ภงด 53 คือ
ภงด 53 คือ แบบยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 3 เตรส และมาตรา 69 ทวิ และการเสียภาษีตามมาตรา 65 จัตวา แห่งประมวลรัษฎากร
สรุป ให้เข้าใจง่ายๆ หลักๆ จะเป็นเงินที่หักจาก ค่าเช่า ค่าอาชีพอสระ ค่าจ้าง ค่าแรง เงินรางวัล ค่าขนส่ง เมื่อหักแล้วต้องนำส่งให้กรมสรรพากรในเดือนถัดไปหลังจ่ายเงินเดือน กำหนดจ่ายชำระก่อนวันที่ 7 ของทุก ๆ เดือน แต่จะหัก เฉพาะนิติบุคคลเท่านั้น วิธีการหักคล้ายกับ ภ.ง.ด.3
ภงด 53
ใครบ้าง? ที่เป็นผู้หัก และ ผู้ถูกหัก
- ผู้มีหน้าที่หัก -บุคคล ห้างหุ้นส่วน บริษัท สมาคม คณะบุคคลที่อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม
- ผู้ที่ถูกหัก – นิติบุคคลได้รับเงินจากการจ้างงานเท่าๆ กันทุกเดือนมูลค่า 500 บาทขึ้นไป
วิธีคำนวณหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย
- หักภาษี ณ ที่จ่ายทุกคราวที่จ่ายเงินได้ ซึ่งมีกฎหมายกำหนดให้หักภาษี ณ ที่จ่าย
- ออกใบรับรองหัก ณ ที่จ่าย ให้กับผู้ถูกหักเพื่อเป็นหลักฐาน (รูปแบบหนังสือรับรองใช้ตามที่กฎหมายกำหนด)
- นำส่งภาษีที่ได้หักไว้ภายใน 7 วัน นับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงินต่อสำนักงาน สรรพากรพื้นที่สาขาในท้องที่ที่ผู้มีหน้าที่หักภาษี เงินได้ ณ ที่จ่ายมีสำนักงานตั้งอยู่
- ตัวอย่างการหัก ภาษี ณ ที่จ่าย ใน ภ.ง.ด.53 การหักจากจำนวนเงินที่จะต้องจ่าย เช่น ต้องจ่าย 1000 บาท ก็นำ อัตราที่สรรพากรกำหนด ไปคูณ ยกตัวอย่าง 3% เพราะฉะนั้น 1,000*3% = 30 บาท จ่ายจริงแค่ 970 บาท อีก 30 นำส่งกรมสรรพากรในเดือนถัดไป
อัตราการหัก ในแต่ละประเภทที่ใช้ หลักๆ
ประเภทการจ่ายเงิน |
|
อัตรา |
ค่าเช่า หรือประโยชน์อื่นที่ได้จากการเช่าทรัพย์สิน |
|
5 |
วิชาชีพอิสระ รับจ้าง บริการ จ้างทำของ เงินรางวัล |
|
3 |
ค่าโฆษณา |
|
2 |
ค่าขนส่ง เกี่ยวกับเกษตร อุตสหกรรม |
|
1 |
นอกเหนือจากข้างต้น และเข้าข่าย 40(8) |
|
3 |
จ่ายให้ภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น |
|
1 |
|
|
|
อัตราภาษี หัก ณ ที่จ่าย ภงด 53
ความรับผิดของผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย
- ถ้าผู้จ่ายเงินซึ่งมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายมิได้หักและนำส่ง หรือได้หักและ นำเงินส่งแล้วแต่ไม่ครบจำนวนที่ถูกต้องผู้จ่ายเงินต้องรับผิดร่วมกับผู้มีเงินได้ในการ เสียภาษีที่ต้องชำระตามจำนวนเงินภาษีที่มิได้หักและนำส่งหรือตามจำนวนที่ขาดไป แล้วแต่กรณี ในกรณีที่ผู้จ่ายเงินได้หักภาษีไว้แล้ว ให้ผู้มีเงินได้ซึ่งต้องเสียภาษีพ้นความ รับผิดที่ต้องชำระเงินภาษีเท่าจำนวนที่ผู้จ่ายเงินได้หักไว้และให้ผู้จ่ายเงินรับผิดชำระ ภาษีจำนวนนั้นแต่ฝ่ายเดียว0(มาตรา054 แห่งประมวลรัษฎากร)
