พริก

ขี้หนู ประโยชน์ของพริกสรรพคุณอย่างไรจินดาดูดซึมอาหาร 10 ดี?

ประโยชน์ของพริก

พริกมีวิตามินซี สูง เป็นแหล่งของกรด ascorbic ซึ่งสารเหล่านี้ ช่วยขยายเส้นโลหิตในลำไส้และกระเพาะอาหารเพื่อให้ดูดซึมอาหารดีขึ้น ช่วยร่างกายขับถ่าย ของเสียและนำธาตุอาหารไปยังเนื้อเยื่อของร่างกาย (tissue) สำหรับพริกขี้หนูสดและพริกชี้ฟ้าของไทย มีปริมาณวิตามิน ซี 87.0 – 90 มิลลิกรัม / 100 g นอกจากนี้พริกยังมีสารเบต้า – แคโรทีนหรือวิตามินเอ สูง (พริกขี้หนูสด 140.77 RE )

พริกยังมีสารสำคัญอีก 2 ชนิด ได้แก่ Capsaicin และ Oleoresinโดยเฉพาะสาร Capsaicin ที่ นำมาใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร และผลิตภัณฑ์รักษาโรค ในอเมริกามีผลิตภัณฑ์จำหน่ายในชื่อ Cayenne สำหรับฆ่าเชื้อแบคทีเรียในกระเพาะอาหาร สาร Capsaicin ยังมีคุณสมบัติทำให้เกิดรสเผ็ด ลดความเจ็บปวดของกล้ามเนื้อ หัวไหล่ แขน บั้นเอว และส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย และมีผลิตภัณฑ์จำหน่ายทั้งชนิดเป็นโลชั่นและครีม ( Thaxtra – P Capsaicin) แต่การใช้ในปริมาณที่มากเกินไป อาจมีผลกระทบต่ออาการหยุดชะงักการทำงานของกล้ามเนื้อได้เช่นกัน เพื่อความปลอดภัย USFDA ได้กำหนดให้ใช้สาร capsaicin ได้ ที่ความเข้มข้น 0.75 % สำหรับเป็นยารักษาโรค

  1. สลายลิ่มเลือดให้คืนสู่ปกติ – พริกจะมีส่วนช่วยไม่ให้เลือดที่จับตัวเป็นก้อนเกาะกันจนไปอุดตันที่หลอดเลือด ช่วยละลายลิ่มเลือดได้ดี ลความเสี่ยงในการเป็นโรคความดันโลหิตสูง
  2. กระตุ้นให้อยากอาหาร – พริกจะเข้าไปกระตุ้นต่อมน้ำลายให้ทำงานมากขึ้น เเละไปกระตุ้นปลายประสาทเพื่อให้สมองส่วนกลางรับรู้ถึงความอยากอาหาร จะเห็นว่าเวลาเราทานของเผ็ดๆ จะยิ่งทานได้มากขึ้น
  3. ขับเสมหะ ทำให้หายใจคล่อง – พอเราทานพริกเข้าไป สารก่อความร้อนในพริกก็จะกระตุ้นให้เรามีน้ำมูกไหลหรือน้ำตาไหลออกมา เเะละยังช่วยลดสิ่งกีดขวางในระบบทางเดินหายใจของเรา ทำให้เรารู้สึกโล่งคอ เสมหะน้อยลง เเละทำให้เรารู้สึกโล่งที่จะจมูกมาก เเละส่งผลให้เราหายใจได้สะดวกขึ้น
  4. บรรเทาอาการปวดต่างๆ – การทานพริกสามารถช่วยลดอาการเจ็บปวดของเราได้ เพราะในพริกมีสารที่ชื่อว่า “เเคปไซซิน” ช่วยลดอาการเจ็บปวดที่ผิวหนัง หรือ ปวดเมื่อยตัวได้ โดยส่วนใหญ่จะแปรรูปพริกให้อยู่ในรูปเเบบ ครีม ขี้ผึ้ง ใช้ทาภายนอกเพื่อรักษาอาการเจ็บปวด
  5. ช่วยกระตุ้นสารเอ็นดอร์ฟิน – ทำให้รู้สึกผ่อนคลาย เพราะสาร “แคปไซซิน” ที่อยู่ในพิก ช่วยให้หลังสารเอ็นดอร์ฟิน ที่ช่วยให้เรามีความสุข อารมณ์ดี
  6. มีวิตามินซี เเละ สารเบด้าแคโรทีน – ที่ช่วยบำรุงสายตาเเละป้องกันการเสื่อมของจอประสาทตาได้
  7. ช่วยลดน้ำหนักได้ – เพราะในพริกมีสาร Themoginic หรือสารที่สร้างความร้อนในพริก เมื่อเราทานเข้าไปจะเข้าไปช่วยกระตุ้นการเผาผลาญในร่างกาย เเละยังมี กรด เเอสคอร์บิกที่ช่วยให้ร่างกายเปลี่ยนไขมันเป็นพลังงานได้ดีขึ้น ส่งผลดีต่อผู้ที่ควบคุมน้ำหนัก
  8. ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ – เพราะในพริกมีสารที่ช่วยยับยั้งการดูดซึมของน้ำตาลกลูโคสได้ ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง
  9. ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้เราเเข็งเเรง – สามารถรักษาบรรเทาโรคเลือดออกตามไรฟัน

