บัญชีภาษีมูลค่าเพิ่ม

บัญชีมูลค่าเพิ่ม จัดทํารายงานเอกสารที่ไม่มีใครรู้จบ 7 บัญชี?

Click to rate this post!
[Total: 113 Average: 5]

บัญชีมูลค่าเพิ่ม

การจัดทำบัญชีภาษีมูลค่าเพิ่ม

บัญชีมูลค่าเพิ่ม

ความรู้ขั้นพื้นฐานของภาษีมูลค่าเพิ่มจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ผู้จัดทำบัญชีและผู้ประกอบการจะต้องมีความแม่นยำทั้งหลักการบัญชีและกฎหมายภาษีอากร ซึ่งสรุปรายละเอียดที่สำคัญเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่มมีดังต่อไปนี้

ภาษีมูลค่าเพิ่ม หมายถึงภาษีที่จัดเก็บจากมูลค่าของสินค้าหรือบริการที่เพิ่มขึ้นในแต่ละขั้นตอนของการผลิตและการจำหน่ายสินค้าหรือบริการ โดยมูลค่าที่เพิ่มเป็นมูลค่าของส่วนที่เพิ่มขึ้นในแต่ละขั้นตอนในการผลิตและการจำหน่ายสินค้าหรือการให้บริการ ก็คือค่าของผลต่างระหว่างราคาของสินค้าหรือบริการ ผลิตหรือจำหน่าย กับราคาของสินค้าหรือบริการที่ซื้อมาเพื่อใช้ในการผลิตหรือในการจำหน่ายสินค้าหรือบริการ

ผู้ที่มีหน้าที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

คือผู้ที่ประกอบการที่ขายสินค้าหรือให้บริการหรือวิชาชีพเป็นปกติ ไม่ว่าจะประกอบกิจการในรูปของบุคคลธรรมดา คณะบุคคล นิติบุคคล ส่วนราชการหรือองค์การของรัฐบาล ถ้าการประกอบกิจการมีรายรับเกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี ผู้ประกอบกิจการนั้นมีหน้าที่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่หากการประกอบกิจการนั้นเป็นกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ผู้ประกอบการไม่มีหน้าที่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ดังนั้นผู้มีหน้าที่เสียภาษีได้แก่

จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

  1. ผู้ประกอบการ
  2. ผู้นำเข้า
  3. ในกรณีผู้ประกอบการอยู่นอกราชอาณาจักรและได้ขายสินค้าหรือให้บริการในราชอาณาจักเป็นปกติธุระโดยมีตัวแทนอยู่ในราชอาณาจักรได้แก่ ตัวแทนดังกล่าว
  4. ในกรณีการขายสินค้าหรือการให้บริการที่ได้เสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 ถ้าภายหลังได้มีการโอนกรรมสิทธิ์ในสินค้าหรือโอนสิทธิในบริการนั้นไปให้กับบุคคลที่มิใช่องค์การสหประชาชาติ สถานทูต สถานกงสุลใหญ่ นอกเหนือจากที่กล่าวมาแล้วนี้ถือเป็นผู้รับโอนสินค้าหรือผู้รับโอนสิทธิในการบริการดังกล่าว
  5. ในกรณีสินค้านำเข้าที่จำแนกประเภทไว้ในภาคว่าด้วยของที่ได้รับยกเว้นอากรตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากร ซึ่งได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม
  6. ในกรณีที่มีการควบเข้ากันได้แก่ ผู้ที่ควบเข้ากันและผู้ประกอบการใหม่
  7. ในกรณีโอนกิจการได้แก่ ผู้โอนและผู้รับโอน
  8. ในกรณีผู้ประกอบการอยู่นอกราชอาณาจักร ให้ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการประกอบกิจการ รวมตลอดถึงลูกจ้างหรือผู้ทำการแทนที่ซึ่งมีอำนาจในการจัดการแทนโดยตรงหรือโดยปริยายที่อยู่ในราชอาณาจักรเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม

ผู้ที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

ผู้ประกอบการดังต่อไปนี้ได้รับยกเว้นไม่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

  1. ผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักรและเข้ามาประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการในราชอาณาจักรเป็นครั้งคราว
  2. ผู้ประกอบการที่ให้บริการมาจากต่างประเทศและได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร

 

ผู้ประกอบการที่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มแต่สามารถขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้

