ภพ.30

ภพ.30 คือยื่นแบบฟอร์มตัวอย่างกรอกแบบเพิ่มเติมภาษีซื้อขาย 7%?

Click to rate this post!
[Total: 185 Average: 5]

ภพ 30 คือ

ภ.พ.30 คือ แบบที่ใช้ยื่นภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ จะเรียกว่า แบบที่ใช้แสดงรายกการภาษีมูลค่าเพิ่มใช้ในการแสดง มูลค่าภาษีขาย และ มูลภาษีซื้อ

ภพ 30
ภพ 30

โดยการทำงานของแบบ ภพ 30 นั้น คือการที่รัฐต้องการให้สรุปยอดที่เราขายของเป็นหลัก หากมีการขายของที่มีภาษีมูลค่าเพิ่มก็จำเป็นที่จะต้องนำส่งส่วนที่เป็น ภาษีมูลค่า (vat 7%) หรือเรียกว่า ภาษีขาย เป็นประจำทุก ๆ เดือน และรัฐก็ยังให้สิทธิกิจการที่อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม ใช้ยอดซื้อสินค้า ที่มีการออกภาษีมูลค่าอย่างถูกต้อง มาหักกลบลบหนี้ กำภาษีขาย หรือที่เรียกว่า ภาษีซื้อ 

ยื่น ภพ.30 โดยปกติหากกิจการอยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว ไม่ว่ากิจการจะมียอดขายเพียงอย่าง หรือยอดซื้อเพียงอย่างเดียว หรือไม่มีทั้ง ยอดซื้อ และยอดขายเลย กิจการก็ยังจำเป็นต้องยื่นแบบ ภพ.30 เพื่อแสดง ยอดรายได้ให้สรรพกรรับรู้เพื่อความบริสุทธิ์ใจเป็นประจำทุก ๆ เดือนอีกด้วย 

ใครบ้างที่ต้องใช้ ภ.พ.30

ธุรกิจที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (จดvat) นิติบุคคลเหล่านี้ที่อยู่ในระบบภาษีมูลค่า จะต้องยื่นแบบ ภ.พ.30 ทุกๆ เดือน และยื่นภายใน 15 ของเดือนถัดไปของเดือนภาษีนั้นๆ 

ในปัจจุบัน (พ.ศ.2563)  การใช้แบบ ภ.พ.30 นั้นสามารถยื่นแบบทางอิเล็กทรอนิกส์ ได้แล้ว ภาครัฐได้พัฒนาระบบเพื่อให้ความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีที่เป็นนิติบุคคลเข้าระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม

รายละเอียดใน แบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามประมวลรัษฎากร (ภ.พ.30)

หลัก ๆ ที่เป็นของผู้ประกอบการที่จำเป็นต้องกรอก

  • เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร 13 หลัก
  • ชื่อสถานประกอบการ
  • ที่อยู่ (ใช้ที่อยู่เข้าสู่ระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม)
  • สาขา (ถ้ามี)
    แบบ ภพ 30
    แบบ ภพ.30

    เมื่อกรอกรายละเอียดแล้ว 

  • นำยอดขายที่ขายได้ในเดือนที่ต้องการยื่น มาคูณด้วย 7 %  (บางกิจการได้สิทธิภาษีในอัตรา 0% )
  • นำยอดซื้อที่สามารถใช้สิทธิได้ มาคูณด้วย 7 % 
  • นำยอดภาษีขาย ลบด้วย ภาษี ซื้อ หากภาษีขายมากกว่าให้ นำยอดมาใส่ในช่อง “ต้องชำระ” 

หากภาษีซื้อเยอะกว่าให้ นำยอดมาใส่ในช่อง  “ชำระเกิน”ในกรณีที่ยื่นชำระภาษีล้าช้า จะต้องมีการเสียค่าปรับเงินเพิ่ม เบี้ยปรับ เพิ่มเติมตามระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดหากต้องการขอคืนภาษีก็จำเป็นต้องใช้แบบ ภ.พ.30 เช่นกัน

ยื่นเพิ่มเติม ภพ.30 ผ่านอินเตอร์เน็ต

หญ้าหนวดแมว
ปก ความปลอดภัยของข้อมูล
เปลี่ยนชื่อ
ลูกหนี้การค้า
ดอกเบี้ยรับ
บทความแนะนำ หมวดหมู่: เศรษฐกิจ
จำนวนคอมเมนต์ของโพสต์ ID 150392: 567