สำหรับประโยชน์ ของ พริก ที่เราเอามาฝากกัน ใครที่ได้อ่านเเล้วต้องรู้สึกอยากทานพริกขึ้นมาเเน่ๆ เพราะประโยชน์ของพริกมีอยู่มากมายเลยทีเดียว ยิ่งเป็นของที่ใครหลายๆคนทานกันเป็นประจำทุกวัน ก็ยิ่งรู้สึกอยากทานเข้าไปอีกใช่ไหมล่ะคะ เเต่อย่าลืมว่าต้องทานเเบบพอดีไม่ทานมากเกินไป เพราะเดี๋ยวจะส่งผลเสียต่อร่างกายมากกว่าประโยชน์นะคะ

สรรพคุณของพริก

สรรพคุณ ของพริกขี้หนู

พริกขี้หนู มีสรรพคุณช่วยกระตุ้นทำให้เจริญอาหาร และช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย (ผล) “.2.4 ส่วนยอดพริกและใบอ่อนพริกมีรสเผ็ด ช่วยเจริญอาหาร เพิ่มน้ำลาย และช่วยขับลม (ใบ) ต้นนำมาสุมให้เป็นถ่านใช้ซงกับน้ำเป็นยาแก้กระษัย (ต้น) ผลใช้เป็นยาแก้ตานซางซึ่งเป็นโรคที่มักพบได้ในเด็ก โดยมีอาการชูบชีด พุงโร ก้นปอด สันนิษฐานว่าเกิดจากโรคพยาธิในลำไส้ (ผล)” ผลสุกนำมาปรุงเป็นอาหาร จะช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด เนื่องจากมีสาร capsaicin (ผล)ปี ช่วยเร่งการสันดาปและเร่งเมตาบอลิซึม ช่วยใช้แคลอรี่ให้หมดไป จึงทำให้น้ำหนักลด และช่วยลดระดับไตรกลีเซอไรด์และไขมันเลว (LDL)ในสัตว์ทดลองได้ เนื่องจากสาร Capsaicin จะช่วยป้องกันไม่ให้ตับสร้างไขมันเลว (LDL) ในขณะเดียวกันก็ส่งเสริมให้มีการสร้างไขมันดี(HDL) ทำให้ปริมาณของไตรกลีเซอไรด์ในกระแสเลือดต่ำลง ซึ่งเป็นผลดีต่อสุขภาพ (ผล)>8.

