชน ประกันสังคม ว่างงาน ทําบัตรประชาชนประกันสังคมว่างงาน
ตรวจสอบเลขบัตรประชาชน

ต้องการทําบัตรประชาชนใหม่ บัตรประชาชนหาย ต้องใช้เอกสารอะไร ทำได้ที่ไหนบ้าง 2564

บัตรประจำตัวประชาชนถือได้ว่าเป็นเอกสารสำคัญอย่างมากต่อมนุษย์ทุกคนบนโลกเลยทีเดียว เพราะในหลายประเทศที่มีเอกราชบนโลกบนนี้จะมีบัตรประจำตัวประชาชนเพื่อให้แก่พลเมืองในชาติเมื่อถึงเกณฑ์อายุหนึ่ง โดยถือว่าเป็นเอกสารที่จะต้องดูแลไว้ในครอบครองจะใช้แทนกันมิได้ แสดงถึงตัวตนความเป็นพลเมืองในประเทศชาตนั้น ๆ

สำหรับชาติไทยเรานี้เองบัตรประจำตัวประชาชนเป็นเอกสารหลักฐานที่สามารถใช้ทำธุรกรรมตลอดจนยืนยันตัวตนของเราได้เป็นอย่างดี ลองสังเกตดูสิว่าเมื่อไรก็ตามที่เราจะทำอะไรยื่นเอกสารสำคัญไม่ว่าจะเป็นกับหน่วยงานราชการ องค์กรมหาชน บริษัทเอกชนทั่วไป ล้วนแต่ต้องใช้บัตรประจำตัวประชาชนเพื่อแสดงตัวตนทั้งสิ้น การใช้งานบัตรประจำตัวประชาชนอาจจะกระทบถึงความมั่นคงของชีวิตและทรัพย์สินและความมั่นคงของชาติได้ นั้นหมายความได้ว่าบัตรประจำตัวประชาชนถือเป็นเอกสารที่สำคัญที่สุดของชีวิตเลยก็ว่าได้

ความเป็นมาเรื่องการทำบัตรประจำตัวประชาชนไทย

การทำบัตรประจำตัวประชาชนไทยเกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อสมัยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม แรกเริ่มเดิมทีกำหนดอายุผู้ที่ต้องทำบัตรประจำตัวประชาชนไทยตั้งแต่บุคคลที่มีอายุได้ 16 ปีบริบูรณ์ ต่อมาในปีพ.ศ. 2526 ก็กำหนดอายุที่ต้องทำบัตรประจำตัวประชาชนไทยตั้งแต่บุคคลที่มีอายุได้ 15 ปีบริบูรณ์ และล่าสุดนี้ในปีพ.ศ. 2554 ก็ได้ลดอายุผู้ที่ต้องทำบัตรประชาชนตั้งแต่บุคคลที่มีอายุได้ 7 ปี

กำหนดให้การทำบัตรประจำตัวประชาชนไทยมีความสำคัญในการยืนยันตัวตนบุคคลผู้ที่เป็นพลเมืองไทยได้ตามกฎหมาย สามารถรับบริการจากภาครัฐและภาคเอกชนได้โดยใช้บัตรประชาชน และกำหนดให้มีกฎหมายว่าหากบุคคลไม่พกบัตรประจำตัวประชาชนไม่อาจแสดงบัตรโดยไม่มีเหตุอันควรต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 200 บาทด้วยเช่นกัน

การทำบัตรประจำตัวประชาชนไทย

บัตรประจำตัวประชาชนเป็นเอกสารราชการที่ออกให้สำหรับพลเมืองไทย ซึ่งเป็นคนไทยตามกฎหมายโดยจะต้องมีชื่อในทะเบียนบ้านเท่านั้น ทั้งนี้หากทะเบียนบ้านหายก็ถือว่าจะต้องแจ้งทำใหม่ด้วยเช่นเดียวกับบัตรประชาชน

