เช็คสถานะเราไม่ทิ้งกันลงทะเบียนตรวจสอบลดอัตราดอกเบี้ย 7 สถานะ?
เราไม่ทิ้งกัน สรุปมาตรการเราไม่ทิ้งกัน เราไม่ทิ้งกันคืออะไร โครงการเราไม่ทิ้งกันจะให้เงินเยียวยาแก่ใคร กรณีอาชีพที่ไม่เข้าข่ายสมัครโครงการเราไม่ทิ้งกัน ผลการ
มาตรา 33 คือ ให้ลูกจ้างซึ่งมีอายุไม่ต่ำกว่าสิบห้าปีบริบูรณ์และไม่เกินหกสิบปีบริบูรณ์เป็นผู้ประกันตนลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตนอยู่แล้วตามวรรคหนึ่ง เมื่อมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์และยังเป็นลูกจ้างของนายจ้างอยู่ภายใต้บังคับแห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้ถือว่าลูกจ้างนั้นเป็นผู้ประกันตนต่อไป เป็นกฎหมายตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ.2533
ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 จะได้รับความคุ้มครองใน 7 กรณี จากกองทุนประกันสังคม เมื่อจ่ายเงินสมทบครบ 3 เดือนภายในระยะเวลา 15 เตือนก่อนเดือนที่รับบริการทางการแพทย์ และเลือกโรงพยาบาลแล้วผู้ประกันตนจะได้รับ “บัตรรับรองสิทธิการรักษา” ซึ่งบัตรจะมีชื่อของผู้ประกันตน และชื่อสถานพยาบาลที่เลือกไว้แต่ไม่มีภาพถ่ายติดจึงต้องใช้ควบคู่กับบัตรประจำตัวประชาชนการเข้ารับการรักษาไม่ว่าจะเป็น
สถานพยาบาลที่ผู้ประกันตนเลือกถือเป็น สถานพยาบาลหลัก (MAINCONTRACTOR) ซึ่งสถานพยาบาลหลักนั้นอาจมี สถานพยาบาลเครือข่าย (SUBCONTRACTOR) เช่นโรงพยาบาลเล็ก ๆ หรือคลินิกเพื่ออำนวยความสะตวกให้แก่ผู้ประกันตน โดยผู้ประกันตนสามารถเข้าไปรักษาพยาบาลได้โดยไม่สียค่าใช้จ่าย
การคลอดบุตร หมายถึง การที่ทารกออกจากครรภ์มารดาซึ่งมีระยะเวลาตั้งครรภ์ไม่น้อยกว่ายี่สิบแปดสัปดาห์ ไม่ว่าทารกจะมีชีวิตรอดอยู่หรือไม่
ตามมาตรา 65 ผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีคลอดบุตรสำหรับตนเองหรือภริยา ต่อเมื่อภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนวันรับบริการทางการแพทย์ ผู้ประกันตนได้จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 เดือน
ผู้ประกันตนตามมาตา 33 39 หรือ 40 มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีคลอดบุตรสำหรับหญิงนั้นด้วย
ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และอัตราที่คณะกรรมการการแพทย์กำหนดโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการผู้ประกันตนซึ่งต้องหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรให้ได้รับเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ดังนี้
ให้ผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรไม่เกิน 2 ครั้ง เป็นการเหมาจ่ายในอัตราครั้งละ 50 % ของค่าจ้าง เป็นเวลา 90 วัน
ผู้ประกันตนยังได้รับประโยชน์ทดแทนการคลอดบุตรตามหลักเกณฑ์และอัตราที่คณะกรรมการการแพทย์ให้สำรองจ่ายไปก่อนแล้วนำมาเบิกภายหลัง ดังนั้นจะขอค่าคลอดบุตรโรงพยาบาลรัฐหรือเอกชนก็ได้