- ถ้าผู้จ่ายเงินซึ่งมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ไม่นำเงินภาษีที่ตนมีหน้าที่หัก นำส่งภายในกำหนดเวลาตาม0จะต้องรับผิดเสียเงินเพิ่ม ในอัตราร้อยละ 5 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องนำส่ง ทั้งนี้ให้คำนวณเงินเพิ่มเป็น รายเดือน (เศษของเดือนให้นับเป็น 1 เดือน) นับแต่วันพ้นกำหนดเวลายื่นแบบฯ จนถึงวันยื่นแบบฯ และนำส่งภาษี(มาตรา 27 แห่งประมวลรัษฎากร) ถ้าผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายไม่ยื่นแบบฯ ภายในกำหนดเวลาตาม 3. เว้นแต่จะแสดงว่าได้มีเหตุสุดวิสัย ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท (มาตรา 35 แห่งประมวลรัษฎากร)
- ผู้ใดโดยเจตนาไม่ยื่นรายการที่ต้องยื่น เพื่อหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากร ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (มาตรา 37 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร)
เวลาในยื่นแบบ ต้องยื่นภายใน 7 วันของเดือนถัดไป
ตัวอย่างการ การหัก ภาษี ณ ที่จ่าย ภงด 53
ตัวอย่างเช่น บริษัท ปังปอน จำกัด ว่าจ้าง บริษัท รับทำบัญชี จำกัด เป็นค่าบริการรายเดือน เริ่มจ่ายค่าบริการ เดือน มกราคม พ.ศ.2563 ดังนั้น บริษัท ปังปอน จำกัด มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย จากการจ่ายเงินให้ บริษัท รับทำบัญชี จำกัด
บริษัท รับทำบัญชี จำกัด คิดค่าบริการ จำนวน 3,500 บาท ดังนั้น เดือน มกราคม พ.ศ. 2563 บริษัท ปังปอน จำกัด จ่ายเงินให้กับบริษัท รับทำบัญชี จำกัด (วันที่ 15 มกราคม 2563 ) จึงต้อง หัก ณ ที่จ่าย จำนวน 3,500*3%= 105 บาท ต้องนำเงินที่หักในเดือน มกราคม พ.ศ.2563 นำส่งกรมสรรพากร ภายในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ หากเป็นการยื่นปกติ แต่ถ้ายื่นผ่านเน็ต ได้ถึงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ เป็นต้น
ขึ้นตอนที่ 1 นำข้อมูลที่อยู่ของผู้ถูกหัก กรอกลงในใบแนบ
ตัวอย่าง การกรอกใบแนบ ภงด 53
ขั้นตอนที่ 2 เมื่อได้รายละเอียด จำนวนเงินที่ต้องนำส่งแล้วจึงกรอกลงในแบบ ภงด 53
ตัวอย่าง ภงด.53
ภ.ง.ด 53 ถือเป็นเครื่องมือการจัดเก็บภาษีอีกประเภทที่รัฐบาลออกแบบเพื่อต้องการรับรู้รายได้ของผู้รับจ้างว่าได้รับมาเท่าไร หากผู้รับจ้างแสดงรายได้ไม่ตรวจตามความเป็นจริง กรมสรรพากรก็สามารถตรวจสอบยืนยันยอดกับผู้จ่ายได้ว่า จ่ายเงินให้ผู้รับจ้างเท่าไร โดยการตรวจสอบจากการเก็บภาษี จาก แบบ ภ.ง.ด.53
อ่านบทความทั้งหมด >>> pangpond.com
Tag : 1, 3, 53, กี่, คิด, คือ, งด, จ่าย, ณ, ต้อง, ถูก, ที่, ทํา, ธรรมดา, นิติบุคคล, บุคคล, ผู้, ภ, ภาษี, ยังไง, ราชการ, ส่วน, หัก, อย่างไร, เปอร์เซ็นต์
บทความแนะนำ หมวดหมู่: เศรษฐกิจ
จำนวนคอมเมนต์ของโพสต์ ID 150414: 1861