คุณสมบัติผู้ที่จะต้องทำบัตรประชาชน

  1. บุคคลจะต้องมีสัญชาติไทยตามกฎหมาย
  2. บุคคลจะต้องมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน (ท.ร.14)
  3. บุคคลจะต้องมีอายุตั้งแต่ 7 ปี จนถึง 70 ปี

กรณียกเว้นผู้ที่ไม่ต้องทำบัตรประชาชนคือ บุคคลที่มีอายุเกิน 70 ปี หรือเป็นบุคคลที่ได้รับการยกเว้น ดังต่อไปนี้

บุคคลที่กฎหมายกำหนดให้ยกเว้นไม่ต้องมีบัตรประชาชนได้

  1. สมเด็จพระบรมราชินี
  2. พระบรมวงศานุวงศ์ตั้งแต่ชั้นพระองค์เจ้าขึ้นไป
  3. ภิกษุ สามเณร นักพรต และนักบวช
  4. ผู้มีกายพิการเดินไม่ได้ หรือเป็นใบ้ หรือตาบอดทั้งสองข้าง หรือจิตฟั่นเฟือน ไม่สมประกอบ
  5. ผู้อยู่ในที่คุมขังโดยชอบด้วยกฎหมาย
  6. บุคคลซึ่งกำลังศึกษาวิชา ณ ต่างประเทศ และไม่สามารถยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชนได้

ทำบัตรประชาชนต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง?

กรณีทำบัตรประชาชนครั้งแรก

บุคคลที่อายุได้ 7 ปีบริบูรณ์ จะต้องรีบพาไปทำบัตรประชาชน โดยจะต้องมีคุณสมับัติดังกล่าวข้างต้นคือ มีอายุ 7 ปีบริบูรณ์แล้ว และต้องมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน (ท.ร.14) ให้รีบไปทำบัตรประชาชนภายใน 60 วันทันที หากเกินกำหนดระยะเวลา 60 วัน จะต้องมีค่าปรับไม่เกิน 100 บาท

ค่าธรรมเนียม: ไม่มี

เอกสารที่ต้องใช้

  1. ใช้สูติบัตร/ใบเกิด หรือสามารถใช้หลักฐานอื่นที่ราชการออกให้ เช่น ใบสุทธิ สำเนาทะเบียนนักเรียน หนังสือเดินทาง เป็นต้น
  2. กรณีบุคคลมีการเปลี่ยนแปลงชื่อ-นามสกุล ต้องนำเอกสารสำคัญการเปลี่ยนชื่อ-นามสกุลมาแสดงด้วย

กรณีบิดา มารดาของบุคคลเคยเปลี่ยนแปลงชื่อ-นามสกุล ต้องนำเอกสารสำคัญการเปลี่ยนชื่อ-นามสกุลมาแสดงด้วย

  1. หากไม่มีเอกสารตามข้อ 2 ให้นำเจ้าบ้านหรือบุคคลผู้น่าเชื่อถือมาให้การรับรองการทำบัตรประชาชน
  2. กรณีบิดามารดาเป็นคนต่างด้าว ให้นำใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวของบิดา มารดามาแสดงด้วย หรือนำใบมรณบัตรของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งที่ถึงแก่กรรมไปแสดง
  3. การขอมีบัตรครั้งแรกเมื่ออายุตั้งแต่ 16 ปีขึ้นไป ต้องนำเอกสารหลักฐานที่กำหนดตามข้อ 1,2,3,4 และให้นำเจ้าบ้านและบุคคลที่น่าเชื่อถืออย่างน้อย 2 คน ไปพบเจ้าหน้าที่เพื่อสอบสวนและให้การรับรอง

กรณีทำบัตรประชาชนหมดอายุ/ ต่อบัตรประชาชน

บุคคลที่บัตรประจำตัวประชาชนหมดอายุ จะต้องต่อบัตรประชาชน โดยแจ้งทำบัตรประชาชนใหม่ภายในระยะเวลาไม่เกิน 60 วัน นับจากวันที่บัตรประชาชนหมดอายุทันที หากเกินกำหนดระยะเวลา 60 วัน จะต้องมีค่าปรับไม่เกิน 100 บาท