สรรพคุณ ของพริกขี้หนู
สรรพคุณ ของพริกขี้หนู

พริกขี้หนู

ลักษณะของพริกขี้หนูต้นพริกขี้หนู มีถิ่นกำเนิดในแถบอเมริกาเขตร้อน โดยจัดเป็นไม้ล้มลุกหรือไม้พุ่มขนาดเล็ก ที่มีความสูงของต้นประมาณ 30-90 เชนติเมตร มีอายุประมาณ 1-3 ปี แตกกิ่งก้านสาขามาก กิ่งอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อแก่แล้วจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนปนเหนียว ดินร่วนระบายน้ำดี ในที่ร่มรำไรหรือกลางแจ้ง ไม่ทนต่อสภาพน้ำขัง มักขึ้นร่วมกับวัชพืชชนิดอื่น ในประเทศไทยพบได้ทุกภาคพริกขี้หนู

ชื่อวิทยาศาสตร์ Capsicum annuum L. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Capsicum frutescens L., Capsicum frutescens var.frutescens, Capsicum minimum Mill) จัดอยู่ในวงศ์มะเขือ (SOLANACEAE)

ประโยชน์ ของ พริก ขี้หนู
  1. ช่วยลดน้ำหนัก
  2. ช่วยให้อารมณ์สดใส
  3. ทำให้เจริญอาหาร
  4. ลดอาการปวด
  5. บำรุงสายตา
  6. ช่วยให้หายใจสะดวกขึ้น

การทานพริกขี้หนูสามารถช่วยลดน้ำหนักได้ เพราะในพริกขี้หนูมีสาร thermogenic ที่ทำให้เกิดความร้อนภายในร่างกาย ทำให้ระบบการเผาผลาญทำงานได้ดีขึ้น ส่งผลให้น้ำหนักตัวลดลงได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ ในพริกยังมีสารแอสคอร์บิก ที่ช่วยเร่งให้ร่างกายเปลี่ยนไขมันไปเป็นพลังงานได้อีกด้วย ซึ่งจากการศึกษาในประเทศญี่ปุ่นก็ค้นพบว่า การทานพริก 10 กรัม จะทำให้อัตราการเผาผลาญพลังงานเพิ่มอย่างรวดเร็ว

ในพริกขี้หนูยังมีปริมาณวิตามินเอและวิตามินซีอยู่สูง โดยพริกขี้หนูมีสารเบต้าแคโรทีนซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ที่ช่วยบำรุงและป้องกันจอประสาทตาเสื่อม พริกจึงจัดว่าเป็นอาหารบำรุงสายตาอย่างดี หากอยากได้รับวิตามินเอจากพริก ควรทานสด ๆ โดยไม่ต้องมีการปรุงสุก

ชื่อเรียกตามท้องถิ่น

  • ภาคเหนือ – พริกแด้ พริกแต้ พริกนก พริกแจว พริกน้ำเมี่ยง
  • ภาคอีสาน – หมักเพ็ด
  • ภาคกลาง – พริก พริกขี้หนู พริกชี้ฟ้า
  • ภาคใต้ – ดีปลีขี้นก พริกขึ้นก
  • ทางเชียงใหม่ – พริกมะต่อม
  • นครราชสีมา – ปะแกว
  • สุรินทร์ – มะระตี้
  • ปัตตานี – ดีปลี

พริกยังมีสารสำคัญอีก 2 ชนิด ได้แก่ Capsaicin และ Oleoresinโดยเฉพาะสาร Capsaicin ที่ นำมาใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร และผลิตภัณฑ์รักษาโรค ในอเมริกามีผลิตภัณฑ์จำหน่ายในชื่อ Cayenne สำหรับฆ่าเชื้อแบคทีเรียในกระเพาะอาหาร สาร Capsaicin ยังมีคุณสมบัติทำให้เกิดรสเผ็ด ลดความเจ็บปวดของกล้ามเนื้อ หัวไหล่ แขน บั้นเอว และส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย และมีผลิตภัณฑ์จำหน่ายทั้งชนิดเป็นโลชั่นและครีม ( Thaxtra – P Capsaicin) แต่การใช้ในปริมาณที่มากเกินไป อาจมีผลกระทบต่ออาการหยุดชะงักการทำงานของกล้ามเนื้อได้เช่นกัน เพื่อความปลอดภัย USFDA ได้กำหนดให้ใช้สาร capsaicin ได้ ที่ความเข้มข้น 0.75 % สำหรับเป็นยารักษาโรค

