SSO เช็คสิทธิประกันสังคม
เช็คประกันสังคม
สิทธิประกันสังคม เป็นกองทุนที่ให้หลักประกันแก่ผู้ที่อยู่ในระบบประกันสังคมให้ได้รับประโยชน์ทดแทน สิทธิประโยชน์ที่ผู้ประกันตนจะได้รับ เมื่อประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ทุพพลภาพ หรือตาย ซึ่งไม่เกิดจากการทำงาน รวมทั้งกรณีคลอดบุตร สงเคราะห์บุตร ชราภาพ และว่างงาน
- เช็คประกันสังคม
สิทธิประกันสังคม มีอะไรบ้าง
- ผู้ประกันตนจะมี สิทธิประกันสังคม มีอะไรบ้าง สำหรับคนที่มี “เงินเดือน” ทำงานบริษัทหรือห้างร้านต่าง ๆ ทุกคนต้องจ่ายเงินสมทบทุกเดือน ส่วนคนที่ทำงานอิสระ (ผู้ที่ไม่ทำงานบริษัท/ไม่ได้รับข้าราชการ) ที่อยากจ่ายสมทบก็สามารถทำการ เช็คเงินสมทบประกันสังคม ได้เช่นกัน
- โดยเงินส่วนนี้เป็นเงินกองทุน สำหรับผู้ที่อยู่ในระบบประกันสังคมจะได้รับประโยชน์ทดแทน เมื่อประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ทุพพลภาพ หรือตายรวมทั้งกรณีคลอดบุตร สงเคราะห์บุตร ชราภาพ และว่างงาน
- ประกันสังคม-มาตรา-33
ประกันสังคม มาตรา 33 มีอะไรบ้าง
ผู้ประกันตน (มาตรา 33) คือ ลูกจ้างผู้ซึ่งทำงานให้กับนายจ้างที่อยู่ในสถานประกอบการ ที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป ได้รับความคุ้มครอง 7 กรณี ดังนี้
- กรณีเจ็บป่วย
- กรณีคลอดบุตร
- กรณีทุพพลภาพ
- กรณีตาย
- กรณีสงเคราะห์บุตร
- กรณีชราภาพ
- กรณีว่างงาน
เช็คสิทธิประกันสังคม ด้วยเลขบัตรประชาชน
- เช็คผ่านเว็บไซต์
- ตรวจสอบผ่านแอปพลิเคชั่น SSO Connect
- โทรสอบถามได้ที่สายด่วนประกันสังคม ได้ที่เบอร์ 1506
ผู้ประกันตนมาตรา 33 จะได้รับการเยียวยาดังนี้
- ได้รับการลดเงินสมทบที่หักไปในแต่ละเดือน เหลือให้เราจ่ายไม่กิน 450 บาท(ม.ค.64) และไม่เกิน 75 บาท (ก.พ.-มี.ค. 64)
- รัฐบาลให้เงินเยียวยา 3,500 – 4,000 บาท สำหรับแรงงานที่มีรายได้ทั้งปีไม่เกิน 300,000 บาท และเงินฝากไม่เกิน 5แสนบาท
วิธีเช็คเงินว่างงานประกันสังคม
เช็คเงินว่างงานประกันสังคม สามารถทำได้ 2 ช่องทาง ดังนี้
แอปพลิเคชัน SSO Connect
- เข้าสู่ระบบบนแอปพลิเคชัน SSO Connect ด้วยการกรอกหมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน และกรอกรหัสผ่าน
- เลือกหัวข้อ “การเบิกสิทธิประโยชน์”
- ระบบจะแจ้งยอดเงินและวันที่อนุมัติสิทธิ เมื่อถึงวันที่กำหนดยอดเงินจะถูกโอนเข้าบัญชีของผู้ได้รับสิทธิ
เว็บไซต์ สำนักงานประกันสังคม www.sso.go.th
- ทำการเข้าสู่ระบบ ด้วยการกรอกหมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน และกรอกรหัสผ่าน
- เลือกหัวข้อ “ตรวจสอบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานจากเหตุสุดวิสัย”
- จากนั้นระบบจะแจ้งยอดเงินและวันที่อนุมัติสิทธิ
