ตรวจสอบสิทธิประกันสังคม

ตรวจสอบสิทธิ์&เช็คประกันสังคม 33 39 40 สิ้นสุดสถานะครบจบ?

Click to rate this post!
[Total: 299 Average: 5]
ในหน้านี้

ประกันสังคม คือ

ประกันสังคม หมายถึง เป็นกฎหมายที่กําหนดการให้หลักประกันแก่บุคคลในสังคมที่มีปัญหา หรือ ความเดือดร้อนทางด้านการเงิน เนื่องจากการประสบเคราะห์ภัย หรือมีเหตุการณ์อันทําให้เกิดปัญหาในการ ดํารงชีพ ซึ่งต้องการได้รับความช่วยเหลือ ในลักษณะเฉลี่ยความเสี่ยง เฉลี่ยทุกข์สุขร่วมกันระหว่างประโยชน์ ในสังคมโดยการรวบรวมเงินเข้าเป็นกองทุนและจ่ายช่วยเหลือนั้นก็คือ ผู้ที่ส่งเงินสมทบเข้ากองทุนที่ได้ปฏิบัติ ตามเงื่อนไขอันก่อให้เกิดสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครอง

เช็คประกันสังคม

sso go เช็คสิทธิประกันสังคม ด้วยเลขบัตรประชาชน

เช็คสิทธิ์บัตรประกันสังคมด้วยเลขบัตรประชาชน

เช็คสิทธิ์บัตรประกันสังคมด้วยเลขบัตรประชาชน

เช็คสิทธิประกันสังคม มาตรา 33

ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. ๒๕๓๓ ที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน ได้กําหนดให้ สถานประกอบกิจการที่มีลูกจ้างรวมกันตั้งแต่ ๒๐ คนขึ้นไป และนายจ้างของสถานประกอบกิจการนั้นต้องอยู่ ภายใต้บังคับของกฎหมายดังกล่าว แต่เมื่อพ้นกําหนด ๓ ปี นับแต่วันที่กฎหมายนี้ใช้บังคับ คือนับแต่วันที่ ๒ กันยายน ๒๕๓๓ กฎหมายฉบับนี้ก็จะใช้บังคับขยายไปยังกิจการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ ๑๐ คนขึ้นไปด้วย (มาตรา ๑๐๓) และแม้ต่อมาภายหลัง กิจการของนายจ้างมีจํานวนลูกจ้างลดลงเหลือไม่ถึงจํานวนที่กฎหมาย กําหนด กิจการดังกล่าวก็ยังคงอยู่ภายใต้กฎหมายนี้ต่อไป จนกว่าจะเลิกกิจการ ลูกจ้างที่ทํางานในกิจการ ดังกล่าวซึ่งอยู่ฐานะเป็นผู้ประกันตนมาตั้งแต่แรกก็ยังคงเป็นผู้ประกันตนต่อไปจนกว่าจะพ้นสภาพการเป็นลูก จ้าง และลูกจ้างที่เข้าทํางานใหม่ก็ต้องเป็นผู้ประกันตนตามกฎหมายนี้ด้วย แม้ว่าจํานวนลูกจ้างรวมทั้งเก่าและ ใหม่แล้วจะไม่ถึง ๒๐ คนก็ตาม (มาตรา ๔๓)

ผู้ประกันตน

คือ ลูกจ้างที่มีอายุไม่ต่ํากว่า 15 ปีบริบูรณ์ และไม่เกิน 60 ปีบริบูรณ์ในวันเข้า ทํางาน และทํางานอยู่ในสถานประกอบการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป นายจ้างต้องแจ้งขึ้นทะเบียน ลูกจ้างเป็นผู้ประกันตนภายใน 30 วัน นับแต่วันที่รับลูกจ้างเข้าทํางาน มิฉะนั้นจะมีความผิดต้องระวาง โทษจําคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

