บัญชีภาษีอากร

บัญชีภาษีอากร ความแตกต่างสัมพันธ์รายจ่ายที่เกี่ยวกับ 7 บัญชี?

Click to rate this post!
[Total: 187 Average: 5]

การเงินภาษีอากร

บัญชีการเงินกับบัญชีภาษีอากร

ในการจัดทำบัญชีธุรกิจ นอกจากจะต้องมีความรู้ด้านบัญชี ไม่ว่าจะเป็นหลักการบัญชีทั่วไป มาตรฐานการบัญชีแล้ว นักบัญชีและผู้บริหารกิจการจะต้องมีความรู้ด้านภาษีอากรอีกด้วย ดังนั้นการจัดทำงานเกี่ยวกับบัญชีจะต้องมีแนวทางที่จะกำหนดในการจัดทำ เพราะต้องคำนึงถึงทั้งหลักการบัญชีและกฎหมายภาษีอากร ซึ่งมีอยู่บ่อยครั้งมักพบว่าบัญชีที่ได้จัดทำนั้นไม่ตอบสนองกับหลักเกณฑ์ทางกฎหมายภาษีอากร มีข้อขัดแย้งกันที่นักบัญชีจะต้องเข้าไปแก้ไขปรับปรุงให้เป็นที่ยอมรับและถูกต้องทั้งด้านการบัญชีและกฎหมายภาษีอากร

จะเห็นได้ว่าทางนักบัญชีได้มีการจัดทำบัญชีตั้งแต่สมุดรายวันขั้นต้น สมุดขั้นปลาย งบทดลอง งบการเงิน นักบัญชีจะยึดหลักการบัญชีและมาตรฐานการบัญชี อีกนัยหนึ่งก็คือยึดหลักของการบัญชีการเงิน (Financial Accounting) นักบัญชีจะต้องนำข้อมูลทางบัญชีการเงินมาปรับปรุงให้สอดคล้องกับกฎหมายภาษีอากร ซึ่งก็คือการบัญชีภาษีอากร(Tax Accounting) ข้อแตกต่างระหว่างบัญชีการเงินกับบัญชีภาษีอากร จึงสรุปได้ดังต่อไปนี้

บัญชีภาษีอากร

บัญชีภาษีอากร

 

บัญชีกับภาษี

บัญชีกับภาษี

1.บัญชีการเงิน (Financial Accounting) เป็นการจัดทำบัญชีเพื่อบันทึกรายการค้าที่เกิดขึ้นในแต่ละงวดบัญชี ตลอดจนแสดงฐานะการเงินของกิจการในการจัดทำงบการเงิน แสดงการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงิน และผลการดำเนินงานของกิจการเพื่อรายงานต่อผู้บริหาร ผู้ถือหุ้น บุคคลภายนอก และส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นงบกำไรขาดทุน งบต้นทุนผลิต งบดุล งบกระแสเงินสด งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น งบประกอบอื่นและหมายเหตุประกอบงบการเงินของกิจการ และรายละเอียดประกอบการจัดทำรายงานทางการเงินที่เกี่ยวข้อง

บัญชีเทียบภาษี

บัญชีเทียบภาษี

2.บัญชี ภาษีอากร (Tax Accounting) เป็นการนำหลักเกณฑ์ทางบัญชี มาตรฐานการบัญชีมาปรับให้เข้ากับประมวลรัษฎากรและกฎหมายภาษีอากรต่างๆ ให้สอดคล้องกันเพื่อให้ถูกต้องตามหลักการบัญชีและกฎหมายภาษีอากร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการคำนวณกำไรขาดทุนสุทธิ เงื่อนไขการรับรู้รายได้และรายจ่ายของกิจการ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีหัก ณ ที่จ่าย หรืออากรแสตมป์ ผลมาจากหลักการบัญชีหลายประการที่ขัดแย้งไม่เป็นไปตามกฎหมายภาษีอากรนั่นเอง มักจะพบเห็นกันเมื่อมีการจัดทำบัญชีของธุรกิจในแต่ละรายการค้า แต่ละงวดบัญชีจะปรากฏอยู่เสมอว่า หลักในการจัดทำบัญชีไม่เป็นไปตามกฎหมายภาษีอากรซึ่งผู้จัดทำบัญชีจะต้องมีการปรับปรุงแก้ไขรายการค้าที่เกิดขึ้นให้เป็นไปตามเงื่อนไขทางภาษีอากรที่ได้กำหนดเอาไว้

การบัญชี ภาษีอากร (Tax Accounting) มุ่งเน้นทำให้นักบัญชีจะต้องมีการจัดทำบัญชีโดยจะต้องคำนึงถึงหลักการบัญชีทั่วไป มาตรฐานการบัญชี กฎหมายบัญชี และกฎหมายภาษีอากรให้ถูกต้องครบถ้วน

