ภาษีเงินได้หักณที่จ่ายบุคคลกี่เปอร์เซ็นต์ครบจบ 50 ม.ภาษี?
ภาษีเงินได้หักณที่จ่าย ภาษีเงินได้หักณที่จ่าย Withholding Income Tax ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย มาตรา50
ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 355 (พ.ศ. 2562) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการรายงานข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลที่มีธุรกรรมลักษณะเฉพาะ กำหนดให้ ธนาคารต้องส่ง รายงานทางการเงินของเราให้กับกรมสรรพากร ตามเงื่อนไข
เรามาดูและทำความเข้าใจกันว่า เราเข้าข่ายหรือไม่ และหากเข้าข่าย ต้องจัดการอย่างไรบ้าง เพราะการรายงานข้อมูลการฝากหรือรับโอนเงินในครั้งแรกซึ่งต้องรายงานภายในวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2563
กฎหมายนี้ได้กำหนดให้สถาบันการเงินและผู้ให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ รายงาน ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลที่มี “ธุรกรรมลักษณะเฉพาะ”
ธุรกรรมลักษณะเฉพาะ (หรือที่สื่อเรียกกันว่า กฎหมายอีเพย์เมนต์) เป็นธุรกรรมที่สถาบันการเงิน (เช่น ธนาคาร) รวมถึงผู้ให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ (เช่น mPAY, TrueMoney)
สรรพากรตรวจสอบบัญชีธนาคารตั้ง 2562 และเริ่มบังคับใช้แล้ว สาเหตุเพื่อต้องการเช็คภาษี ของผู้ที่อยู่นอกระบบไม่ว่าจะเป็น การตรวจสอบการยื่นภาษี บัญชีธนาคาร การโอนเงิน รายการเดินบัญชี การรับโอน การโอนเงินเข้าบัญชี ทั้งนี้ไม่ได้เป็นการที่กรมสรรพากรต้องการดูยอดเงินในบัญชีของประชาชนแต่ต้องการที่จะจัดเก็บภาษีให้เท่าเทียมกัน จากคนที่ไม่ยอมเสียภาษีอย่างถูกต้อง โดนผ่านการตรวจสอบการโอนเงินผ่านทางธนาคาร หรือบางครั้งท่านอาจมีเงินเข้าบัญชี เงินเข้าบัญชีไม่ทราบที่มา ไม่สามารถพิสูจน์ได้ ทำให้สรรพากรต้องมีการเช็คอย่างถูกต้องตามกฎหมาย
นับการฝากหรือรับโอนเงินเข้าบัญชีของบุคคลที่มีชื่อเป็นเจ้าของบัญชี ให้นับจำนวนครั้ง และจำนวนเงินทุกครั้ง ที่มีการฝากหรือรับโอนเงิน เช่น การโอนที่ธนาคาร หรือสถาบันการฝากหรือรับโอนเงินเข้าบัญชีซึ่งกระทำผ่านอุปกรณ์รับชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ภาพรหัสคิวอาร์ หรือวิธีการรับชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์อื่น เช่นการโอนจากแอพพิเคชั่น
ตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นไป สถาบันจะส่งข้อมูลบัญชีที่เข้าเงื่อนไขให้กับกรมสรรพากร โดยการนับธุรกรรมฝากหรือรับโอนเงิน ทางธนาคารนับธุรกรรมแบบปีต่อปีตามปกติ ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. – 31 ธ.ค. ของทุกปี สำหรับในปี 2564 นี้ จะต้องส่งข้อมูลบัญชี (ของเดือน ม.ค.-ธ.ค. 63) ให้กับกรมสรรพากรภายในวันที่ 31 มี.ค. 2564
ข้อมูลที่ต้องรายงาน ธนาคารส่งข้อมูลอะไรให้สรรพากร ?
ในกรณีที่การฝากหรือรับโอนเงินตามวรรคหนึ่งเป็นการฝากหรือรับโอนเงินด้วยเงินตรา ต่างประเทศ ให้คำนวณค่าหรือราคาของเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยตามอัตราถัวเฉลี่ย ณ วันสิ้นปีที่ธนาคารพาณิชย์รับซื้อซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยได้คำนวณไว้ก่อนรายงานข้อมูล
ข้อมูลที่ถูกส่งจะถูกเก็บในระบบฐานข้อมูลของกรมสรรพากร ซึ่งมีระบบความมั่นคง ปลอดภัยด้านสารสนเทศในระดับมาตรฐานสาก เจ้าหน้าที่ไม่เกี่ยวข้องจะไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้เป็นการทั่วไป ประกอบกับได้มีการเพิ่มบทลงโทษแก่เจ้าพนักงานหากเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับกิจการของผู้มีหน้าที่เสีย ภาษีด้วยแล้ว
กฎหมายนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่ออำนวยความสะดวก ให้แก่ผู้เสียภาษีโดยเป็นการเสนอ แก้ไขกฎหมายให้รองรับธุรกรรมและเอกสารที่เกี่ยวข้องกับภาษีผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์พร้อมทั้งช่วยขยาย ฐานภาษี โดยนำผู้ที่อยู่นอกระบบภาษีเข้าสู่ระบบภาษี และผู้ที่อยู่ในระบบภาษีแล้วแต่ยังแสดงรายได้ไม่ ครบถ้วนให้แสดงรายได้ให้ครบถ้วน เพื่อสร้างความเป็นธรรมในระบบภาษี โดยไม่ได้มุ่งเน้นที่จะเก็บภาษีจากผู้ค้าออนไลน์ หรือธุรกิจใดธุรกิจหนึ่งเป็นการเฉพาะแต่อย่างใด
ข้อมูล : ตรวจภาษี ,