เงินสมทบกองทุนประกันสังคม คือ เงินที่นายจ้าง ลูกจ้างจะต้องนําส่งเข้ากองทุนประกัน สังคมทุกเดือน โดยคํานวณจากค่าจ้างจริงที่ลูกจ้างได้รับในอัตราเงินสมทบร้อยละ 5 ซึ่งกําหนดจาก ฐานค่าจ้างเป็นรายเดือนต่ําสุดเดือนละ 1,650 บาท และสูงสุดไม่เกินเดือน 15,000 บาท (เงินสมทบ ขึ้นต่ําเดือนละ 83 บาท และไม่เกินเดือนละ 750 บาท ทั้งนี้รัฐบาลจะออกเงินสมทบเข้ากองทุนอีกส่วนหนึ่ง

ผู้ประกันตนจะได้รับบัตรรับรองสิทธิการรักษาพยาบาล เมื่อได้ขึ้นทะเบียนและส่งเงินสมทบ ครบ 3 เดือนแล้ว โดยผู้ประกันตนจะต้องเลือกสถานพยาบาลที่จะเข้ารับการพยาบาลเอง สํานักงาน ประกันสังคมจะส่งบัตรรับรองสิทธิฯ มาให้เพื่อใช้ในการรักษาพยาบาลตามสถานพยาบาลที่ระบุไว้ในบัตร รับรองสิทธิฯ ซึ่งจะให้การรักษาพยาบาลโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ เว้นแต่ ถ้าต้องการสิ่งอํานวย ความสะดวกผู้ประกันตนจะต้องจ่ายเงินเพิ่มเอง

หลักการประกันสังคม

การประกันสังคม คือ การสร้างหลักประกันในการดํารงชีวิต ในกลุ่มของสมาชิกที่เข้าร่วมโครงการเพื่อรับผิดชอบในการเฉลี่ย ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการเจ็บป่วย คลอดบุตร ทุพพลภาพ ตาย สงเคราะห์บุตร ชราภาพ และว่างงาน ซึ่งเป็นเรื่องสําคัญที่รัฐบาล ของประเทศต่างๆ ในโลกส่วนใหญ่นําระบบประกันสังคมไปใช้ ในการให้หลักประกันชีวิตแก่ประชาชนของตนตั้งแต่เกิดจนตาย หลักประกันสังคมมีคุณลักษณะ ดังนี้

หลักประกันสังคมมีคุณลักษณะ ดังนี้

  1. เป็นระบบการเฉลี่ยทุกข์ – เฉลี่ยสุข ซึ่งกันและกันระหว่าง มวลสมาชิก ซึ่งโดยทั่วไปรัฐบาลของทุกประเทศจะให้ความสําคัญ แก่บุคคลที่ทํางานมีรายได้และอยู่ในระบบแรงงานก่อน และขยาย ความคุ้มครองไปสู่ผู้ทํางานที่มีรายได้นอกระบบการจ้างงานปกติ ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มที่เรียกว่า แรงงานนอกระบบ
  2. เงินสมทบที่เก็บไปนั้นจะสะสมเป็นกองทุน ซึ่งจะให้ สิทธิประโยชน์เฉพาะกับบุคคลที่ส่งเงินสมทบ ซึ่งประเทศไทยเรียกว่า ผู้ประกันตน เท่านั้น
  3. การเก็บเงินสมทบ ซึ่งถือว่าเป็นภาษีพิเศษ ซึ่งจะเก็บจาก บุคคลที่กฎหมายกําหนดเท่านั้น ทั้งนี้ความสําเร็จประการหนึ่งของการประกันสังคม ก็คือ เป้าหมายหลักที่จะทําให้การประกันสังคมสามารถครอบคลุม ทุกตัวบุคคลของประชาชนในชาติ (Universal Coverage) ได้ในอนาคต สําหรับประเทศไทยได้จัดการดําเนินการระบบประกันสังคมเป็น 2 กองทุน คือ กองทุนประกันสังคมและกองทุนเงินทดแทน

กองทุนประกันสังคม

คือ กองทุนที่ให้หลักประกันแก่ผู้ประกันตนให้ได้รับประโยชน์ ทดแทน เมื่อต้องประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ทุพพลภาพ หรือตาย ซึ่งไม่เนื่องจากการทํางาน รวมทั้ง กรณีคลอดบุตร สงเคราะห์บุตร ชราภาพ และว่างงาน ยื่นแบบขึ้นทะเบียนเมื่อใด