นอกจากนี้ ยังสามารถสอบถามผ่านสายด่วนสำนักงานประกันสังคม 1506 ที่ให้บริการทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง พร้อมตรวจสอบเช็คเงิน ประกันสังคม หรือสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ที่ควรได้รับไม่ว่าจะเป็นกรณีว่างงาน หรือกรณีอื่น ๆ ที่สามารถสิทธิประโยชน์ตามเงื่อนไข
วิธีเช็คประกันสังคมด้วยเลขบัตรประชาชน มาตรา 33,39,40
- ตรวจสิทธิประกันสังคมมาตรา 40 www sso go th มาตรา 40 เช็ค สถานะ
เช็คยังไงว่าจ่ายประกันสังคมแล้ว
- เข้าไปที่เว็บ https://www.sso.go.th/wpr/main/login แล้วทำการ สมัครสมาชิก
- กรอกข้อมูลส่วนตัว และรหัสผ่านเพื่อลงทะเบียน แล้วกดยืนยัน เมื่อกดแล้วระบบจะส่งรหัส OTP มาให้ยืนยัน เป็นอันจบขั้นตอนการสมัคร
- เมื่อLogin เข้าระบบแล้ว จะสามารถเช็คสถานะผู้ประกันตนต่างๆ เช่น สถานพยาบาลที่ไปใช้สิทธิ์ ยอดเงินประกันสังคม เงินชดเชยได้
- หน้าที่จะแสดงสถานะของผู้ประกันตน และสามารถเช็คข้อมูลอื่นๆที่ผู้ประกันตนต้องการได้ด้วยการคลิกหัวข้อด้านล่าง
1.เช็คในเว็บไซต์ของประกันสังคม
-
- เข้าไปที่เว็บ https://www.sso.go.th/wpr/main/login แล้วทำการ สมัครสมาชิก
-
- กรอกข้อมูลส่วนตัว และรหัสผ่านเพื่อลงทะเบียน แล้วกดยืนยัน เมื่อกดแล้วระบบจะส่งรหัส OTP มาให้ยืนยัน เป็นอันจบขั้นตอนการสมัคร
-
- เมื่อLogin เข้าระบบแล้ว จะสามารถเช็คสถานะผู้ประกันตนต่างๆ เช่น สถานพยาบาลที่ไปใช้สิทธิ์ ยอดเงินประกันสังคม เงินชดเชยได้
- หน้าที่จะแสดงสถานะของผู้ประกันตน และสามารถเช็คข้อมูลอื่นๆที่ผู้ประกันตนต้องการได้ด้วยการคลิกหัวข้อด้านล่าง
2.การเช็คในแอปพลิเคชั่นSSO Connect
- ตรวจสิทธิประกันสังคมมาตรา 40
-
- เมื่อทำการlogin เราจะเข้าสู่หน้าหลักของแอปพลิเคชั่นซึ่งจะแสดงข้อมูลต่างๆ เช่น ยอดเงินสมทบชราภาพ และสิทธิทันตกรรม ซึ่งเราสามารถเลือกเข้าไปดูข้อมูลต่าง ๆ ได้เลย
-
- หน้าต่างนี้จะแสดงข้อมูลส่วนตัวของผู้ประกันตน เช่น ชื่อ เลขประจำตัวประชาชน โรงพยาบาลที่เลือก และสถานะของผู้ประกันตน
วิธีเช็คเงินชราภาพประกันสังคม
ขั้นตอน เช็คเงินประกันสังคม อายุ 55 ดังนี้
- สามารถเช็คได้โดยการเช็คผ่านเว็บไซต์ของประกันสังคม
- สามารถเช็คได้โดยการเช็คผ่านแอปพลิเคชั่น SSO Connect
- เช็ตโดยการโทรสอบถามสายด่วนประกันสังคม 1506 หรือ
- เช็คได้โดยการไปติดต่อที่สำนักงานประกันสังคมก็ได้
- ตรวจสอบสิทธิประกันสังคม เช็คสิทธิประกันสังคมมาตรา 40 ยัง ไง
สิทธิประโยชน์ประกันสังคม ตรวจสิทธิประกันสังคมมาตรา 40
- เช็คสิทธิประกันสังคมมาตรา 33 ลูกจ้าง
ผู้ประกันตนมาตรา 33
ผู้ประกันตนมาตรา 33 เป็นผู้ประกันตนที่จะได้รับสิทธิประโยชน์จากกองทุนประกันสังคม ดังต่อไปนี้