สำหรับคุณแม่ที่ยังไม่ได้คลอดบุตร (หรือคลอดบุตรไปแล้วจะยื่นฝากครรภ์พร้อมกับคลอดบุตรก็ได้) สามารถใช้สิทธิเบิกค่าตรวจครรภ์ฝากครรภ์ได้ด้วย สูงสุดจำนวน 1,500 บาท แบ่งการจ่ายเงินเป็น 5 ครั้ง ดังนี้ (เพิ่มจากเดิม 1,000 บาท ที่จ่าย 3
ครั้ง)
สิทธิการลาคลอด ผู้ประกันตนสามารถใช้สิทธิลาคลอได้ 90 วัน โดยได้รับเงินในอัตรา 50% ของค่าจ้างเฉลี่ย (สูงสุด 15,000บาท) โดยสามารถใช้สิทธินี้ได้พียง 2 ครั้ง และผู้ประกันตนยังได้ค่าสงเคราะห์ เดือนละ 600 บาท / บุตร 1คนอีกด้วย ซึ่งเงินสงเคราะห์บุตรนี้จะได้รับตั้งแต่ อายุแรกเกิด ถึง อายุ 6 ปีบริบูรณ์
แต่เนื่องจากสถานการณ์โควิด 19 ส่งผลต่อเศรษฐกิจให้ผู้คนจำนวนมากตกงานขาดรายได้ ทางคณะกรรมการประกันสังคมจึงเห็นชอบให้ปรับเพิ่มเงินค่าคลอดบุตรจากเดิม 13,000 บาท เป็น 15,000 บาท และยังมีการเพิ่มค่าฝากครรภ์เป็น 5 ครั้ง รวมเป็นเงิน 1,500 บาท อีกด้วยนะคะ ทั้งหมดก็เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระของผู้ที่ประกันตนจากประกันสังคม ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2564 เป็นต้นไป
หากมีอายุครรภ์มากกว่า 28 สัปดาห์ หรือประมาณ 7 เดือน ผู้ประกันตนยังได้รับสิทธิทุกอย่างตามเดิมที่กล่าวไปข้างต้น ยกเว้นเฉพาะค่าสงเคราะห์บุตรเท่านั้น
ค่าชดเชยกรณีแท้งบุตร
โดยมีข้อกำหนด ดังนี้
หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการเกิดสิทธิ
จ่ายงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 เดือน ภายใน 15 เดือนก่อนเดือนคลอดบุตร
จ่ายค่าบริการทางการแพทย์เหมาจ่ายกรณีคลอดบุตรให้แก่ผู้ประกันตนในอัตรา 15,000 บาทต่อการคลอดบุตรหนึ่งครั้ง สำหรับผู้ประกันตนหญิงมีสิทธิรับเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรเหมาจ่ายในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ยเป็นระยะเวลา 90 วันสำหรับการใช้สิทธิบุตรคนที่ 3 จะไม่ได้รับสิทธิเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรเหมาจ่ายในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ยเป็นระยะเวลา 90 วัน
กรณีสามีและภรรยาเป็นผู้ประกันตนทั้งคู่ให้ใช้สิทธิในการเบิกค่าคลอดบุตรฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ไม่จำกัดจำนวนบุตร/ครั้ง
พิจารณาสั่งจ่าย
เงินสด/เช็ค (ผู้มีสิทธิมาขอรับด้วยตนเองหรือมอบอำนาจให้บุคคลอื่นมารับแทน) ส่งธนาณัติให้ผู้ประกันตน โอนเข้าบัญชีธนาคารตามบัญชีของผู้ขอรับประโยชน์ทดแทน
เอกสารประกอบการยื่นคำขอประโยชน์ทดแทน กรณีคลอดบุตร
หมายเหตุ
หากผู้ขอรับประโยชน์ทดแทนไม่เห็นด้วยกับการสั่งจ่ายประโยชน์ทดแทน สามารถยื่นอุทธรณ์ได้ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง
สถานที่ยื่นเรื่อง
ยื่นได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/สำนักงานประกันสังคมจังหวัดและสาขา ที่สะดวก (ยกเว้นสำนักงานใหญ่ในบริเวณกระทรวงสาธารณสุข)