จัดทำงบกระแสเงินสด

ขั้น จัดทำงบกระแสเงินสดทางอ้อมกระดาษทำการจำแนกหัวข้อ 6 ขั้น?

Click to rate this post!
[Total: 61 Average: 5]

การจัดทำงบกระแสเงินสดโดยใช้กระดาษทำการ

ในกรณีที่กิจการที่มีรายการที่ค่อนข้างซับซ้อน นักบัญชีจึงนิยมใช้กระดาษทำการงบกระแสเงินสดเข้าช่วยในการจำแนกรายการและการจัดทำงบกระแสเงินสด ซึ่งจะช่วยให้การจัดทำงบกระแสเงินสดทำได้ง่ายขึ้น โดยส่วนบนของกระดาษทำการงบกระแสเงินสดประกอบด้วยรายการเดบิต และรายการเครดิต ขณะที่ส่วนล่างเป็นการจำแนกหัวข้อและรายการต่างๆ อันประกอบด้วยหัวข้อ “กระแสเงินสดจากการดำเนินงาน” “กระแสเงินสดจากการลงทุน” และ “กระแสเงินสดจากการจัดหาเงิน” เพื่อให้สะดวกต่อการที่จะยกยอดไปแสดงในงบกระแสเงินสด รูปแบบของกระดาษทำการงบกระแสเงินสดจะประกอบด้วยการจัดทำงบกระแสเงินสด

  1. งบดุลเปรียบเทียบ
  2. รายละเอียดเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของบัญชีเงินสดและเงินฝากธนาคาร เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับรายการที่มาตรฐานการบัญชีไม่อนุญาตให้แสดงเป็นยอดสุทธิ เช่น เงินสดจ่ายเพื่อซื้อที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ เงินสดรับจากการขายที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ เงินสดจ่ายเพื่อซื้อ เงินลงทุนระยะยาว เงินสดรับจากการขายเงินลงทุนระยะยาว เงินให้กู้ยืมระยะยาวแก่บริษัทที่เกี่ยวข้องกันและบริษัทอื่นเพิ่มขึ้น เงินสดรับจากเงินให้กู้ยืมแก่บริษัทที่เกี่ยวข้องกันและบริษัทอื่น เงินกู้ยืมระยะยาวเพิ่มขึ้น เงินสดจ่ายชำระคืนเงินกู้ยืมระยะยาวเป็นต้น
  3. รายละเอียดเกี่ยวกับสิ่งเทียบเท่าเงินสด เช่น เงินฝากประจำและเงินลงทุนในตั๋วสัญญาใช้เงินที่มีอายุไม่เกิน 3 เดือนเป็นต้น
  4. รายละเอียดเกี่ยวกับบัญชีอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่นค่าเสื่อมราคา บัญชีค่าตัดจ่าย ค่าใช้จ่ายต่างๆ กำไร(ขาดทุน) จากการจำหน่ายสินทรัพย์ ส่วนแบ่งกำไรจากการลงทุนในบริษัทร่วมและบริษัทย่อย เงินปันผลรับ กำไร(ขาดทุน) จากอัตราแลกเปลี่ยน เป็นต้น
  5. รายละเอียดเกี่ยวกับรายการที่มิใช่เงินสด เช่น การซื้อสินทรัพย์โดยการก่อหนี้สินโดยตรงหรือโดยการทำสัญญาเช่าชนิดการเงิน การซื้อกิจการโดยการออกหุ้นทุน การรับโอนสินทรัพย์เพื่อชำระหนี้ การแปลงสภาพหนี้และ หรือ หุ้นบุริมสิทธิไปเป็นหุ้นสามัญ การแปลงสภาพหนี้สินระยะสั้นไปเป็นหนี้สินระยะยาว การจ่ายหุ้นปันผล การแสดงรายการที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ ซึ่งการบันทึกเงินลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีไว้เผื่อขายด้วยมูลค่ายุติธรรม
  6. รายละเอียดการตั้งสำรองต่างๆ ณ วันสิ้นงวด เช่น การตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ การตั้งค่าเผื่อสินค้าล้าสมัย การตั้งค่าเผื่อการด้อยค่าของสินทรัพย์