- กรณีประสบภัยอันตรายหรือเจ็บป่วยฉุกเฉินที่ไม่เกี่ยวกับการทำงาน จะได้รับ บริการทางการแพทย์ เงินทดแทนการขาดรายได้ ค่าบริการทางการแพทย์กรณีถอนฟัน อุดฟัน ขูดหินปูน และการใส่ฟันเทียมชนิดถอดได้ฐานอคริลิก ค่าอวัยวะเทียม และอุปกรณ์บําบัดโรค การบําบัดทดแทนไต โดยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม การล้างช่องท้องด้วยน้ำยาแบบถาวร และการปลูกถ่ายไตการ ปลูกถ่ายไขกระดูก การผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตา แนะนำอ่านเพิ่มเติม สิทธิประกันสังคม เจ็บป่วยฉุกเฉิน
- กรณีคลอดบุตร จะได้ค่าคลอดบุตรและเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตร
- กรณีทุพพลภาพ จะได้เงินค่าบริการทางการแพทย์และเงินทดแทนการขาดรายได้ ค่า อวัยวะเทียม และอุปกรณ์บำบัดรักษาโรค ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้ทุพพลภาพ ค่าทำศพและเงินสงเคราะห์
- กรณีตาย จะได้รับเงินค่าทำศพและเงินสงเคราะห์กรณีตาย
- กรณีสงเคราะห์บุตร จะได้รับเงินสงเคราะห์บุตร สำหรับบุตรชอบด้วยกฎหมายที่อายุ ไม่เกิน 6 ปี คราวละไม่เกิน 2 คน โดยเหมาจ่ายเดือนละ 350 บาท ต่อบุตร 1 คน
- กรณีชราภาพ จะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพ หรือเงินบำนาญชราภาพ ขึ้นอยู่กับ ระยะเวลาการนําส่งเงินสมทบของผู้ประกันตน
- กรณีว่างงาน หากถูกเลิกจ้าง จะได้รับเงินทดแทนร้อยละ 50 ของค่าจ้าง ปีละไม่เกิน 180 วัน หากลาออกหรือสิ้นสุดสัญญาจ้างจะได้รับเงินทดแทนร้อยละ 30 ของค่าจ้าง ปีละไม่เกิน 90 วัน
เงื่อนไขการใช้ สิทธิประกันสังคม
- กรณีเจ็บป่วยฯ และกรณีทุพพลภาพ เมื่อจ่ายเงินสมทบมาแล้ว ไม่น้อยกว่า3 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนวันรับบริการทางการแพทย์
- กรณีคลอดบุตร เมื่อจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 7 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนวันคลอด
- กรณีตาย เมื่อจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า1 เดือน ภายในระยะเวลา 6 เดือน ก่อนถึงแก่ความตาย
- กรณีสงเคราะห์บุตร เมื่อจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า12 เดือน ภายในระยะเวลา 36 เดือน ก่อนเดือนที่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน
- กรณีชราภาพ มีอายุครบ55 ปี และความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลงหรือเมื่อเป็นผู้ ทุพพลภาพ หรือเมื่อเสียชีวิต
- กรณีว่างงาน เมื่อจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนการว่างงาน
- ตรวจสอบข้อมูลผู้ประกันตน
เช็คสิทธิประกันสังคมมาตรา 39