ประโยชน์ ของ พริก ขี้หนู พริก ขี้หนู สรรพคุณ
พริก ขี้หนู สรรพคุณ

ประโยชน์ ของ พริก ขี้หนู

  1. พริกเป็นพืชผักสวนครัวที่คนไทยจะขาดกันเสียมิได้ เพราะนิยมนำมาใช้ในการปรุงรสชาติอาหาร โดยผลแรกผลิสามารถนำใช้ผสมกับผักแกงเลียงช่วยชูรส ส่วนผลกลางแก่นำมาใช้ใส่แกงคั่วสัม ก็จะได้อาหารที่มีสเปรี้ยวอ่อน ๆ (เนื่องจากมีวิตามินชี มีรสเผ็ดและมีกลิ่นฉุนเผ็ดร้อนหรือนำมาใช้เป็นเครื่องปรุงอาหารที่ช่วยชูส ใช้ใส่ในน้ำพริก ยำ ทำเป็นน้ำปลาดอง และใช้เป็นส่วนผสมในอาหารอีกเมนู
  2. ยอดและใบอ่อน มีคุณค่าทางอาหารสูงมาก เนื่องจากมีแคลเชียม ฟอสฟอรัส วิตามินเอ และวิตามินบีอยู่มาก จึงช่วยในการบำรุงประสาทและบำรุงกระดูก! อีกทั้งยังสามารถนำมาประกอบอาหารได้อีกหลายเมนู เช่น แกงเสียง แกงอ่อม ทอดกับไข่ ส่วนเมล็ดอ่อนหรือแก่นำไปปรุงรสเผ็ดในอาหาร เช่น ต้ม ลาบ น้ำพริก เป็นต้น
  3. นอกจากเราจะใช้พริกขี้หนูในการประกอบอาหารต่าง ๆ แล้ว ยังประกอบไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุต่าง ๆ หลายชนิดที่มีประโยชน์ต่อร่างกายของเรา โดยคุณค่าทางโภชนาการของพริกขี้หนู ต่อ 100 กรัม จะประกอบไปด้วย ลังงาน 76 กิโลแคลอรี, น้ำ 82 กรัม, โปรตีน3.4 กรัม, ไขมัน 1.4 กรัม, คาร์โบไฮเดรต 12.4 กรัม, ใยอาหาร 5.2 กรัม, วิตามินเอ 2,417 หน่วยสากล, วิตามินบี1 0.29 มิลลิกรัม, วิตามินบี2 0.11 มิลลิกรัม, วิตามินบี3 1.5 มิลลิกรัม, วิตามินชี 44 มิลลิกรัม, แคลเชียม 4 มิลลิกรัม, ธาตุเหล็ก 1.2 มิลลิกรัม, ฟอสฟอรัส 14มิลลิกรัม (ข้อมูลจาก : กองโภชนาการ กรมอนามัย
  4. การรับประทานพริกเป็นประจำ จะช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจและโรคหลอดลมอักเสบได้
  5. การรับประทานพริกเป็นประจำยังช่วยจะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็ง และต้านอนมูลอิสระในร่างกายได้ เนื่องจากเป็นพืชที่มีวิตามินซีสูง การได้รับวิตามินชีมาก ๆ จะช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็งได้ เนื่องจากวิตามินซีจะไปช่วยยับยั้งการสร้างสารไนโตรซามีนซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งในระบบทางเดินอาหาร ช่วยเสริมสร้างคอลลาเจนซึ่งเป็นโปรตีนที่สามารถหยุดการแพร่กระจายของเซลล์ร้ายได้ นอกจากนี้วิตามินชียังเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่จะก่อให้เกิดการกลายพันธุ์ของเซลล์ และสารเบต้าแคโรทีนในพริกขี้หนูยังช่วยลดอัตราเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งปอดและมะเร็งในช่องปาก ช่วยลดอัตราการกลายพันธุ์ของเซลล์ และช่วยทำลายเชลล์มะเร็ง
  6. มนุษย์มีการใช้พริกเพื่อบรรเทาอาการปวดมานานแล้ว ในปัจจุบันจึงได้มีการนำพริกขี้หนูมาใช้เป็นส่วนผสมในยาขี้ผึ้งทาถูนวด เพื่อใช้แก้อาการปวดเมื่อยบวม บรรเทาอาการปวดอันเนื่องมาจากผดผื่นคัน ผื่นแดง อาการปวดที่เกิดจากเส้น ปวดประสาทหลังเป็นงูสวัด โรคเกาต์และช่วยลดอาการอักเสบ โดยสารที่ออกฤทธิ์คือสาร “แคปไซซิน” (Capsaicin) และยังนำมาใช้เป็นส่วนผสมในยาธาตุ ยาแก้ปวดท้องเพราะสารสกัดจากพริกจะช่วยกระตุ้นการหลั่งเอนไซม์บางชนิดที่ทำให้กระเพาะอาหารเกิดการบีบตัวและคลายตัว ช่วยในการย่อย แก้กระเพาะเย็น ทำให้อบอุ่น
  7. พริกกับการป้องกัน เมื่อประมาณ 20 ปีที่แล้ว มีสเปย์ป้องกันตัวยี่ห้อหนึ่ง ซึ่งมีพริกเป็นส่วนประกอบสำคัญ เมื่อฉีดเข้าตาโดยตรงอาจจะทำให้มองไม่เห็นประมาณ 2-3 นาที