ค่าธรรมเนียม: ไม่มี

เอกสารที่ต้องใช้

  1. บัตรประจำตัวประชาชนที่หมดอายุ (ใบเดิม)
  2. กรณีบัตรหมดอายุเป็นเวลานาน จะต้องนำเจ้าบ้านหรือพยานบุคคลที่สามารถเชื่อถือได้มาอ้างอิงรับรองทำบัตรประชาชนใหม่

บัตรชำรุด/หาย/ถูกทำลาย

ประกันสังคม ว่างงาน
ตรวจสอบเลขบัตรประชาชน

กรณีทำบัตรประชาชนหาย หรือมีการถูกทำลาย

บุคคลที่ทำบัตรประชาชนหาย หรือบัตรประชาชนถูกทำลายจะต้องดำเนินการแจ้งความไว้เพื่อเป็นหลักฐาน โดยจะสามารถแจ้งความได้ที่ว่าการอำเภอ หรือสำนักงานเขตเทศบาลหรือเมืองพัทยา หรือโรงพัก โดยแล้วแต่กรณีที่เจ้าหน้าที่แนะนำให้ปฏิบัติ โดยแจ้งทำบัตรประชาชนใหม่ภายในระยะเวลาไม่เกิน 60 วัน นับจากวันที่บัตรประชาชนหาย หรือบัตรประชาชนถูกทำลาย หากเกินกำหนดระยะเวลา 60 วัน จะต้องมีค่าปรับไม่เกิน 100 บาท

ค่าธรรมเนียม: 20 บาท

เอกสารที่ต้องใช้

  1. เอกสารหลักฐานสำคัญที่ราชการออกให้ โดยจะต้องที่มีรูปถ่ายของผู้ขอมีบัตรใหม่ด้วย ตัวอย่างเช่น ใบอนุญาตขับขี่ หลักฐานการศึกษา หรือหนังสือเดินทาง เป็นต้น
  2. หากไม่มีหลักฐานตามข้อ 1 บุคคลจะต้องนำเจ้าบ้านหรือพยานบุคคลที่สามารถเชื่อถือได้มาอ้างอิงรับรองทำบัตรประชาชนใหม่
เลขหลังบัตรประชาชน
ตรวจสอบเลขบัตรประชาชน

กรณีทำบัตรเดิมชำรุดในสาระสำคัญ หรือมีการถูกทำลายบางส่วน

บุคคลที่มีบัตรเดิมชำรุดในสาระสำคัญ หรือมีการถูกทำลายบางส่วน เช่น บัตรถูกไฟไหม้บางส่วน บัตรชำรุด เลอะเลือน เป็นต้น ต้องแจ้งทำบัตรประชาชนใหม่ภายในระยะเวลาไม่เกิน 60 วัน นับจากวันที่บัตรประชาชนบัตรเดิมชำรุดในสาระสำคัญ หรือมีการถูกทำลายบางส่วน หากเกินกำหนดระยะเวลา 60 วัน จะต้องมีค่าปรับไม่เกิน 100 บาท

ค่าธรรมเนียม: 20 บาท

เอกสารที่ต้องใช้

  1. บัตรประจำตัวประชาชนใบเดิมที่เดิมชำรุดในสาระสำคัญ หรือมีการถูกทำลายบางส่วน
  2. เอกสารหลักฐานสำคัญที่ราชการออกให้ โดยจะต้องที่มีรูปถ่ายของผู้ขอมีบัตรใหม่ด้วย ตัวอย่างเช่น ใบอนุญาตขับขี่ หลักฐานการศึกษา หรือหนังสือเดินทาง เป็นต้น
  3. หากไม่มีหลักฐานตามข้อ 2 บุคคลจะต้องนำเจ้าบ้านหรือพยานบุคคลที่สามารถเชื่อถือได้มาอ้างอิงรับรองทำบัตรประชาชนใหม่

กรณีเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล จะต้องทำบัตรประชาชนใหม่