ประกันตนมาตรา 39 เป็นผู้ประกันตนที่เคยเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 และนําส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือนและออกจากบ้านไม่เกิน 6 เดือน นับแต่วันที่ออกจากงาน
เงินสมทบที่ต้องนําส่ง สำนักงานประกันสังคม เดือนละ 432 บาทต่อเดือน เงินที่ใช้เป็นฐานในการคํานวณเงินสมทบ คือ เดือนละ 4,800 บาทเท่ากันทุกคน โดยคิดจากอัตราเงินสมทบ 9% (4,800 x 9% = 432 บาทต่อเดือน) ซึ่งผู้ประกันตน จะได้รับความคุ้มครอง 6 กรณี ต่อเนื่องจากการเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33
- ต้องทำการส่งเงินสมทบเดือนละ 432 บาท
- เงินที่ใช้เป็นฐานในการคํานวณเงินสมทบ คือ เดือนละ 4,800 บาท เท่ากันทุกคน โดยคิดจากอัตราเงินสมทบ 9% (9% X 4,800 = 432) ซึ่งผู้ประกันตนจะได้รับความคุ้มครอง 6 กรณี (เจ็บป่วย คลอดบุตร ทุพพลภาพ ตาย สงเคราะห์บุตรและชราภาพ) ต่อเนื่องจากการเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33
- ประกันสังคม-มาตรา-40
ผู้ประกันตนมาตรา 40
ผู้ประกันตนมาตรา 40 คือ บุคคลทั่วไปที่ประกอบอาชีพอิสระหรือแรงงานนอกระบบ ไม่เป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 หรือผู้ประกันตนมาตรา 39
คุณสมบัติของผู้สมัคร ผู้ประกันตมมาตรา 40
- มีสัญชาติไทย
- เป็นชนกลุ่มน้อยซึ่งอพยพเข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศไทย โดยมีมติคณะรัฐมนตรีผ่อนผันให้อาศัย อยู่ในประเทศไทยได้เป็นการ ชั่วคราวเป็นกรณีพิเศษ ที่มีบัตรประจําตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย โดยเลขประจําตัวหลักแรกเป็นเลข 6 หรือ 7
- เป็นบุคคลซึ่งไม่มีสัญชาติไทยที่ได้รับการผ่อนผันให้อาศัยอยู่ ในประเทศไทยได้เป็นการชั่วคราว เพื่อรอการส่งกลับที่มีบัตรประจําตัว คนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย โดยเลขประจําตัวหลักแรกเป็นเลข0 ทั้งนี้ ไม่รวมถึงกรณีที่มีบัตรประจําตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย (ยกเว้นผู้ที่มี เลขประจําตัวหลักแรกและหลักที่สองเป็น 0)
- อายุไม่ต่ำกว่า15 ปีบริบูรณ์ และไม่เกิน 60 ปีบริบูรณ์
- ไม่เป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 หรือมาตรา 39
- ไม่เป็นสมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการกรุงเทพมหานคร กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ท้องถิ่น หรือไม่เป็นสมาชิกกองทุนของรัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานอื่น ของรัฐที่มีลักษณะอย่างเดียวกับกองทุนบำเหน็จบำนาญของส่วนราชการ รวมทั้งไม่เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ภายใต้บังคับตามกฎหมายว่าด้วย บำเหน็จบำนาญข้าราชการ กฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กรุงเทพมหานคร หรือกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ส่วนท้องถิ่น
