ภาษีหัก ณ ที่จ่าย

ภาษีเงินได้หักณที่จ่ายบุคคลกี่เปอร์เซ็นต์ครบจบ 50 ม.ภาษี?

Click to rate this post!
[Total: 101 Average: 5]

ภาษีเงินได้หักณที่จ่าย

ภาษีเงินได้หักณที่จ่าย Withholding Income Tax

ภาษีหัก ณ ที่จ่ายถือเป็นเครื่องมือทางภาษีอากรชนิดหนึ่งที่จะควบคุมผู้มีเงินได้ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลว่าได้เสียภาษีเงินได้ครบถ้วนหรือไม่ โดยกำหนดให้ผู้จ่ายเงินมีหน้าที่หักภาษีแล้วนำส่งกรมสรรพากรภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป และเป็นการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาอีกวิธีหนึ่งด้วย ดังนั้นภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายจะแบ่งออกเป็น

  1. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย
  2. ภาษีเงินได้นิติบุคคล หัก ณ ที่จ่าย
  3. ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายตามมาตรา 70
  4. ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายตามมาตรา 70 ทวิ

ภาษีเงินได้หักณที่จ่าย

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย มาตรา50

การหักภาษี ณ ที่จ่ายมาตรา 50 ได้กำหนดให้บุคคล ห้างหุ้นส่วน บริษัท สมาคม หรือคณะบุคคลผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 หักภาษีเงินได้ไว้ทุกคราวที่จ่ายเงินได้พึงประเมินให้แก่บุคคลธรรมดาเงินได้พึงประเมิน เงินได้ของบุคคลธรรมดาได้กำหนดไว้ดังนี้

  1. เงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงานไม่ว่าจะเป็นเงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง โบนัส เบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญ เงินค่าเช่าบ้าน เงินที่คำนวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้านที่นายจ้างให้อยู่โดยไม่เสียค่าเช่า เงินได้ที่นายจ้างจ่ายชำระหนี้ใดๆ ซึ่งลูกจ้างมีหน้าที่ต้องชำระ และเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์ใดๆ บรรดาที่ได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน
  2. เงินได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำ หรือจากการรับทำงานให้ไม่ว่าจะเป็นค่าธรรมเนียม ค่านายหน้า ค่าส่วนลด เงินอุดหนุนในงานที่ทำ เบี้ยประชุม บำเหน็จ โบนัส เงินค่าเช่าบ้าน เงินที่คำนวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้านที่ผู้จ่ายเงินได้ให้อยู่โดยไม่เสียค่าเช่า เงินที่ผู้จ่ายเงินได้จ่ายชำระหนี้ใดๆ ซึ่งผู้มีเงินได้มีหน้าที่ต้องชำระ และ เงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์ใดๆ บรรดาที่ได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำ หรือจากการรับทำงานให้นั้น ไม่ว่าหน้าที่ หรือตำแหน่งงาน หรืองานที่รับทำให้นั้นจะเป็นการประจำหรือชั่วคราว
  3. ค่าแห่งความนิยม (goodwill) ค่าแห่งลิขสิทธิ์ หรือสิทธิอย่างอื่น เงินปีหรือเงินได้มีลักษณะเป็นเงินรายปีอันได้มาจากพินัยกรรม นิติกรรมอย่างอื่นหรือคำพิพากษาของศาล
  4. เงินได้ที่เป็น

4.1     ดอกเบี้ยพันธบัตร ดอกเบี้ยเงินฝาก ดอกเบี้ยหุ้นกู้ ดอกเบี้ยตั๋วเงิน ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมไม่ว่าจะมีหลักประกันหรือไม่ ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมที่อยู่ในบังคับต้องถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายตามกฎหมายว่าด้วยภาษีเงินได้ปิโตรเลียม เฉพาะส่วนที่เหลือจากถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายตามกฎหมาย หรือผลต่างระว่างราคาไถ่ถอนกับราคาจำหน่ายตั๋วเงินหรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่บริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือ นิติบุคคลอื่นเป็นผู้ออกและจำหน่ายครั้งแรกในราคาต่ำกว่าราคาไถ่ถอน รวมทั้งเงินได้ที่มีลักษณะทำนองเดียวกันกับดอกเบี้ย ผลประโยชน์หรือค่าตอบแทนอื่นๆ ที่ได้จากการให้กู้ยืมหรือจากสิทธิเรียกร้องในหนี้ทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นหลักประกันหรือไม่ก็ตาม