บุคคลที่มีการเปลี่ยนแปลงชื่อ หรือเปลี่ยนแปลงนามสกุล หรือทั้งชื่อและนามสกุล จะต้องแจ้งทำบัตรประชาชนใหม่ภายในระยะเวลาไม่เกิน 60 วัน นับจากที่มีการเปลี่ยนแปลงชื่อหรือเปลี่ยนแปลงนามสกุล หรือทั้งชื่อและนามสกุล หากเกินกำหนดระยะเวลา 60 วัน จะต้องมีค่าปรับไม่เกิน 100 บาท

ค่าธรรมเนียม: 20 บาท

เอกสารที่ต้องใช้

  1. บัตรประจำตัวประชาชนใบเดิมที่ต้องการเปลี่ยน
  2. เอกสารหลักฐานที่มีการเปลี่ยนแปลงชื่อหรือเปลี่ยนแปลงนามสกุล หรือทั้งชื่อและนามสกุล ทั้งหมดเพื่อใช้ยืนยัน

กรณีเปลี่ยนคำนำหน้านาม ขอทำบัตรประชาชนใหม่

สามารถแจ้งทำบัตรประชาชนใหม่ภายในระยะเวลาไม่เกิน 60 วัน นับจากที่มีการเปลี่ยนคำนำหน้านาม หากเกินกำหนดระยะเวลา 60 วัน จะต้องมีค่าปรับไม่เกิน 100 บาท

ค่าธรรมเนียม ไม่มี

เอกสารที่ต้องใช้

  1. บัตรประจำตัวประชาชนใบเดิมที่ต้องการเปลี่ยน
  2. เอกสารหลักฐานที่มีการเปลี่ยนแปลงคำนำหน้านาม เช่น ทะเบียนสมรส ทะเบียนอย่า เป็นต้น

กรณีบุคคลได้รับการยกเว้นการมีบัตรประจำตัวประชาชน

เช่น พระภิกษุ สามเณร ฯลฯ จะขอทำบัตรประจำตัวประชาชนได้

บุคคลที่ได้รับการยกเว้นบัตรประจำตัวประชาชนสามารถมีหรือไม่มีบัตรประชาชนก็ได้เช่นกัน เช่น พระภิกษุ สามเณร ฯลฯ

ค่าธรรมเนียม: ไม่มี

เอกสารที่ต้องใช้

  1. กรณีพระภิกษุ หรือสามเณร ต้องย้ายชื่อเข้าทะเบียนบ้านของวัดก่อน แล้วแก้ไขคำนำหน้านามในทะเบียนบ้านเป็นพระ สามเณร หรือสมศักดิ์ ก่อนจึงจะขอมีบัตรได้
  2. เอกสารหลักฐานที่แสดงว่าเป็นบุคคลซึ่งได้รับการยกเว้นไม่ต้องมีบัตร เช่น กรณีเป็นผู้ที่อยู่ระหว่างการศึกษา ณ ต่างประเทศสามารถใช้เอกสารหนังสือเดินทางร่วมกับเอกสารที่ต้องมีพันธะอยู่ต่างประเทศ กรณีเป็นพระ สามเณร ใช้เอกสารหนังสือสุทธิของพระ เป็นต้น

สำหรับเอกสารหลักฐานสามารถกรณีเอกสารเพิ่มเติมกับเจ้าหน้าที่อีกที่ได้ด้วยเช่นกัน

กรณีบุคคลได้รับการยกเว้นการมีบัตรประจำตัวประชาชน อายุ 70 ปีขึ้นไป ขอมีบัตรประชาชน

บุคคลซึ่งเป็นคนสัญชาติไทยที่มีอายุเกิน 70 ปี ได้รับการยกเว้นบัตรประจำตัวประชาชน แต่จะสามารถมีหรือไม่มีบัตรประชาชนก็ได้เช่นกัน

