ภงด 1
ภงด 1 คือ ภงด 1 เป็นภาษีเงินได้ที่หักจาก เงินเดือน เงินสวัสดิการ เงินค่าล่วงเวลา ของพนักงานลูกจ้าง และต้องนำส่งให้กรมสรรพากรในเดือนถัดไปหลังจ่ายเงินเดือน กำหนดจ่ายชำระก่อนวันที่ 7 ของทุกๆ เดือน พูดได้ว่า
ใครบ้าง? ที่เป็นผู้หัก และ ผู้ถูกหัก
- ผู้มีหน้าที่หัก -บุคคล ห้างหุ้นส่วน บริษัท สมาคม คณะบุคคล
- ผู้ที่ถูกหัก – ลูกจ้าง พนักงาน หรือ บุคคลที่ได้รับเงินจากการจ้างงานเท่าๆ กันทุกเดือน
*ทั้งหมดนี้ล้วนแล้วแต่อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่มทั้งหมด ถือเป็นการนำส่งเงินภาษีอีกประเภทหนึ่ง
ให้คำนวณเงินได้พึงประเมินเสมือนหนึ่งว่าได้จ่ายทั้งปีโดยให้นำเงินได้ พึงประเมินที่จ่ายแต่ละคราวคูณด้วยจำนวนคราวที่จะต้องจ่าย (ต่อปี) ดังนี้
วิธีคำนวณหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย
- แต่หากพนักเข้าใหม่ระหว่างปี ให้คูณเฉพาะเดือนที่เริ่มทำงานและจ่ายเงินเดือนครั้งแรก เช่น เข้าทำงาน เดือน เมษายน และเริ่มจ่ายเงินเดือน เมษายน ให้ จำนวนเงินที่จ่าย คูณด้วย 9 เดือน
ค่าลดหย่อน เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่จะนำไปคำนวณรวม มีอะไรบ้าง ?
-
- หักส่วนตัว 50 % ไม่เกิน 100,00 บาท
- ลดหย่อนภรรยาหรือสามี (ภรรยา/สามีไม่มีเงินได้)
- บุตรชอบด้วยกฎหมายหรือบุตรบุญธรรมคนละ 30,000 บาท (บุตรชอบด้วยกฎหมายไม่จำกัดจำนวน บุตรบุญธรรมหักลดหย่อนได้ไม่เกิน 3 คน)
- ค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาที่อายุเกิน 60 ปี ท่านละ 30,000 บาท (กรณีสามี/ภรรยาไม่มีเงินได้ สามารถลดหย่อนบิดามารดาของภรรยา/สามีที่อายุเกิน 60 ปีได้อีกท่านละ 30,000 บาท)
- ค่าอุปการะเลี้ยงดูคนพิการหรือทุพพลภาพ 60,000 บาท
- ค่าเบี้ยประกันชีวิต (กรมธรรม์ 10 ปีขึ้นไป) ได้ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท
- ค่าเบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดา หักได้ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15,000 บาท (บิดามารดามีเงินได้ไม่เกิน 30,000 บาทในปีที่ใช้สิทธิยกเว้นนั้น)
- ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อที่อยู่อาศัยตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาทต่อปี
***หมายเหตุ ค่าลดหย่อยอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ทุกปีภาษี จำเป็นต้องตรวจสอบเป็นประจำทุกๆ ปี
- ภงด1
การคำนวณ ภ.ง.ด.1
-
- เงินได้พึงประเมิน (ทั้งปี) เสมือนจ่ายเต็มทั้งปี มาจาก เงินได้ x จำนวนคราวที่จ่าย
- หัก ค่าใช้จ่าย (50% ไม่เกิน 100,000 บาท)
- หัก ค่าลดหย่อน (ล.ย.01)
- เงินได้สุทธิ (ยกเว้น 150,000 บาท)
