ภาษีหัก ณ ที่จ่าย
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย (Withholding tax) เป็นการจัดเก็บภาษีล่วงหน้ากำหนดให้ผู้จ่ายเงินได้มีหน้าที่หักภาษีจากเงินที่จ่ายให้แก่ผู้รับทุกครั้งที่จ่าย ซึ่งการหักภาษีต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนด หลังจากนั้นให้นำเงินส่งกรมสรรพากร
หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย
แบบฟอร์มหนังสือรับรองหัก-ณ-ที่จ่าย หนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย ที่ถูกต้อง
หัก ณ ที่จ่าย คือ (Withholding tax) คือ เงินที่รัฐบาลจัดเก็บจากบุคคลหรือกิจการ ที่ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการให้บริการ เนื่องจาก ภาษีมูลเพิ่ม (VAT) ที่รัฐบาลจัดเก็บจากสินค้าไม่สามารถใช้ได้กับธุรกิจให้บริการ เพราะรัฐไม่สามารถทราบได้ถึงจำนวนเงินที่ผู้รับบริการ จ่ายให้กับ ผู้ให้บริการ เนื่องจากเงินที่จ่ายมาจากความพึ่งพอใจในให้บริการของทั้ง 2 ฝ่าย
50 ทวิ คือ
50 ทวิ คือ ชื่อของ ” มาตราทางกฎหมาย ที่บัญญัติขึ้น ” เป็นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตาม มาตรา 50 ทวิ ที่ใช้เรียกกันทั่วไป ว่า “ใบ 50 ทวิ ” หรือ หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ถือเป็นเอกสารแสดงยอดเงินภาษีหัก ณ ที่จ่าย
50 ทวิ หนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย ที่ถูกต้อง
ภาษีที่ต้องคำนวน หัก ณ ที่จ่าย
- กรณีผู้รับเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดา (ภ.ง.ด.3) หัก ณ ที่จ่าย 3
- กรณีผู้รับเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้ นิติบุคคล (ภ.ง.ด.53)
- มีและใช้เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร (เว้นแต่บุคคลธรรมดาที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ให้ใช้เลขประจำตัวประชาชนแทน)
- หักภาษี ณ ที่จ่ายทุกคราวที่จ่ายเงินได้ ซึ่งมีกฎหมายกำหนดให้หักภาษี ณ ที่จ่าย
- ออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ให้แก่ผู้ถูกหักภาษี ในกรณีที่เป็นรัฐบาล องค์การ ของรัฐบาล เทศบาล สุขาภิบาล หรือองค์การบริหาร ราชการส่วนท้องถิ่นอื่น ให้เจ้าพนักงานผู้จ่ายเงินได้ ออกใบรับสำหรับค่าภาษีที่ได้หักไว้ให้แก่ผู้รับเงิน
- นำส่งภาษีที่ได้หักไว้ภายใน 7 วัน นับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงินต่อสำนักงาน สรรพากรพื้นที่สาขาในท้องที่ที่ผู้มีหน้าที่หักภาษี เงินได้ ณ ที่จ่ายมีสำนักงานตั้งอยู่
การหักภาษี ณ ที่จ่าย
ภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย หรือ หัก ณ ที่จ่าย คือเงินที่คน “จ่าย” ที่จดทะเบียนเป็นบริษัทหรือนิติบุคคลต้อง “หัก” ไว้ก่อนที่จะจ่ายเงินให้กับคนรับที่เป็นนิติบุคคล หรือคนธรรมดาก็ได้ แล้วนำส่งเป็นภาษีให้กรมสรรพากรไม่เกินวันที่ 7 ของเดือนถัดไป
หนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย
หนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย ที่ถูกต้อง
การออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ให้ออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย อย่างน้อยต้องมีข้อความตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด
- ฉบับที่ 1 มีข้อความว่า “สำหรับผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายใช้แนบพร้อมกับแบบแสดงรายการ”
- ฉบับที่ 2 มีข้อความว่า “สำหรับผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายเก็บไว้เป็นหลักฐาน”
กำหนดเวลาออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย
- กรณีจ่ายเงินเดือน ค่าจ้าง ค่านายหน้า บำเหน็จ ฯลฯกรณีจ่ายเงินได้พึงประเมนประเภทเงินเดือน ค่าจ้าง ค่านายหน้า บำเหน็จ บำนาญ ตามมาตรา 40 (1) (2) แห่งประมวลรัษฎากร ให้ออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ภายในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ของปีถัดจากปีภาษี (กรณีผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายทำงานจนถึงสิ้นปีภาษี) หรือภายใน 1 เดือน นับแต่วันที่ผู้ ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายออกจากงานในระหว่างปีภาษี
- กรณีจ่ายเงินได้อื่น ๆกรณีจ่ายเงินได้พึงประเมนประเภทอื่นๆ ตามมาตรา 40 (3) (4) (5) (6) (7) หรือ (8) แห่ง ประมวลรัษฎากรให้ออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายในทันทีทุกครั้งที่มีการหักภาษี ณ ที่จ่าย
วิธีทำ หัก ณ ที่จ่าย
วิธีจัดทำหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย
- จัดทำเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ แต่ถ้าทำเป็นภาษาต่างประเทศอื่นต้องมีคำแปลภาษา ไทยกำกับ ส่วนตัวเลขให้ใช้เลขไทยหรือเลขอารบิค หมายเลขลำดับของหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย และหมายเลขลำดับของเล่ม (หาก ไม่ได้จัดทำเป็นเล่ม จะไม่มีหมายเลขลำของเล่มก็ได้)