ค่าธรรมเนียม: ไม่มี

เอกสารที่ต้องใช้

  1. สำเนาทะเบียนบ้าน เป็นของฉบับเจ้าบ้าน
  2. บัตรประจำตัวประชาชนเดิม (ถ้ามี)
  3. หากไม่ปรากฏข้อมูลการทำบัตร หรือบัตรเดิมได้หมดอายุนานมากแล้ว ต้องนำเอกสารทางราชการเป็นผู้ออกให้มาแสดง พร้อมทั้งจะต้องนำเจ้าบ้านหรือพยานบุคคลที่สามารถเชื่อถือได้มาอ้างอิงรับรองทำบัตรประชาชนใหม่

กรณีเปลี่ยนที่อยู่ ย้ายถิ่นฐานใหม่

บุคคลที่มีการย้ายถิ่นฐาน เปลี่ยนที่อยู่ใหม่ โดยจะต้องเปลี่ยนตามทะเบียนบ้านเท่านั้น และบัตรประชาชนเดิมยังไม่หมดอายุ สามารถแจ้งทำบัตรประชาชนใหม่ได้

ค่าธรรมเนียม: 20 บาท

เอกสารที่ต้องใช้

  1. บัตรประจำตัวประชาชนใบเดิมที่ต้องการเปลี่ยน

กรณีถูกย้ายที่อยู่ เป็นบุคคลได้รับการเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้าน

บุคคลที่มีถูกย้ายถิ่นฐาน โดยพึ่งถูกเพิ่มชื่อเข้าไปในทะเบียนบ้านใหม่ อาจจะเป็นกรณีตกสำรวจเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้านจึงถูกเพิ่มขื่อภายหลังสามารถขอทำบัตรประชาชนได้ โดยจะต้องแจ้งทำบัตรประชาชนใหม่ภายในระยะเวลาไม่เกิน 60 วัน นับจากที่มีการเพิ่มชื่อลงทะเบียนบ้านใหม่ หากเกินกำหนดระยะเวลา 60 วัน จะต้องมีค่าปรับไม่เกิน 100 บาท

ค่าธรรมเนียม: ไม่มี

เอกสารที่ต้องใช้

  1. หากมีการเพิ่มชื่อ เพราะแจ้งเกิดเกินกำหนด ต้องใช้หลักฐานสูติบัตร และมีการสอบสวนเจ้าบ้านหรือบุคคลน่าเชื่อถือ
  2. หากมีการเพิ่มชื่อ เพราะกรณีชื่อตกสำรวจให้สำเนาทะเบียนบ้าน โดยเป็นบานที่ผู้นั้นเคยมีชื่ออยู่ก่อน จะต้องใช้เอกสารหลักฐานที่ทางราชการออกให้อย่างอื่นเพิ่มเติม และมีการสอบสวนเจ้าบ้านหรือบุคคลน่าเชื่อถือ

กรณีบุคคลได้สัญชาติไทย หรือได้รับอนุมัติให้มีสัญชาติไทย หรือได้กลับคืนสัญชาติไทย

บุคคลจะต้องแจ้งทำบัตรประชาชนใหม่ภายในระยะเวลาไม่เกิน 60 วัน นับจากที่มีการอนุมัติให้มีสัญชาติไทย หากเกินกำหนดระยะเวลา 60 วัน จะต้องมีค่าปรับไม่เกิน 100 บาท

ค่าธรรมเนียม: ไม่มี

เอกสารที่ต้องใช้

  1. เมื่อได้รับอนุมัติให้มีสัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติ หรือได้กลับคืนสัญชาติไทย จะต้องใช้หนังสือสำคัญการแปลงสัญชาติเป็นไทย หรือหนังสือสำคัญแสดงการได้กลับคืนสัญชาติเป็นไทย โดยจะต้องแล้วแต่กรณี
  2. หลักฐานอื่น ๆ ที่ทางราชการเป็นผู้ออกให้ และมีการสอบสวนเจ้าบ้านหรือบุคคลน่าเชื่อถือ

ทำบัตรประชาชนที่ไหน ?