นายจ้างที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป (มีอายุไม่ต่ํากว่า 15 ปีบริบูรณ์ และไม่เกิน 60 ปีบริบูรณ์ในวันเข้าทํางาน) จะต้องขึ้นทะเบียนนายจ้าง พร้อมกับขึ้นทะเบียนลูกจ้างที่เป็นผู้ประกันตน ภายใน 30 วัน นับตั้งแต่ มีลูกจ้าง 1 คนขึ้นไป และเมื่อมีการรับลูกจ้างใหม่เพิ่มขึ้นต้องแจ้ง ขึ้นทะเบียนลูกจ้างใหม่ภายใน 30 วัน นับแต่ลูกจ้างเข้าทํางานเช่นกัน ขึ้นทะเบียนได้ที่ไหน? » นายจ้าง ที่มีสํานักงานใหญ่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครให้ยื่นแบบ ได้ที่สํานักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ที่สถานประกอบการ ตั้งอยู่ » นายจ้าง ที่มีสํานักงานใหญ่ในส่วนภูมิภาคให้ยื่นแบบขึ้นทะเบียน ได้ที่สํานักงานประกันสังคมจังหวัดที่สถานประกอบการตั้งอยู่

หลักฐานประจําตัวผู้ประกันตน

  1. สําหรับผู้ประกันตนที่เป็นคนไทยจะใช้บัตรประจําตัวประชาชน แทนบัตรประกันสังคม
  2. ผู้ประกันตนที่เป็นคนต่างด้าวที่ทํางานโดยมีใบอนุญาตทํางาน จะได้รับบัตรประกันสังคม เพื่อใช้ติดต่อกับสํานักงานประกันสังคม
  3. ผู้ประกันตนที่เป็นคนต่างด้าวที่มีบัตรประจําตัวที่ กรมการปกครองออกให้ หรือผู้ประกันตนต่างด้าวที่มีใบสําคัญประจําตัว คนต่างด้าวให้ใช้เอกสารดังกล่าวแทนบัตรประกันสังคม เพื่อใช้ติดต่อ กับสํานักงานประกันสังคม

การแจ้งการสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน

กรณีที่มีลูกจ้างลาออกจากงานหรือเลิกจ้าง ให้นายจ้างแจ้ง การออกจากงานภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดจากเดือนที่มี การเปลี่ยนแปลง โดยใช้แบบแจ้งการสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน (สปส.6-09)

การแจ้งเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงผู้ประกันตน

กรณีที่ผู้ประกันตนเปลี่ยนแปลงชื่อ ชื่อสกุล หรือข้อมูล สถานภาพครอบครัวและข้อมูลจํานวนบุตรให้นายจ้างแจ้งภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดจากเดือนที่มีการเปลี่ยนแปลง โดยใช้แบบแจ้ง การเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงของผู้ประกันตน (สปส.6-10)

เช็คสิทธิประกันสังคมด้วยเลขบัตรประชาชน

เช็คสิทธิประกันสังคมด้วยเลขบัตรประชาชน

เงินสมทบ คือ…อะไร

คือ เงินที่นายจ้าง ลูกจ้าง จะต้องนําส่งเข้ากองทุนประกันสังคม ทุกเดือน โดยคํานวณจากค่าจ้างที่ลูกจ้างได้รับ ซึ่งกําหนดจากฐาน ค่าจ้างที่ไม่ต่ํากว่าเดือนละ 1,650 บาท และสูงสุดไม่เกินเดือนละ 15,000 บาท โดยรัฐบาลจะออกเงินสมทบเข้ากองทุนด้วยส่วนหนึ่ง

คนที่หักเงินสมทบคือใคร และถูกหักเงินอย่างไร

ลูกจ้าง นายจ้าง และรัฐบาล โดยลูกจ้างจะถูกนายจ้างหักในอัตรา ร้อยละ 5 ของค่าจ้าง นายจ้างก็จะร่วมจ่ายเงินสมทบเท่าจํานวน ที่รับจากลูกจ้าง คือ อัตราร้อยละ 5 และรัฐบาลร่วมจ่ายสมทบในอัตรา ร้อยละ 2.75 ตามตาราง