- ให้จัดทำสำเนาคู่ฉบับ (ฉบับที่ 3 นอกเหนือจากฉบับที่ 1 และ2 ) ไว้ด้วย เพื่อใช้เป็น หลักฐานในกรณีที่ได้ออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ให้แก่ผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายแล้ว แต่ชำรุด สูญหาย ให้ผู้มีหน้าที่ ออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย โดยการออกใบแทนหนังสือรับรองการหักภาษี
- การออกใบแทน ต้องมีข้อความว่า “ใบแทน” และลงลายมือชื่อรับรองด้วย
- รายการประเภทเงินได้พึ่งประเมินที่จ่ายในหนังสือรับรองภาษี ณ ที่จ่าย จะระบุประเภทเงินได้พึ่งประเมินที่จ่ายเพียงประเภทเดียว โดยจะไม่ระบุประเภทอื่นด้วยก็ได้
- กรณีผู้มีหน้าที่ ออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ซึ่งได้มีการหักภาษี ณ ที่จ่ายจากเงิน ได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร (เงินเดือน ค่าจ้าง ฯลฯ) และได้มีการหักเงินได้ดังกล่าวเขากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนประกันสังคม กองทุน บำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) และกองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน จะระบุ จำนวนเงินที่ได้หักจากเงินได้ดังกล่าวของผู้มีเงินได้เข้ากองทุนดังกล่าวในแต่ละประเภทภาษีในหนังสือรับรองการ หักภาษี ณ ที่จ่ายก็ได้
- การลงชื่อของผู้มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ในหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย จะใช้ วิธีประทับลายมือชื่อ ด้วยตรายาง หรือจะพิมลายมือชื่อโดยเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ได้มีการเก็บลายมือไว้ก็ได้ (SCAN)
- กรณีจ่ายเงินได้ตามมาตรา 50 (4) แห่งประมวลรัษฎากร เฉพาะกรณีที่จดแจ้งการหักภาษีไว้ ในฎีกาเบิกเงินและได้ออกใบรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามระเบียบของทางราชการแล้ว ให้ยกเว้นการ ออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย
แบบฟอร์มหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย หรือ แบบฟอร์ม 50 ทวิ excel a4
ดาวน์โหลด หัก ณ ที่จ่าย ฟรี
หนังสือรับรองการหัก ภาษี ณ ที่จ่าย pdf
หนังสือรับรองการหัก ภาษี ณ ที่จ่าย excel
หนังสือรับรองการหัก ภาษี ณ ที่จ่าย doc
หนังสือรับรองการหัก ภาษี ณ ที่จ่าย ภาษาอังกฤษ pdf
หนังสือรับรองการหัก ภาษี ณ ที่จ่าย ภาษาอังกฤษ excel
หนังสือหัก ณ ที่จ่าย ภาษาอังกฤษ doc
ใบหักภาษี ณ ที่จ่าย
ใบหักภาษี ณ ที่จ่าย หรือ หนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย คือเอกสารที่ผู้จ่ายเงินที่มีหน้าที่หัก ณ ที่จ่าย ออกให้ผู้รับเงินเมื่อได้ทำการหักเงินบางส่วนไว้ตามข้อกำหนดของกรมสรรพากร โดยหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่ายนี้ต้องออกให้แก่ผู้รับเงิน 2 ฉบับที่มีข้อความตรงกัน
ด้านผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย
- ให้กรอกเลขประจำตัวประชาชน หรือเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร ชื่อ ที่อยู่ ของผู้มีหน้าที่หัก
- ให้กรอกเลขประจำตัวประชาชน หรือเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร ชื่อ ที่อยู่ ของผู้ถูกหัก
- ทำเครื่องหมาย “ 3” ลงในช่อง “
” หน้าประเภทแบบยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
- และกรอกรายละเอียดตามประเภทที่จ่ายเงินได้ และต้องการหักภาษี ณ ที่จ่าย
การลงลายมือชื่อ
- ให้ลงลายมือชื่อผู้จ่ายเงินหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย
- ระบุ วัน เดือน ปี ที่ออกหนังสือรับรองฯ
- ประทับตรานิติบุคคล (ถ้ามี)
- ประเภทที่ต้อง
เงื่อนไขการหักภาษี ณ ที่จ่าย
ไม่หัก สำหรับยอดที่ไม่เกิน 1,000 บาท สำหรับยอดเล็ก ๆ ที่ไม่ถึง 1,000 บาท เช่น จ้างทำรูป หรือนามบัตรเพียงครั้งเดียว ทางกรมสรรพากรมีข้อกำหนดว่าไม่ต้องทำการหักภาษี ณ ที่จ่าย
ค่าใช้จ่ายที่ต้องหัก ณ ที่จ่าย
- หัก 1% สำหรับค่าขนส่งทุกๆ ครั้งที่มีการขายของและขนส่ง โดยที่บริษัทหรือนิติบุคคลที่ให้บริการจะต้องขึ้นทะเบียนเป็นผู้ให้บริการขนส่ง เช่น บริการขนส่งสินค้าจากบริษัท โลจิสติกส์ เป็นต้น จะต้อง หัก ณ ที่จ่าย 1% แต่ถ้าคุณยังไม่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นนิติบุคคลก็ยังไม่ต้องหัก
- หัก 2% สำหรับค่าโฆษณาการโฆษณาสินค้าตามสื่อโฆษณาต่างๆ ผ่านเอเจนซี บริษัทรับโฆษณา เพื่อช่วย “ประกาศ” ให้แบรนด์หรือสินค้าเป็นที่รู้จักผ่านสื่อสิ่งพิมพ์ หรือช่องทางโซเชียลมีเดียต่างๆ เช่น Facebook, Instagram ที่ไม่ใช่บริการด้านการตลาด ทำหัก ณ ที่จ่าย 2%