- หากเป็นบุคคลซึ่งเป็นผู้พิการ ให้ระบุลักษณะหรืออาการของ ผู้พิการโดยละเอียด (ยกเว้นผู้พิการทางสติปัญญาและผู้พิการที่ไม่อาจ รับรู้สิทธิที่พึงจะได้รับจากการเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา40 ไม่สามารถ สมัครและขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ได้)
ความคุ้มครอง ผู้ประกันตนมาตรา 40
- กรณีประสบอันตรายหรือ เจ็บป่วย รับเงินทดแทน การขาดรายได้
- ผู้ป่วยใน นอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาลตั้งแต่ 1 วันขึ้นไป
- ไม่นอนโรงพยาบาล แต่มีความเห็นแพทย์ให้หยุดพักรักษาตัว ตั้งแต่ 3 วันขึ้นไป
- ภายใน 1 ปี นอนและไม่นอนโรงพยาบาล
- ไปพบแพทย์ (ผู้ป่วยนอก) และแพทย์มีความเห็นให้หยุดพักรักษาตัว ไม่เกิน 2 วัน (ปีละไม่เกิน 3 ครั้ง โดยมีใบรับรองแพทย์มาแสดง ต่อสำนักงาน)
- กรณีทุพพลภาพ
- ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้รายเดือน
- ได้รับเงินทดแทนเป็นระยะเวลา
- เสียชีวิตระหว่างรับเงินทดแทนฯ ได้รับเงินค่าทำศพ
- กรณีตาย ได้รับเงินค่าทำศพ
- ผู้จัดการศพได้รับค่าทำศพ
- จ่ายเงินสมทบมาแล้ว 60 เดือน ก่อนเดือนที่ตาย ได้รับเงินสงเคราะห์ กรณีตาย
- กรณีชราภาพ ได้รับ เงินก้อนพร้อมผลตอบแทน
- ได้รับเงินบำเหน็จชราภาพ จากเงินสมทบ/เดือน (ตามระยะเวลาที่จ่ายเงินสมทบพร้อมผลตอบแทนคืนทั้งหมด)
- จ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 180 เดือนขึ้นไป ได้รับเงินเพิ่มเติม
- สามารถจ่ายเงินสมทบเพิ่มเติม (เงินออม) ได้ไม่เกินเดือนละ 1,000 บาท
- กรณีสงเคราะห์บุตร ได้รับเงินรายเดือน
- ได้รับเงินสงเคราะห์บุตรรายเดือน บุตรอายุแรกเกิดจนถึง 6 ปีบริบูรณ์ คราวละไม่เกิน 2 คน รับเงินทดแทน การขาดรายได้
เงื่อนไขการเปลี่ยนสถานพยาบาลประจำปี
- ผู้ประกันตนสามารถเปลี่ยนได้ปีละ 1 ครั้ง ในช่วงระหว่างวันที่ 1มกราคม – 31มีนาคมของทุกปี
- ต้องเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 หรือ 39
- เป็นผู้ประกันตนที่จ่ายเงินสมทบไม่น้อยกว่า 3 เดือน
- กรณีหมดความเป็นผู้ประกันตนไปแล้ว สามารถใช้สิทธิต่อไปได้อีก 6 เดือน
วิธีเปลี่ยนสถานพยาบาลประกันสังคม ดังนี้
- สามารถไปเปลี่ยนได้ที่สำนักงงานประกันสังคมในเขตพื้นที่หรือจังหวัด
- สามารถขอเปลี่ยนสถานพยาบาลผ่านเว็บไซต์ของประกันสังคม https://www.sso.go.th/wpr/main
- สามารถเปลี่ยนสถานพยาบาลได้ที่แอปพลิเคชั่น SSO Connect
เงินชดเชยประกันสังคม กรณีลาออก
ลาออกจากงาน ประกันสังคมจ่ายเงินชดเชย ดังนี้