ประกันสังคม มาตรา 33

เช็คประกันสังคมมาตรา 33 คือ ลูกจ้างผู้ซึ่งทํางานให้กับนายจ้างที่อยู่ในสถานประกอบการ ที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป ได้รับความคุ้มครอง 7 กรณี ดังนี้

กรณีเจ็บป่วย

  1. การเจ็บป่วยปกติ
      • กรณีการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยฉุกเฉิน ไม่สามารถเข้า รับบริการ ณ สถานพยาบาลที่กําหนดสิทธิได้
  2. กรณีคลอดบุตร ผู้ประกันตนที่ส่งเงินสมทบครบ 5 เดือน ภายใน 15 เดือน ก่อนเดือนที่คลอดมีสิทธิได้รับค่าคลอดบุตรโดยไม่จํากัดจํานวนครั้ง ดังนี้
      • ผู้ประกันตนหญิง
      • ผู้ประกันตนชาย (ที่มีภริยาจดทะเบียนสมรสหรือหญิง ซึ่งอยู่ กินกันฉันสามีภริยาแต่มิได้จดทะเบียนสมรส)
  3. กรณีทุพพลภาพ ผู้ประกันตนที่ส่งเงินสมทบครบ 3 เดือน ภายใน 15 เดือน ก่อนเดือนที่ทุพพลภาพ
  4. กรณีตาย ผู้ประกันตนที่ส่งเงินสมทบครบ 1 เดือน ภายใน 6 เดือน ก่อนเดือนถึงแก่ความตาย
  5. กรณีสงเคราะห์บุตร ผู้ประกันตนที่ส่งเงินสมทบครบ 12 เดือน ภายใน 36 เดือน ก่อนเดือนที่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน
  6. กรณีชราภาพ เงินบําเหน็จชราภาพ
  7. กรณีว่างงาน ผู้ประกันตนที่ส่งเงินสมทบครบ 6 เดือน ภายใน 15 เดือน ก่อนการว่างงาน
      • กรณีที่ 1 ถูกเลิกจ้าง
      • กรณีที่ 2 ลาออกหรือสิ้นสุดสัญญาจ้างที่มีกําหนดระยะเวลา การจ้างไว้แน่นอน

ประกันสังคม มาตรา 39

ผู้ประกันตน มาตรา 39 คือ ผู้ประกันตนโดยสมัครใจเป็นบุคคลที่เคยเป็นผู้ประกันตน มาตรา 33 จ่ายเงินสมทบก่อนออกจากงานมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน แล้วลาออก แต่ต้องการรักษาสิทธิประกันสังคม โดยได้รับความคุ้มครอง 6 กรณี ดังนี้

การรักษาสิทธิประกันสังคม โดยได้รับความคุ้มครอง 6 กรณี ดังนี้

  1. กรณีเจ็บป่วย
  2. กรณีทุพพลภาพ
  3. กรณีคลอดบุตร
  4. กรณีตาย
  5. กรณีสงเคราะห์บุตร
  6. กรณีชราภาพ

คุณสมบัติของผู้สมัครประกันสังคมมาตรา 39

ผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ต้องเคยเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ส่งเงินสมทบมาแล้ว ไม่น้อยกว่า 12 เดือน และออกจากงานแล้ว ไม่เกิน 6 เดือน นับแต่ วันที่ออกจากงาน

หลักฐานการสมัคร ประกันสังคมมาตรา 39 

  1. แบบคําขอเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 (สปส.1-20)
  2. กรณีประสงค์จะชําระเงินสมทบโดยหักบัญชีเงินฝากธนาคาร ให้แนบสําเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร ประเภทออมทรัพย์หน้าแรก ที่มีชื่อและเลขที่บัญชีของผู้ประสงค์สมัครเป็นผู้ประกันตนตาม มาตรา 39 พร้อมรับรองสําเนาถูกต้อง

เงินสมทบประกันสังคมมาตรา 39 ดังนี้

  • เดือนละ 432 บาท
  • เงินที่ใช้เป็นฐานในการคํานวณเงินสมทบ คือ เดือนละ 4,800 บาท เท่ากันทุกคน โดยคิดจากอัตราเงินสมทบ 9% (9% X 4,800 = 432) ซึ่งผู้ประกันตนจะได้รับความคุ้มครอง 6 กรณี (เจ็บป่วย คลอดบุตร ทุพพลภาพ ตาย สงเคราะห์บุตรและชราภาพ) ต่อเนื่องจากการเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33