ทําบัตรประชาชน
ตรวจสอบเลขบัตรประชาชน

สถานที่ทำบัตรประชาชน ดังนี้

  1. สถานที่ราชการทุกจังหวัดทั่วประเทศ

เช่น สำนักงานเขต, สำนักงานเทศบาล, สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง, ที่ว่าการอำเภอในพื้นที่ที่อาศัยอยู่ปัจจุบัน โดยจะสามารถยื่นเอกสาร ณ สถานที่ราชการได้ทุกจังหวัดทั่วประเทศ

  1. จุดบริการด่วนมหานคร (BMA Express Service)

พื้นที่กรุงเทพมหานครสามารถแจ้งทำบัตรประจำตัวประชาชนใหม่ที่ สถานีรถไฟฟ้า BTS ยกเว้นกรณีบัตรหายเท่านั้นที่จะต้องติดต่อศูนย์ราชการแทน

สถานที่และเวลาเปิดบริการทำบัตรประชาชน BTS

  1. ทำบัตรประชาชน BTS สถานีรถไฟฟ้าสยาม (หน้าสยามพารากอน)
    • ให้บริการในวันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 09.30-19.00 น.
    • วันเสาร์-อาทิตย์ และนักขัตฤกษ์ เวลา 10.00-18.00 น.
  1. ทำบัตรประชาชน BTS สถานีรถไฟฟ้าหมอชิต
    • ให้บริการในวันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 09.00-20.00 น.
    • วันเสาร์-อาทิตย์ และนักขัตฤกษ์ เวลา 10.00-18.00 น.
  1. ทำบัตรประชาชน BTS สถานีรถไฟฟ้าพร้อมพงษ์
    • ให้บริการในวันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 09.00-20.00 น.
    • วันเสาร์-อาทิตย์ และนักขัตฤกษ์ เวลา 10.00-18.00 น.
  1. ทำบัตรประชาชน BTS สถานีรถไฟฟ้าอุดมสุข
    • ให้บริการในวันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 10.00-19.00 น.
    • วันเสาร์-อาทิตย์ และนักขัตฤกษ์ เวลา 10.00-19.00 น.
  1. ทำบัตรประชาชน BTS สถานีรถไฟฟ้าวงเวียนใหญ่
    • ให้บริการในวันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 10.00-19.00 น.
    • วันเสาร์-อาทิตย์ และนักขัตฤกษ์ เวลา 10.00-19.00 น.

นอกจากจะสามารถขอทำบัตรประจำตัวประชาชนได้ที่สถานที่รถไฟฟ้า BTS แล้ว ก็ยังสามารถขอรับบริการทำบัตรประจำตัวประชาชนได้ที่ห้างสรรพสินค้าต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ศูนย์การค้าเกตเวย์เอกมัย, ห้างสรรพสินค้าแฟชั่นไอส์แลนด์, ห้างสรรพสินค้าซีคอนบางแค, ห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์บางแค, ห้างสรรพสินค้าตั้งฮั่วเส็ง เป็นต้น

ประกันสังคมว่างงาน
ประกันสังคมว่างงาน

ทั้งนี้ประชาชนสามารถติดต่อสอบถามเรื่องการการทำบัตรประชาชนได้ที่สำนักบริหารทะเบียน กรมการปกครองสายด่วน Call Center 1548 หรือสามารถติดต่อที่สำนักงานเขต และที่ว่าการอำเภอทุกแห่งทั่วประเทศ

ว่าด้วยเรื่องกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับบัตรประจำตัวประชาชน

ทางกฎหมายแล้วบัตรประจำตัวประชาชนเป็นเอกสารหลักฐานสำคัญที่สุดในการยืนยันความเป็นพลเมืองสัญชาติไทยตามกฎหมาย โดยมีหลักกฎหมายมากมายที่มีความเกี่ยวข้องกับเรื่องของบัตรประจำตัวประชาชน