- กรณีลาออกจากงานเองโดยสมัครใจ ผู้ประกันตนจะได้รับเงินทดแทนว่างงาน ไม่เกินปีละ 90 วัน ในอัตรา 30% ของค่าจ้างเฉลี่ย (คิดจากฐานเงินสมทบขั้นต่ำ 1,650 บาท/เดือน และฐานเงินสมทบสูงสุด 15,000 บาท/เดือน) เช่น
- เงินเดือน 10,000 บาท จะได้รับเงินทดแทนกรณีว่างงาน เดือนละ 3,000 บาท เป็นเวลาไม่เกิน 3 เดือน
- เงินเดือน 20,000 บาท จะได้รับเงินทดแทนกรณีว่างงาน เดือนละ 4,500 บาท (คิดจากฐานเงินสมทบสูงสุด 15,000 บาท) เป็นเวลาไม่เกิน 3 เดือน
- แต่ถ้าเป็นกรณีถูกเลิกจ้าง ผู้ประกันตนจะได้รับเงินทดแทน ไม่เกินปีละ 180 วัน ในอัตรา 50% ของค่าจ้างเฉลี่ย เช่น
- เงินเดือน 10,000 บาท จะได้รับเงินทดแทนกรณีว่างงาน เดือนละ 5,000 บาท เป็นเวลาไม่เกิน 6 เดือน
- เงินเดือน 20,000 บาท จะได้รับเงินทดแทนกรณีว่างงาน เดือนละ 7,500 บาท (คิดจากฐานเงินสมทบสูงสุด 15,000 บาท) เป็นเวลาไม่เกิน 6 เดือน
สิทธิที่ท่านจะได้รับประโยชน์ทดแทนจากประกันสังคม
ได้รับเงินทดแทนระหว่างการว่างงานปีละไม่เกิน 180 วัน ในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ย โดยคำนวณจากฐานเงินสมทบขั้นต่ำเดือนละ 1,650 บาท และฐานเงินสมทบสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท
ตัวอย่างเช่น ผู้ประกันตนมีเงินเดือนเฉลี่ย 15,000 บาท จะได้รับเดือนละ 7,500 บาท
- ลาออกหรือสิ้นสุดสัญญาจ้างตามกำหนดระยะเวลา
ได้รับเงินทดแทนระหว่างการว่างงานปีละไม่เกิน 90 วัน ในอัตราร้อยละ 30 ของค่าจ้างเฉลี่ย โดยคำนวณจากฐานเงินสมทบขั้นต่ำเดือนละ 1,650 บาท และฐานเงินสมทบสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท ตัวอย่างเช่น ผู้ประกันตนมีเงินเดือนเฉลี่ย 15,000 บาท จะได้รับเดือนละ 4,500 บาท
เมื่อผู้ประกันตนสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน (ลาออก) สามารถใช้สิทธิประกันสังคมต่อได้อีก 6 เดือน โดยมิต้องเสียค่าใช้จ่าย (กรณีเจ็บป่วยหรือประสบอันตราย กรณีคลอดบุตร กรณีทุพพลภาพและกรณีเสียชีวิต)
ประโยชน์ทดแทนทุกกรณีเมื่อมีสิทธิต้องยื่นเรื่องรับเงินภายใน 1 ปี เว้นแต่ กรณีว่างงาน ผู้ประกันตนจะต้องยื่นขึ้นทะเบียนว่างงานที่สำนักงานจัดหางานของรัฐ ต้องยื่นสิทธิภายใน 30 วัน หลังจากถูกเลิกจ้างหรือลาออกจากงาน หากยื่นสิทธิเกินกว่า 30 วัน จะไม่ได้รับสิทธิย้อนหลัง และหากยื่นสิทธิเกินวันที่จะได้รับสิทธิไปแล้ว จะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน
เงินสงเคราะห์บุตรประกันสังคม ดังนี้
เงินสงเคราะห์บุตรคือหนึ่งในสวัสดิการที่รัฐบาลให้เงินช่วยเหลือกับผู้ปกครอง 800บาทต่อเดือน (เพิ่มจาก600 เป็น800บาท ตั้งแต่ มกราคม 2564) ผู้ที่สามารถขอรับสิทธิ์ได้คือ
- มีบุตรตั้งแต่แรกเกิดจนถึว 6 ปีบริบูรณ์ ที่ชอบตามกฎหมาย