ช่องทางการชําระเงินสมทบผู้ประกันตนตามมาตรา 39

  • หักบัญชีเงินฝากของธนาคารกรุงไทย จํากัด (มหาชน) ธนาคาร กรุงศรีอยุธยา จํากัด (มหาชน) ธนาคารไทยพาณิชย์ จํากัด (มหาชน) ธนาคารกสิกรไทย จํากัด (มหาชน) ธนาคารกรุงเทพ จํากัด (มหาชน) ธนาคารทหารไทย จํากัด (มหาชน) และธนาคารธนชาต จํากัด (มหาชน)
  • จ่ายผ่านเคาน์เตอร์ธนาคาร ได้แก่ ธนาคารกรุงไทย จํากัด (มหาชน) ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จํากัด (มหาชน) และธนาคาร ธนชาต จํากัด (มหาชน)
  • จ่ายผ่านเคาน์เตอร์หน่วยบริการ ได้แก่ เคาน์เตอร์เซอร์วิส เทสโก้โลตัส เซ็นเพย์ บิ๊กซี และที่ทําการไปรษณีย์ด้วยระบบ Pay at Post
  • ณ สํานักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขา

ประกันสังคม มาตรา 40

ประกันสังคมมาตรา 40 คือ ผู้ประกอบอาชีพอิสระเช่น ผ่อค้าแม่ค้า แม่บ้าน รับจ้างต้องการมีหลักประกันในชีวิต การจ่ายเงินสมทบผู้ประกันตนมาตรา 40 มี 3 ทางเลือก ดังนี้

ช่องทางการจ่ายเงินสมทบผู้ประกันตนมาตรา 40 ดังนี้

  • 1  จ่าย 70 บาท/เดือน
      • รับสิทธิประโยชน์ 3 กรณี
      • เงินทดแทนการขาดรายได้กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย
      • เงินทดแทนการขาดรายได้กรณีทุพพลภาพ
      • ตาย(ค่าทำศพ)
  •  2  จ่าย 100 บาท/เดือน
      • รับสิทธิประโยชน์ 4 กรณี
      • เงินทดแทนการขาดรายได้กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย
      • เงินทดแทนการขาดรายได้กรณีทุพพลภาพ
      • ตาย (ค่าทำศพ)
      • ชราภาพ (รับบำเหน็จ)
  • 3 จ่าย 300 บาท/เดือน
      • รับสิทธิประโยชน์ 5 กรณี
      • เงินทดแทนการขาดรายได้กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย
      • เงินทดแทนการขาดรายได้กรณีทุพพลภาพ
      • ตาย (ค่าทำศพ)
      • ชราภาพ (รับบำเหน็จ)
      • สงเคราะห์บุตร

1.หักบัญชีเงินฝาก

  • ธนาคารกรุงไทย จํากัด (มหาชน) ธนาคาร กรุงศรีอยุธยา จํากัด (มหาชน) ธนาคารไทยพาณิชย์ จํากัด (มหาชน) ธนาคารกสิกรไทย จํากัด (มหาชน) ธนาคารกรุงเทพ จํากัด (มหาชน) ธนาคารทหารไทย จํากัด (มหาชน) และธนาคารธนชาต จํากัด (มหาชน)

2.จ่ายผ่านเคาน์เตอร์ธนาคาร

  • ธนาคารกรุงไทย จํากัด (มหาชน) ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จํากัด (มหาชน) และธนาคาร ธนชาต จํากัด (มหาชน)

3.จ่ายผ่านเคาน์เตอร์หน่วยบริการ

  • เคาน์เตอร์เซอร์วิส เทสโก้โลตัส เซ็นเพย์ และบิ๊กซี

สมัครได้ที่ สํานักงานประกันสังคมทุกแห่ง และทางเว็บไซค์ www.sso.go.th หรือเคาน์เตอร์เซอร์วิส