ประโยชน์ของพริก

  1. พริก มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอวัย
  2. ช่วยให้อารมณ์ดี ทำให้ร่างกายสร้างสาร Endorphin (สารแห่งความสุข)
  3. ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานให้แข็งแรงมากยิ่งขึ้น
  4. วิตามินซีที่ช่วยเสริมสร้างคอลลาเจนในร่างกาย
  5. ช่วยในการบำรุงและรักษาสายตา
  6. ช่วยกระตุ้นให้เจริญอาหารยิ่งขึ้น
  7. สารแคปไซซินช่วยให้เกิดอาการตื่นตัวของร่างกาย
  8. ช่วยในการดีท็อกซ์ของร่างกาย
  9. พริกช่วยบรรเทาอาการไข้หวัด ลดน้ำมูก และลดเสมหะ
  10. ช่วยบรรเทาอาการไอ
  11. ช่วยลดสารที่มากีดขวางระบบทางเดินหายใจอันเนื่องมาจากการเป็นไข้หวัด ไซนัส หรือโรคภูมิแพ้ต่าง ๆ
  12. ช่วยรักษาโรคลักปิดลักเปิด หรือโรคเลือดออกตามไรฟัน
  13. ช่วยให้หายใจได้สะดวกยิ่งขึ้น
  14. ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็ง และความเผ็ดของพริกมีส่วนช่วยฆ่าเซลล์มะเร็งได้
  15. ช่วยลดปริมาณสารคอเลสเตอรอลในร่างกาย ทำให้ปริมาณของไตรกลีเซอไรด์ในกระแสเลือดลดลง
  16. ช่วยลดการอุดตันของเส้นเลือด เส้นเลือดสมองอุดตัน
  17. ช่วยในการสลายลิ่มเลือด
  18. ช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจล้มเหลว
  19. ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของหลอดเลือดให้ดียิ่งขึ้น
  20. ช่วยลดความดันโลหิต
  21. ช่วยเสริมสร้างผนังหลอดเลือดให้แข็งแรง ช่วยเพิ่มการยึดตัวของผนังหลอดเลือด
  22. ช่วยขยายเส้นโลหิตในลำไส้และกระเพาะอาหารเพื่อการดูดซึมอาหารที่ดีขึ้น
  23. สาร Capsaicin ช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียในกระเพาะอาหาร
  24. ช่วยให้ร่างกายขับถ่ายของเสียและนำธาตุอาหารไปยังเนื้อเยื่อในร่างกาย
  25. ช่วยบรรเทาอาการอาหารไม่ย่อย ขับแก๊สในกระเพาะ
  26. มีส่วนช่วยในการขับปัสสาวะ
  27. ช่วยป้องกันการติดเชื้อต่าง ๆ ในบริเวณจมูก ลำคอ ปอด เยื่อบุผนังช่องปาก
