ภาษีป้าย

ภาษีป้าย 12 SIGN ทำความเข้าใจกฎระเบียบวิธีการลดหย่อนเก็บจาก

Click to rate this post!
[Total: 141 Average: 5]

ภาษีป้าย

ภาษีป้าย ตามพระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ. 2510 คือ ภาษีที่จัดเก็บจาก ป้ายแสดงชื่อ ยี่ห้อ หรือเครื่องหมายที่ใช่ ในการประกอบการค้าหรือประกอบกิจการอื่นเพื่อหารายได้หรือโฆษณาการค้าหรือ กิจการอื่นเพื่อหารายได้ ไม่วาจะได้แสดงหรือโฆษณาไว้ที่วัตถุใด ๆ ด้วยอักษร ภาพ หรือเครื่องหมายที่เขียน แกะสลัก จารึก หรือทำให้ปรากฏด้วยวิธีอื่น

Wiki ป้าย หรือบางบริบทว่า เครื่องหมาย หมายถึงแผ่นแสดงข้อความ ในการเล่าเรื่องราว รวมถึงการบอกความหมาย คำสั่ง คำร้อง โฆษณา ไปตลอดจนถึงป้ายแสดงความเสียใจ และความรับผิด แผ่นแสดงข้อความนี้ หมายถึง แห่งที่ ๆ เป็นการแสดงข้อความในเพลทใดเพลทหนึ่งทางหน้าจอมอนิเตอร์ด้วย และหมายถึงเข็มกลัด หรือผ้าที่เป็นแถบแสดงข้อความด้วย เช่น ป้ายสายสะพาย ประโยคที่เกี่ยวกับคำว่า “ ป้าย ” เช่น “ ป้ายวิ่ง ตัดข้อความเป็นคำ ๆ อ่านแล้วไม่ทันรู้เรื่อง ”

ป้ายที่ต้องเสียภาษี

ป้ายที่ต้องเสียภาษีป้าย ได้แก่ ป้ายแสดงชื่อ ยี่ห้อ หรือเครื่องหมายที่ใช้ในการประกอบการค้า หรือประกอบกิจการอื่นเพื่อหารายได้ ไม่ว่าจะแสดง หรือโฆษณาไว้ที่วัตถุใด ๆ ด้วยอักษร ภาพ หรือเครื่องหมาย ที่เขียน แกะสลัก จารึก หรือทำให้ปรากฏด้วยวิธีใด ๆ

ป้ายที่ไม่ต้องเสียภาษี

  1. ป้ายที่จัดแสดงไว้ที่โรงมหรสพ และบริเวณใกล้เคียงของโรงมหรสพ เพื่อโฆษณามหรสพ
  2. ป้ายสำหรับแสดงบนสินค้า หรือบรรจุภัณฑ์ของสินค้า
  3. ป้ายการจัดงานแบบชั่วคราว
  4. ป้ายสำหรับคนหรือสัตว์
  5. ป้ายที่จัดแสดงในอาคาร หรือที่รโหฐานเพื่อหารายได้ ซึ่งแต่ละป้ายต้องมีขนาดไม่เกิน 3 ตารางเมตรตามที่กฎหมายของกระทรวงได้กำหนดไว้
  6. ป้ายของราชการ ซึ่งเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
  7. ป้ายขององค์การที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์การของรัฐบาลอย่างเช่นป้ายของธนาคารออมสิน ธนาคารแห่งประเทศไทย ตลอดจนบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
  8. ป้ายของโรงเรียนเอกชน
  9. ป้ายของผู้ประกอบการเกษตรที่ทำการค้าขายผลิตผลที่เกิดจากการทำการเกษตรด้วยตนเอง
  10. ป้ายของวัด หรือผู้ที่ดำเนินกิจการเพื่อศาสนา และการกุศลโดยเฉพาะ
  11. ป้ายมูลนิธิ หรือป้ายสมาคม
  12. ป้ายตามที่กำหนดในกฎกระทรวง (กฎกระทรวงฉบับที่ 2 พ.ศ.2535) ที่กำหนดไว้ว่าผู้ที่ไม่ต้องเสียภาษีป้ายคือผู้ที่ติดป้ายไว้ที่ยานพาหนะเช่น รถยนต์ รถจักรยานยนต์ รถบดถนน รถแทรกเตอร์ ป้ายที่ติดตั้งไว้บนล้อเลื่อน และป้ายที่จัดแสดงไว้ที่ยานพาหนะ โดยมีพื้นที่ไม่เกิน 500 ตารางเซนติเมตร

ผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้าย

ผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้าย
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้าย

ผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้ายคือ เจ้าของป้าย แต่ในกรณีที่ปรากฏแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ว่าไม่มีผู้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้าย (ภ.ป. 1) สำหรับป้ายใด เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ไม่อาจหาตัวเจ้าของป้ายนั้นได้ ให้ถือว่าผู้ครอบครองป้ายนั้นเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้าย ถ้าไม่อาจหาตัว ผู้ครอบครองป้ายนั้นได้ให้ถือว่าเจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคาร หรือที่ดินที่ป้ายนั้นติดตั้งหรือแสดงอยู่เป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้ายตามลำดับและให้พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งการประเมินภาษีเป็นหนังสือไปยังบุคคลดังกล่าว

เอกสารใช้ในการยื่นแบบป้าย

กรณีป้ายใหม่ ให้เจ้าของป้ายยื่นแบบเสียภาษี พร้อมสําเนาหลักฐานและลงลายมือชื่อรับรองความถูกต้อง ได้แก่

  • ใบอนุญาตติดตั้งป้าย, ใบเสร็จรับเงินค่าทําป้าย
  • สําเนาทะเบียนบ้าน
  • บัตรประจําตัวประชาชน / บัตรข้าราชการ / บัตรพนักงานรัฐวิสาหกิจ / บัตรประจําตัว ผู้เสียภาษี
  • กรณีป้ายเป็นนิติบุคคลให้แนบหนังสือรับรองสํานักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท, ทะเบียนพาณิชย์และหลักฐานของ สรรพากร เช่น ภ.พ. 01, ภ.พ. 09, ภ.พ. 20
  • หนังสือมอบอํานาจ (กรณีไม่สามรถยื่นแบบได้ด้วยตนเอง พร้อมติดอากรแสตมป์ตามกฎหมาย)
  • หลักฐานอื่น ๆ ตามที่เจ้าหน้าที่ให้คําแนะนํา เช่น รูปถ่ายป้าย,วัดขนาดความกว้าง x ยาว

กรณีป้ายเก่า ให้เจ้าของป้ายยื่นแบบเสียภาษีป้าย (ภ.ป. 1) พร้อมใบเสร็จรับเงินการเสียภาษีครั้งสุดท้าย กรณีเจ้าของป้ายเป็น นิติบุคคลให้แนบหนังสือรับรองสํานักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทพร้อมกับการยื่นแบบ ภ.ป. 1

อัตราภาษีป้าย

อัตราภาษีป้าย
อัตราภาษีป้าย

ปัจจุบันยังคงแบ่ง อัตราภาษีป้ายออก เป็น 3  อัตราอยู่ แต่เมื่อวันที่ 14 ก.ค. 2563 คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ….) ออกตามความในพระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ. 2510 ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาออกตามความใน พ.ร.บ.ภาษีป้าย กำหนดให้อัตราภาษีป้ายมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2564-31 ธ.ค. 2566 โดนอาจมีการปรับเปรียบอัตราภาษีให้ทันสมัยต่อการจัดเก็บในปัจจุบัน

การคํานวณภาษีป้าย

การคำนวนภาษีป้าย
การคำนวนภาษีป้าย

การคำนวณพื้นที่ป้าย

ป้ายที่มีขอบเขตกำหนดได้

พื้นที่ป้าย =  ส่วนที่กว้างที่สุด  x  ส่วนที่ยาวที่สุดของขอบเขตป้าย

ป้ายที่ไม่มีขอบเขตกำหนดได้

ถือตัวอักษร  ภาพ  หรือเครื่องหมายที่อยู่ริมสุดเป็นขอบเขตเพื่อกำหนดส่วนที่กว้างที่สุด  ยาวที่สุด