- มีประกันสังคมมาตรา 33 หรือ 39
- มีการนำส่งประกันสังคมมา 12 เดือน หรือ12เดือนขึ้นไปในรอบ 3 ปี
เช็คเงินสงเคราะห์บุตร ดังนี้
- เข้าไปที่เว็บไซต์ของประกันสังคม https://www.sso.go.th/wpr/
- กรอกข้อมูลส่วนตัวให้ครบถ้วย
- คลิกที่ขอทำธุรกรรมผ่านอินเตอร์เน็ต
- ตรวจเช็คสิทธิต่าง ๆ ตามที่ต้องการ
สปส 6-09
สปสช.ออนไลน์
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เป็นสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และคณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานบริการสาธารณสุข ซึ่งจะมีภารกิจหลักในการบริหารจัดการเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด โปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน รวมทั้งพัฒนาระบบบริการสาธารณสุขเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงบริการที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน
ซึ่งจะมีเว็บไซต์ให้บริการแก่ประชาชนคือ https://www.nhso.go.th/FrontEnd/index.aspx
ใบรับรองยอดเงินสะสม ที่สมาชิกส่งเข้าประกันสังคม คือ หนังสือรับรองที่สำนักงานประกันสังคมจะออกให้ผู้ที่ไปติดต่อขอรับเอกสารนี้ว่า เป็นผู้ที่จ่ายเงินประกันสังคมจริง สามารถนำไปใช้ในการยืนยันการเสียภาษีได้
วิธีขอใบรับรองยอดเงินสะสมที่สามชิกส่งเข้าประกันสังคม
- นำบัตรประจำตัวประชาชน ไปติดต่อที่สำนักงานประกันสังคมพื้นที่ที่ท่านสะดวก
- แจ้งกับเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ว่าต้องการ ใบแจ้งยอดเงินสมทบสมาชิก กองทุนประกันสังคม
จะรู้ได้ยังไงว่าประกันสังคมมาตราอะไร
ตรวจสอบผู้ประกันตน
- เช็คได้โดยการเช็คผ่านเว็บไซต์ของประกันสังคม เช็คได้โดยการเช็คผ่านแอปพลิเคชั่น SSO Connect
- เช็คโดยการโทรสอบถามสายด่วนประกันสังคม 1506
- เช็คได้โดยการไปติดต่อที่สำนักงานประกันสังคมก็ได้
โทรสอบถามสายด่วนประกันสังคม 1506 หรือ ไปติดต่อที่สำนักงานประกันสังคม
- เข้าสู่ระบบบนแอปพลิเคชัน SSO Connect ด้วยการกรอกหมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน และกรอกรหัสผ่าน
- เลือกหัวข้อ “การเบิกสิทธิประโยชน์”
- ระบบจะแจ้งยอดเงินและวันที่อนุมัติสิทธิ เมื่อถึงวันที่กำหนดยอดเงินจะถูกโอนเข้าบัญชีของผู้ได้รับสิทธิ
- ทำการเข้าสู่ระบบ ด้วยการกรอกหมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน และกรอกรหัสผ่าน
- เลือกหัวข้อ “ตรวจสอบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานจากเหตุสุดวิสัย”
- จากนั้นระบบจะแจ้งยอดเงินและวันที่อนุมัติสิทธิ
เช็คสิทธิประกันสังคม โรงพยาบาล
บทความแนะนำ หมวดหมู่: เศรษฐกิจ
จำนวนคอมเมนต์ของโพสต์ ID 154936: 1586