- หัก 3% สำหรับจ้างรับเหมาหรือบริการต่างๆค่าบริการที่เกิดขึ้นในกิจการทุกอย่างจะต้องมีการ หัก ณ ที่จ่าย 3% เช่น บริการรับจ้างทำของ จ้างทำนามบัตร จ้างทำกราฟิก จ้างช่างภาพมาถ่ายรูป จ้างบล็อกเกอร์รีวิวสินค้า จ้างตกแต่งภายใน บริการสถานที่ ซอฟต์แวร์ โทรศัพท์ อินเทอร์เน็ต จ้างทำบัญชี ก็เข้าข่ายนี้ เพราะถือเป็นการให้บริการ
- หัก 5% สำหรับค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์คนที่ไม่มีสถานที่เป็นของตนเอง หากจะดูว่าเป็นค่าเช่าหรือค่าบริการให้ดูจากสิทธิในการถือกุญแจ ถ้าเช่าสถานที่เพื่อจัดสัมมนา หรือจัดอีเวนต์ชั่วคราวถือเป็นค่าบริการ ทำหัก ณ ที่จ่าย 3% แต่ถ้าเราถือกุญแจจะถือเป็นค่าเช่าสถานที่ต้องหัก ณ ที่จ่ายจากเจ้าของที่ดิน 5%
นอกจากนี้ยังมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ อีกที่ต้องหัก 5% เช่น เช่ารถยนต์ ค่าจ้างนักแสดง ดารา นักร้อง อาชีพเพื่อการบันเทิง และเงินรางวัลจากการแข่งขันหรือการชิงโชคต่างๆ ด้วย
ไม่นำส่ง หรือ นำส่งไม่ครบถ้วน
แบบหักภาษี-ณ-ที่จ่าย
- ถ้าผู้จ่ายเงินซึ่งมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย มิได้หักและนำเงินส่ง หรือได้หักและนำเงินส่งแล้ว แต่ไม่ครบจำนวนที่ถูกต้อง ผู้จ่ายเงินต้องรับผิด ร่วมกับผู้มีเงินได้ในการเสียภาษีที่ต้องชำระตาม จำนวนเงินภาษีที่มิได้หักและนำส่ง หรือตามจำนวน เงินที่ขาดไปแล้วแต่กรณี ในกรณีที่ผู้จ่ายเงินได้ หักภาษีไว้แล้ว ให้ผู้มีเงินได้ซึ่งต้องเสียภาษี พ้นความรับผิดที่จะชำระเงินภาษีเท่าจำนวนที่ผู้จ่าย เงินได้หักไว้ และให้ผู้จ่ายเงินรับผิดชำระภาษีจำนวน นั้นแต่ฝ่ายเดียว (มาตรา 54 แห่งประมวลรัษฎากร)
- ถ้าผู้จ่ายเงินซึ่งมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ไม่นำเงินภาษีที่ตนมีหน้าที่หักไปนำส่งภายใน กำหนดเวลา จะต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 5 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องเสีย หรือนำส่งโดยไม่รวมเบี้ยปรับ
ผู้มีหน้าที่หัก ภาษี เงินได้
กรณี ผู้มีหน้าเสียภาษีอยู่ภายในประเทศ
ม.4(1) เงินเดือน ค่าจ้างฯลฯ
ผู้มีหน้าที่หักภาษี |
ผู้ถูกหักภาษี |
ผู้จ่ายเงินทุกราย |
บุคคลธรรมดา |
วิธีคํานวณภาษี/หักภาษีร้อยละ |
กรณีทั่วไป -นําเงินได้พึงประเมินที่คาดว่าได้รับทั้งปีหักออกด้วยค่าใช้จ่ายและค่า ลดหย่อนเหลือเท่าใดเป็นเงินได้สุทธิ แล้วนําไปคํานวณภาษีตามบัญชี อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จะได้ภาษีที่ต้องชําระทั้งปีแล้วหาร ด้วยจํานวนครั้งที่จ่าย จะได้จํานวนภาษีที่ต้องหักแต่ละครั้ง *เงินได้สุทธิ 150,000 บาทแรก ได้รับการยกเว้นภาษี กรณีเงินได้ครั้งเดียว เพราะเหตุออกจากงาน -นําเงินได้เพราะเหตุออกจากงานหักออกด้วยค่าใช้จ่าย เท่ากับ 7,000 บาท คูณจํานวนปีที่ทํางาน เหลือเท่าใดหักค่าใช้จ่ายได้อีก 50% แล้วนํา เงินที่เหลือไปคํานวณภาษีตามบัญชีอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา *เงินได้สุทธิ 150,000 บาทแรก ที่ได้รับการยกเว้นภาษีไม่ให้นํามาใช้ ในกรณีนี้ “เงินได้สุทธิ 100,000 บาทแรก คงเสียภาษีอัตราร้อยละ 5 ตามปกติ |
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง |
แบบที่กําหนด เวลานําส่ง |
ม.50(1)ม,48(5) |
ภ.ง.ศ. 1/นําส่งภายใน วันที่ 1-7ของเดือน ถัดไปจากเดือนที่จ่าย เงินได้ |
ม.40(2) การรับทํางานให้ ค่า นายหน้า ฯลฯ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง |
แบบที่กําหนด เวลานําส่ง |
– |
ภ.ง.ด.1/นําส่งภายในวันที่ 1-7 ของเดือนถัดไปจาก เดือนที่จ่ายเงินได้ |
ม.40(3) ค่ากู๊ดวิลล์, ลิขสิทธิ์ สิทธิอย่างอื่น ฯลฯ
ผู้มีหน้าที่หักภาษี |
ผู้ถูกหักภาษี |
ผู้จ่ายเงินที่เป็นนิติบุคคล |
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา |
วิธีคํานวณภาษี/หักภาษีร้อยละ |
หักภาษีตามบัญชีอีตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา |
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง |
แบบที่กําหนด/เวลานําส่ง |
ม.50(2) |
ภ.ง.ด.2/นําส่งภายในวันที่ 1-7 ของเดือนถัดไปจาก เดือนที่จ่ายเงินได้ |
ม.40(4)(ก) เฉพาะดอกเบี้ยจาก พันธบัตร/เงินฝาก/ เงินฝากสหกรณ์/หุ้นกู้ ตั๋วเงิน/เงินให้กู้ยืม
ผู้มีหน้าที่หักภาษี
|
ผู้ถูกหักภาษี
|
ผู้จ่ายเงินที่เป็นนิติบุคคล |
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา |
วิธีคํานวณภาษี/หักภาษีร้อยละ |
หักภาษีร้อยละ 15 นิติบุคคลภาษีเงินได้บุคคล
-ยกเว้นภาษีดอกเบี้ยสลากออมสิน ดอกเบี้ยเงินฝากเผื่อเรียกธนาคารออมสิน ดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์จากสหกรณ์ (ม.42(8)
-ยกเว้นภาษีดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ธนาคาร ในราชอาณาจักร ที่ได้รับไม่เกิน 20,000 บาท/ปี (กฎกระทรวง 126 ข้อ 2(38)
-ยกเว้นภาษีดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ธนาคารเพื่อการเกษตรและ สหกรณ์ กฎกระทรวง 126 ข้อ 2(22) |