กฎหมายที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการจะใช้กฎหมายหลัก คือ พ.ร.บ. บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๖ นอกจากนี้จะเป็นในส่วนขอกฎหมายรอง อาทิเช่น กฎกระทรวง การขอตรวจหลักฐาน รายการ หรือข้อมูลเกี่ยวกับบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. ๒๕๕๕ หรือกฎกระทรวง กำหนดบุคคลซึ่งได้รับการยกเว้นไม่ต้องมีบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. ๒๕๔๘ เป็นต้น

หากใครต้องการทราบข้อกฎหมายหลักและข้อกฎหมายรอง ว่าด้วยเรื่องระเบียบกระทรวงมหาดไทยเกี่ยวกับบัตรประจำตัวประชาชนก็สามารถดูข้อกฎหมายทั้งหมดได้จากช่องทางเว็บไซด์สำนักกฎหมาย สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย หรือคลิกลิ้งค์เว็บไซด์ http://www.law.moi.go.th/group5_law11.html

บัตรประจำตัวประชาชนเป็นของเรา แล้วจะถูกตำรวจยึดได้หรือไม่

เนื่องจากประเด็นนี้เป็นเรื่องที่ค่อนข้างละเอียดอ่อนและมีผู้ที่ไม่ทราบถึงกฎหมาย และความสำคัญเรื่องนี้จำนวนมาก ซึ่งเราก็จะมาไขข้อสงสัยเรื่องนี้กันให้กระจ่าง โดยจะสมมติยกตัวอย่างเหตุการณ์เพื่อประกอบความเข้าใจด้วย ดังนี้

เหตุการณ์สมมติ กรณีนาย A กำลังขับรถจักรยานยนต์คันหนึ่งมากำลังจะกลับที่พัก ระหว่างทางถูกตำรวจเรียกตรวจ และขอตรวจบัตรประจำตัวประชาชนเป็นของนาย A รวมทั้งขอตรวจปัสสาวะด้วย แต่นาย A ไม่ได้พกบัตรประจำตัวประชาชนมาด้วย รวมทั้งไม่ยินยอมให้ตรวจปัสสาวะ นาย A ได้อ้างว่าตามกฎหมายแล้วตำรวจไม่มีสิทธิ์ตรวจปัสสาวะ และไม่มีสิทธิ์ตรวจบัตรประจำตัวประชาชนเป็นของนาย A ได้

แท้จริงแล้ว..ตามหลักกฎหมายก่อนว่าตำรวจมีสิทธิ์หรือไม่มีสิทธิ์กระทำดังกล่าว?

จากเหตุการณ์ดังกล่าวเราต้องมาดูตามกฎหมายที่เป็นเรื่องบัตรประจำตัวประชาชนก่อน ซึ่งตามพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชนพุทธศักราช 2526 ได้ระบุไว้ว่า “กำหนดให้ผู้มีสัญชาติไทยและมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ซึ่งมีอายุตั้งแต่ 7 ปี แต่ไม่เกิน 70 ปี จะต้องมีบัตรประจำตัวประชาชน” ซึ่งหมายความว่าโดยทั่วไปแล้วบุคคลจะต้องเริ่มทำบัตรประจำตัวประชาชนตั้งแต่อายุ 7 ปีบริบูรณ์ แต่สำหรับกฎหมายว่าด้วยเรื่องการพกบัตรประจำตัวประชาชนได้กำหนดให้ “บุคคลที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไปเท่านั้นที่จะต้องพกบัตรประชาชน เพื่อแสดงต่อเจ้าพนักงาน ดังนั้นผู้ที่มีอายุระหว่าง 7 ปี แต่ไม่เกิน 15 ปี แต่ไม่ได้พกบัตรประชาชนก็ไม่มีความผิด” จะเห็นได้ว่าแค่ไม่แสดงบัตรประจำตัวประชาชนก็ถือเป็นความผิดเรียบร้อยแล้ว