- คูณ อัตราภาษี(ก้าวหน้า)
- ภาษีเงินได้
- หาร จำนวนคราวที่จ่าย
- ภาษีหัก ณ ที่จ่าย
ความรับผิดของผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย
-
- ถ้าผู้จ่ายเงินซึ่งมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย มิได้หักและนำส่ง หรือได้หักและนำเงิน ส่งแล้วแต่ไม่ครบจำนวนที่ถูกต้อง ผู้จ่ายเงินต้องรับผิดร่วมกับผู้มีเงินได้ในการเสียภาษีที่ต้อง ชำระตามจำนวนเงินภาษีที่มิได้หักและนำส่ง หรือตามจำนวนที่ขาดไป แล้วแต่กรณี ในกรณีที่ผู้จ่ายเงินได้หักภาษีไว้แล้ว ให้ผู้มีเงินได้ซึ่งต้องเสียภาษีพ้นความรับผิด ที่ต้องชำระเงินภาษีเท่าจำนวนที่ผู้จ่ายเงินได้หักไว้ และให้ผู้จ่ายเงินรับผิดชำระภาษีจำนวนนั้น แต่ฝ่ายเดียว (มาตรา 54 แห่งประมวลรัษฎากร)
- ถ้าผู้จ่ายเงินซึ่งมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ไม่นำเงินภาษีส่งภายในกำหนดเวลา ตาม จะต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของเงินภาษี ที่ต้องนำส่ง ทั้งนี้ ให้คำนวณเงินเพิ่มเป็นรายเดือน (เศษของเดือน ให้นับเป็น 1 เดือน) นับแต่ วันพ้นกำหนดเวลายื่นแบบฯ จนถึงวันยื่นแบบฯ และนำส่งภาษี (มาตรา 27 แห่งประมวล รัษฎากร) ถ้าผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายไม่ยื่นแบบฯ ภายในกำหนดเวลาตาม 3. เว้นแต่จะ แสดงว่าได้มีเหตุสุดวิสัย ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท (มาตรา 35 แห่งประมวล รัษฎากร)
- ผู้ใดโดยเจตนาไม่ยื่นรายการที่ต้องยื่น เพื่อหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากร ต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (มาตรา 37 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร)
สถานที่ยื่นแบบ และกำหนดเวลาในการนำเงินภาษีส่ง
นำส่งให้พนักงานภายใน 7วัน นับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงิน ที่สรรพากรพื้นที่สาขาในท้องที่ที่ผู้มีหน้าที่ หักภาษี ณ ที่จ่ายมีสำนักงานตั้งอยู่ซึ่งได้มีการจ่ายเงิน ปัจจุบันมี นําส่ง ภ.ง.ด. 1 ผ่านอินเตอร์เน็ต
ยื่นภาษี ภงด 1 ออนไลน์ *ยื่นแบบออนไลน์ในเว็บไซต์ของกรมสรรพากร
ตัวอย่าง การคำนวณ ภ.ง.ด.1
บริษัท ปังปอน จำกัด มีพนักงาน 5 คน รายละเอียดแต่ละคนดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 นำข้อมูลที่คำนวณได้ ไปกรอกในใบแนบ ตามแบบฉบับที่สรรพากรกำหนด
จะสั่งเกตุได้ว่า มีบางคน ไม่ถูกหัก ภาษี ณ ที่จ่าย เนื่องจาก เมื่อคำนวณ แล้วรายได้ไม่ถึงเกณฑ์ ที่ต้องเสีย แต่ก็ใส่ไว้เพื่อความสะดวกในการ จัดทำ แบบ ภ.ง.ด. 1ก เพื่อสรุปอีกทีสิ้นปี
ขั้นตอนที่ 2 เมื่อได้ข้อมูลในใบแนบแล้ว ก็ทำการใส่ข้อมูลลงใน แบบ ภ.ง.ด.1