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง |
แบบที่กําหนด/เวลานําส่ง |
ม.50(2)(ข) |
ภ.ง.ด.2/นําส่งภายในวันที่ 1-7 ของเดือนถัดไปจาก เดือนที่จ่ายเงินได้ |
ม.40(4)(ก) ผลต่างราคาไถ่ถอน กับราคาจําหน่ายตั๋วเงิน หรือตราสารสิทธิใน หนี้บริษัทหรือนิติ บุคคลบุคคลอื่นเป็น ผู้ออก
ผู้มีหน้าที่หักภาษี
|
ผู้ถูกหักภาษี
|
ผู้จ่ายเงินที่เป็นนิติบุคคล |
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา |
วิธีคํานวณภาษี/หักภาษีร้อยละ |
หักภาษีร้อยละ 15 (เฉพาะผู้รับเงินเป็นผู้ทรงคนแรก) |
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง |
แบบที่กําหนด/เวลานําส่ง |
ม.50(2)(ค) |
ภ.ง.ด.2/นําส่งภายในวันที่ 1-7 ของเดือนถัดไปจาก เดือนที่จ่ายเงินได้ |
ม.40(4)(ก) เฉพาะเงินได้ทํานองเดียวกับ ดอกเบี้ย -ผลประโยชน์ที่ได้ จากการให้กู้ยืมหรือ สิทธิเรียกร้องในหนี้ ทุกชนิด
ผู้มีหน้าที่หักภาษี
|
ผู้ถูกหักภาษี
|
ผู้จ่ายเงินที่เป็นนิติบุคคล |
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา |
วิธีคํานวณภาษี/หักภาษีร้อยละ |
หักภาษีตามบัญชีอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา |
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง |
แบบที่กําหนด/เวลานําส่ง |
ม.50(2)(ง) |
ภ.ง.ด.2/นําส่งภายในวันที่ 1-7 ของเดือนถัดไปจาก เดือนที่จ่ายเงินได้ |
ม.40(4)(ค) เงินโบนัสที่จ่ายแก่ ผู้ถือหุ้น
ผู้มีหน้าที่หักภาษี
|
ผู้ถูกหักภาษี
|
ผู้จ่ายเงินที่เป็นนิติบุคคล |
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา |
วิธีคํานวณภาษี/หักภาษีร้อยละ |
หักภาษีตามบัญชีอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา |
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง |
แบบที่กําหนด/เวลานําส่ง |
ม.50(2) |
ภ.ง.ด.2/นําส่งภายในวันที่ 1-7 ของเดือนถัดไปจาก เดือนที่จ่ายเงินได้ |
ม.40(4)(ง) เงินลดทุนเฉพาะ ส่วนที่จ่ายไม่เกินกว่ากําไร และเงินที่กันไว้รวมกัน
ผู้มีหน้าที่หักภาษี
|
ผู้ถูกหักภาษี
|
ผู้จ่ายเงินที่เป็นนิติบุคคล |
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา |
วิธีคํานวณภาษี/หักภาษีร้อยละ |
หักภาษีตามบัญชีอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา |
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง |
แบบที่กําหนด/เวลานําส่ง |
ม.50(2) |
ภ.ง.ด.2/นําส่งภายในวันที่ 1-7 ของเดือนถัดไปจาก เดือนที่จ่ายเงินได้ |
ม.40(4)(จ) เงินเพิ่มทุนซึ่งตั้งจาก กําไรที่ได้มาหรือเงิน ที่กันไว้รวมกัน
ผู้มีหน้าที่หักภาษี
|
ผู้ถูกหักภาษี
|
ผู้จ่ายเงินที่เป็นนิติบุคคล |
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา |
วิธีคํานวณภาษี/หักภาษีร้อยละ |
หักภาษีตามบัญชีอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา |
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง |
แบบที่กําหนด/เวลานําส่ง |
ม.50(2) |
ภ.ง.ด.2/นําส่งภายในวันที่ 1-7 ของเดือนถัดไปจาก เดือนที่จ่ายเงินได้ |
ม.40(4)(ฉ) ผลประโยชน์ที่บริษัท ควบเข้ากัน รับช่วงกัน หรือเลิกกัน ซึ่งตีราคา เป็นเงินได้เกินกว่าเงินทุน
ผู้มีหน้าที่หักภาษี
|
ผู้ถูกหักภาษี
|
ผู้จ่ายเงินที่เป็นนิติบุคคล |
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา |
วิธีคํานวณภาษี/หักภาษีร้อยละ |
หักภาษีตามบัญชีอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา |
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง |
แบบที่กําหนด/เวลานําส่ง |
ม.50(2) |
ภ.ง.ด.2/นําส่งภายในวันที่ 1-7 ของเดือนถัดไปจาก เดือนที่จ่ายเงินได้ |
ม.40(4)(ช) ผลประโยชน์จากการ โอนหุ้น
ผู้มีหน้าที่หักภาษี
|
ผู้ถูกหักภาษี
|
ผู้จ่ายเงินที่เป็น
บุคคลธรรมดา บริษัทหรือ ห้างหุ้นส่วน นิติบุคคล |
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา |
วิธีคํานวณภาษี/หักภาษีร้อยละ |
หักภาษีตามบัญชีอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเฉพาะการโอนหุ้นฯ ภาษีเงินได้บุคคล นอกตลาดหลักทรัพย์ (ขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ยกเว้นภาษีตาม
กฎกระทรวง 126 ข้อ 2(23)) |
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง |
แบบที่กําหนด/เวลานําส่ง |
ม.50(2) |
ภ.ง.ด.2/นําส่งภายในวันที่ 1-7 ของเดือนถัดไปจาก เดือนที่จ่ายเงินได้ |
ม.40(4)(ช) ผลประโยชน์จากการ โอนตั๋วเงินหรือตราสาร แสดงสิทธิเป็นหนี้
ผู้มีหน้าที่หักภาษี
|
ผู้ถูกหักภาษี
|
ผู้จ่ายเงินที่เป็น
บุคคลธรรมดา บริษัทหรือ ห้างหุ้นส่วน นิติบุคคล |
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา |
วิธีคํานวณภาษี/หักภาษีร้อยละ |
หักภาษีร้อยละ 15 ภาษีเงินได้บุคคล (ยกเว้นภาษีเฉพาะตั๋วเงินหรือตราสารฯ ที่ไม่มีดอกเบี้ย ในกรณีผู้ทรง ธรรมดา คนแรกได้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายแล้ว (กฎกระทรวง 126 ข้อ 2(30) (ข)) |
