ค่าเผื่อ หนี้สงสัยจะสูญวิธีตรวจสอบและบริหารความเสี่ยง 2 ข้อ?
หนี้สงสัยจะสูญ ในงบการเงิน หนี้สงสัยจะสูญ อยู่ ใน หมวด ใด หนี้สงสัยจะสูญ หมายถึง หนี้สงสัยจะสูญ หมวดสินทรัพย์ หนี้สงสัยจะสูญ บันทึกบัญชี ปรับปรุงหนี้สง
ค่าเสื่อมราคา (Depreciation Expenses) หมายถึง จำนวนเงินที่มูลค่าของสินทรัพย์ถาวร เสื่อมค่าลงอันเนื่องมาจากการใช้งานสินทรัพย์ถาวรนั้น สินทรัพย์ถาวรนั้นมีอายุการใช้งานเกิน 1 ปี แต่ เมื่อใช้ไปแล้วจริงอยู่ว่าสินทรัพย์ถาวรนั้นยังไม่หมดไป แต่มูลค่าของสินทรัพย์ถาวรนั้น ก็ไม่เหลือเท่าเดิมแล้ว ทั้งนี้เนื่องจากสินทรัพย์ถาวรนั้นมีการเสื่อมค่าลงตามการใช้งานนั่นเอง
การที่สินทรัพย์ถาวรนั้นเสื่อมค่าลงในแต่ละปี จนหมดอายุการใช้งานของสินทรัพย์ถาวรนั้น คือ ค่าเสื่อมราคาสินทรัพย์ถาวรในแต่ละปี ซึ่งบัญชีค่าเสื่อมราคานี้ถือเป็นค่าใช้จ่ายของกิจการ กิจการจะต้องทำการปรับปรุงบัญชีสำหรับค่าเสื่อมราคานี้ทุกวันสิ้นงวดบัญชีของกิจการ
ทั้งนี้ เนื่องจากจะได้ปรับปรุงมูลค่าสินทรัพย์ถาวรให้ตรงกับความเป็นจริง ซึ่งสินทรัพย์ถาวรทุกชนิดจะต้องมีการคิดค่าเสื่อมราคา ยกเว้นที่ดิน ในการปรับปรุงบัญชีสำหรับค่าเสื่อมราคาสินทรัพย์ถาวรนี้ บันทึกบัญชีได้โดย เดบิต ค่าเสื่อมราคา และเครดิต ค่าเสื่อมราคาสะสม ซึ่งเป็นบัญชีปรับมูลค่าของสินทรัพย์ถาวรให้ตรงกับความเป็นจริง
โดยที่บัญชีค่าเสื่อมราคาสะสมนี้เป็นบัญชีหมวดสินทรัพย์ที่มียอดคงเหลืออยู่ทางด้านเครดิต เพื่อจะเอาไว้ปรับมูลค่าของสินทรัพย์ถาวรให้ตรงกับความเป็นจริงนั่นเอง โดยที่สินทรัพย์ถาวรสุทธิ จะเท่ากับสินทรัพย์ถาวรที่ราคาทุนหักด้วยค่าเสื่อมราคาสะสม ซึ่งยอดของค่าเสื่อมราคาสะสมจะเพิ่มขึ้นทุกปี จะทำให้ยอดของสินทรัพย์ถาวรสุทธิลดลงทุกปีเช่นกัน ซึ่งถูกต้องตามความเป็นจริง
การบันทึกรายการค่าเสื่อมราคา โดยการนำมาหักออกจากบัญชีสินทรัพย์โดยตรง ถือว่าเป็นการบันทึกที่ผิดหลักการบัญชีหรือไม่ ไม่ผิดค่ะ ถ้าหากมีการเปิดเผยข้อมูลในงบการเงินอย่างถูกต้อง แต่หลักการที่นิยมทำกัน คือ
เดบิต ค่าเสื่อมราคา xxxx
เครดิต ค่าเสื่อมราคาสะสม xxxx
ซึ่งวิธีนี้เป็นบัญชีค่าใช้จ่ายโอนเข้าต้นทุนเป้นค่าใช้จ่ายเป็นกำไรหรือขาดทุนแล้วแต่กรณ๊ ณ วันที่ปิดงบการเงินจะสามารถทราบถึงราคาทุนและจำนวนค่าเสื่อมราคาสะสมของสินทรัพย์นั้น
วิธีอัตราเร่ง ( Accelerated Method ) หมายถึง หรือวิธีอัตราลดลง ( Decreasing Charge Method ) หมายถึง ซึ่งมีอยู่หลายวิธี แต่วิธีที่ได้รับความนิยม ได้แก่
1. วิธีผลรวมจำนวนปีของอายุการใช้งานคงเหลือ ณ วันต้นปีทุกปี ( Sum of the Year’s Digit )
2. วิธียอดลดลงทวีคูณ ( Double Declining Balance Method )
วิธีผลรวมจำนวนปีของอายุการใช้งานคงเหลือ ณ วันต้นปีทุกปี ( Sum of the Year’s Digit ) วิธีนี้จะถือจำนวนปีหรืออายุการใช้งานของสินทรัพย์ถาวรเป็นเกณฑ์โดยใช้ผลบวกรวมทั้งสิ้น ในรูปของเศษส่วนและจำนวนเศษส่วนจะค่อย ๆ ลดลงตามลำดับ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อจำนวนค่าเสื่อมราคาประจำงวดบัญชี การคำนวณ
1. ผลรวมจำนวนปี = n ( n + 1 ) /2
2. ราคาสุทธิ = ราคาทุน – ราคาซาก หมายเหตุ n = จำนวนปีที่คาดว่าสินทรัพย์จะใช้งานได้
วิธียอดลดลงทวีคูณ ( Double Declining Balance Method ) หลักการคำนวณ คือ จะคำนวณหาอัตราค่าเสื่อมราคาต่อปีและปรับจำนวนเป็น 2 เท่า นำอัตรา 2 เท่าที่คำนวณได้ไปคำนวณหาค่าเสื่อมราคาประจำงวด โดยคำนวณจากราคาตามบัญชี ( Book Value ) ของสินทรัพย์ถาวรที่ลดลงทุกปี และวิธีนี้ไม่นำราคาซากมาเกี่ยวข้องกับการคำนวณ การคำนวณ ค่าเสื่อมราคา = ( 2 x อัตราร้อยละของวิธีเส้นตรง ) x ราคาตามบัญชี ณ วันต้นงวด
อ่านบทความทั้งหมด >>> pangpond.com