business model

Business Model ประเภทธุรกิจวิธีนี้ไม่เคยมีใครบอกคุณจบ 3 ข้อ?

Click to rate this post!
[Total: 164 Average: 5]

Business Model

n startup busi 3

โมเดลธุรกิจ (Business model) คืออะไร

โมเดลธุรกิจก็คือแบบจำลองธุรกิจว่า ธุรกิจของเราจะให้บริการหรือขายอะไร ขายให้ใคร ขายอย่างไร ขายที่ไหน ผลิตด้วยอะไร ใครมาช่วยผลิต และมีรายได้และค่าใช้จ่ายอย่างไร รวมถึงมีกำไรจากการให้บริการและสินค้าตัวไหนบ้าง ดังนั้นโมเดลธุรกิจควรคิดก่อนการเริ่มธุรกิจ แต่ใครที่ได้ทำธุรกิจไปแล้วก็ยังสามารถนำโมเดลธุรกิจมาปรับปรุงโดยปรับเปลี่ยนให้ดีขึ้น คิดให้เป็นภาพรวมมากขึ้น เครื่องมือที่จะคิดและสร้างโมเดลธุรกิจที่ดีและนิยมใช้กันอย่างมากชื่อ Business Model Canvas (BMC) ซึ่งจะทำให้เราเข้าใจธุรกิจของเราได้ดีมากขึ้น โดย Business Model Canvas (BMC) นี้เป็น แม่แบบ(template)ที่ช่วยในการออกแบบโมเดลธุรกิจ ซึ่งถูกพัฒนาและนำเสนอโดย Alexander Osterwalder ในหนังสือชื่อ Business model generation ซึ่งมีประโยชน์ในสองเรื่องคือ

  • ช่วยแจกแจงองค์ประกอบต่างๆ(มีทั้งหมด 9 ช่อง) ออกมาเพื่อให้เราเข้าใจในโมเดลธุรกิจเราได้
  • ทำให้เราฝึกคิดเป็นภาพและจดจำได้ง่ายขึ้น

การสร้างโมแดลธุรกิจนี้เราอาจจะต้องเริ่มจากการคิดว่า สินค้าของเราคืออะไร และจะขายให้ใคร ขายอย่างไร จะใช้วัตถุดิบอะไรบ้าง จะผลิตอย่างไร และมีกำไรไหม โดยใช้รูปข้างล่างเป็นจุดเริ่มของโมเดลธุรกิจของเรา

startup 03

เมื่อเราได้คิดแบบคร่าวๆแล้วก็ควรลงรายละเอียดมากขึ้นซึ่ง Business Model Canvas (BMC) นี้จะมีทั้งหมด 9 องค์ประกอบ(ช่อง) ดังนี้