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง |
แบบที่กําหนด/เวลานําส่ง |
ม.50(2)(ข) |
ภ.ง.ด.2/นําส่งภายในวันที่ 1-7 ของเดือนถัดไปจาก เดือนที่จ่ายเงินได้ |
ม.40(4)(ข) เงินปันผล/ เงินส่วนแบ่งกําไร
ผู้มีหน้าที่หักภาษี
|
ผู้ถูกหักภาษี
|
บริษัท/ห้างหุ้น ส่วนนิติบุคคล/ กองทุนรวม/ สถาบันการเงิน |
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา |
วิธีคํานวณภาษี/หักภาษีร้อยละ |
หักภาษีร้อยละ 10 |
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง |
แบบที่กําหนด/เวลานําส่ง |
ม.50(2)(จ) |
ภ.ง.ด.2/นําส่งภายในวันที่ 1-7 ของเดือนถัดไปจาก เดือนที่จ่ายเงินได้ |
ม.40(5)(6)(7)(8)
ผู้มีหน้าที่หักภาษี
|
ผู้ถูกหักภาษี
|
หน่วยงานรัฐ องค์การของรัฐ/ องค์การ ปกครอง ส่วนท้องถิ่น |
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา |
วิธีคํานวณภาษี/หักภาษีร้อยละ |
หักภาษีร้อยละ 1 กรณีจ่ายเงิน 10,000 บาทขึ้นไป
*จ่ายเงินซื้อพืชผลเกษตรจากเกษตรกร ไม่ต้องหัก หักภาษีตามบัญชี อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีจ่ายเงินจากการประกวดแข่งขัน |
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง |
แบบที่กําหนด/เวลานําส่ง |
ม.50(2)(จ) |
ภ.ง.ด.3/นําส่งภายในวันที่ 1-7 ของเดือนถัดไปจาก เดือนที่จ่ายเงินได้ |
ม.40(5)(ก) การให้เช่าทรัพย์สิน ทุกชนิด
ผู้มีหน้าที่หักภาษี
|
ผู้ถูกหักภาษี
|
บริษัท/ห้างหุ้น ส่วนนิติบุคคล/ นิติบุคคลอื่น |
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา |
วิธีคํานวณภาษี/หักภาษีร้อยละ |
– หักภาษีร้อยละ 5 ภาษีเงินได้บุคคล
– หักภาษีร้อยละ 1 กรณีค่าเช่าเรือตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริม |
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง |
แบบที่กําหนด/เวลานําส่ง |
– ท.ป.4/2528 ข้อ 6(1)
– ท.ป.4/2528 ข้อ 6(4) |
ภ.ง.ด.3/นําส่งภายในวันที่ 1-7 ของเดือนถัดไปจาก เดือนที่จ่ายเงินได้ |
ม.40(6) วิชาชีพอิสระตาม ประมวลรัษฎากร
ผู้มีหน้าที่หักภาษี
|
ผู้ถูกหักภาษี
|
บริษัท/ห้างหุ้น ส่วนนิติบุคคล/ นิติบุคคลอื่น |
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา |
วิธีคํานวณภาษี/หักภาษีร้อยละ |
หักภาษีร้อยละ 3 |
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง |
แบบที่กําหนด/เวลานําส่ง |
ท.ป.4/2528 ข้อ 7(1) |
ภ.ง.ด.3/นําส่งภายในวันที่ 1-7 ของเดือนถัดไปจาก เดือนที่จ่ายเงินได้ |
ม.40(7)(8) การรับเหมาที่รับเหมา ลงทุนจัดหาสัมภาระ ค่าจ้างทําของ
ผู้มีหน้าที่หักภาษี
|
ผู้ถูกหักภาษี
|
บริษัท/ห้างหุ้น ส่วนนิติบุคคล/ นิติบุคคลอื่น |
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา |
วิธีคํานวณภาษี/หักภาษีร้อยละ |
หักภาษีร้อยละ 3 |
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง |
แบบที่กําหนด/เวลานําส่ง |
ท.ป.4/2528 ข้อ 8(1) |
ภ.ง.ด.3/นําส่งภายในวันที่ 1-7 ของเดือนถัดไปจาก เดือนที่จ่ายเงินได้ |
ม.40(8) รางวัลในการประกวด/ แข่งขันชิงโชค
ผู้มีหน้าที่หักภาษี
|
ผู้ถูกหักภาษี
|
บริษัท/ห้างหุ้น ส่วนนิติบุคคล/ นิติบุคคลอื่น |
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา |
วิธีคํานวณภาษี/หักภาษีร้อยละ |
หักภาษีร้อยละ 3 |
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง |
แบบที่กําหนด/เวลานําส่ง |
ท.ป.4/2528 ข้อ 9(1) |
ภ.ง.ด.3/นําส่งภายในวันที่ 1-7 ของเดือนถัดไปจาก เดือนที่จ่ายเงินได้ |
ม.40(8) นักแสดงสาธารณะ
ผู้มีหน้าที่หักภาษี
|
ผู้ถูกหักภาษี
|
ผู้จ่ายเงินได้ทุกราย |
นักแสดงสาธารณะที่มีภูมิลําเนาในประเทศไทย |
วิธีคํานวณภาษี/หักภาษีร้อยละ |
หักภาษีร้อยละ 5 |
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง |
แบบที่กําหนด/เวลานําส่ง |
ท.ป.4/2528 ข้อ 9(2)(ข) |
ภ.ง.ด.3/นําส่งภายในวันที่ 1-7 ของเดือนถัดไปจาก เดือนที่จ่ายเงินได้ |
ม.40(8) ค่าโฆษณา
ผู้มีหน้าที่หักภาษี
|
ผู้ถูกหักภาษี
|
บริษัท/ห้างหุ้น ส่วนนิติบุคคล/ นิติบุคคลอื่น |
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา |
วิธีคํานวณภาษี/หักภาษีร้อยละ |
หักภาษีร้อยละ 2 |
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง |
แบบที่กําหนด/เวลานําส่ง |
ท.ป.4/2528 ข้อ 10 |
ภ.ง.ด.3/นําส่งภายในวันที่ 1-7 ของเดือนถัดไปจาก เดือนที่จ่ายเงินได้ |
ม.40(8) รางวัลส่วนลดหรือ ประโยชน์จากการ ส่งเสริมการขาย
ผู้มีหน้าที่หักภาษี
|
ผู้ถูกหักภาษี
|
บริษัท/ห้างหุ้น ส่วนนิติบุคคล/ นิติบุคคลอื่น |
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา |
วิธีคํานวณภาษี/หักภาษีร้อยละ |
หักภาษีร้อยละ 3 |