ชี้แจงในประเด็นความผิดแรก คือหากคุณอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไปแล้วไม่พกบัตรประจำตัวประชาชนนี่ถือได้ว่าผิดกฎหมายแล้ว เพราะเมื่อคุณอายุมากกว่า 15 ปีขึ้นไปเจ้าพนักงานมีสิทธิ์ในการขอดูเอกสารสำคัญบัตรประจำตัวประชาชนได้ โดยที่นาย A ไม่แสดงบัตรประจำตัวประชาชนของตนเอง ตามพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน มาตรา 17 “ผู้ถือบัตรหรือใบรับหรือใบแทนใบรับ ซึ่งมีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป ผู้ใดไม่สามารถแสดงบัตรหรือใบรับหรือใบแทนใบรับ เมื่อเจ้าพนักงานตรวจบัตรขอตรวจ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 200 บาท”

แล้วหลายคนคงสงสัยว่าแล้วถ้านาย A แสดงบัตรประจำตัวประชาชนแล้วเจ้าหน้าที่มีสิทธิ์ยึดบัตรประจำตัวประชาชนได้หรือไม่ โดยทางกฎหมายแล้วประชาชนมีสิทธิ์อ้างกฎหมายเพื่อแสดงความชอบธรรมได้ว่า ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 เทียบเคียงคำพิพากษาฎีกาที่ 15366/2557 กล่าวว่า “กรณีที่เจ้าพนักงานหรือตำรวจยึดบัตรประจำตัวประชาชน โดยไม่มีเหตุสงสัยตามสมควร และชอบด้วยเหตุผล ไม่แจ้งข้อกล่าวหา และไม่ดำเนินคดีอย่างใด ๆ อันก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เป็นเจ้าของบัตร กรณีนี้จึงถือว่าเป็นการยึดเอาบัตรประชาชนไว้โดยลุแก่อำนาจ และมีเจตนากลั่นแกล้งให้ผู้เป็นเจ้าของบัตรได้รับความเดือดร้อนเสียหาย การกระทำของเจ้าพนักงานหรือตำรวจจึงเป็นความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่หรือละเว้นปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เป็นเจ้าของบัตร”

อย่างไรก็ตามสำหรับกรณีนาย A เจ้าหน้าที่มีสิทธิ์กล่างโทษได้เช่น เชิญตัวไปโรงพักกรณีที่มีความผิดไม่พกบัตรประจำตัวประชาชน และทำการเสียค่าปรับตามกฎหมาย และอาจจะมีกรณีอื่นร่วมด้วยเช่น ไม่สวมหมวกนิรภัย และหากนาย A โต้เถียงเจ้าหน้าที่พนักงานหรือตำรวจ ก็อาจจะมีข้อหาดูหมิ่นเจ้าพนักงาน หรือต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานได้ด้วยเช่นกัน

จะเห็นได้ว่ารู้กฎหมายแล้วก็ต้องรู้วิธีใช้กฎหมายอย่างมีขอบเขตด้วยเช่นกัน ทางที่ดีพกบัตรประจำตัวประชาชน และแสดงต่อเจ้าหน้าที่เมื่อมีเหตุจำเป็นอันควร หากพบว่ามีเหตุไม่จำเป็นสมควรก็ควรขอความช่วยเหลือกับผู้รู้กฎหมายจะดีเสียกว่า

สรุป

ประจำตัวประชาชนเป็นเอสการสำคัญอย่างมากของพลเมืองไทยทุกคน หากเราละเลยที่จะไม่ทำบัตรประชาชนเมื่อสูญหาย ก็จะส่งผลต่อสถานการณ์คับขันดังเหตุการณ์สมมติได้ หรืออาจจะส่งผลต่อความเสียหายด้านการทำธุรกรรมการเงิน ตลอดจนการแสดงตัวตนมากมาย ดังนั้นทางที่ดีบัตรประจำตัวประชาชนควรมีการอัพเดตข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน เป็นจริง และระวังไม่ให้ศูนย์หายจะดีที่สุด หากพบว่าหมดอายุก็ควรรีบต่อบัตรประจำตัวประชาชนใบใหม่ให้เรียบร้อย

บทความแนะนำ หมวดหมู่: ไลฟ์สไตล์
จำนวนคอมเมนต์ของโพสต์ ID 158967: 1555