CEO

CEO ท่านตำแหน่งประธานบริษัทกรรมการผู้จัดการเฉพาะบริษัท 2 ข้อ?

Click to rate this post!
[Total: 182 Average: 5]

กรรมการผู้จัดการ

แยกประธานบอร์ด-ซีอีโอจากกัน ส่งผลดีกับผู้ลงทุนอย่างไร

​​ถ้าผู้ลงทุนสังเกตโครงสร้างการบริหารงานในบริษัทหรือนิติบุคคลโดยเฉพาะบริษัทจดทะเบียนกัน จะเห็นว่า ส่วนใหญ่ตำแหน่ง “ประธานกรรมการ” และ “ประธานเจ้าหน้าที่บริหารหรือกรรมการผู้จัดการ” จะแยกออกจากกัน เนื่องจากบทบาทหน้าที่ของตำแหน่งทั้งสองนี้แตกต่างกัน

ประธานกรรมการ (Chairman) ผู้นำสูงสุดของคณะกรรมการ (บอร์ด) มีหน้าที่กำกับและติดตามให้มั่นใจว่าการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายหลักขององค์กร รวมทั้งดูแลให้เรื่องที่สำคัญถูกบรรจุเป็นวาระการประชุม

กรรมการผู้จัดการหรือประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (President / CEO) ซึ่งเป็นผู้บริหารสูงสุดของบริษัท มีหน้าที่บริหารงานของบริษัทให้เป็นไปตามทิศทางและนโยบายที่คณะกรรมการได้กำหนดไว้

Picture1

ถ้า 2 ตำแหน่งนี้ มีผู้ดำรงตำแหน่งเป็นคนคนเดียวกันจะเป็นอย่างไร?

เมื่อผู้ทำหน้าที่กำกับติดตาม (ประธานกรรมการ) ต้องตรวจสอบการปฏิบัติงานของตัวเอง (กรรมการผู้จัดการ) อาจจะมีเข้าข้างตัวเองบ้างว่า ทำดีแล้ว ทำถูกแล้ว การตรวจสอบการดำเนินงานตามนโยบายและการถ่วงดุลอำนาจในการพิจารณาเรื่องสำคัญอาจเกิดข้อครหาได้ ดังนั้น ส่วนใหญ่ “กรรมการผู้จั​ดการหรือประธานเจ้าหน้าที่บริหาร” มักมีตำแหน่งเป็นเพียง “กรรมการ” คนหนึ่งในบอร์ด แต่จะไม่ใช่ประธานกรรมการที่มีอำนาจตัดสินชี้ขาด

นอกจากนี้ หากกรรมการผู้จัดการหรือประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ทำหน้าที่ประธานกรรมการ อาจไม่เอื้อให้คณะกรรมการใช้ดุลยพินิจอย่างเป็น อิสระ เป็นการเพิ่มความเสี่ยงด้านการกำกับดูแลกิจการ

ความเสี่ยงดังกล่าว อาจมีผลกระทบกับการดำเนินงานของบริษัท ยิ่งเป็นบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ผลกระทบต่าง ๆ เช่น ความเชื่อมั่น ความโปร่งใส เหล่านี้มีโอกาสส่งผ่านไปกระทบยังผู้ลงทุนได้


 

Picture2 

เพื่อเพิ่มความโปร่งใส และยกระดับการดูแลคุ้มครองผู้ลงทุน สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) จึงมีแนวคิดออกหลักเกณฑ์ กำหนดให้ประธานกรรมการและกรรมการผู้จัดการของบริษัทที่จะเสนอขายหุ้นต่อประชาชน (IPO) และบริษัทจดทะเบียน ต้องไม่เป็นบุคคลเดียวกัน

ซึ่งก่อนหน้านี้ มีเพียงการกำหนดให้มี กรรมการอิสระ และกรรมการตรวจสอบ ขณะที่ แนวทางแยกผู้ดำรงตำแหน่งทั้งสองออกจากกัน เป็นเพียงข้อเสนอแนะให้บริษัทจดทะเบียนพึงกระทำเพื่อให้เกิดความโปร่งใสและมีประสิทธิภาพในการดำเนินงาน

แนวคิดการปรับจากข้อเสนอแนะมาเป็นหลักเกณฑ์บังคับ ในครั้งนี้ ได้มีการพิจารณาอย่างรอบคอบแล้วว่าส่งผลกระทบไม่มากนักต่ออุตสาหกรรม โดยอ้างอิงจากผลการประเมินตามโครงการสำรวจการกำกับดูแลกิจการบริษัทจดทะเบียนไทย (CGR) ตั้งแต่ปี 2559 – 2562 พบว่า บริษัทจดทะเบียนที่มีประธานกรรมการเป็นบุคคลเดียวกับ CEO มีจำนวน 12%-14% ของจำนวนบริษัทจดทะเบียนในโครงการ CGR

ส่วนบริษัทที่เสนอขายหุ้นต่อประชาชนในปี 2562 จำนวน 20 บริษัทนั้น ทุกบริษัทแยกบุคคลที่ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการออกจากบุคคลที่ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการแล้ว

Picture3

อย่างไรก็ดี เพื่อให้บริษัทที่อยู่ระหว่างเตรียมยื่นขออนุญาตเสนอขายหุ้นต่อประชาชน มีเวลาในการปรับปรุงโครงสร้างให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด  ก.ล.ต. จึงจะกำหนดให้หลักเกณฑ์ดังกล่าวเริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2564 เป็นต้นไป 

ขณะนี้ ก.ล.ต. ได้เผยแพร่เอกสารรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับการออกหลักเกณฑ์กำหนดให้ประธานกรรมการและกรรมการผู้จัดการของบริษัทที่จะเสนอขายหุ้นต่อประชาชน (IPO) และบริษัทจดทะเบียน ต้องไม่เป็นบุคคลเดียวกัน ที่เว็บไซต์ ก.ล.ต. https://www.sec.or.th/TH/Pages/PB_Detail.aspx?SECID=604  สามารถร่วมแสดงความคิดเห็นได้จนถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2563

การกำกับกิจการที่ดีมีประสิทธิภาพ มีการกำกับ ดูแล ติดตาม และถ่วงดุลอย่างเพียงพอและเหมาะสม จะส่งผลให้บริษัทนั้นมีความยั่งยืน เป็นฟันเฟืองขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่มั่นคง เกิดผลดีต่อผู้ลงทุน และเป็นประโยชน์กับประเทศในระยะยาว​​

คำค้น : ภาษาอังกฤษ คือ เงินเดือน ธนาคารทหารไทย แปล หน้าที่ ภาษาอังกฤษ คือ อาคเนย์ประกันชีวิต ประธานกรรมการ กับ ตําแหน่ง ภาษาญี่ปุ่น ทําหน้าที่ md อังกฤษ แปลว่า บริษัท ประธานบริษัท มีความต้องการใช้สารสนเทศในรูปแบบใด กรรมการบริษัท กับ ตัวย่อภาษาไทย หน้าที่ เงินเดือน ตําแหน่ง ภาษาอังกฤษ ทหารไทย ธนาคารกสิกรไทย กสิกรไทย กับ กรรมการบริษัท ต่างกันอย่างไร

ที่มา:https://www.smarttoinvest.com/Pages/Investment%20Products/Investment%20knowledge/Rule-of-Position.aspx

อ่านบทความทั้งหมด >>> pangpond.com

บทความแนะนำ หมวดหมู่: เศรษฐกิจ
จำนวนคอมเมนต์ของโพสต์ ID 173672: 1780