ประกันสังคม-มาตรา-33

เช็คสิทธิประกันสังคม มาตรา 40 ด้วย เลขบัตรประชาชน

เช็คสิทธิ์ประกันสังคมมาตรา 33 39 และ 40 ด้วยเลขบัตรประชาชน 13 หลัก

หากท่านต้องการเช็คสิทธิประกันสังคม ตรวจสอบประกันสังคม ตรวจสอบสิทธิ์ หรือ เช็คสถานะประกันสังคม

ปัจจุบันมี 3 ช่องทางหลัก คือ

  • เช็คผ่านเว็บไซต์ www.sso.go.th
  • เช็คจากแอพพิเคชั่น SSO Connect
  • เช็คจากการสอบถามเจ้าหน้าที่โดยตรง โดยการโทรสอบถาม หรือไปที่สำนักงานประกันสังคม

เช็คผ่านเว็บไซต์ www.sso.go.th (สมัครสมาชิกแล้ว)

1.ขั้นตอนที่หนึ่งไปที่เว็บ https://www.sso.go.th/wpr/main/login

ประกันสังคม

ประกันสังคม

2.ใส่เลขบัตรประชาชน และ รหัสผ่าน แล้วคลิก เข้าสู้ระบบ

ประกันสังคม

ประกันสังคม

3.ระบบจะแสดงสถานะต่าง ๆ เกี่ยวกับการใช้งาน ผู้ใช้งานสามาถ คลิกตรวจสอบสิทธิต่าง ๆ ได้เลย

ประกันสังคม

ประกันสังคม

4 ผู้ใช้งานสามาถ คลิกตรวจสอบสิทธิต่าง ๆ ได้หัวข้อที่กำหนด

ประกันสังคม

ประกันสังคม

5.ประวัติการเปลี่ยนสถานพยาบาล

ประกันสังคม

ประกันสังคม

6.กรณีต้องการยื่นขอเปลี่ยนสถานพยาบาล สามารถทำได้โดยการ เลือกหัวข้อ ยื่นแบบขอเปลี่ยนสถานพยาบาล

ประกันสังคม

ประกันสังคม

หลักเกณฑ์การเลือกสถานพยาบาล ของผู้ประกันตน

  1. การเลือกสถานพยาบาล
    • ผู้ประกันตนหรือผู้มีสิทธิต้องเลือกสถานพยาบาลซึ่งตั้งอยู่ในเขตจังหวัดที่ประจำทำงานอยู่หรือ พักอาศัยอยู่จริง หรือเขตจังหวัดรอยต่อ
  2. การเปลี่ยนสถานพยาบาล
    • ผู้ประกันตนหรือผู้มีสิทธิสามารถขอเปลี่ยนสถานพยาบาลได้ ตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
      • เปลี่ยนสถานพยาบาลประจำปีได้ปีละ 1 ครั้ง ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึงวันที่ 31 มีนาคมของทุกปี (ยื่นแบบได้ตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม เป็นต้นไป)
      • เปลี่ยนสถานพยาบาลระหว่างปี กรณีมีเหตุจำเป็น เช่น ย้ายที่พักอาศัย ย้ายสถานที่ประจำทำงาน หรือพิสูจน์ทราบว่ามีการเลือกสถานพยาบาลให้ผู้ประกันตนหรือผู้มีสิทธิ โดยผู้ประกันตนหรือผู้มีสิทธินั้น ไม่ประสงค์จะไปรับบริการทางการแพทย์ในสถานพยาบาลดังกล่าว ทั้งนี้ กรณีย้ายที่พักอาศัย หรือย้ายสถานที่ประจำทำงาน  ให้ยื่นเปลี่ยนสถานพยาบาลภายในระยะเวลา สามสิบวันนับแต่วันที่ย้ายที่พักอาศัย หรือย้ายสถานที่ประจำทำงาน
  3. การกำหนดสิทธิในการรับบริการทางการแพทย์
    • เมื่อผู้ประกันตนหรือผู้มีสิทธิยื่นแบบฯ แล้ว สำนักงานจะกำหนดสถานพยาบาลที่ผู้ประกันตนหรือผู้มีสิทธิมีสิทธิไปรับบริกรทางการแพทย์ โดยระบุวันเริ่มสิทธิ ดังนี้
      • รับแบบฯ ระหว่างวันที่ 1 ถึงวันที่ 15 (ก่อน 16.30น. ของวันที่15 ) กำหนดสิทธิในการรับบริการทางการแพทย์เป็นวันที่ 16 ของเดือนนั้น
      • รับแบบฯ ระหว่างวันที่ 16 ถึงวันทำการสุดท้ายของเดือน (ก่อน 16.30 น.ของวันสุดท้ายของเดือน) กำหนดสิทธิในการรับบริการทางการแพทย์เป็นวันที่ 1 ของเดือนถัดไป