ขั้นตอนที่ 3 เมื่อได้ข้อมูลทั้ง 2 แล้ว ก็นำส่งได้ทั้ง ในทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ ยื่นตามเขตพื้นที่กรมสรรพากร ของท่านและรับใบเสร็จ ใบเหลือง หรือปริ้นจากอินเตอร์หากยื่นเน็ต
ในการยื่นแบบ ภ.ง.ด.1 พนักงาน ลูกจ้างทั่วไป อาจไม่จำเป็นต้องรับรู้ เพราะ โดยปกตินายจ้างจะเป็นผู้จัดทำ แต่ สิ่งที่สำคัญที่ ลูกจ้างต้องทราบ คือ เมื่อนายจ้าง หักเงินบ้างส่วนไว้แล้วนำส่ง ลูกจ้างเอกก็ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.91 ตามในแต่ละเดือน หรือยินยอมให้นายจ้าง ยื่นแบบให้ เนื่องจาก ภ.ง.ด.1 นั้นเป็นภาษีอีกรูปแบบของการจัดเก็บภาษีจากภาครัฐ เพื่อแสดงข้อเท็จจริงจากการได้รับเงินได้ของบุคคลที่เป็นลูกจ้าง พนักงาน ในแต่เดือนของแต่ละบุคคลว่าได้รับมาเท่าไร หากพนักงานที่ได้รับเงินเดือนมากพอที่จะถึงเกณฑ์การเสียภาษีแต่ไม่ยอมเสียภาษี สรรพากรจะสามารถตรวจสอบได้จากการยืนยันยอดจากแบบ ภ.ง.ด.1 ที่เคยนำส่ง
ภงด 1ก คือ
ภ.ง.ด. 1ก คืออะไร แบบภ.ง.ด.1 ก คือใบสรุปการจ่ายเงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง โบนัส สวัสดิการอื่นที่จ่ายให้กับพนักงาน (เช่น ค่าเช่า) ภาษีที่นายจ้างออกแทนให้ และภาษีของพนักงานรอบรายปี ซึ่งเจ้าของธุรกิจจะต้องทำส่งเพื่อแจ้งให้กรมสรรพากรทราบทุกๆปีและปีละหนึ่งครั้ง
ความแตกต่างของ ภ.ง.ด 1 และ ภ.ง.ด. 1ก
ภ.ง.ด. 1 ใช้สำหรับแจ้งพนักงานที่มีรายได้ถึงฐานที่ต้องเสียภาษีแล้วเท่านั้น และต้องทำส่งกรมสรรพากรทุกเดือน ภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไปทุกเดือน
ภ.ง.ด. 1 ก ใช้สำหรับแจ้งพนักงานทุกคนแม้ว่าจะมีรายได้ไม่ถึงฐานที่ต้องเสียภาษีก็ตาม และทำส่งกรมสรรพากรแค่ปีละหนึ่งครั้งก่อนวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ของปีถัดไป
ใครบ้างที่ต้องทำ ภ.ง.ด 1ก
ทุกคนที่มีรายได้ต้องมีหน้าที่เสียภาษีบุคคลธรรมดา ดังนั้นเจ้าของธุรกิจเมื่อมีการจ้างพนักงานโดยรับเป็นเงินเดือน จึงต้องมีหน้าที่ออกเงินเดือนและสลิปเงินเดือนให้แก่พนักงาน ซึ่งในสลิปเงินเดือนจะต้องบอกรายละเอียด รายได้แต่ละเดือนที่พนักงานได้ จำนวนเงินที่พนักงานโดนหักค่าภาษี หรือค่าประกันสังคมต่างๆ และยอดสะสมรายได้ตลอดปี
สถานที่ยื่นแบบ และกำหนดเวลาในการนำเงินภาษีส่ง
นำส่งพนักงานก่อนวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ของปีถัดไป ที่สรรพกรพื้นที่สาขาในท้องที่ๆ
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมีสำนักงานตั้งอยู่
ใบแนบ ภงด.1ก excel ฟรี
บทความแนะนำ หมวดหมู่: เศรษฐกิจ
จำนวนคอมเมนต์ของโพสต์ ID 143321: 529