ขั้นตอนการจัดทำงบกระแสเงินสด

ขยายรายละเอียด ขั้นตอนการจัดทำ งบกระแสเงินสด ดังนี้

  1. สรุปรายการในงบดุลโดยแบ่งออกเป็นรายการยอดดุลเดบิต และรายการยอดดุลเครดิต โดยจำแนกบัญชีประเภทสินทรัพย์และบัญชีส่วนลดมูลค่าหุ้นกู้เป็นรายการยอดดุลเดบิตและบัญชีปรับมูลค่าต่างๆ เช่น บัญชีค่าเสื่อมราคาสะสม บัญชีค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ และบัญชีประเภทหนี้สินและส่วนทุนเป็นรายการยอดดุลเครดิต เป็นต้น
  2. บันทึกยอดคงเหลือยกมาต้นงวด (ยอดคงเหลือของปลายงวดก่อน) และยอดคงเหลือยกไป (ยอดคงเหลือของปลายงวดปัจจุบัน) ของแต่ละบัญชีลงในกระดาษทำการตามช่องที่ระบุ “ยอดคงเหลือต้นงวด” และ “ยอดคงเหลือปลายงวด”
  3. บันทึกจำนวนเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในระหว่างงวดบัญชี ลงในช่อง “รายการกระทบระหว่างปี” โดยอาศัยหลักการที่ว่าสินทรัพย์เพิ่มขึ้นทางด้านเดบิตและลดลงทางด้านเครดิต ขณะที่หนี้สิน ส่วนทุนและบัญชีปรับมูลค่า (ยกเว้นส่วนลดมูลค่าหุ้นกู้) เพิ่มขึ้นทางด้านเครดิต และลดลงทางด้านเดบิต
  4. ตรวจสอบยอดคงเหลือของแต่ละบัญชี ณ วันสิ้นงวด โดยการกระทบยอดคงเหลือยกมาต้นงวดกับรายการปรับปรุงซึ่งจะต้องได้ยอดเท่ากับยอดคงเหลือ
  5. รวมยอดเดบิตและเครดิต หากยอดดุลเดบิตสูงกว่ายอดดุลเครดิตให้บันทึกผลต่างระหว่างยอดดุลเดบิตและเครดิตที่เกิดขึ้นลงในช่อง “รายการกระทบระหว่างปี” ทางด้านเดบิตของบัญชี “เงินสดและเงินฝากธนาคาร” และทางด้านเครดิตของรายการ “เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดสุทธิเพิ่มขึ้น” และทางด้านเครดิ ตของรายการ “เงินสดและเงินฝากธนาคาร”
  6. นำยอดคงเหลือในบัญชี “เงินสดและเงินฝากธนาคาร” ณ วันต้นงวดบวก (หัก) กับรายการเดบิต (เครดิต) ในช่อง “รายการกระทบระหว่างปี” ที่บันทึกไว้ หากการบันทึกรายการเป็นไปอย่างถูกต้องผลลัพธ์ที่คำนวณได้จะต้องมีจำนวนเท่ากับยอดคงเหลือในบัญชี “เงินสดและเงินฝากธนาคาร” ณ วันปลายงวด
  7. คัดลอกรายการทั้งหมดที่บันทึกไว้ในกระดาษทำการ ภายใต้หัวข้อ “กิจกรรมดำเนินงาน” “กิจกรรมลงทุน” และ “กิจกรรมจัดหาเงิน” ลงในงบกระแสเงินสด โดยเริ่มต้นด้วย “เงินสดสุทธิได้จากกิจกรรมดำเนินงาน” “เงินสดสุทธิได้จากกิจกรรมลงทุน” และ “เงินสดสุทธิได้จากกิจกรรมจัดหาเงิน” พร้อมทั้งแสดงยอดเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดสุทธิเพิ่มขึ้นระหว่างงวด เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดสุทธิเพิ่มขึ้น ระหว่างงวดจะต้องมีจำนวนเท่ากับผลรวมของเงินสดสุทธิได้จากกิจกรรมดำเนินงาน เงินสดสุทธิได้จากกิจกรรมลงทุนและเงินสดสุทธิได้จากกิจกรรมจัดหาเงิน นอกจากนี้ให้แสดงการกระทบยอดเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดสุทธิเพิ่มขึ้น ระหว่างงวดโดยรวมรายการเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดสุทธิเพิ่มขึ้นระหว่างงวดกับ “เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดต้นงวด” ผลรวมที่เกิดขึ้นจะต้องมีจำนวนเท่ากับ “เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดปลายงวด”

สรุปการจัดทำงบกระแสเงินสดซึ่งรายการปรับปรุงต่างๆที่ได้บันทึกไว้ในกระดาษทำการมิใช่รายการที่จะนำไปบันทึกในสมุดรายวันหรือนำไปผ่านบัญชีแต่อย่างใด และมิใช่รายการปรับปรุงหรือแก้ไขบัญชีต่างๆในงบดุล หากแต่เป็นรายการที่แสดงในกระดาษทำการเพื่อวัตถุประสงค์ในการจัดทำ งบกระแสเงินสดเท่านั้น

อ่านบทความทั้งหมด >>> pangpond.com

คำคุณศัพท์ที่ใช้เพื่อแสดงความสมดุล
เงิน กยศ
220577
ปลาหมอสีมีพันธุ์อะไร
ปก ผลกระทบของกีฬาต่อสุขภาพ
ทำเรซูเม่
บทความแนะนำ หมวดหมู่: เศรษฐกิจ
จำนวนคอมเมนต์ของโพสต์ ID 160611: 1359