  28. ช่วยไม่ให้เมือกเสีย ๆ มาจับตัวกันภายในส่วนต่าง ๆ ของร่างกายด้วย
  29. สรรพคุณพริกช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดต่าง ๆ เช่น อาการปวดฟัน เจ็บคอ การอักเสบของผิวหนัง อาการปวดศีรษะ ปวดเส้นเอ็น โรคเกาต์ ข้อต่ออักเสบ เป็นต้น
  30. พริกช่วยกระตุ้นให้อยากอาหารมากขึ้น
  31. ใช้ในการประกอบอาหาร ปรุงแต่งอาหาร
  32. นำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ชนิดต่าง ๆ เช่น พริกแห้ง พริกป่น พริกดอง ซอสพริก เครื่องแกง น้ำพริกต่าง ๆ และผลิตภัณฑ์ยารักษาโรค
  33. รวมไปถึงอาวุธป้องกันตัวอย่างสเปรย์พริกไทย (ไม่ถือว่าเป็นอาวุธร้ายแรง)
  34. ในด้านการแพทย์แผนจีนนำสารนี้มาใช้ประโยชน์เพื่อบำรุงพลังหยาง
  35. ในด้านการแพทย์ได้มีการสกัดเอาสารแคปไซซินในพริกออกมาในรูปแบบครีมหรือเจล ใช้ทาเพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวดที่ผิวหนัง เช่น ไฟไหม้ น้ำร้อนลวก งูสวัด เป็นต้น
  36. ในด้านความงามจะใช้สารสกัดจากแคปไซซินมาสกัดเป็นเจลเพื่อใช้ในการนวดลดเซลลูไลต์ สลายไขมัน

คำค้น : png น้ํา ภาษา อังกฤษ แดง ด่าง การ์ตูน วิธี ทํา น้ํา กากหมู โบราณ แสบ ร้อน ผิวหนัง เหมือน โดน ปีศาจ vk ผัด ไก่ vk งู ปลูก กี่ เดือน ได้ เก็บ สรรพคุณ แกง ป่าใช้ แกง อะไร ใหญ่ เครื่อง บด ปูขี่ สรรพคุณ คั่ว แกงเผ็ด ทํา อะไร ได้ บ้าง กากหมู ผัด แกง ญี่ปุ่น ถั่ว ผัด แกง น้ํา กะปิ ชาววัง หอย ลาย ผัด น้ํา เผา พันธุ์ ประโยชน์ ไก่ ผัด หยวก วิธี ทํา น้ํา ปลาร้า แม่ งู โลโก้ น้ํา ปลา ป่น แกง ภาษา อังกฤษ เครือ เรือน จํา เขา วิธี ทํา น้ํา อ่อง สูตร โบราณ โรค เครื่อง ปั่น แกง ปลาหมึก ผัด แกง น้ํา กากหมู วิธี ทํา กระเทียม ข้าว ผัด แกง ผัด แกง หมู ใส่ มะเขือ กระปุก ใส่ น้ํา มะนาว png วิธี ทํา น้ํา ลง เรือ จินดา แดง

ที่มา:sites.google.com/site/adecmju07260/bthna,medthai.com/พริก/

www.bigc.co.th/blog/th/ประโยชน์-ของ-พริก/

บทความแนะนำ หมวดหมู่: ไลฟ์สไตล์
จำนวนคอมเมนต์ของโพสต์ ID 173735: 75