6.ข้อมูลการใช้สิทธิประโยชน์ทดแทน

ประกันสังคม

ประกันสังคม

เช็คจากแอพพิเคชั่น SSO Connect

เช็คประกันสังคม

เช็คประกันสังคม

เช็คประกันสังคม

เช็คประกันสังคม

เช็คประกันสังคม

เช็คประกันสังคม

เช็คประกันสังคม

เช็คประกันสังคม

เช็คประกันสังคม

เช็คประกันสังคม

เช็คประกันสังคม

เช็คประกันสังคม

เช็คประกันสังคม

เช็คประกันสังคม

สิทธิประโยชน์ในสถานพยาบาลตามสิทธิ

ผู้ประกันตนที่ส่งเงินสมทบครบ 3 เดือน ภายใน 15 เดือน ก่อนเดือนที่เจ็บป่วยหรือประสบอันตราย สามารถเข้ารับการรักษา พยาบาลในสถานพยาบาลตามสิทธิหรือเครือข่ายของสถานพยาบาล นั้นได้ฟรี โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ไม่ว่าจะเป็นผู้ป่วยนอก หรือผู้ป่วยใน รวมทั้งค่าตรวจสุขภาพและฟื้นฟูสมรรถภาพ เว้นแต่ ประสงค์สิ่งอํานวยความสะดวก เช่น ห้องพิเศษ แพทย์พิเศษ หรือ ค่าโทรศัพท์เหล่านี้ต้องจ่ายเพิ่มเอง รวมถึงการเจ็บป่วยหรือประสบ อันตรายอันมิใช่เนื่องจากการทํางานด้วยเหตุหรือกลุ่มโรคและบริการ ที่ไม่มีสิทธิได้รับบริการทางการแพทย์

หากแพทย์ให้หยุดพักรักษาตัวสามารถขอรับเงินทดแทน การขาดรายได้ร้อยละ 50 ของค่าจ้างแต่ไม่เกิน 90 วันต่อครั้งและ ในหนึ่งปีปฏิทินไม่เกิน 180 วันต่อปี ยกเว้น ป่วยด้วยโรคเรื้อรัง จะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ไม่เกิน 365 วัน

**กรณีป่วยด้วยโรคเรื้อรัง เมื่อเสียชีวิตจะได้รับค่าทําศพและเงินสงเคราะห์กรณีตายเช่นเดียวกับกรณีตาย**

สิทธิประโยชน์ในสถานพยาบาลตามความตกลง

ค่าบริการทางการแพทย์กรณีบําบัดทดแทนไต ผู้ประกันตน ที่เจ็บป่วยด้วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายและได้รับการอนุมัติ ให้เป็นผู้มีสิทธิได้รับค่าบริการทางการแพทย์กรณีบําบัดทดแทนไต ตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขกําหนดและอัตราค่าบริการทางการแพทย์ที่ สํานักงานประกันสังคมกําหนด ดังนี้