ตัวอย่างการคำนวณภาษีป้าย

ป้ายขนาด 1×2 เมตร คิดเป็น (100*200/500= 40 หน่วย) จะต้องเสียภาษีป้ายรายปีแยกตามประเภทป้าย
ป้ายประเภทที่ 1 ต้องจ่ายภาษี 40×3 = 120 บาท
ป้ายประเภทที่ 2 ต้องจ่ายภาษี 40×20 = 800 บาท
ป้ายประเภทที่ 3 ต้องจ่ายภาษี 40×40 = 1600 บาท

*หมายเหตุ ในประเภทที่เมื่อ คำนวนแล้วไม่ถึง 200 บาท ต้องจ่าย 200 บาท

ขั้นตอนการจัดเก็บภาษีป้าย เพื่อประโยชน์ในการเสียภาษี

กรณีป้ายเก่า ให้แสดงใบเสร็จเสียภาษีป้ายของปีก่อน
กรณีป้ายใหม่
1. บัตรประจำตัวประชาชน
2. สำเนาทะเบียนบ้าน
3. หนังสือรับรอง กรณีเป็นนิติบุคคล
4. ใบอนุญาตติดตั้งป้าย
5. ใบเสร็จรับเงินค่าทำป้าย(กรณีป้ายใหม่ หรือป้ายที่มีการจัดทำแทนป้ายเดิม) ซึ่งจะต้องระบุขนาดของป้ายและข้อความที่ติดบนแผ่นป้าย
6. หรือหลักฐานอื่นเท่าที่จำเป็นเพียงพอเพื่อประโยชน์ในการเสียภาษีป้ายเท่านั้น

กำหนดเวลายื่นแบบเสียภาษีป้าย ให้เจ้าของป้ายยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้าย

เจ้าของป้ายยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้าย (ภ.ป.1) ภายในเดือนมีนาคมของทุกปี
ในกรณีที่ติดตั้งหรือแสดงป้ายภายหลังเดือนมีนาคมหรือติดตั้งหรือแสดงป้ายใหม่แทนป้ายเดิม หรือ เปลี่ยนแปลงแก้ไขป้ายอันเป็นเหตุให้ต้องเสียภาษีป้ายเพิ่มขึ้น ให้เจ้ของป้ายยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายภายใน 15 วัน นับแต่วันติดตั้งหรือแสดงป้าย หรือนับแต่วันเปลี่ยนแปลงแก้ไขแล้วแต่กรณี

สถานที่ชำระภาษี

  • สถานที่ที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายไว้
  • สถานที่อื่นที่พนักงานเจ้าหน้าที่กำหนด

บทกำหนดโทษ

  1. ผู้ใดจงใจไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้าย ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ 5,000 บาท ถึง 50,000 บาท
  2. ผู้ใดโดยรู้หรือจงใจแจ้งความเท็จ ให้ถ้อยคำเท็จ หรือพยายามหลีกเลี่ยงภาษีป้ายต้องระวางโทษจำคุกไม่ เกิน 1 ปี หรือปรับตั้งแต่ 5,000 บาท ถึง 50,000 บาท หรือทั้งจำ ทั้งปรับ
  3. ผู้ใดไม่แจ้งรับโอนป้าย หรือไม่แสดงรายการเสียภาษีป้ายไว้ ณ ที่เปิดเผยในสถานที่ประกอบกิจการ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ 1,000 บาท ถึง 10,000 บาท
ปิดกิจการ
Present-Simple-Tense
แปรงฟัน
แผนที่มีบทบาทในการสนับสนุนงานก่อสร้าง
การหาปริมาตรของทรงกระบอก 1
220303
สัปรด
บทความแนะนำ หมวดหมู่: เศรษฐกิจ
จำนวนคอมเมนต์ของโพสต์ ID 150180: 1452