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง |
แบบที่กําหนด/เวลานําส่ง |
ท.ป.4/2528 ข้อ 12/2(1) |
ภ.ง.ด.3/นําส่งภายในวันที่ 1-7 ของเดือนถัดไปจาก เดือนที่จ่ายเงินได้ |
ม.40(8) ค่าขนส่งที่มิใช่ขนส่ง
ผู้มีหน้าที่หักภาษี
|
ผู้ถูกหักภาษี
|
บริษัท/ห้างหุ้น ส่วนนิติบุคคล/ นิติบุคคลอื่น |
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา |
วิธีคํานวณภาษี/หักภาษีร้อยละ |
หักภาษีร้อยละ 1 |
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง |
แบบที่กําหนด/เวลานําส่ง |
ท.ป.4/2528 ข้อ 12/4(1) |
ภ.ง.ด.3/นําส่งภายในวันที่ 1-7 ของเดือนถัดไปจาก เดือนที่จ่ายเงินได้ |
ม.40(8) ค่าบริการอื่นที่มิใช่ค่า บริการโรงแรม ภัตตาคารและค่าเบี้ย ประกันชีวิต
ผู้มีหน้าที่หักภาษี
|
ผู้ถูกหักภาษี
|
บริษัท/ห้างหุ้น ส่วนนิติบุคคล/ นิติบุคคลอื่น |
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา |
วิธีคํานวณภาษี/หักภาษีร้อยละ |
หักภาษีร้อยละ 3 |
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง |
แบบที่กําหนด/เวลานําส่ง |
ท.ป.4/2528 ข้อ 12/1(1) |
ภ.ง.ด.3/นําส่งภายในวันที่ 1-7 ของเดือนถัดไปจาก เดือนที่จ่ายเงินได้ |
ม.40(8) ขายอสังหาริมทรัพย์
ผู้มีหน้าที่หักภาษี
|
ผู้ถูกหักภาษี
|
ผู้จ่ายเงินซื้อ อสังหาริมทรัพย์ |
ผู้ขายมีหน้าที่เสียภาษีบุคคลธรรมดา |
วิธีคํานวณภาษี/หักภาษีร้อยละ |
อสังหาริมทรัพย์ที่เป็นมรดกหรือได้รับมาโดยเสน่หา
นําราคาประเมินกรมที่ดินตั้ง แล้วหักค่าใช้จ่ายได้ร้อยละ 50 ของราคา ธรรมดา ประเมินผลลัพธ์ได้เท่าใดหารด้วยจํานวนปีที่ถือครอง (นับปีพ.ศ.) จะได้เงินได้ต่อปี แล้วนําเงินได้ต่อปีไปคํานวณภาษีตาม บัญชีอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จะได้ภาษีต่อปี แล้วจึงนําจํานวน ปีถือครองคูณภาษีต่อปี จะได้ภาษีต้องชําระทั้งหมดจากการขาย อสังหาริมทรัพย์นั้น
*ปีที่ถือครองหากเกิน 10 ปี ให้นับเพียง 10 ปี
*เศษของปีนับเป็น 1 ปี
*คํานวณตาม ม.48(4)(ก)
อสังหาริมทรัพย์ที่มิใช่มรดกหรือมิใช่รับมาโดยเสน่หา/ อสังหาริมทรัพย์มุ่งค้าหากําไร
-นําราคาประเมินกรมที่ดินตั้ง แล้วหักค่าใช้จ่ายได้ ตามพระราช กฤษฎีกาฉบับที่ 165 ผลลัพธ์ได้เท่าใดหารด้วยจํานวนปีที่ถือครอง (นับ ปีพ.ศ.) จะได้เงินได้ต่อปี แล้วนําเงินได้ต่อปีไป คํานวณภาษีตามบัญชี อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จะได้ภาษีต่อปี แล้วจึง นําจํานวนปีถือครองคูณภาษีต่อปี จะได้ภาษีต้องชําระทั้งหมดจากการ ขาย อสังหาริมทรัพย์นั้น
*ปีที่ถือครองหากเกิน 10 ปี ให้นับ เพียง 10 ปี
*เศษของปีนับเป็น 1 ปี
*คํานวณตาม ม.48(4)(ข) |
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง |
แบบที่กําหนด/เวลานําส่ง |
ม.50(5)(ก) |
เสียภาษีขณะจดทะเบียน สิทธิและนิติกรรมที่กรม ที่ดิน |
กรณี ผู้มีหน้าเสียภาษีอยู่ต่างประเทศ
ม.40(1) เงินเดือน ค่าจ้าง ฯลฯ
ผู้มีหน้าที่หักภาษี
|
ผู้ถูกหักภาษี
|
ผู้จ่ายเงินทุกราย |
บุคคลธรรมดา |
วิธีคํานวณภาษี/หักภาษีร้อยละ |
กรณีทั่วไป
-นําเงินได้พึงประเมินที่คาดว่าได้รับทั้งปีหักออกด้วยค่าใช้จ่าย และค่าลดหย่อนเหลือเท่าใดเป็นเงินได้สุทธิแล้วนําไปคํานวณภาษี ตามบัญชีอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แล้วหารด้วยจํานวนครั้ง ที่จ่าย จะได้จํานวนภาษีที่ต้องหักแต่ละครั้ง
*เงินได้สุทธิ 150,000 บาทแรก ได้รับการยกเว้นภาษี
กรณีเงินได้ครั้งเดียว เพราะเหตุออกจากงาน
-นําเงินได้เพราะเหตุออกจากงานหักค่าใช้จ่ายเท่ากับ 7,000 บาท คูณจํานวนปีที่ทํางาน เหลือเท่าใดนัก ค่าใช้จ่ายได้อีก 50% แล้วนํา เงินที่เหลือไปคํานวณภาษีตามบัญชีอัตราภาษีเงินได้บุคคล ธรรมดา *เงินได้สุทธิ 150,000 บาทแรกที่ได้รับการยกเว้นภาษีมิให้ นํามาใช้
*เงินได้ 100,000 บาทแรก คงเสียภาษีร้อยละ 5 ตามปกติ |
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง |
แบบที่กําหนด/เวลานําส่ง |
ม.50(1) |
ภ.ง.ด.1/นําส่งภาย ในวันที่ 1-7 ของ เดือนถัดไปจาก เดือนที่จ่ายเงินได้ |
ม.40(2) การรับทํางานให้ ค่านายหน้าฯลฯ
ผู้มีหน้าที่หักภาษี
|
ผู้ถูกหักภาษี
|
ผู้จ่ายเงินทุกราย |
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา |
วิธีคํานวณภาษี/หักภาษีร้อยละ |
หักภาษีร้อยละ 15 |
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง |
แบบที่กําหนด/เวลานําส่ง |
ม.50(1) |
ภ.ง.ด.1/นําส่งภาย ในวันที่ 1-7 ของ เดือนถัดไปจาก เดือนที่จ่ายเงินได้ |
ม.40(3) ค่ากู๊ดวิลล์ ลิขสิทธิ์/สิทธิ อย่างอื่น ฯลฯ
ผู้มีหน้าที่หักภาษี
|
ผู้ถูกหักภาษี
|
ผู้จ่ายเงินทุกราย |
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา |
วิธีคํานวณภาษี/หักภาษีร้อยละ |
หักภาษีร้อยละ 15 |
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง |
แบบที่กําหนด/เวลานําส่ง |
