ค่าส่วนกลาง

ค่าส่วนกลางข้อบังคับใบปลดหนี้ 7 COMMON FEE หมู่บ้านจัดสรรมี?

Click to rate this post!
[Total: 210 Average: 5]
ในหน้านี้

ค่าส่วนกลาง

การจัดตั้งนิติบุคคบหมู่บ้านจัดสรร

ค่าส่วนกลาง

หมู่บ้านจัดสรรที่เกิดขึ้นมา หรือ หลังจาก ปีพ.ศ.2543 หากต้องการจะมีตังวตนทางกฎหมายในสังคมหมู่บ้านจัดสรร และจัดทำให้ถูฏต้องเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ดังนั้น ผู้ออกกฎนั้น ได้มีการกำหนด พ.ร.บ.จัดสรรที่ดิน พ.ศ.2543 เพื่อความเข้าใจที่ตรงกันและ ต้องปฎิบัตืตาม แต่ในความเป็นจริงผู็คนที่อาศัยอยู่ในชุมชนมีความเห็นไม่ตรงกัน บ้างเห็นด้วย บ้างไม่เห็นด้วย กับการจัดตั้งเป็นนิติบุคคล เนื่องจาก การดำเนินการต่างๆ หลังจากการจดจัดตั้งเป็นนิติบุคคลแล้ว

การกระทำใดๆ ที่ขัดต่อข้อบังคับ หรือกฎที่กำหนดขึ้น ทำให้มีผลต่อกฎหมาย ทั้งบุคคลภายในและภายนอกทั้งสิ้น
การจัดตั้งนิติบุคคบหมู่บ้านจัดสรร จึงได้กำหนดให้ ผู็ซื้อที่ดินจัดสรรจำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนแปลงย่อยตามแผนผังของโครงการ และมีมติให้จัดตั้ง และแต่งตั้งตัวแทนไปยื่นตคำขอจดทะเบียนต่อเจ้าหน้าพนักงานที่ดินจังหวัด หรือ สาขา พร้อมด้วยข้อบังคับที่กำหนดไว้

ตัวอย่าง ข้อบังคับ นิติบุคคล หมู่บ้าน จัดสรร

  1. ชื่อนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร
  2. วัตถุประสงค์
  3. ที่ตั้งสำนักงาน
  4. ข้อกำหนดเกี่ยวกับจำนวนกรรมการ การเลือกตั้ง วาระการดำรงตำแหน่งการพ้นจากตำแหน่งและการประชุมของคณะกรรมการหมู่บ้านจัดสรร
  5. ข้อกำหนดเกี่ยวกับการดำเนินงาน การบัญชี และการเงิน
  6. ข้อกำหนดเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของสมาชิก
  7. ข้อกำหนดเกี่ยวกับการประชุมใหญ่

ในกรณีการจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร เมื่อจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรแล้ว

นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร หน้าที่

  1. ให้คณะกรรมการหมู่บ้านจัดสรรกำหนดอัตราค่าใช้จ่ายและเสนอให้ ที่ประชุมใหญ่ของสมาชิกมีมติเห็นชอบ
  2. เมื่อที่ประชุมใหญ่ของสมาชิกมีมติเห็นชอบการกำหนดอัตราค่าใช้จ่ายดังกล่าวแล้ว ให้ คณะกรรมการหมู่บ้านจัดสรรแจ้งให้สมาชิกทราบว่าจะจัดเก็บค่าใช้จ่ายเป็นรายเดือนในอัตราเท่าใด
  3. เมื่อแจ้งแล้วเริ่มจัดเก็บค่าใช้จ่าย จากสมาชิกภายในวันที่เท่าใดของทุกเดือน พร้อมทั้งวิธีการและสถานที่ในการจัดเก็บ
  4. การกำหนดวันเริ่มจัดเก็บค่าใช้จ่ายของเดือนแรกจะต้องกำหนดระยะเวลาไม่น้อยกว่าสามสิบวัน นับแต่วันที่ประชุมใหญ่ของสมาชิกมีมติเห็นชอบการกำหนดอัตราค่าใช้จ่าย
นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร

นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร สาธารณูปโภค

ลูกบ้านไม่จ่ายค่าส่วนกลาง

หากมีการกำหนดอัตราค่าใช้จ่าย และ ระยะเวลาที่ชัดเจนแล้ว มีลูกบ้านไม่จ่ายชำระ หรือจ่ายล่าช้า ข้อควรปฎิบัติ

  1. กำหนด อัตราค่าปรับหรือมาตรการบังคับในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ชำระ ค่าใช้จ่ายได้ชำระเงินล่าช้ากว่าเวลาที่กำหนด
  2. หากค้างชำระเงินติดต่อกัน ตั้งแต่สามเดือนขึ้นไปและตั้งแต่หกเดือนขึ้นไป รวมทั้งแจ้งให้ทราบว่าหนี้ค่าใช้จ่ายดังกล่าวเป็น หนี้บุริมสิทธิในมูลรักษาอสงหาริมทรัพย์เหนือที่ดินจัดสรรของผู้ค้าง ชำระ