4.2     เงินปันผล เงินส่วนแบ่งของกำไร หรือประโยชน์อื่นใดที่ได้จากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลกองทุนรวมหรือสถาบันการเงินที่มีกฎหมายโดยเฉพาะของประเทศไทยจัดตั้งขึ้นสำหรับให้กู้ยืมเงินเพื่อส่งเสริมเกษตรกรรม พาณิชยกรรม หรืออุตสาหกรรม เงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรที่อยู่ในบังคับต้องถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายตามกฎหมายว่าด้วยภาษีเงินได้ปิโตรเลียมเฉพาะส่วนที่เหลือจากถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายตามกฎหมาย

4.3     เงินโบนัสที่จ่ายแก่ผู้ถือหุ้น หรือผู้เป็นหุ้นส่วนในบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล

4.4     เงินลดทุนของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเฉพาะส่วนที่จ่ายไม่เกินกว่ากำไรและเงินที่กันไว้รวมกัน

4.5     เงินเพิ่มทุนของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งตั้งจากกำไรที่ได้มาหรือเงินได้ที่กันไว้รวมกัน

4.6     ผลประโยชน์ที่ได้จากการที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลควบเข้ากันหรือรับช่วงกัน หรือเลิกกันซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าเงินทุน

4.7     ผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนการเป็นหุ้นส่วน หรือโอนหุ้น หุ้นกู้ พันธบัตร หรือตั๋วเงิน หรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่บริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่นเป็นผู้ออก ทั้งนี้เฉพาะซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าที่ลงทุน

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

  1. เงินหรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้เนื่องจาก

5.1     การให้เช่าทรัพย์สิน

5.2     การผิดสัญญาเช่าซื้อทรัพย์สิน

5.3     การผิดสัญญาซื้อขายเงินผ่อน ซึ่งผู้ขายได้รับคืนทรัพย์สินที่ซื้อขายนั้น โดยไม่ต้องคืนเงินหรือประโยชน์ที่ได้รับไว้แล้ว

  1. เงินได้จากวิชาชีพอิสระคือ วิชากฎหมาย การประกอบโรคศิลปะ วิศวกรรม สถาปัตยกรรม การบัญชี ประณีตศิลปกรรม หรือวิชาชีพอิสระอื่น
  2. เงินได้จากการรับเหมาที่ผู้รับเหมาต้องลงทุนด้วยการจัดหาสัมภาระในส่วนสำคัญนอกจากเครื่องมือ
  3. เงินได้จากธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่ง หรือการอื่นนอกจากที่ระบุไว้

ดังนั้น เมื่อมีการจ่ายเงินให้กับบุคคลธรรมดา ผู้ที่มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายจะต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย โดยเงินได้ตามมาตรา 40 เป็นการจ่ายเงินเดือน ค่าจ้างแรงงาน จะหักภาษีณ ที่จ่ายเอาไว้ คำนวณได้ผลลัพธ์เป็นเงินเท่าใดก็ให้หักไว้เป็นเงินภาษีไว้เท่านั้น นอกจากนี้ยังมีการจ่ายค่าสิทธิ ลิขสิทธิ์ เงินปันผล ดอกเบี้ย ให้หักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ร้อยละ 15 ยกเว้นการจ่ายเงินปันผล ให้หักภาษี ณ ที่จ่ายร้อยละ 10

อ่านบทความทั้งหมด >>> pangpond.com

พัฒนาซอฟต์แวร์
ขั้นตอนการพัฒนาบุคลิกภาพ
break-even-point
ค่านิยม
คำคุณศัพท์ intelligent
บทความแนะนำ หมวดหมู่: เศรษฐกิจ
จำนวนคอมเมนต์ของโพสต์ ID 159028: 912