ม.50(2)(ก) |
ภ.ง.ด.2/นําส่งภาย ในวันที่ 1-7 ของ เดือนถัดไปจาก เดือนที่จ่ายเงินได้ |
ม.40(4)(ก) เฉพาะดอกเบี้ยจาก พันธบัตร/เงินฝาก/ เงินฝากสหกรณ์หุ้นกู้ ตัวเงิน/เงินให้กู้ยืม
ผู้มีหน้าที่หักภาษี
|
ผู้ถูกหักภาษี
|
ผู้จ่ายเงินทุกราย |
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา |
วิธีคํานวณภาษี/หักภาษีร้อยละ |
หักภาษีร้อยละ 15
-ยกเว้นภาษีดอกเบี้ยสลากออมสิน ดอกเบี้ยเงินฝาก เพื่อเรียกธนาคารออมสิน ดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ จากสหกรณ์ (ม.42(8)
-ยกเว้นภาษีดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ธนาคารใน ราชอาณาจักรที่ได้รับไม่เกิน 20,000 บาท/ปี (กฎกระทรวง 126 ข้อ 2(38)
-ยกเว้นภาษีกรณีพันธบัตรที่องค์การของรัฐหรือสถาบัน
การเงินที่มีกฎหมายโดยเฉพาะของไทยจัดตั้งขึ้นฯ เป็นผู้ออกจําหน่ายในต่างประเทศและผู้รับมิได้อยู่ใน ประเทศไทย (กฎกระทรวง 126 ข้อ 2(21)) |
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง |
แบบที่กําหนด/เวลานําส่ง |
ม.50(2)(ข) |
ภ.ง.ด.2/นําส่งภาย ในวันที่ 1-7 ของ เดือนถัดไปจาก เดือนที่จ่ายเงินได้ |
ม.40 (4)(ก) ผลต่างราคาไถ่ถอน กับราคาจําหน่าย ตัวเงินหรือตราสาร สิทธิในหนี้บริษัทหรือ นิติบุคคลอื่นเป็นผู้
ผู้มีหน้าที่หักภาษี
|
ผู้ถูกหักภาษี
|
ผู้จ่ายเงินที่เป็นนิติบุคคล |
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา |
วิธีคํานวณภาษี/หักภาษีร้อยละ |
หักภาษีร้อยละ 15 (เฉพาะผู้รับเงินเป็นผู้ทรงคนแรก) |
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง |
แบบที่กําหนด/เวลานําส่ง |
ม.50(2)(ค) |
ภ.ง.ด.2/นําส่งภาย ในวันที่ 1-7 ของ เดือนถัดไปจาก เดือนที่จ่ายเงินได้ |
ม.40(4) (ก) เฉพาะ เงินได้ทํานองเดียวกับดอกเบี้ย / ผลประโยชน์ที่ได้ จากการให้กู้ยืมหรือ สิทธิเรียกร้องในหนี้ ทุกชนิด
ผู้มีหน้าที่หักภาษี
|
ผู้ถูกหักภาษี
|
ผู้จ่ายเงินทุกราย |
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา |
วิธีคํานวณภาษี/หักภาษีร้อยละ |
หักภาษีร้อยละ 15 |
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง |
แบบที่กําหนด/เวลานําส่ง |
ม.50(2)(ข) |
ภ.ง.ด.2/นําส่งภาย ในวันที่ 1-7 ของ เดือนถัดไปจาก เดือนที่จ่ายเงินได้ |
ม.40(4)(ค) เงินโบนัสที่จ่ายแก่ผู้ถือหุ้น
ผู้มีหน้าที่หักภาษี
|
ผู้ถูกหักภาษี
|
ผู้จ่ายเงินที่เป็นนิติบุคคล |
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา |
วิธีคํานวณภาษี/หักภาษีร้อยละ |
หักภาษีร้อยละ 15 |
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง |
แบบที่กําหนด/เวลานําส่ง |
ม.50(2)(ข) |
ภ.ง.ด.2/นําส่งภาย ในวันที่ 1-7 ของ เดือนถัดไปจาก เดือนที่จ่ายเงินได้ |
ม.40(4)(ง) เงินลดทุนเฉพาะส่วน ที่จ่ายไม่เกินกว่ากําไร และเงินที่กันไว้รวมกัน
ผู้มีหน้าที่หักภาษี
|
ผู้ถูกหักภาษี
|
ผู้จ่ายเงินที่เป็นนิติบุคคล |
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา |
วิธีคํานวณภาษี/หักภาษีร้อยละ |
หักภาษีร้อยละ 15 |
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง |
แบบที่กําหนด/เวลานําส่ง |
ม.50(2)(ข) |
ภ.ง.ด.2/นําส่งภาย ในวันที่ 1-7 ของ เดือนถัดไปจาก เดือนที่จ่ายเงินได้ |
ม.40(4)(จ) เงินเพิ่มทุนซึ่งตั้งจาก กําไรที่ได้มาหรือเงิน ที่กันไว้รวมกัน
ผู้มีหน้าที่หักภาษี
|
ผู้ถูกหักภาษี
|
ผู้จ่ายเงินที่เป็นนิติบุคคล |
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา |
วิธีคํานวณภาษี/หักภาษีร้อยละ |
หักภาษีร้อยละ 15 |
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง |
แบบที่กําหนด/เวลานําส่ง |
ม.50(2)(ข) |
ภ.ง.ด.2/นําส่งภาย ในวันที่ 1-7 ของ เดือนถัดไปจาก เดือนที่จ่ายเงินได้ |
ม.40(4)(ฉ) ผลประโยชน์ที่บริษัท ควบเข้ากัน รับช่วงกัน หรือเลิกกัน ซึ่งตีราคา เป็นเงินได้เกินกว่า เงินทุน
ผู้มีหน้าที่หักภาษี
|
ผู้ถูกหักภาษี
|
ผู้จ่ายเงินที่เป็นนิติบุคคล |
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา |
วิธีคํานวณภาษี/หักภาษีร้อยละ |
หักภาษีร้อยละ 15 |
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง |
แบบที่กําหนด/เวลานําส่ง |
ม.50(2)(ข) |
ภ.ง.ด.2/นําส่งภาย ในวันที่ 1-7 ของ เดือนถัดไปจาก เดือนที่จ่ายเงินได้ |
ม.40(4)(ช) ผลประโยชน์จาก การโอนหุ้น
ผู้มีหน้าที่หักภาษี
|
ผู้ถูกหักภาษี
|
ผู้จ่ายเงินทุกราย |
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา |
วิธีคํานวณภาษี/หักภาษีร้อยละ |
หักภาษีร้อยละ 15 เฉพาะการโอนหุ้นฯ นอกตลาดหลักทรัพย์ (ขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ยกเว้นภาษีตามกฎกระทรวง 126 ข้อ 2(23) |
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง |
แบบที่กําหนด/เวลานําส่ง |
ม.50(2)(ก) |