ประกันสังคมกําหนด หลักเกณฑ์เงื่อนไขกําหนด และอัตราค่าบริการทางการแพทย์ ดังนี้

  1. กรณีฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมในสถานพยาบาลที่ สํานักงานประกันสังคมกําหนดไม่น้อยกว่าสัปดาห์ละ 2 ครั้งๆ ละ ไม่น้อยกว่า 4 ชั่วโมง ไม่เกิน 1,500 บาทต่อครั้ง และไม่เกิน 4,500 บาท ต่อสัปดาห์
  2. กรณีล้างช่องท้องด้วยน้ํายาอย่างถาวรให้แก่สถานพยาบาล ดังกล่าวเป็นค่าตรวจรักษาและค่าน้ำยา ล้างช่องท้องพร้อมอุปกรณ์ ไม่เกินเดือนละ 20,000 บาท เว้นแต่ภายในเดือนแรกและเดือนสุดท้าย ที่ได้รับอนุมัติจะจ่ายค่าตรวจรักษาและค่าน้ํายาล้างช่องท้อง พร้อม อุปกรณ์ไม่เกินวันละ 750 บาท ตามจํานวนวันที่เหลือในเดือนนั้น
  3. กรณีปลูกถ่ายไต จ่ายให้แก่สถานพยาบาลในความตกลงและ ให้บริการผู้ประกันตนตามหลักเกณฑ์และอัตรากําหนดตามประกาศ คณะกรรมการการแพทย์
  4. การเตรียมหลอดเลือดหรือสายสวนหลอดเลือดสําหรับ การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ไม่เกิน 20,000 บาท/ราย/2 ปี หากภายในระยะเวลา 2 ปีนั้น ผู้ประกันตนมีความจําเป็นต้องเตรียม หลอดเลือดหรือแก้ไขหลอดเลือด เบิกเพิ่มเติมได้อีกไม่เกิน 10,000 บาท
  5. การวางท่อรับส่งน้ำยาเข้าออกช่องท้องพร้อมอุปกรณ์ให้แก่ ผู้ประกันตนหรือสถานพยาบาลไม่เกิน 20,000 บาท ต่อรายต่อ 2 ปี หากภายในระยะเวลา 2 ปีนั้น ผู้ประกันตนมีความจําเป็นต้องวางท่อ รับส่งน้ํายาล้างช่องท้อง เบิกเพิ่มได้อีกไม่เกิน 10,000 บาท
  6. กรณีการให้ยา Erythropoietin จะได้รับสิทธิต่อเมื่อได้รับ อนุมัติสิทธิการบําบัดทดแทนไตก่อน ผู้ประกันตนที่มีภาวะโลหิตจาง ระดับความเข้มข้นของโลหิต (Hct) น้อยกว่าหรือเท่ากับ 39% มีสิทธิได้รับยา Erythropoietin จากสถานพยาบาลที่สํานักงาน ประกันสังคมกําหนดในการให้บริการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม และล้างช่องท้องด้วยน้ํายาอย่างถาวร

ช่องทางการรับประโยชน์ทดแทน

  1. รับเงินด้วยตนเอง/หรือมอบอํานาจรับเงินแทน ทั้งนี้ในอนาคต สํานักงานประกันสังคมจะดําเนินการจ่ายเงิน โดยจ่ายผ่านธนาคารหรือ หน่วยบริการตามนโยบายรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์
  2. รับเงินทางธนาณัติ
  3. รับเงินผ่านธนาคาร 11 แห่ง ได้แก่
    • ธนาคารกสิกรไทย จํากัด (มหาชน)
    • ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จํากัด (มหาชน)
    • ธนาคารกรุงเทพ จํากัด (มหาชน)
    • ธนาคารไทยพาณิชย์ จํากัด (มหาชน)
    • ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
    • ธนาคารกรุงไทย จํากัด (มหาชน)
    • ธนาคารธนชาต จํากัด (มหาชน)
    • ธนาคารทหารไทย จํากัด (มหาชน)
    • ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย
    • ธนาคารออมสิน
    • ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

ประกันสังคม เป็นสวัสดิการที่ทางรัฐมอบให้แก่ลูกจ้าง โดยลูกจ้างและนายจ้างต้องส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมตามกฎหมาย

มีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์

1,000 บาท

สำหรับผู้ประกันตนชายที่มีภริยาจดทะเบียนสมรส หรือหญิง ซึ่งอยู่กินฉันสามีภริยาแต่มิได้จดทะเบียนสมรส จะได้รับเฉพาะเงินค่าคลอดบุตรเหมาจ่าย จำนวน 15,000 บาท

รับยื่นประกันสังคม

รับขั้นทะเบียนนายจ้าง

banknote
217920
221625
ดอกเบี้ย
จำนวนเฉพาะมีความสัมพันธ์กับความปลอดภัย
คำกริยา
บทความแนะนำ หมวดหมู่: เศรษฐกิจ
จำนวนคอมเมนต์ของโพสต์ ID 153598: 1310