  1. ผู้ประกอบกิจการขายพืชผลทางการเกษตร สัตว์ไม่ว่ามีชีวิตหรือไม่มีชีวิต ปุ๋ย ปลาป่น อาหารสัตว์ ยา หรือเคมีภัณฑ์ที่ใช้สำหรับพืชหรือสัตว์ หนังสือพิมพ์ นิตยสารหรือตำราเรียน
  2. ผู้ประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการซึ่งไม่ได้รับยกเว้นภาษีและมีรายรับไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี
  3. การให้บริการขนส่ง ในราชอาณาจักรโดยอากาศยาน
  4. การส่งออกของผู้ประกอบการในเขตอุตสาหกรรมส่งออกตามกฎหมายว่าด้วยนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

กิจการที่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม

  1. การขายสินค้าที่มิใช่การส่งออกหรือการให้บริการดังต่อไปนี้
  • การขายพืชผลทางการเกษตร ไม่ว่าจะเป็นลำต้น กิ่ง ใบ เปลือก หน่อ ราก เหง้า แต่ไม่รวมถึงไม้ซุง ฟืน หรือ ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการเลื่อยไม้หรือผลิตภัณฑ์อาหารที่บรรจุกระป๋อง ภาชนะ หรือหีบห่อที่ทำเป็นอุตสาหกรรม
  • การขายสัตว์ไม่ว่าจะมีชีวิตหรือไม่มีชีวิต และในกรณีสัตว์ไม่มีชีวิต ไม่ว่าจะเป็นเนื้อ ส่วนต่างๆของสัตว์ ไข่ น้ำนม และวัตถุพลอยได้จากสัตว์ แต่ไม่รวมถึงผลิตภัณฑ์อาหารที่บรรจุกระป๋อง ภาชนะ หรือหีบห่อที่ทำเป็นอุตสาหกรรม
  1. การนำเข้าสินค้าดังต่อไปนี้
  • สินค้าจากต่างประเทศที่นำเข้าไปในเขตปลอดอากร ทั้งนี้ เฉพาะสินค้าที่ได้รับยกเว้นอากรขาเข้าตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น
  • สินค้าที่จำแนกประเภทไว้ในภาคว่าด้วยของที่ได้รับยกเว้นอากร ตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากร
  • สินค้าซึ่งนำเข้าและอยู่ในอารักขาของศุลกากร แล้วได้ส่งกลับออกไปต่างประเทศ โดยคืนอากรขาเข้า ตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร

การคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม

การคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม

เมื่อกิจการได้มีการจดทะเบียนในระบบภาษีมูลค่าเพิ่มเรียบร้อยแล้ว ผู้ประกอบการในระบบภาษีมูลค่าเพิ่มมีหน้าที่ในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มทุกสิ้นเดือนในแต่ละเดือนปฏิทิน แล้วยื่นแบบชำระภาษี ให้กับกรมสรรพากรในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป การคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มมีดังนี้

ภาษีที่ต้องชำระ = ภาษีขาย-ภาษีซื้อ

รายละเอียดประกอบการคำนวณ

  1. ภาษีขาย หมายถึงภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ประกอบการได้เรียกเก็บหรือพึงเรียกเก็บจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ เมื่อกิจการได้ขายสินค้าหรือให้บริการและภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนมีหน้าที่ที่เสียในกรณีที่เป็นการขายสินค้า
  2. ภาษีซื้อ หมายถึง ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ประกอบการได้จ่ายให้กับผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการเมื่อได้ซื้อสินค้าหรือนำบริการมาใช้ในกิจการของตนเอง
  3. ภาษีที่ต้องชำระ หมายถึง การนำภาษีขายและภาษีซื้อมาเปรียบเทียบกันซึ่งภาษีซื้อและภาษีขายจะต้องเป็นรายการค้าที่เกิดขึ้นในเดือนเดียวกัน

การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

ผู้ประกอบการที่มีรายรับตั้งแต่ 1.8 ล้านบาทขึ้นไป จะต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตรา 7% หรือ 0% ก็ตาม แนวปฏิบัติในการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มมีดังต่อไปนี้

  1. แบบคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
  2. การกรอกแบบคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
  3. เอกสารแสดงหลักฐานทุกอย่างที่มีความเกี่ยวข้อง ติดต่อสอบถามยื่นขอจดทะเบียน ณ.เขตภูมิลำเนา ถ้ามีสถานประกอบการหลายแห่ง ให้สถานประกอบการที่เป็นสำนักงานใหญ่เป็นผู้ยื่นขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยระบุว่ามีสาขาทั้งสิ้นกี่แห่ง

อ่านบทความทั้งหมด >>> pangpond.com

บทความแนะนำ หมวดหมู่: เศรษฐกิจ
จำนวนคอมเมนต์ของโพสต์ ID 163284: 1801