ภ.ง.ด.2/นําส่งภาย ในวันที่ 1-7 ของ เดือนถัดไปจาก เดือนที่จ่ายเงินได้ |
ม.40(4)(ช) ผลประโยชน์จากการ โอนตัวเงินหรือตราสารแสดงสิทธิเป็นหนี้
ผู้มีหน้าที่หักภาษี
|
ผู้ถูกหักภาษี
|
ผู้จ่ายเงินทุกราย |
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา |
วิธีคํานวณภาษี/หักภาษีร้อยละ |
หักภาษีร้อยละ 15 (ยกเว้นภาษีเฉพาะตั๋วเงินหรือตราสารฯ ที่ไม่มี ดอกเบี้ย ในกรณีผู้ ทรงคนแรกได้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายแล้วตามกฎกระทรวง 126 ข้อ 2(30)(ข)) |
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง |
แบบที่กําหนด/เวลานําส่ง |
ม.50(2)(ข) |
ภ.ง.ด.2/นําส่งภาย ในวันที่ 1-7 ของ เดือนถัดไปจาก เดือนที่จ่ายเงินได้ |
ม.40(4)(ข) เงินปันผล/ เงินส่วนแบ่งกําไร
ผู้มีหน้าที่หักภาษี
|
ผู้ถูกหักภาษี
|
บริษัท/ห้างหุ้น ส่วนนิติบุคคล/ กองทุนรวม/ สถาบันการเงิน |
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา |
วิธีคํานวณภาษี/หักภาษีร้อยละ |
หักภาษีร้อยละ 10 |
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง |
แบบที่กําหนด/เวลานําส่ง |
ม.50(2)(จ) |
ภ.ง.ด.2/นําส่งภายในวันที่ 1-7 ของเดือนถัดไปจาก เดือนที่จ่ายเงินได้ |
ม.40(5)(6)(7)(8)
ผู้มีหน้าที่หักภาษี
|
ผู้ถูกหักภาษี
|
หน่วยงานรัฐ องค์การของรัฐ/ องค์การ ปกครอง ส่วนท้องถิ่น |
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา |
วิธีคํานวณภาษี/หักภาษีร้อยละ |
หักภาษีร้อยละ 1
*หักภาษีตามบัญชี อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีจ่ายเงินได้ ในการประกวดแข่งขัน |
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง |
แบบที่กําหนด/เวลานําส่ง |
ม.50(4) |
ภ.ง.ด.3/นําส่งภายในวันที่ 1-7 ของเดือนถัดไปจาก เดือนที่จ่ายเงินได้ |
ม.40(5)(ก) การให้เช่าทรัพย์สิน
ผู้มีหน้าที่หักภาษี
|
ผู้ถูกหักภาษี
|
ผู้จ่ายเงินทุกรายที่มิใช่หน่วยงานรัฐ/องค์การของรัฐ |
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา |
วิธีคํานวณภาษี/หักภาษีร้อยละ |
หักภาษีร้อยละ 15 |
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง |
แบบที่กําหนด/เวลานําส่ง |
ม.50(3) |
ภ.ง.ด.3/นําส่งภายในวันที่ 1-7 ของเดือนถัดไปจาก เดือนที่จ่ายเงินได้ |
ม.40(6) วิชาชีพอิสระ ตามประมวลรัษฎากร
ผู้มีหน้าที่หักภาษี
|
ผู้ถูกหักภาษี
|
ผู้จ่ายเงินทุกรายที่มิใช่หน่วยงานรัฐ/องค์การของรัฐ |
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา |
วิธีคํานวณภาษี/หักภาษีร้อยละ |
-หักภาษีตามบัญชีภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
-หักภาษีร้อยละ 10 กรณีนักแสดงภาพยนตร์ หรือโทรทัศน์ที่ถ่าย ภาพยนตร์ในไทย และได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการพิจารณา คําขออนุญาต ถ่ายทําภาพยนตร์ต่างประเทศในไทย |
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง |
แบบที่กําหนด/เวลานําส่ง |
ท.ป.4/2528 ข้อ 9(2) |
ภ.ง.ด.3/นําส่งภายในวันที่ 1-7 ของเดือนถัดไปจาก เดือนที่จ่ายเงินได้ |
ม.40(8) ค่าจ้างนักแสดง
ผู้มีหน้าที่หักภาษี
|
ผู้ถูกหักภาษี
|
ผู้จ่ายเงินทุกรายที่มิใช่หน่วยงานรัฐ/องค์การของรัฐ |
นักแสดงสาธารณะที่มีภูมิลําเนาในต่างประเทศ |
วิธีคํานวณภาษี/หักภาษีร้อยละ |
หักภาษีร้อยละ 15 |
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง |
แบบที่กําหนด/เวลานําส่ง |
ม.50(3) |
ภ.ง.ด.3/นําส่งภายในวันที่ 1-7 ของเดือนถัดไปจาก เดือนที่จ่ายเงินได้ |
หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย excel
แก้ เคล็ด ซื้อหวย เฉียดไปเฉียดมา วิธี เล่นหวย ให้ถูกทุกงวด วิธีแก้ เคล็ด ซื้อ หวย ไม่ถูก เล่นหวยเป็นอาชีพ pantip ซื้อหวยไม่เคยถูกเพราะอะไร ซื้อหวยไม่เคยถูก
วิจัยความคิดสร้างสรรค์ทางศิลปะ วิจัย ความคิดสร้างสรรค์ ปฐมวัย กิจกรรมส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ ปฐมวัย งานวิจัยความคิดสร้างสรรค์ pdf ตัวอย่าง กิจกรรม
เวตาลมีลักษณะอย่างไร เวตาลเรื่องที่10 ตัวละคร โครงเรื่องหลักของนิทานเวตาลกล่าวถึงตัวละครเอก 2 ตัวคือใคร ท้าวมหาพล มีลักษณะนิสัยอย่างไร โยคีศานติศีล
tcas ต่างจากระบบเดิมยังไงบ้าง ? มีข้อดียังไงบ้าง ? สำหรับเด็กซิ่ว สำหรับเด็กอินเตอร์ สำหรับเด็กที่จะเข้ามหาวิทยาลัยราชภัฎ หรือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราช
แบตเตอรี่ไฟฉาย led แบตเตอรี่ไฟฉายคาดหัว วิธีชาร์จแบตไฟฉาย ไฟฉาย ชาร์จ กี่ชั่วโมง ถ่านอัลคาไลน์ ใช้กับอะไร ถ่านอัลคาไลน์ ชาร์จได้ไหม ถ่านแมงกานีส คือ
คําเชื่อมขึ้นต้นประโยค ภาษาอังกฤษ คําขึ้นต้นประโยค ภาษาอังกฤษ essay เพื่อที่จะ ภาษาอังกฤษ ขึ้นต้นประโยค คําขึ้นต้นประโยค ภาษาไทย คําขึ้นต้นประโยคคำ
บทความแนะนำ หมวดหมู่: เศรษฐกิจ
จำนวนคอมเมนต์ของโพสต์ ID 148937: 1527