ข้อแตกต่าง การเงิน ภาษีอากร

ข้อแตกต่างของวัตถุประสงค์ระหว่างบัญชีการเงินและบัญชี ภาษีอากร

บัญชีการเงิน บัญชี ภาษีอากร
1.ช่วยในด้านการควบคุมรายรับ-รายจ่าย สินทรัพย์-หนี้สิน และส่วนของเจ้าของ 1.ปรับหลักการบัญชีให้เข้ากับกฎหมายภาษีอากร
2.ช่วยในการบริหารงานของกิจการ 2.หาข้อยุติทางบัญชีและภาษีอากรให้สอดคล้องกัน
3.ช่วยในการตัดสินใจในการดำเนินงาน เช่นขยาย-เลิกกิจการ 3.ปรับปรุงการบันทึกบัญชีให้เหมาะสมถูกต้องตามกฎหมายภาษีอากร
4.เพื่อประโยชน์แก่บุคคลภายนอก โดยเฉพาะผู้ถือหุ้นที่ต้องการข้อมูลไปใช้ในการตัดสินใจ 4.จัดทำบัญชีที่กฎหมายภาษีอากร กำหนดให้ทำ เช่น บัญชีพิเศษแสดงการหักภาษี ณ ที่จ่าย และการนำส่งภาษี รายงานภาษีมูลค่าเพิ่ม
5.หลักฐานพิสูจน์ความถูกต้องในการจัดทำบัญชี การรวบรวมข้อมูลทางบัญชีการเงิน 5.ปรับปรุงรายรับทางบัญชีให้ตรงกับภาษีอากร

วัตถุประสงค์ การเงิน ภาษีอากร

วัตถุประสงค์ที่สำคัญในการจัดทำบัญชี ภาษีอากร (Tax Accounting)

  1. ปรับหลักการบัญชีให้เข้ากับกฎหมายภาษีอากร ในการจัดทำบัญชีของธุรกิจจะต้องจัดทำโดยอาศัยข้อมูลทางบัญชีที่เกิดจากการจัดทำบัญชีตามหลักการบัญชีทั่วไป และมาตรฐานการบัญชีของสมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย
  2. หาข้อยุติทางบัญชีและภาษีอากรให้สอดคล้องกัน
  3. ปรับปรุงการบันทึกบัญชีให้เหมาะสมถูกต้องตามกฎหมายภาษีอากร นักบัญชีจะทำการปรับปรุงแนวปฏิบัติโดยจะบันทึกตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป ซึ่งจะต้องใช้ความระมัดระวังในหลักเกณฑ์ทางภาษีอากร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสินทรัพย์ หนี้สิน ส่วนของเจ้าของ รายได้และค่าใช้จ่าย
  4. จัดทำบัญชีที่กฎหมายภาษีอากรกำหนดให้ทำ ซึ่งผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีต้องจัดทำบัญชีให้ถูกต้องสอดคล้องกับกฎหมายบัญชี และกฎหมายภาษีอากร
  5. ปรับปรุงรายรับทางบัญชีให้ตรงกับรายรับทางภาษีอากร กิจการจะต้องมีการวัดผลการดำเนินงานใน 1 รอบ ระยะเวลาบัญชีที่ผ่านมาว่าประสบผลการดำเนินงานอย่างไร โดยการจัดทำงบกำไรขาดทุนขึ้นโดยการนำรายได้และค่าใช้จ่ายมาหักลบกันตามหลักการบัญชี โดยยังไม่ได้คำนึงถึงหลักการทางกฎหมายภาษีอากร

การปรับปรุง การเงิน ภาษีอากร

กำไรบัญชีเทียบภาษี

กำไรบัญชีเทียบภาษี

เมื่อคำนวณหากำไรสุทธิทางบัญชีได้แล้ว จะต้องนำกำไรสุทธิทางบัญชีมาปรับปรุงให้เป็นกำไรสุทธิทางภาษีอากร (Taxable Profit and Loss) ซึ่งก็คือการปรับปรุงให้เป็นแบบ ภ.ง.ด50 เพื่อยื่นงบการเงินอีกด้วย จะเห็นได้ว่าเมื่อสิ้นงวดบัญชี กิจการจะต้องมีการคำนวณกำไรสุทธิ ซึ่งกำไรสุทธิของกิจการจะแบ่งออกเป็น 2ชนิดคือ

  1. กำไรสุทธิทางบัญชี หมายถึง การนำรายได้และค่าใช้จ่ายตามหลักการบัญชีมาหักกลบลบกันโดยยึดหลักการบัญชีและมาตรฐานการบัญชี แต่จะนำไปคำนวณกำไรหรือขาดทุนสุทธิเพื่อสียภาษีไม่ได้
  2. กำไรสุทธิทางภาษีอากร หมายถึง การนำกำไรสุทธิทางบัญชีมาปรับปรุงให้ถูกต้องตามประมวลรัษฎากรเพื่อคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล โดยการนำรายได้และรายจ่ายตามเงื่อนไขประมวลรัษฎากรมาปรับปรุงบัญชี

อ่านบทความทั้งหมด >>> pangpond.com

220114
media literacy
ปก คู่มือการบริหาร จัดการหนี้
220059
การศึกษาในยุค 4.0
221746
บทความแนะนำ หมวดหมู่: เศรษฐกิจ
จำนวนคอมเมนต์ของโพสต์ ID 159085: 1503