startup 03 bmc model

ใน 9 องค์ประกอบ(ช่อง) มีลำดับการเติมกิจกรรมในแต่ละช่องดังนี้

startup 03 bmc form

  • ช่องที่ 1 สิ่งที่นำเสนอแก่ลูกค้า (Offer, Value proposition) ก็คือสินค้าหรือบริการที่เราจะขายและสามารถแก้ปัญหาและช่วยลูกค้าได้ (ตามที่เราได้ผ่านการคัดเลือกสินค้าตามแนวคิดก้าวที่สองมาแล้ว)
  • ช่องที่ 2 กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย (Customer segment) เราต้องรู้ว่าเราทำสินค้านี้เพื่อมาขายให้ใคร หรือใครจะเป็นผู้ซื้อคนสำคัญของเราเช่น สินค้าที่จะขายเด็ก เราก็ควรจะรู้ให้ชัดๆว่าเด็กกลุ่มนี้อาศัยอยู่ที่ไหน ในเมืองหรือต่างจังหวัด เป็นเด็กหญิงหรือชาย อายุประมาณเท่าไหร่และพ่อแม่มีรายได้เดือนละเท่าไหร่เพื่อการประชาสัมพันธ์และออกแบบผลิตภัณฑ์ได้ถูกกลุ่ม (ในช่องที่2 นี้สามารถสลับการเขียนก่อนหรือหลังกับช่องที่ 1 ได้ขึ้นอยู่กับว่าเรามีสินค้ามาก่อนหรือไม่ )
  • ช่องที่ 3 ช่องทางการเข้าถึงลูกค้า (Distribution channels) เมื่อเราทราบว่าลูกค้าเป้าหมายเราอยู่ที่ไหน เราก็จะสื่อสารหรือนำสินค้าไปขายได้ถูกที่ถูกทาง เช่นลูกค้าเป็นกลุ่มวัยรุ่น กลุ่มนักศึกษา สินค้าของเราก็ควรผ่านสื่อออนไลน์และขายทางออนไลน์เพื่อเข้าถึงคนกลุ่มนี้ได้ง่าย
  • ช่องที่ 4 การสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า (Customer relationships) ถ้าเราอยากให้ลูกค้าเป็นลูกค้าประจำซื้อแล้วซื้อซ้ำอีกและอยากสร้างความจงรักภักดีในสินค้าของเรา เราจำเป็นต้องกำหนดวิธีการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า เช่นมีการจัดกิจกรรมร่วมกันในวันสำคัญของกิจการเรา มีการให้คำปรึกษาแนะนำหรือช่วยเหลือหลังการขาย มีการส่งข้อมูลและมีการประชาสัมพันธ์การจัดโปรโมชั่นให้ลูกค้าเก่าได้รับก่อนเป็นต้น
  • ช่องที่ 5 รายได้ของกิจการ (Revenue streams) เราควรต้องทราบว่ารายได้ของกิจการเรามาจากการที่เราขายหรือให้บริการอะไรบ้าง กิจการเปิดใหม่มักจะมีรายได้จากการขายสินค้าเพียงอย่างเดียว ดังนั้นเมื่อเราสร้างโมเดลธุรกิจและเห็นว่ามีแค่สินค้าตัวเดียวก็จะทำให้เรายังไม่กำไร ทำให้เราได้คิดต่อไปว่าควรจะมีการขายสินค้าอื่นๆเสริมดีไหม หรือขายสินค้าพร้อมมีบริการหลังการขายเพื่อให้รายได้เพียงพอกับค่าใช้จ่ายคงที่และมีกำไรเพียงพอในการทำธุรกิจต่อไปในอนาคต
  • ช่องที่ 6 ทรัพยากรหลัก (Key resource) เราต้องใช้วัตถุดิบ เครื่องมือ เครื่องจักร และคนงาน รวมทั้งทรัพยากรอะไรอีกที่จะผลิตสินค้าหรือบริการที่เราขายอยู่นั้น ตรงนี้แหละที่ทำให้เราทราบว่าเราต้องใช้เงินทุนมากหรือน้อยเพียงใด
  • ช่องที่ 7 กิจกรรมหลัก (Key activities) ในการผลิตหรือให้บริการนั้นมีกิจกรรมอะไรบ้าง หรือมีกระบวนการผลิตและการให้บริการนั่นเอง กิจกรรมเหล่านี้เกี่ยวข้องตั้งแต่การออกแบบ การผลิตและการส่งมอบสินค้า กิจกรรมหลักนี้ถือเป็นโมเดลธุรกิจหลักของกิจการประเภทการผลิต
  • ช่องที่ 8 คู่ค้าและเครือข่ายสนับสนุน (Key partners) การทำธุรกิจจำเป็นต้องมีพันธมิตรทางธุรกิจ อย่างยิ่ง ต้องมีทั้ง ผู้ขายวัตถุดิบ คู่ค้าและเครือข่ายต่างๆซึ่งเราต้องพึ่งพาในการจัดจำหน่าย หรือช่วยประชาสัมพันธ์ให้
  • ช่องที่ 9 โครงสร้างต้นทุน (Cost structure) เราจำเป็นต้องทราบถึงต้นทุนของสินค้า รวมทั้งค่าใช้จ่ายต่างๆทั้งคงที่และผันแปรของกิจการเพื่อให้เราสามารถตั้งราคาและขายสินค้าได้กำไร และยังช่วยให้เราหาวิธีการต่างๆในการลดต้นทุนอีกด้วย

ตัวอย่างของ Business Model Canvas ของธุรกิจรับจ้างถ่ายรูป

startup 03 bmc sample

ผู้ที่สนใจที่จะฝึกทำโมเดลธุรกิจของตัวเองสามารถ Download แบบฟอร์มของBMC ได้ ที่นี่ Download และลอง เริ่มต้นด้วยการเติมกิจกรรมในแต่ละช่องตามแบบฟอร์ม

ดังนั้นการสร้างโมเดลธุรกิจของตัวเองได้นั้น ทำให้เรามองเห็นภาพรวมครบทุกส่วน และยังทำให้สร้างกำไรให้กิจการได้อีกด้วย เพราะการที่เราทราบถึงกิจกรรมทั้งหมดที่เราต้องทำ ทำให้เราได้คิดเรื่องต้นทุนและค่าใช้จ่าย เมื่อจะขายก็สามารถตั้งราคาที่มีกำไรได้และยังสามารถขายไปยังกลุ่มลูกค้าเป้าหมายในช่องทางที่ถูกต้องได้ รวมทั้งการขยายตลาดไปยังกลุ่มเป้าหมายก็ประชาสัมพันธ์ได้ตรงกลุ่มในต้นทุนที่ต่ำอีกด้วย จากการสร้างโมเดลธุรกิจนี้ยังขยายผลไปยังการจัดทำแผนธุรกิจเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ของกิจการที่เราจะเริ่มต้นได้ ซึ่งทำให้เรามีความมั่นใจมากขึ้นและลดความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจไปได้อีก

ที่มา:bsc.dip.go.th/th/category/business-plan/business-model-content

อ่านบทความทั้งหมด >>> pangpond.com

บทความแนะนำ หมวดหมู่: เศรษฐกิจ
จำนวนคอมเมนต์ของโพสต์ ID 170310: 1760