*กรณีการจัดตั้งนิติบุคคลตามกฎหมายอื่นก่อนมี พรบ.จัดสรรที่ดิน ปี 2543  เมื่อจัดตั้งนิติบุคคลตามกฎหมายอื่นแล้ว ก็จัดเก็บตามลักษณะข้างตนได้เช่นกัน

หนังสือบอกกล่าวทวงถามให้ชําระหนี้ ค่าส่วนกลาง

ค้างชำระค่าส่วนกลาง

ดาวน์โหลด หนังสือบอกกล่าวทวงถามให้ชําระหนี้ ค่าส่วนกลาง >> ทวงถามค่าส่วนกลาง

การจัดเก็บค่าส่วนกลาง

ตามหลักเกณฑ์และวิธีการจัดเก็บค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาและการจัดทำสาธารณูปโภค หากทางนิติบุคคลได้จัดทำ วิธีการ และ กำหนดอัตราค่าส่วนกลางสาธารณูปโภค เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็ถึงเวลาจัดเก็บ และรับชำระค่าส่วนกลาง

ตัวอย่างงบการเงิน หมู่บ้านจัดสรร

ตัวอย่างงบการเงิน หมู่บ้านจัดสรร

การจัดเก็บค่า ส่วนกลาง และค่าการบริหารค่าใช้จ่าย

ใบเสร็จรับเงินค่า ส่วนกลาง

  1. ให้ออกหลักฐานการชำระทุกครั้ง และ ต้องมีสำเนาอย่างน้อย 1 ฉบับ
  2. ชื่อของผู้รับชำระเงิน โดยอาจเป็น ชื่อหมู่บ้าน ชื่อนิติบุคคล หรือ ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดเก็บ
  3. วัน เดือน ปี ที่รับชำระ
  4. ชื่อผู้รับชำระ
  5. จำนวนเงินที่รับชำระ ที่เป็นตัวเลข และตัวอักษร
  6. ข้อความที่ระบุไว้ว่ารับชำระค่า ส่วนกลางเดือนใดถึงเดือนใด
  7. ข้อความที่ระบุว่าเป็นค่าปรับ เนื่องจากจ่ายชำระล่าช้าต้องระบุให้ชัดเจน (ถ้ามี)
  8. ลายมือชื่อผู้รับ พร้อม ตราประทับของนิติบุคคลหมู่บ้าน (ถ้ามี)

*กรณีที่นิติบุคคลหมู่บ้าน มีนอกเนื่องมากกว่านี้ สามารถเพิ่มเติมได้ แต่ต้องไม่ขัดกับที่กำหนดไว้ข้างตน

กฎหมาย ค่า ส่วนกลาง

ผู้ที่มีหน้าที่ในการจัดเก็บเงินค่า ส่วนกลาง

ต้องมาจากการแต่งตั้งโดยคณะกรรมการบริหารนิติบุคคลภายในหมู่บ้าน โดยในที่ประชุมใหญ่เป็นผู้กำหนด

คำศัพย์ที่เกี่ยวข้อง

ค่า ส่วนกลางหมู่บ้าน Village common fee

หมู่บ้านจัดสรร Housing estate

ใบปลอดหนี้ Grace note

ค่าใช้จ่ายส่วนกลาง Central cost

หนังสือรับรองการปลอดหนี้

หนังสือรับรองการปลอดหนี้

ตัวอย่าง หนังสือรับรองการปลอดหนี้

ตัวอย่างหนังสือรับรองการปลอดหนี้

ดาวน์โหลด หนังสือรับรองการปลอดหนี้

สรุป คำถามนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร

นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรจดจัดตั้งที่ไหน

นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร จดจัดตั้งที่ กรมที่ดิน

นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร ต้องจัดทำบัญชีหรือไม่

นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร ต้องจัดทำบัญชี ตาม พรบ.ที่ดินจัดสรร และยังจำเป้นต้องจัดให้มีผู้ทำบัญชี

นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร ต้องใช้ผู้สอบบัญชีหรือไม่

นิติบุคคบหมู่บ้านจัดสรร จำเป็นต้องจัดให้มีผู้สอบบัญชี และผู้จัดทำบัญชี อาจเป็นหน้าที่ของผู้จัดการที่นิติบุคคลเป็นผู้จ้างให้มาดูและ

นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรต้องมีผู้ทำบัญชีหรือไม่

นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรจำเป็นต้องจัดให้มีผู้ทำบัญชี โดยผู้ทำบัญชีต้องมี คุณสมบัติ และเงื่อนไข ตามที่อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กำหนด

นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรต้องเสียภาษีหรือไม่

นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร มีภาษีที่เกี่ยวที่ต้องเสีย คือ ภาษี หัก ณ ที่จ่ายที่ ที่เกิดจาก เช่น การจ้าง รปภ. คนตัด คนกวาดขยะ เป็นต้น หรือหากมีการจ้างพนักงานประจำ ที่มากกว่า 1 คนขึ้นไปก็ต้องมีการหักประกันสังคมเพื่อนำส่งให้ประกันสัมคมอีกด้วย

บทความแนะนำ หมวดหมู่: เศรษฐกิจ
จำนวนคอมเมนต์ของโพสต์ ID 142964: 2252